Day: October 24, 2019

ป่วยแบบไหนที่ไม่ควรเดินทาง

โดยปกติแล้ว คนป่วยหรือมีปัญหาสุขภาพมักไม่อยากบอกใครว่าตนเองเจ็บป่วยหรือไม่สบาย จริงอยู่มันเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะต้องประกาศบอกใคร ๆ ว่าเราป่วยใช่ไหมครับ  แต่สำหรับการเดินทางโดยเครื่องบินไม่เป็นอย่างนั้นครับ ผู้โดยสารที่ป่วยหรือมีปัญหาสุขภาพควรแจ้งให้สายการบินรับทราบตั้งแต่การทำการซื้อตั๋วเพื่อเดินทาง หรืออย่างน้อย 48 ชม.ก่อนเดินทางครับ ผู้โดยสารอาจจะไม่ทราบข้อจำกัดในการเดินทางทางอากาศ  ไม่ทราบว่าอาการป่วยหรือไม่ปกติบางอย่างนั้นอาจจะเกิดอันตรายหรืออาการป่วยนั้นเพิ่มความรุนแรงขึ้นได้ระหว่างเดินทางเพราะเครื่องบินเมื่อมีการไต่ระดับ หรือลดระดับ จะมีการปรับระบบความดันอากาศภายในห้องโดยสารตลอดเวลา โดยหลักการแล้วรายละเอียดเกี่ยวกับปัญหาข้อจำกัดในการเดินทางนั้นจะมีข้อกำหนดมากมาย มีคู่มือกำกับเป็นหลายๆ เล่ม โดยผู้ที่สามารถวินิจฉัยได้ว่าสามารถเดินทางได้โดยปลอดภัยหรือไม่นั้นคือ แพทย์เท่านั้นครับ  ทางสายการบินจะสามารถทำได้แค่เพียงป้องกันไม่ให้ผู้โดยสารได้รับอันตรายจากการเดินทาง นั่นก็คือ การปฏิเสธไม่ให้ผู้โดยสารเดินทางหากไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ “สายการบินไม่สามารถอนุญาตให้เดินทางโดยที่ไม่แน่ใจว่าผู้โดยสารจะปลอดภัยหรือไม่  หน้าที่เราคือ พาท่านเดินทางไปสู่จุดหมายด้วยความปลอดภัย” ดังนั้นเวลาที่ป่วยหรือมีโรคประจำตัวหรือเพิ่งผ่านการผ่าตัดมา โดยเฉพาะเมื่อสภาพร่างกายสามารถสังเกตุได้ชัดเจนด้วยสายตาว่า มีความผิดปกติ หรือ ป่วย  ขอให้มีใบรับรองแพทย์มาแสดงด้วยเสมอครับ สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคติดต่อที่อาจจะสามารถแพร่กระจายเชื้อให้ผู้อื่นได้ สายการบินจะไม่อนุญาตให้เดินทาง ผู้ป่วยที่ไม่สามารถดูแลตนเองได้ในระหว่างการเดินทางและต้องการความช่วยเหลือพิเศษ เช่น ผู้ป่วยที่ต้องการใช้ยา หรือ อุปกรณ์พิเศษต่าง ๆ ในการเดินทาง เช่น ถังออกซิเจนช่วยหายใจ อันนี้ต้องให้แพทย์วินิจฉัยออกใบรับรองมาด้วย และทางสายการบินก็ต้องพิจารณาเพิ่มเติมอีกด้วยว่า สามารถให้เดินทางได้หรือไม่ เพราะหากไม่สามารถให้อุปกรณ์พิเศษต่าง ๆ เดินทางด้วยได้ ผู้โดยสารก็จะถูกปฏิเสธการเดินทาง ผู้ป่วยที่มีอาการป่วยและอาจได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพความกดดันอากาศที่เปลี่ยนไปในระหว่างการทำการบิน อาทิเช่น ผู้ป่วยที่เพิ่งผ่านการผ่าตัดสมอง หรืออวัยะวะสำคัญอื่น ๆ เช่น ปอด หัวใจ ฯลฯ ผู้ป่วยที่มีภาวะผิดปกติเกี่ยวกับการทรงตัว เช่น น้ำในหูไม่สมดุลย์ ก็ต้องให้แพทย์วินิจฉัยและรับรองการเดินทาง หญิงตั้งครรภ์ ที่มีอายุครรภ์มากกว่า 28 สัปดาห์ จะต้องมีใบรับรองว่าอายุครรภ์ไม่เกิน 36 สัปดาห์    สำหรับทารก ต้องมีอายุมากกว่า 14 วัน จึงจะสามารถเดินทางได้นะครับ […]

ผู้โดยสารป่วยบนเครื่องบิน

เมื่อเช้าบินจากดอนเมืองไปภูเก็ต  (25 มิ.ย.2559) อากาศดีมากครับ  ที่ดอนเมืองมีเมฆพอสมควร  ระหว่างทางก็มีบ้างแต่อยู่ที่ความสูงประมาณ 30,000 ฟุต เราบินสูงกว่า คิดในใจเล่น ๆ ว่าอากาศดีพอสมควร ช่วงเช้า อากาศจะแน่น ๆ การบินจะสบาย ๆ แดดก็ไม่ค่อยร้อน ท้องฟ้าที่ภูเก็ตก็แจ่มใสมาก  แต่วันนี้เป็นลมตะวันออก  ทำให้เราต้องบินลงสนามจากด้านตะวันตก เป็นการลงสนามแบบ RNAV Runway 09 ระหว่างบินระดับก่อนที่จะเริ่มผ่อนเครื่องยนต์เพื่อลดความสูงลงสนามบินภูเก็ต หัวหน้าลูกเรือโทรเข้ามาว่า  “กัปตันค่ะ มีผู้โดยสารป่วย” “เป็นอะไรครับ” “เค้าหายใจไม่ออก หน้าซีด ปากซีด เหงื่อแตกเต็มตัวเลย” ผมเลยบอกว่าให้ผู้โดยสารหายใจลึก ๆ  และเตรียมเอา หน้ากากออกซิเจนให้ผู้โดยสาร  อาจจะช่วยได้บ้าง ผู้โดยสารเป็นหญิงชาวจีน  อายุ 40 ปี มากันเป็นกลุ่ม แต่ไม่มีใครเข้าใจอังกฤษเลย  ขนาดว่าลูกเรือบนไฟล์ทผมเธอพูดจีนกลางได้  ก็ยังอธิบายกันค่อนข้างลำบาก เพราะเธอไม่ได้พูดจีนกลาง หัวหน้าลูกเรือจึงขอประกาศหา  คุณหมอหรือพยาบาลที่อาจเดินทางอยู่ด้วยบนเที่ยวบิน ปรากฏว่า “ไม่มีเลย” สักพักหัวหน้าลูกเรือโทรกลับมาใหม่ว่า “ผู้โดยสารใช้ออกซิเจนแล้ว ดูเหมือนอาการยังไม่ค่อยดีขึ้นค่ะ” ผมจึงตอบว่า “เอาล่ะเดี๋ยวผมจะรีบลงภูเก็ต ด่วน” ผมตัดสินใจขอหอบังคับการบินภูเก็ตว่า ขอ expedite descend  เพื่อที่จะลดระยะทางและลดเวลาในการลงสนามลง เพื่อให้ผู้โดยสารมีโอกาสพบหมอได้เร็วขึ้น  (เพิ่มความเร็วและความชันของการลดระดับ)  คิดไว้ว่าจะทำ visual approach  แต่ตอนนั้นมีเครื่องบินลำหน้าอยู่อีกหนึ่งลำ  เป็นสายการบินไทยสมายล์  ก็เลยขอเป็นนัยๆแต่เพียงว่า expedite approach  ทางเที่ยวบินของไทยสมายล์เมื่อได้ยินเหตุการณ์บนไฟล์ทผม ก็เลยขอ […]

พูดเล่น แต่สายการบินเค้าเอาจริง

ไม่ว่าจะเป็นวัยรุ่น หรือวัยชรา วัยไหน ๆ ก็พูดเล่นเรื่อง “ระเบิด” ตอนอยู่บนเครื่องบินหรือบริเวณสนามบินไม่ได้  ผมเคยเขียนเรื่องนี้ไปแล้วครั้งหนึ่งเมื่อปลายปี 2015 วันนี้จะเขียนเจาะลงไปอีกหน่อยว่า  ทำไม อย่างไร จึงไม่ควรพูดเล่น สนุกปากไปเรื่อยในเรื่องนี้ การพูดว่า “ในกระเป๋ามีระเบิด” “เครื่องบินนี้มีระเบิด” หรือ “เครื่องบินลำไหนหรือเที่ยวบินไหนมีระเบิด” ไม่ว่าจะพูดตอนอยู่ที่ไหน บนเครื่องบิน หรือนอกเครื่องบิน หรือ การโทรศัพท์ข่มขู่เข้าหาสำนักงานของสายการบินแล้วบอกว่า “มีระเบิดที่นั่น ที่นี่” เป็นเรื่องที่รับไม่ได้ในทางปฏิบัติและทางกฏหมายถือเป็นภัยคุกคามต่อการบินและกฏหมายระบุความผิดและให้โทษที่รุนแรงมาก เรื่องแบบนี้ทำเล่น ๆ ไม่ได้ครับ ถ้าพูดเตรียมรับผิดชอบความเสียหาย และขึ้นศาลเป็นคดีอาญา ในส่วนของสายการบินและเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องทั้งหมดอย่างการท่าอากาศยานและฝ่ายรักษาความปลอดภัยสนามบินจะถือว่าเป็นเรื่องจริงไว้ก่อน เพราะเป็นเรื่องที่ประมาทไม่ได้เลย ทุกหน่วยจะทำการตรวจสอบทันที เมื่อได้รับข้อความข่มขู่ มาตรการป้องกันต่างๆ ที่กำหนดไว้จะถูกนำมาบังคับใช้ โดยยึดหลักด้านการรักษาความปลอดภัยสากลเพื่อที่จะปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของทุกคนเป็นสำคัญ โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบด้านธุรกิจของใครทั้งสิ้น เป็นเพราะความเสียหายอาจเกิดขึ้นกับคนจำนวนมาก และเป็นเรื่องที่มีความอ่อนไหว มีผลกระทบต่อสังคม และอาจรวมถึงความมั่นคงของชาติด้วย  เรื่องทำนองนี้มีอิทธิพลด้านทัศนคติในเชิงลบ ไม่มีผลในเชิงบวกเลยเพราะเราจะมองโลกในแง่ดีในกรณีนี้ไม่ได้ ตาม “พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดบางประการ 2558” นั้นมีบทลงโทษ และการเปรียบเทียบปรับที่รุนแรง และโทษสูงสุดคือประหารชีวิต การทำเรื่องให้คนเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก ย่อมมีผลกระทบเป็นวงกว้าง ผู้เสียประโยชน์คือ ผู้โดยสารทุกคนที่จะต้องถูกตรวจสอบแบบเหมาเข่ง จะเสียเวลาเพิ่มขึ้นในการเดินทาง แถมหงุดหงิดว่าตนเองต้องยุ่งยาก ผมอยากให้ทำใจให้ได้ในกรณีนี้ ส่วนสายการบินเองก็ต้องเสียเวลา การที่เครื่องบินดีเลย์ล่าช้าย่อมมีผลกระทบกับธุรกิจ สายการบินจะเอาจริงเอาจังกับเรื่องนี้มาก เพราะหากคำขู่หรือคำพูดเกิดเป็นจริงขึ้นมา ไม่มีใครรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นได้เลย ทุกอย่างจึงเป็นขั้นเป็นตอน และมีการตรวจสอบจากหลายหน่วยงานอย่างเข้มงวด  ในฐานะผู้โดยสาร เวลาอยู่บนเครื่องบินการอยู่ในความสงบเรียบร้อยและเชื่อฟังคำแนะนำของนักบินและลูกเรือที่ประจำหน้าที่ในห้องโดยสารเป็นสิ่งที่พึงกระทำ จริงๆต้องรวมถึงพนักงานภาคพื้นทุกคนด้วย เพราะทุกคนถูกฝึกมาเพื่อรักษาความปลอดภัยให้ท่าน ทุกคนถูกฝึกให้ทำตามกฏระเบียบ ท่านอาจจะไม่ทราบเหตุผลที่แท้จริงในทันที แต่ท่านจะได้รับทราบภายหลังอย่างแน่นอน  โดยปกติสายการบินจะยึดหลักผลประโยชน์ส่วนรวมและการควบคุมมวลชนไม่ให้ตื่นตระหนกต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจนเกินความจำเป็นและมากจนเป็นเหตุให้สถานการณ์เลวร้ายเพิ่มขึ้นจนควบคุมไม่ได้ ดังนั้นท่านต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของพนักงานสายการบินทุกภาคส่วนเสมอและโดยไม่มีเงื่อนไขหากพนักงานบอกว่ามันคือกฏระเบียบที่วางไว้ […]

การบาดเจ็บจากการสั่นสะเทือนของเครื่องบิน

เมื่อหลายอาทิตย์ก่อนมีข่าวสายการบินหนึ่งของยุโรป มีผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บเนื่องจากการสั่นสะเทือนของเครื่องบิน หรือ ภาษาที่หนังสือพิมพ์ชอบเขียนว่า “ตกหลุมอากาศ” ผู้โดยสารหลายคนได้รับบาดเจ็บสาหัสเนื่องจากการสั่นสะเทือนที่รุนแรงมาก ตัวลอยขึ้นไปกระทบกับช่องเก็บกระเป๋าเหนือศรีษะ หรือบาดเจ็บตอนที่ตกลงมากระแทกกับเก้าอี้นั่ง ผมก็เลยอยากจะมาเล่าถึงสาเหตุของการสั่นสะเทือนบางประเด็นและให้ข้อแนะนำในการป้องกันการบาดเจ็บจากการสั่นสะเทือนของเครื่องบินให้อ่านกันครับ การสั่นสะเทือน หรือ Turbulence นั้น เกิดขึ้นจากความไม่ราบเรียบของกระแสอากาศในช่วงที่เครื่องบินบินผ่านเข้าไป กระแสอากาศนี้หมายถึง ระดับของความกดอากาศ (Atmospheric Pressure) ค่าอุณหภูมิของอากาศ (Temperature) ทิศทางและความเร็วลม (Wind direction and speed) ค่าสามตัวหลัก ๆ นี้เป็นตัวแปรสำคัญสำหรับการบินที่ราบเรียบของเครื่องบิน หากการเปลี่ยนแปลงแต่ละอย่างไม่มากนัก เครื่องบินจะสามารถบินผ่านได้อย่างค่อนข้างราบรื่น แต่หากตัวใดตัวหนึ่งมีการเปลี่ยนค่าไปอย่างกระทันหัน โดยเฉพาะในบางสภาวะที่ค่าทั้งสามมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง อันนี้จะเกิดเป็นการสั่นสะเทือนอย่างแน่นอน แต่การสั่นสะเทือนจะรุนแรงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขึ้นอยู่กับว่าเครื่องบินอยู่ในสภาวะที่จะรับมือได้ดีขนาดไหน การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศนั้น มีทั้งที่สามารถพยากรณ์ได้และพยากรณ์ไม่ได้ และมองเห็นหรือคาดการณ์ได้และคาดการณ์ไม่ได้ครับ ที่มองเห็นได้ก็อย่างพวกเมฆฝนฟ้าคะนองที่เราสามารถมองเห็นได้ชัดเวลากลางวัน และอาจจะมองไม่เห็นในตอนกลางคืน สำหรับส่วนที่พยากรณ์ได้ในทางอุตุนิยมวิทยาการบินจะมีแผนที่สภาพอากาศที่แสดงรายละเอียดของลักษณะอากาศในแต่ละบริเวณ  เอาไว้ และนักบินจะทำการศึกษาแผนที่สภาพอากาศนี้ก่อนทำการบินเสมอ เมื่อทำการบินบนเครื่องบินจะมีเรดาห์ตรวจอากาศที่สามารถตรวจจับระดับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศได้ระดับหนึ่ง เป็นการตรวจจับตำแหน่งของก้อมเมฆนั้นแหละครับ การทำงานของเรดาห์ตรวจอากาศนั้นจะวัดระดับของคลื่นที่สะท้อนกลับมาโดยสามารถเปลี่ยนองศาการส่งคลื่นออกไปตรวจจับการสะท้อนเพื่อตรวจวัดระดับความสูงของบริเวณที่มีการสะท้อนและแปลผลออกมาเป็นภาพบนหน้าจอนำทางที่อยู่ภายในห้องนักบิน หากการตรวจจับการสะท้อนบ่งบอกถึงปริมาณการสะท้อนกลับที่สูงมาก นั่นแสดงว่ามีโอกาสที่จะมีกลุ่มเมฆฝนที่มีปริมาณน้ำมากและมีโอกาสที่จะทำให้เกิดความแปรปรวนของกระแสอากาศอย่างรุนแรง นักบินจะหลีกเลี่ยงการบินผ่านเข้าไปในบริเวณนั้นทันที สำหรับสภาพอากาศที่นอกเหนือการตรวจจับของเรดาห์ตรวจอากาศประจำเครื่องบินก็มีอยู่หลายประเภท หนึ่งในนั้นคือ Clear Air Turbulence กรณีนี้ นักบินจะไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้เลยว่าจะมีการสั่นสะเทือนเกิดขึ้นหรือไม่ หรือ รุนแรงแค่ไหน การสั่นสะเทือนนั้นอาจจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน หรืออาจเกิดช่วงเวลานานหรือสั้นก็ได้ขึ้นอยู่กับสภาพกระแสอากาศตามที่ผมได้อธิบายไปข้างต้น “เมื่อเกิดการสั่นสะเทือนของเครื่องบินผู้โดยสารจะต้องทำอย่างไรจึงจะไม่ได้รับบาดเจ็บหรือลดโอกาสที่จะเกิดการบาดเจ็บลงได้บ้าง” ง่าย ๆ เลยคือ การป้องกันตัวเราหลุดออกจากเก้าอี้นั่งครับ  “การรัดเข็มขัดนิรภัย” คือ คำตอบ การรัดเข็มขัดนิรภัยจะช่วยให้เราไม่ถูกเหวี่ยงไปมา และหลุดออกจากที่นั่งจนตัวลอยขึ้นไปกระทบกับฝ้าเพดานและช่องเก็บกระเป๋า หรือแม้กระทั้งไปกระแทกกับผู้โดยสารท่านอื่นหรือพนักที่นั่งที่อยู่ด้านหน้าเรา แล้วจะต้องรัดเข็มขัดเมื่อไหร่ จึงจะช่วยลดโอกาสที่จะเกิดการบาดเจ็บจากการสั่นสะเทือนลงได้ โดยปกติแล้วตามระเบียบข้อบังคับการบิน ทุกคนต้องรัดเข็มขัดนิรภัยในระหว่างที่ – […]

การทำงานของเรดาห์ตรวจอากาศ

ในช่วงที่เป็นฤดูมรสุม อุปกรณ์ที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับนักบินคือ เรดาห์ตรวจอากาศ (Weather Radar) หลักการของ weather radar  คือการส่งสัญญาณคลื่นความถี่หนึ่งออกไปและรอรับสัญญาณที่สะท้อนกลับมาโดยแสดงขึ้นที่หน้าจอระบบนำร่องของเครื่องบินเป็นสีต่างๆ 3 สีขึ้นอยู่กับความเข้มของปริมาณคลื่นที่สะท้อนกลับมา หากภาพเป็นสีเขียวคือ  มีความเข้มของปริมาณคลื่นที่สะท้อนระดับต่ำ สีเหลืองคือระดับปานกลาง และ สีแดงคือความเข้มระดับสูง บริเวณที่มีการสะท้อนกลับของคลื่นสูง (สีแดง) หมายความว่า เป็นบริเวณที่มีเมฆฝนหนาแน่น มีโอกาสที่จะมีความแปรปรวนของกระแสอากาศค่อนข้างรุนแรง และลดหลั่นลงไปเป็นสีเหลืองและเขียวคือความรุนแรงลดลงตามลำดับ สำหรับบริเวณที่ไม่มีการสะท้อนกลับเลย จอภาพจะเป็นสีดำ ระยะหรือความห่างที่แสดงในจอภาพก็มาจากความต่างของเวลาที่ส่งคลื่นออกไปและสะท้อนกลับมาที่ตัวรับสัญญาณ (มันคือฟิสิกส์เรื่องคลื่น) เรดาร์ตรวจอากาศสามารถปรับองศาการส่งคลื่นออกไปได้ โดยนักบินจะต้องเข้าใจหลักการการทำงานของมัน เพื่อที่จะใช้เรดาห์ในการตรวจจับก้อนเมฆให้ถูกต้อง หากเครื่องบินกำลังทะยานขึ้นฟ้าเราต้องปรับมุมเงยของเรดาห์ให้สูงหน่อย เพื่อให้ตรวจจับก่อนเมฆที่อยู่สูงกว่าเครื่องบินเพราะเรากำลังจะไต่ระดับไปหาที่ความสูงนั้น  แต่เมื่อไต่ระดับไปได้สักระยะหนึ่งแล้ว ต้องปรับมุมของเรดาห์ให้ลดลง เพื่อตรวจจับก้อนเมฆอีกระดับหนึ่ง คือสูงเท่าเทียมหรือต่ำกว่าความสูงของเครื่องบิน นั่นเป็นเพราะว่าการไต่ระดับความสูงของเครื่องบินลดลง หรือความชันของการไต่ระดับน้อยลงเมื่อความสูงเพิ่มขึ้น ความห่างหรือระยะทางระหว่างก้อนเมฆนกับตัวเครื่องบินนั้น สามารถใช้หลักการทางเรขาคณิตมาทำนายความสูงของก้อนเมฆได้ และใช้เพื่อพิจารณาในการบินหลบ หรือเลี่ยงเส้นทางเพื่อไม่ให้เครื่องบินบินเข้าไปในก้อนเมฆที่มีความแปรปรวนของกระแสอากาศ เพราะนั่นหมายถึงการสั่นสะเทือนของเครื่องบินเมื่อบินเข้าไปในนั้น มุมก้ม 1 องศา ห่างจากตัวเครื่องบินออกไป 60 ไมล์ (NM)  จะมีบีมของคลื่นถึง 1 ไมล์ (NM) หรือเท่ากับประมาณ 3000 ฟุต ปรับมุมก้มเงยดู  ก็จะพอเดาได้ว่าเมฆก้อนนั้นมีความสูงต่ำขนาดไหน การใช้งานและประสบการณ์ในการแปลข้อมูลจากเรดาห์ตรวจอากาศสามารถฝึกฝนได้ ให้ลองสังเกตการณ์เวลากลางวัน เพราะเราเห็นก้อนเมฆนั้นได้ด้วยตา ลองดูบ่อยๆว่า เมฆแบบนี้ ปรับมุมก้ม_เงยขอเรดาห์แล้วหน้าตาแบบนี้ ความสูงเท่านี้ แต่ในบางสถานการณ์นักบินก็ไม่สามารถที่จะหลบเมฆได้ทุกก้อน แต่ต้องเลือกก้อนหรือพื้นที่ที่มีความหนาแน่นน้อยที่สุด เพราะมีโอกาสที่ความสั่นสะเทือนจะน้อยหรือไม่มีเลย ทำบ่อยๆ ก็จะเข้าใจ แล้วใช้ประสบการณ์นี้เวลาตอนกลางคืน ที่มองอะไรไม่เห็นเลยแบบในภาพที่เต็มไปด้วยเม็ดฝน เปิดไฟดูจะเห็นเป็นฝ้าขาวไปหมด เห็นแต่น้ำวิ่งเข้ามาที่กระจก แต่ไม่มีการสั่นสะเทือน […]

1 2 3 6
0
0