The Road in The Sky

เรื่องไม่ลับอาชีพนักบินกับสาระเบาๆเพื่อนักเดินทาง

เสือ ควาย หมา “The Right Man”

ถ้าจะใช้ “เสือ” ทำงานต้องให้เขามีพื้นที่ แล้วปล่อยไปล่าเหยื่อมาให้ ไม่ต้องบังคับ ไม่ต้องกำหนดวิธีเพราะเสือคือ “นักล่า” ถ้าจะใช้ “ควาย” ทำงานต้องให้หญ้าเขาให้พอ ต้องบังคับแล้วใช้ไถนา พวกเขา “อึด” แต่ต้องจูง ถ้าจะใช้ “หมา” ทำงาน ต้องให้อาหาร ให้ความสนิทสนม ให้เห่าและเฝ้าบ้านพวกเขา “ภักดี ประจบ และยอมเลียปากนาย” คนไม่เข้าใจก็จะใช้งานคนผิดประเภท ให้ “เสือ” ทำงานอย่างกับควายให้ “ควาย” ทำงานเยี่ยงหมาแล้วให้ “หมา” ไปเป็นเสือ เสือ ไม่เลียปากนาย ไม่ไถนา ไม่ประจบ ควาย ไม่เฝ้าบ้าน ไม่ล่าเหยื่อ และไม่ประจบ หมา ไม่ไถนา ไม่ล่าเหยื่อ งานก็ไม่เดิน ไม่ประสบความสำเร็จ ไม่ทันเวลา ผลลัพธ์ไม่ได้ตามเป้า ใช้คนเกินจำนวนงาน ค่าใช้จ่ายไม่เหมาะสมสุดท้าย “เสือ” ก็จะออกไปล่าเหยื่อด้วยตัวเอง เหลือ “ควาย” เฝ้าบ้าน กับ “หมา” ที่เห่าล่าเหยื่อถ้าใช้งานคนถูกประเภท เสือ ควาย หมา อยู่ด้วยกันได้ล้วนมีบทบาทสำคัญของตนเององค์กรจะเจริญรุ่งเรืองได้เมื่อ ใช้คนให้ถูกกับงาน “Put The Right Man To The Right Job” เสือ ควาย หมา ห่วงโซ่ (คน) สำคัญขององค์กร

Workshop Diversity Management in Organizations for Human Resources

*ประชาสัมพันธ์งานอบรม* คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดให้ลงทะเบียนโครงการอบรมความรู้ทางจิตวิทยา หัวข้อ“จิตวิทยาการบริหารจัดการความหลากหลายในองค์กร สำหรับผู้ดูแลและจัดการทรัพยากรบุคคล” Workshop Diversity Management in Organizations for Human Resources โดย อาจารย์ ดร.เจนนิเฟอร์ ชวโนวานิชประธานแขนงวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ คณะจิตวิทยา  วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 – 16.00 น. ณ ห้อง 614 ชั้น 6 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ค่าลงทะเบียน ท่านละ 5,500 บาท  https://forms.gle/s1jfzZVihy8DD3aq5ราคานี้รวมค่าอาหารกลางวัน อาหารว่าง เอกสารประกอบการอบรม และวุฒิบัตร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่คุณวาทินี โทร. 02-218-1307 E-mail: wathinee.s@chula.ac.thhttps://www.psy.chula.ac.th/th/workshops-courses/diversity-management

การจัดการคาร์บอนอย่างยั่งยืนสำหรับภาคธุรกิจ รุ่นที่ 2

การอบรมเรื่อง “การจัดการคาร์บอนอย่างยั่งยืนสำหรับภาคธุรกิจ” รุ่นที่ 2วันศุกร์ ที่ 22 มีนาคม 2567 เวลา 08.30-17.00 น.ณ โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพ อัพเดท “ร่างพรบ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” ข้อมูลการจัดการก๊าซเรือนกระจกมาตรการทางการค้าและเศรษฐกิจของยุโรป CBAMการจัดการก๊าซเรือนกระจกอย่างมีประสิทธภาพ การวางแผนและมุ่งเป้าเพื่อลดการปล่อยก๊าเรือนกระจก กรุณายืนยันการสมัครและลงทะเบียนภายใน วันอังคารที่ 19 มีนาคม 2567สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ คุณนวพรรณ วงศ์ขัติย์ 02 218 2880 ต่อ 528 , คุณสุพรรษา โกมินทร์ เบอร์โทรศัพท์ 095-165-3452email: bg.chulaunisearch@gmail.com ค่าสมัครเข้าร่วมการอบรมจำนวน 2,900 บาท/คน หมายเหตุ บริการอาหารกลางวัน และอาหารว่าง ตลอดการอบรม โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์  เลขที่บัญชี  152-459566-5  ชื่อบัญชี ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สิ่งที่ท่านจะได้รับ:ใบรับรองการอบรม ความเข้าใจและความสำคัญของ Climate Change ความสามารถในการวางแผนการจัดการ CO2 ในองค์กร ช่องทางการให้บริการ/ให้คำปรึกษา/การสนับสนุนและการเชื่อมโยง ห้ามพลาด!โอกาสในการพัฒนาองค์กรของคุณให้ยั่งยืน สมัครตอนนี้เพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนสำหรับทุกคนและโลกของเรา! คลิ๊กลิงก์เพื่อสมัคร https://forms.gle/Mqt3vjYijGfJaRAz5 โครงการอบรมสัมมนา “การจัดการคาร์บอนอย่างยั่งยืนสำหรับภาคธุรกิจ” รุ่นที่ 2 วันศุกร์ ที่ 22 มีนาคม 2567 เวลา 08.00-17.00 น. ณ โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ 08.00 น.              ลงทะเบียน 08.30 น.              กล่าวต้อนรับ แนะนำวิทยากรและทีมงาน […]

House of Airmanship

จะเป็นนักบินที่ดีต้องมี Airmanship เรื่อง airmanship นั้นผมเคยเขียนไปแล้วสั้น ๆ ในหนังสือ A Pilot เล่มแรก วันนี้จะมาเขียนอีกครั้งแบบเต็ม ๆ ว่า Airmanship นั้นมันคือ อะไร ยังไง เรื่องการบินนั้น แน่นอนต้องมีเครื่องบินกับนักบิน แต่การบินพาณิชย์นั้นไม่ได้บินคนเดียว ลำเดียว การบินพาณิชย์มีเครื่องบินอยู่บริเวณเดียวกันหลาย ๆ ลำ Airmanship สำหรับการบินพาณิชย์จึงมีองค์ประกอบของการมีมารยาทที่จะบินด้วยกันบนน่านฟ้าด้วย เรื่องนี้นักบินด้วยกันรู้ดีว่า การเอาเปรียบกันบนน่านฟ้าแบบไหน ที่เรียกว่า นักบินขาด airmanship เกริ่น ๆ ไว้เท่านี้ครับ พูดถึงเรื่อง airmanship ตามทฤษฏีกันดีกว่า airmanship นั้นหมายถึง การที่นักบินมีการตัดสินใจที่ดีต่อการปฏิบัติการบินในสถานการณ์ใด ๆ หรือตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติหน้าที่ในการบิน บางทีผมอยากแปลว่า มารยาทในการบินเข้าไปด้วย ผมแปลจากความเข้าใจและประสบการณ์นะครับ ไม่ได้อ้างอิงตำรับ ตำราที่ไหน จะเข้าเป้าตามหลักวิชาการขั้นปริญญาเอกหรือเปล่าไม่ทราบ เอาเป็นว่า airmanship แบบผม เป็นแบบนี้ องค์ประกอบของการที่นักบินคนหนึ่ง จะมีความสามารถที่จะตัดสินใจอะไร ๆ ระหว่างการบินได้อย่างถูกต้องนั้นมีหลายองค์ประกอบร่วม ตาม House of Airmanship ของ Kern ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนพื้นฐาน หรือ Bedrock Principles ส่วนของความรู้ หรือ Pillars of Knowledge และส่วนที่เป็นผลลัพธ์จาก […]

Airmanship

จากบทความเรื่อง “Airmanship ฉบับโสภณ” หนังสือ A Pilot Book by Captain Sopon Phikanesuan (ซื้อหนังสือได้ที่ shopee และ facebook page (ลาซาด้าไม่ได้วางจำหน่าย) คำว่า Airmanship แปลตามพจนานุกรม หมายถึง ทักษะ ความรู้ ประสบการณ์ และวิธีการทำงานที่ทำให้การควบคุมเครื่องบินมีความปลอดภัย อันนี้ผมพยายามแปลตรง ๆ ดู ตามหนังสือเขาว่าไว้ว่า Airmanship ประกอบไปด้วย 3 ส่วนคือ ทักษะในการทำงานและรวมถึงความรู้ในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการบิน (Skill) ความเชี่ยวชาญหรือประสิทธิภาพในการทำงาน รวมถึงความสามารถในการนำความรู้ไปใช้งาน (Proficiency) และความมีระเบียบวินัยในการปฏิบัติงาน (Discipline) ผมว่าเขียนตามหลักวิชามันน่าเบื่อ เหมือนเอาหนังสือมาแปลให้อ่าน เขียนตามความเข้าใจและที่อยากให้คนอ่านเข้าใจดีกว่า (ว่าแล้วก็ปิดตำรา และมาต่อกันที่ความเข้าใจส่วนตัวละกันครับ) ถ้าจะให้อธิบายความหมายจากความรู้สึกส่วนตัวจริง ๆ ไม่อิงตำราหรือหนังสือที่ไหน Airmanship ผมขอแปลว่า  “กึ๋น” ครับ สั้น ๆ เลย Airmanship มันคือ กึ๋นในการทำงานของนักบิน มันเป็นตัวบอกว่า นักบินคนนั้น เป็นนักบินที่ดีหรือไม่ มีการทำงานที่มีช่องโหว่แห่งอุบัติเหตุหรือไม่ จริง ๆ การบินเป็นอะไรที่ง่ายและไม่ซับซ้อน ถ้ารู้และเข้าใจ รวมทั้งรู้ศักยภาพของตัวเองด้วย (อันสุดท้ายนี่สำคัญมาก) การบินเพื่อให้ทุก ๆ เวลามีความเสี่ยงภัยน้อยที่สุด หรือลดดีกรีความรุนแรงของปัญหาให้เร็วที่สุดและมากที่สุด การบินเป็นเรื่องที่ไม่ง่าย และมีความซับซ้อนมากที่สุดเช่นกัน โดยเฉพาะกับนักบินที่ยังขาด Airmanship ที่ดี และอีกพวกคือพวกที่มีความมั่นใจไร้สติ (Overconfidence) พวกนี้มีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุมากที่สุด เพราะอาจจะทำอะไรที่เป็นการแหกกฏ […]

1 2 3 96
0
0