Tag: สอบนักบิน

กัปตัน Low Cost

โพสต์นี้เขียนเมื่อครบหนึ่งปีที่บินกับสายการบินนกแอร์ สายการบินต้นทุนต่ำของคนไทย มีคำถามหนึ่งจากรุ่นน้องนอกวงการการบินผุดขึ้นมาในใจระหว่างนึกเรื่องที่อยากจะเขียนเล่าลงในเฟสบุ๊ค “ความต่างของสายการบินต้นทุนต่ำกับสายการบินพรีเมี่ยมมันมีจุดวัดที่ตรงไหนในเรื่องของความคุ้มค่าในการเลือกใช้บริการ” วันนั้นผมยังตอบปัญหานี้ได้ไม่ชัดเจนนักเพราะผมในตอนนั้น ไม่เคยบินหรือนั่ง low cost airline มาก่อนเลยแม้แต่ครั้งเดียว วันนี้ผมรวบรวมความคิดหลายๆ อย่างจากประสบการณ์ที่บิน Premium Airline ที่การบินไทยมา 21 ปีและมาบินที่นกแอร์ได้หนึ่งปี จริงๆ ผมอยู่นกแอร์มาปีเศษๆ โดยเริ่มจากการทำงานบริหารด้านความปลอดภัยในการให้บริการการบินของบริษัท และเริ่มเข้าเรียนเครื่องบินแบบใหม่ กว่าจะได้ขึ้นบินก็ปลายเดือนมค.ปี 2016 ความต่างที่มีอย่างชัดเจนระหว่าง premium กับ low cost airline คือ options ในการให้บริการหรือตัวเลือกในการให้บริการแก่ผู้โดยสาร ผมใช้คำว่า Options เพื่อสื่อให้เห็นว่า ไม่ใช่สิ่งที่ถูกกำหนดไว้ตามกฎหมาย แต่เป็นสิ่งที่สายการบินเพิ่มขึ้นมาเพื่อให้ลูกค้าเลือก หรือได้รับความประทับใจและอยากใช้บริการอีกในคราวต่อๆไป นี่เป็นหลักพื้นฐานของธุรกิจบริการ ตัวอย่างเช่น การได้รับการบริการด้านอาหารและเครื่องดื่ม สายการบิน full-service หรือ premium airline ย่อมพยายามเฟ้นหาตัวเลือกที่โดดเด่นในการนำมาให้บริการแก่ลูกค้าที่ใช้บริการของสายการบิน อย่างการบินไทย ให้บริการเรื่องอาหารและเครื่องดื่มโดยมีการบริการฟรี และมีคุณภาพของอาหารและอุปกรณ์เครื่องใช้ในการทานอาหารแตกต่างกันออกไปตามคลาสที่นั่ง เครื่องดื่มก็เช่นกัน บริการฟรีตลอดและมีตัวเลือกตามระดับราคาตั๋ว แต่สำหรับ Low Cost Airline ปกติไม่มีการบริการอาหารและเครื่องดื่ม ทุกอย่างต้องซื้อ ส่วนนกแอร์มี snack box เป็นขนมและน้ำดื่มให้บริการผู้โดยสารทุกคน หากต้องการทานเพิ่มค่อยจ่ายเงิน แต่เรื่องระบบการบริหารด้านความปลอดภัยนั้นไม่มีความแตกต่างกันครับ ตัว core business หรือขั้นตอนในการปฏิบัติการหลักนั้นถูกกำกับไว้ตามกฏหมายให้มีโครงหลักที่เหมือนกันทั่วโลกแต่อาจจะมีความแตกต่างกันอยู่บ้างเพียงเล็กๆน้อยๆ เนื่องจากพื้นที่ของการให้บริการที่ต้องเพิ่มมาตรการตามที่แต่ละประเทศที่บินผ่านกำหนดไว้เพิ่มเติมหรือแตกต่างกัน การกำกับดูแลและกฏหมายยิบๆย่อยๆของแต่ละประเทศ  แต่ไม่ว่าจะเป็น low cost หรือ premium […]

กัปตันจอมฝืด

ตอนที่แล้วพูดถึงการเป็นนักบินพาณิชย์ พูดถึง Co-Pilot ในดวงใจ ช่วงการเป็น co-pilot เป็นช่วงของการสะสมประสบการณ์ ได้เห็นตัวอย่างการบริหารจัดการของกัปตันแต่ละท่านที่อาจจะมีวิธีการจัดการหรือแก้ปัญหาหลากหลายรูปแบบแตกต่างกันไปบ้าง แต่วัตถุประสงค์รวมคือ การแก้ปัญหาหรือป้องกันปัญหาให้อยู่ในวิสัยที่จะควบคุมได้ทั้งนั้น ทีนี้การควบคุมหรือดูแลด้านความปลอดภัยของเที่ยวบินนั้น อาจจะมีกรอบหรือข้อกำหนดตามกฏหมายอยู่ก็จริง แต่เป็นกรอบที่อาจจะไม่ได้ระบุวิธีทำ 1-2-3-4 แต่เป็นการกำหนดว่าอนุญาตให้ดำเนินการต่อได้ถ้าครบถ้วนหรือไม่บกพร่องในเรื่องต่าง ๆ ดังนั้น ปัญหาแบบเดียวกัน แต่การแก้ปัญหาอาจใช้วิธีที่ต่างกันได้ และขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของคนแก้ปัญหาด้วย ธรรมชาติของการบินแอร์ไลน์มักจะมีการกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติในเรื่องต่าง ๆ ไว้ให้มากที่สุด เพื่อที่จะพยายามให้ทุกคนทำหรือแก้ปัญหาทางเทคนิคของเครื่องบินเรื่องเดียวกันในแบบเดียวกัน โดยการเขียนเป็น checklist เอาไว้ แต่ปัญหาที่ไม่ใช่ปัญหาทางเทคนิค แต่เกี่ยวกับคน เป็นปัญหาที่ต้องดำเนินการด้วยวิจารณญานในการตัดสินใจ กัปตันจอมฝึดมีจริงๆครับ ส่วนตัวแล้วตอนที่เป็นโคไพลอตผมไม่เคยหนีหรือหลบกัปตันที่มีชื่อเสียงว่า “ดุ” ไม่เคยแลกไฟล์ทเพื่อไม่บินด้วย และไม่เคยสนใจว่าจะถูกแลกให้ไปบินกับกัปตันที่ขึ้นชื่อว่า “เรื่องมาก” หากเราเปิดใจให้กว้างมากพอ เราจะได้เห็นสิ่งดีดีจากกัปตันท่านเหล่านั้นว่า เป็นคนที่มีความรู้มาก รู้จักข้อกำหนดต่าง ๆ เยอะ และเจออะไรในชีวิตการบินมาหลากหลายรูปแบบ สมัยก่อนตอนที่ย้ายไปเป็น co-pilot ที่เครื่องบินจัมโบ้ B747-400 ใหม่ ๆ ตอนนั้นจัมโบ้บินไกล ๆ อย่างเดียว ไปอเมริกา ยุโรป และออสเตรเลีย พอผ่านการฝึกและเข้าเป็นนักบินปกติ เป็น line-pilot (ไม่ต้องบินกับครูการบินแล้ว) เดือนแรกก็ได้พบกับกัปตันในตำนาน 4 ท่านใน 4 ไฟล์ทของตารางบินเดือนนั้น แบบว่ามาครบเลย ผมจำได้แม่นยำมากว่าเจอท่านใดบ้าง เพราะก่อนบินรับรู้ข้อมูลจากการที่พี่ ๆ เพื่อน ๆ เล่าให้ฟังว่า ท่านนั้นเป็นอย่างนั้น ท่านนี้อย่างนี้ ฯลฯ แต่ผมคิดอย่างนี้ครับ […]

co-pilot ในดวงใจ

นึกยังไงไม่รู้ ด้วยความที่ไม่ค่อยได้มีตารางขึ้นบินบ่อยนัก แต่ก็นึก ๆ ถึงการบินอยู่ตลอด ตอนที่ทำงานออฟฟิศ ก็ต้องอ่านรายงานเกี่ยวกับการบินและการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการอยู่บ่อย ๆ ก็เลยนึกอยากเขึยนเรื่อง “co-pilot ในดวงใจ” ขึ้นมา โดยวาดโครงเรื่องประมาณว่า นักบินผู้ช่วยแบบไหนนะ ที่เราหรือกัปตันจะอยากบินด้วย คนคนนั้นควรจะมีคุณสมบัติอย่างไร โดยส่วนตัวแล้วสำหรับผม ไม่ค่อยเรื่องมากนักว่า น้องที่มาบินด้วยจะต้องเป็นคนอย่างไร แต่จะว่าไปก็อยากได้แบบนี้เหมือนกันครับ “ไม่ต้องรู้ใจ แต่ต้องรู้งาน” ส่วนใหญ่นักบินใหม่ ๆ มักพยายามจะเอาใจกัปตัน จะพยายามทำหรือปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกอกถูกใจกัปตันเข้าไว้ เพราะคิดว่าจะทำให้ทำงานง่ายและราบรื่น แต่สำหรับผม ใครมาพยายามเอาใจมาก ๆ ผมกลับรำคาญ สิ่งที่ผมอยากได้จากนักบินคือ การรู้งานครับ การรู้งานมีความหมายมากกว่า การรู้ใจ  การทำงานโดยที่อยู่บนพื้นฐานของ กฏ กติกา และมารยาท ผมว่าสิ่งนี้เป็นเรื่องสำคัญกว่า นักบินที่พยายามเอาใจกัปตันอย่างไร้เหตุผล สุดท้ายก็จะทำให้กัปตันเหลิงและกลายเป็นคนเอาแต่ใจ ลุแก่อำนาจหน้าที่ เวลาตัดสินใจอะไร ก็จะไม่ถามความสมัครใจหรือความเห็นเพื่อนร่วมงาน (แต่บางสถานะการณ์กัปตันก็ต้องตัดสินใจเลย รอถามไม่ได้เหมือนกัน อันนี้อธิบายยากอยู่เหมือนกันครับ)  ทำอย่างไรล่ะที่จะเรียกว่า รู้งาน  การรู้งาน คือ การมีความรู้เกี่ยวกับงานในหน้าที่  “ต้องไม่จับเสือมือเปล่า”  ถ้าบินไปสนามบินที่ไม่เคยไป ต้องอ่าน chart ของสนามบินมาอย่างทะลุปรุโปร่ง ต้องทำการบ้านมาก่อน การอ่าน chart อย่างทะลุปรุโปร่งหมายความว่า มีพื้นฐานในการทำความเข้าใจวิธีการบิน มีการวิเคราะห์ทางหนีทีไล่ การเข้าใจโครงสร้างของการเข้าออกของสนามบิน (SID-STAR: Standard Instrument Departure-Standard Arrival Route) และมองเห็นข้อจำกัดในพื้นที่การบินของสนามบินนั้น อาทิเช่น ข้อจำกัดในการเข้า-ออก ของแต่ละทางขับ […]

นักบินอาชีพ

บินดี (ในมุมของนักบิน การบินดีคือบินได้ถูกต้องตามหลักการบิน ที่เราเรียกว่า Flight Procedures)  การบินได้นิ่มนวล ทั้งการลดระดับเพดานบินและการร่อนลงสู่สนาม โดยที่ผู้โดยสารไม่รู้สึกหูอื้อ หรือถูกกระชาก หรือกระแทก อันนี้คือส่วนที่ ผู้โดยสารสัมผัสได้  แต่บางครั้งนักบินจะไม่เลือกความนิ่มนวล หากความนิ่มนวลนั้นจะก่อให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มขึ้น อาทิเช่น หากสนามบินมีฝนตกและกระแสลมแรง จะทำให้ทัศนวิสัยต่ำ พื้นสนามบินเปียกก็จะลื่น การลงจอดจะใช้ระยะทางมากกว่าปกติ ดังนั้น นักบินจะเลือกลงกระแทกเล็กน้อยเพื่อให้ล้อของเครื่องบินสัมผัสผิวรันเวย์และเริ่มการเบรคเพื่อลดความเร็วให้ได้เร็วและให้ใช้ระยะทางบนรันเวย์น้อย ๆ  อีกคุณสมบัติหนึ่งของการเป็นนักบินที่ดี คือ ความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหา หรือการคาดคะเนความต่อเนื่องของปัญหา เพราะว่าปัญหาบางเรื่องทำตัวเหมือนฆาตกรต่อเนื่อง คือเกิดอันนี้ขึ้นจะกระทบกับเรื่องนั้นเรื่องนี้ต่อๆกัน  แต่โดยส่วนใหญ่แล้วเครื่องบินถูกออกแบบระบบต่างๆเพื่อพยายามกำจัดหรือจำกัดให้เป็นปัญหาเดี่ยวๆให้มากที่สุดโดยการมีระบบสำรองเข้ามาทำงานแทน แต่ก็ยังมีปัญหาอื่นๆอยู่บ้างที่ทำให้นักบินต้องนึกถึงปัญหา ที่อาจจะมีตามมาหลังจากเกิดปัญหาแรก โดยเฉพาะปัญหาที่เกี่ยวข้องกับผู้โดยสาร และสภาพอากาศที่มีผล กระทบต่อการปฏิบัติการบินหลังจากนั้น ซึ่งสิ่งสำคัญที่ต้องนำมาคิดเสมอและเป็นลำดับแรกทุกครั้งคือ ความปลอดภัย  ความรู้และความเข้าใจในระบบต่างๆของเครื่องบินและกฏระเบียบการบินจึงมีความสำคัญส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งคือ ประสบการณ์ในการแก้ปัญา โดยเฉพาะปัญหาที่ไม่ได้เกิดจากระบบของเครื่องบิน  นักบินแต่ละคนจึงอาจจะแก้ปัญหาเรื่องเดียวกันด้วยวิธีที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ณ ขณะนั้น ประกอบเข้ากับประสบการณ์การบินที่ผ่านมา  ผมจึงอยากจะบอกว่า ไม่ว่านักบินจะแก้ปัญหาแล้วเกิดผลกระทบกับการเดินทางของเรามากน้อยอย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดที่นักบินทุกคนนึกถึงก่อนทุกครั้ง เมื่อนักบินกำลังเผชิญกับปัญหาเฉพาะหน้าที่ต้องแก้ไข  คือ  “ความปลอดภัยของผู้โดยสารทุกคน”  สำหรับผู้โดยสารคงมองกันไม่ออกหรอกครับว่า นักบินคนไหนเป็นนักบินที่ดีหรือไม่ดี มีแต่นักบินด้วยกันเองนั่นแหละที่จะรู้ว่า บินแบบนี้ ดีหรือยัง

การเป็นนักบินพาณิชย์

เขียนให้ร่วมสมัยเพราะเห็นว่าปัจจุบันมีนักบินใหม่ ๆ เริ่มเข้าสู่วงการการบินพาณิชย์ ก็เลยอยากเล่าและแอบสอนผ่านตัวหนังสือ เป็นเกร็ดเล็กน้อยเผื่อไว้สำหรับคนที่อยากเป็นนักบินหรือกำลังเป็นนักบินฝึกหัด ผมขอเล่าจากประสบการณ์ตัวเองที่มีอยู่ 23 ปี และหวังว่าคงมีประโยชน์สำหรับทุกคนครับ สมัยที่ผมจบโรงเรียนการบินใหม่ ๆ และเข้ามาเป็นนักบินของการบินไทย ผมเริ่มต้นด้วยการเป็น System Operator/Flight Engineer เรียกง่าย ๆ ว่า นักบินที่ 3 ของเครื่องบินแบบ Boeing 747-200/300 ซึ่งเป็นเครื่องบินที่ยังต้องใช้นักบิน 3 คนในการบิน นักบินที่ 3 จะเป็นผู้จัดการเรื่องระบบต่าง ๆ ของเครื่องบินในแต่ละช่วงของการบิน เช่น การปรับระบบน้ำมัน การปรับระบบความดันอากาศ ระบบไฟฟ้า ระบบไฮดรอลิก เป็นต้น ความที่เราเป็นนักบินใหม่ ประสบการณ์การบินเรียกว่า ไม่มีเลยสำหรับการบินพาณิชย์ แต่ความรู้ต้องมี เพราะมีการเรียนในห้องเรียนก่อนเริ่มต้นบินจริง ๆ ไล่ตั้งแต่กฏระเบียบต่าง ๆ และวิธีการปฏิบัติ การอ่านแผนที่นำทาง ระบบนำร่องต่าง ๆ  ทั้งหมดเป็นการปูพื้นฐานสำหรับใช้ในการบินจริง ซึ่งมีความสำคัญมากที่จะต้องเก็บเกี่ยวความรู้ต่าง ๆ ในการทำงานบนเครื่องบิน และในระหว่างการเริ่มขึ้นเครื่องบินจริงนั้นก็จะต้องมีการทบทวนและการทำความเข้าใจระบบการทำงานแต่ละส่วนของเครื่องบิน จดจำปุ่มต่าง ๆ ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก โดยต้องจำได้ด้วยพื้นฐานความเข้าใจอย่างเป็นระบบ ก่อนขึ้นบินจริงต้องมีเข้าฝึกในเครื่องฝึกบินจำลองเป็นสิบ ๆ ครั้ง เพื่อให้มั่นใจเรื่องการปรับระบบต่าง ๆ และการทำความเข้าใจในการบินขึ้นลงสนามบินด้วย  ส่วนตัวผมเห็นว่าการบินเครื่องบินเครื่องใหญ่ เครื่องเล็ก เหมือนกันหมดครับ เพราะใช้พื้นฐานของเครื่องวัดประกอบการบินแบบเดียวกัน เพียงแต่เครื่องบินพาณิชย์นั้นมีเครื่องวัดต่าง ๆ จำนวนมากขึ้นกว่าเครื่องบินใบพัดลำเล็ก ๆ ที่ใช้ฝึกในโรงเรียนการบิน หากว่าเราเข้าใจพื้นฐานการอ่านค่าเครื่องวัดประกอบการบินแล้ว […]

0
0