Tag: สอบนักบิน

Flight Watch Volcanic Ash

เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา สายการบิน KLM ของประเทศเนเธอร์แลนด์ เที่ยวบิน KL685 มีกำหนดเดินทางจากรุงอัมสเตอร์ดัม ไปเม็กซิโกหลังจากเดินทางไปได้ประมาณ 5 ชั่วโมงเข้าเขตประเทศแคนาดาแล้ว เที่ยวบินก็เปลี่ยนเส้นทางหันหัวบินกลับไปที่กรุงอัมสเตอร์ดัมที่เดิม (อยากผอม หน้าท้องแบนเรียบ กดลิ้งค์นี้ https://1th.me/flatbelly) สปอนเซอร์ ผู้โดยสารบนเครื่องบินเลยได้นั่งเครื่องฟรีไปเกือบ 11 ชั่วโมงเรื่องมีอยู่ว่า ที่ปลายทางคือ เม็กซิโกนั้นเกิดมี ภูเขาไฟประทุขึ้น พ่นเถ้าถ่านขึ้นฟ้าสูงกว่า 18,000 ฟุตเพื่อความปลอดภัย เที่ยวบิน KL685 จึงตัดสินใจบินกลับที่เดิมดีกว่า แน่นอนครับว่า ต้องมีดราม่าจากผู้โดยสาร ประมาณว่า “อะไรกันเสียเวลาไปตั้ง 11 ชั่วโมงกลับมาอยู่ที่เดิม”“ทำไมไม่ไปลงสนามบินใกล้ ๆ แล้วค่อยไปต่อก็ได้ อย่างน้อยก็ใกล้เข้าไปอีกนิด” ลองมาไล่เรียงนึกถึงบนเที่ยวบินนี้กันดูครับว่า กัปตันและนักบินคิดอะไรไม่ได้บอกว่าเค้าจะต้องคิดแบบนี้นะครับ เอาเป็นว่า ผมเดาเอาว่า เค้าจะต้องคิดแบบนี้ เที่ยวบินนี้มีระบบ flight watch ที่ดี หมายความว่า หลังจากเที่ยวบินทะยานขึ้นฟ้าไปแล้วหลายชั่วโมง ทาง Operations Control Center (OCC) ได้รับข้อมูลการบินว่ามีเหตุการณ์ภูเขาไฟปะทุบริเวณ…. (จะปะทุก่อนวิ่งขึ้นหรือเปล่าก็ไม่รู้นะครับ เพราะบางทีการออก NOTAM ของแต่ละประเทศอาจจะล่าช้า ก็จะทำให้ OCC ได้ข่าวช้า) เมื่อ OCC ได้รับข่าวแล้ว ก็จะต้องรีบพิจารณาว่ามีเที่ยวบินใดบ้างที่ได้รับผลกระทบ แบ่งเป็น -เที่ยวบินที่ยังไม่ได้ออกเดินทาง เที่ยวบินไหนได้รับผลกระทบและจำเป็นต้องเปลี่ยนเส้นทางหรือยกเลิกการบินไปเลย-เที่ยวบินที่อยู่บนฟ้า ออกเดินทาง เที่ยวบินไหนที่ได้รับผลกระทบบ้าง และที่สำคัญคือ จะติดต่อส่งข่าวกันได้อย่างไร […]

อยากเรียนบิน อ่านก่อนนะ

“อยากรู้เรื่องการเตรียมตัว เข้าโรงเรียนการบินครับ ผมไม่ได้จบสายวิทย์จะเตรียมความพร้อมอย่างไรได้บ้างครับ” ก่อนอื่นให้ทำความเข้าใจก่อนว่า  การเข้าโรงเรียนการบินเองนั้น หมายถึง การใช้เงินทุนส่วนตัวเพื่อสมัครเข้าไปเรียนเป็นนักบิน ค่าใช้จ่ายตรงนี้ค่อนข้างสูง ส่วนใหญ่อยู่ที่ประมาณ 2.5 ล้านบาทขึ้นไป เพื่อที่จะได้ใบขับขี่นักบินพาณิชย์ตรี หรือ CPL: Commercial Pilot License ก็เขียนแนะนำไว้ในหนังสือแล้วนะครับว่า (อยากได้หนังสือคลิก) ควรจะลงทุนตรงนี้ หรือไม่ควรอย่างไร ผมจะเน้นไปที่หลักสูตรนักบินพาณิชย์ตรี/เครื่องบิน (Comercial Pilot License: Aeroplane) นะครับ (มีหลักสูตรนักบินพาณิชย์ตรี/เฮลิคอปเตอร์ ด้วย อันนี้ไม่ได้ดูรายละเอียดให้นะครับ) เอาเป็นว่าเริ่มต้นที่ “ไม่ต้องจบสายวิทย์ก็เรียนบินได้” ขอแค่มีเงินจ่ายครับ เงื่อนไขทั่วไปในการที่จะสมัครเข้าเรียนโรงเรียนการบิน เน้นว่าเป็นเงื่อนไขเพื่อเข้าไปเรียนในโรงเรียนการบินเพื่อฝึกให้ได้ใบขับขึ่เครื่องบินนะครับ ไม่ใช่เข้าเป็นนักบินในสายการบิน – สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า – ผ่านการตรวจสุขภาพร่างกาย และจิตวิทยาการบินจากสถาบันเวชศาสตร์การบิน กรมแพทย์ทหารอากาศ หรือ ศูนย์เวชศาสตร์การบินพลเรือนกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ – อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ (บางที่จะรับอายุมากกว่า 17 ปี) – มีคะแนนทดสอบภาษาอังกฤษ TOEIC ไม่ต่ำกว่า 600 คะแนน  วิชาภาคพื้น  ต้องเรียนทฤษฏีและความรู้พื้นฐานต่าง ๆ  เช่น aerodynamic กฏการบินทั้งหลาย อุตุนิยมวิทยาการบิน วิทยุสื่อสาร เครื่องวัดประกอบการบิน หลักการพื้นฐานด้านการบิน ฯลฯ วิชาภาคอากาศ (ฝึกบิน)  การฝึกบังคับเครื่องบิน ท่าทางและลักษณะการบินต่าง ๆ การบินด้วยมาตรวัดอย่างเดียว […]

First Solo

ผมขี้นเครื่องบินครั้งแรกคือ เดินทางจากจังหวัดเลยมาสนามบินดอนเมืองราวๆ กลางเดือนพค. 2535 ออกจากแปลงสำรวจเหมืองทองคำที่นั่นเพื่อมาลงทะเบียนและรายงานตัวเรียนปริญญาโท ที่จุฬาฯ จำได้ว่าเป็นช่วงพฤษภาฯทมิฬ แต่เป็นไฟล์ทบังคับที่ต้องมา เพราะเราต้องเรียนป.โท ตามเกณฑ์ของทุนพสวท.ที่ทุกคนต้องจบอย่างน้อยป.โท ผ่านไปอีกหนึ่งปีเศษ  ได้ขึ้นเครื่องบินอีกครั้งตอนเป็นศิษย์การบิน จำได้ว่าตื่นเต้นมากและอยากอ้วกมากด้วย 555 ครูผมไม่อยู่มีงานราชการ  ท่านผอ.ศูนย์ฝึกฯ สมัยนั้น จึงมาเป็นครูฝึกให้ผมและเพื่อน เครื่องบิน Piper Warrior เครื่องยนต์เดียวแบบใบพัด เที่ยวบินแรกเป็นการ familiarization บินตรง บินระดับ ยังเป็นเรื่องยาก เลี้ยวไปเลี้ยวมาจนเวียนหัว แต่นั่นไม่ทำให้ผมรู้สึกเสียวหรือกังวลอะไร บินไปบินมาสนุกดี บินสักพักครูท่านสูบไปป์กลิ่นเชอร์รี่  แรกๆ ก็หอมดีครับ  แต่การ บินตรง_บินระดับ ในครั้งแรกของการจับคันบังคับ  มันไม่ตรงและไม่ระดับนะสิครับ กลิ่นหวานๆของไปป์ มันทำให้ เวียนหัว สุดจะบรรยาย  เป็นประสบการณ์ที่ดีมากในครั้งแรก  แบบว่าฝึกสภาพร่างกาย ไม่ให้อ้วกใส่เครื่องบิน 555 เราสองคนขึ้นด้วยกันไปตลอด พร้อมกับครูฝึกอีกหนึ่งท่าน ช่วงแรกต้องมีครูขึ้นบินด้วยเสมอ  จนกว่าจะบินได้คล่องแล้ว สามารถ landing ได้อย่างปลอดภัยแล้ว ครูจึงจะปล่อยให้เรา Solo Flight Solo Flight คือการบินเดี่ยว ขึ้นบินคนเดียว  first solo flight ครูจะให้บินแค่เที่ยวเดียวเท่านั้น  คือ takeoff ขึ้นไป บินเข้า downwind เลี้ยวเข้า base leg  และเลี้ยวต่อเข้า final เพื่อ landing […]

Memory วิธีการจำ

การฝึกบินนั้นต้องใช้ทักษะหลาย ๆ อย่างประกอบกัน หลาย ๆ ครั้งที่มักถูกถามว่า ในห้องนักบินมีปุ่มต่าง ๆ มากมาย จำได้หมดหรือ แล้วมีวิธีจำยังไง การใช้ความจำมีหลายแบบครับ  ผมขอจำแนกอย่างง่าย ๆ ได้ สองแบบ คือ  จำด้วยความเข้าใจ กับ จำโดยไม่ต้องเข้าใจ แบบที่หนึ่ง การจำด้วยความเข้าใจ คือ การจำเรื่องที่เป็นพื้นฐานความรู้หรือหลักสำคัญของการทำงาน เป็นการจำแบบที่ต้องใช้เหตุและผล เพื่อใช้งานเรื่องเหล่านั้นในภายหลัง เป็นการจำที่ต้องทำการศึกษาเพื่อให้รู้ถึงเหตุและผลจึงจะเกิดความเข้าใจ  การจำแบบนี้เป็นการจำที่จะทำให้สามารถพัฒนาความคิดและต่อยอดความรู้ออกไปได้อีกเมื่อได้รับข้อมูลเพิ่มเติมใหม่ ๆ หรือได้รับประสบการณ์เพิ่มขึ้นจากการทำงานซ้ำ ๆ  การจำแบบแรกนี้จึงมีความสำคัญมาก และต้องอาศัยความทุ่มเทในการพยายามทำความเข้าใจ แต่หากมีพื้นฐานหรือหลักการในการเรียนหรือทำความเข้าใจแล้ว การจำแบบนี้ก็ไม่ใช่เรื่องยาก แต่บางคนใช้ความจำแบบที่ไม่ต้องเข้าใจมาใช้ทำงานกับเรื่องที่ต้องจำด้วยความเข้าใจ อันนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่ผิด  โดยเฉพาะหากเป็นนักบิน การใช้ความจำอย่างเดียว เพื่อทำงานที่ต้องมีหลักความเข้าใจร่วมด้วยนั้นเป็นอันตราย ดังนั้น นักบินจึงจะต้องถูกฝึกให้คิด และถูกกำกับการทำงานด้วย checklist เพื่อป้องกันไม่ให้การทำงานหรือการแก้ไขสถานการณ์ไม่ทำหรือปฏิบัติข้ามขั้นตอน ซึ่งอาจกลายเป็นทำให้เกิดภาวะอันตรายเพิ่มขึ้น ไม่ใช่ทุก ๆ เรื่องที่เราต้องทำความเข้าใจหรอกครับ  เพราะบางครั้งแราแค่ต้องจำเฉย ๆ เช่น หากเพื่อนบอกเบอร์โทรศัพท์ หรือเบอร์บัญชีธนาคาร เราคงไม่ต้องทำความเข้าใจกับตัวเลขเหล่านั้น แต่เราสามารถจำได้ระยะหนึ่ง หากผ่านไปนานเช่น 15-20 นาที เราก็คงจะจำมันไม่ได้ หรือ อาจจะไม่มั่นใจว่ามันถูกหรือผิด ขึ้นอยู่กับว่า เราต้องจำตัวเลขหรือรายละเอียดที่ต้องจำนั้นมากน้อยแค่ไหน การจำแบบที่ไม่ต้องทำความเข้าใจแบบนี้  ก็มีความสำคัญกับการบินเช่นกันครับ  แต่จะใช้กับบางเรื่อง และไม่ต้องใช้ความสามารถพิเศษมากนัก (แต่ต้องฝึก) สำหรับการบินการจำแบบนี้ก็มีความสำคัญมากทีเดียวครับ อาทิเช่น การจำสิ่งที่หอบังคับการบินพูด และทวนคำพูดเหล่านั้น หลังจากผ่านระยะเวลาหนึ่งต้องทำในสิ่งที่ได้รับคำแนะนำหรือคำสั่งให้ทำนั้นให้ครบถ้วนหรือถูกต้อง ตัวอย่างการที่ต้องจำอย่างไม่มีเหตุผล […]

การเรียนบินไม่ใช่เรื่องน่ากลัวแต่เรียนจบแล้วไม่มีงานทำน่ากลัวกว่า

“ใครๆก็เป็นนักบินได้” เป็นวลีเชิญชวนของโรงเรียนการบินหรือสถาบันต่าง ๆ ที่อยากให้คนที่มีความฝันหรือสร้างฝันอยากให้มาเรียนเป็นนักบินกันเยอะ ๆ  แรงจูงใจอะไรที่ผลักดันให้หลายคนอยากเป็นนักบิน อันนี้ผมขอเว้นวรรคไม่พูดถึงเพราะเป็นเรื่องส่วนตัวและเป็นความคิดส่วนบุคคล ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักจะรู้ ๆ กันอยู่แล้วว่ามีอะไรบ้าง ผมเคยเขียนไปบ้างแล้วว่า มีคนเคยถามเรื่องการลงทุนเพื่อไปเรียนเป็นนักบิน ส่วนตัวก็แนะนำแล้วว่าไม่ใช่เรื่องที่ควรเสี่ยง แต่ถ้าไม่เดือดร้อนอะไรเรื่องเงิน ยิ่งคิดเอาไว้ก่อนได้ว่าหากเรียนแล้วไม่มีงานทำก็ไม่เป็นไรได้บินเป็นความสุข แบบนี้ก็เรียนบินได้เพราะไม่มีอะไรต้องห่วงเลยหากเรียนจบแล้ว “ตกงาน” จริงอยู่ที่ปัจจุบันความต้องการนักบินทั่วโลกนั้นมีปริมาณสูงขึ้นมาก แต่ไม่ได้หมายความว่า ในประเทศไทยจะมีความต้องการเป็นสัดส่วนไปตามภาวะตลาดโลก แม้ว่าในภูมิภาค asia-pacific จะมีความต้องการนักบินมากมายมหาศาลก็ตาม แต่นักบินจบใหม่ ๆ ของไทย อาจไม่สามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานของนักบินอาชีพได้ง่ายนัก นั่นเป็นเพราะว่า  การขยายตัวของธุรกิจการบินภายในประเทศกระจุกตัวอยู่ในระดับประเทศและขยายไปประเทศเพื่อนบ้านได้ในปริมาณจำกัด ประเด็นนี้เกิดจากปัญหาการติดธงแดงของประเทศเรา ที่ทำให้สายการบินของไทยขยายเส้นทางทำการบินได้น้อยลง จึงเป็นโอกาสให้สายการบินต่างชาติขยายตัวเข้ายึดจุดยุทธศาสตร์สำคัญทางการบิน(ก็ประเทศไทยนั่นแหละ) ใช้เป็นจุดเชื่อมของเส้นทางการบินต่อไปยังภูมิภาคอื่น ๆ ได้มากขึ้นโดยไม่มีคู่แข่งจากประเทศไทยเองลงสนามแข่งขันกับเขา เพราะถูกแบน การที่สายการบินของไทยขยายตัวได้อย่างจำกัด ทำให้การรับนักบินจบใหม่เข้าทำการบิน ลดปริมาณลงไปด้วยโดยปริยาย จึงทำให้ขาดความสมดุลย์ของดีมานด์กับซัพพลาย  แล้วทำไมไม่ไปสมัครสายการบินต่างชาติล่ะ ในเมื่อในภูมิภาคยังมีความต้องการนักบินมากมายอยู่ หรือนักบินของไทยขาดคุณภาพ ไปสมัคร ไปสอบแล้วประเทศอื่น ๆ เค้าไม่รับเป็นนักบิน คำตอบคือ จริง ครับ เราขาดคุณภาพ  แต่เป็นการขาดคุณภาพในแง่ของการแสดงคุณสมบัติด้านมาตรฐานใบอนุญาต คือ มันเป็นโดมิโน ต่อมาจากปัญหาที่ ICAO ลดเครดิตของประเทศไทยลงเมื่อปี 2015 นั่นแหละครับ ศิษย์การบิน หรือ student pilot ที่ทำการบินกับสถาบันหรือศูนย์ฝึกอบรมการบินในประเทศไหนต้องขึ้นทะเบียนใบอนุญาตในประเทศนั้น เริ่มเห็นภาพหรือยัง Pilot License จะออกให้โดยผู้กำกับดูแลมาตรฐานการฝึกอบรมของสถาบันที่จดทะเบียนหรือกำกับดูแลภายในประเทศนั้นหลังจากนั้นจึงจะไปทำการ validation license ที่ประเทศที่จะทำงาน นักบินที่ไปเรียนบินมาจาก ประเทศอื่น ก่อนจะมาทำงานหรือบินในสังกัดของสายการบินประเทศไหน ต้องไปทำการขึ้นทะเบียนโดยการสอบวัดผลความสามารถในการทำงานจากผู้กำกับดูแลกฏระเบียบข้อบังคับด้านการบินพลเรือนของประเทศนั้น […]

1 3 4 5 6 7 9
0
0