Tag: สอบนักบิน

ข้อสอบนักบิน

การทดสอบหลาย ๆ อย่างที่มักจะใช้เป็นตัวทดสอบความสามารถของผู้ที่จะสอบคัดเลือก

Pilot interview

บทนี้จะเป็นส่วนที่เพิ่มเติมจากหนังสือ A Pilot เล่มแรกและเล่มสองครับ จะมีเนื้อหาเบสิค ๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับการสอบสัมภาษณ์ มีตัวอย่างและเทคนิคพื้นฐานบางเรื่องเพื่อแนะนำให้ผู้อ่านได้มองเห็นภาพชัดเจนขึ้นว่า การทดสอบบางอย่างนั้น มีที่มาที่ไปอย่างไร  บทความจากหนังสือ A Pilot Part III เนื้อหาในหนังสือบทนี้ ไม่ใช่การติวเพื่อสอบนักบินนะครับ การติวเพื่อที่จะสอบนักบินเป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งไม่อยู่ในแนวทางและไม่ใช่วัตถุประสงค์ในการเขียนหนังสือเล่มนี้และ A Pilot Book ทั้งสองเล่มที่ผ่านมาครับ ปัจจุบันมีคนเปิดติวเพื่อสอบเป็นนักบินกันมากอยู่ครับ เรื่องนี้แล้วแต่ความชอบเลยครับ ส่วนตัวไม่ได้สนับสนุนหรือจะต่อต้านครับ สำหรับผม เชื่อว่าการได้รู้และเข้าใจที่มาที่ไปและมองเห็นวัตถุประสงค์ในการสอบแต่ละประเภท จะเป็นคำแนะนำที่ดีที่สุดสำหรับการเข้าใจจุดอ่อน จุดแข็งของตนเอง และมันจะติดตัวเราไปตลอดอีกทั้งสามารถที่จะต่อยอดไปใช้กับการทำงานอื่น ๆ ได้อีกด้วย การทดสอบระหว่างสัมภาษณ์ ในการสัมภาษณ์นักบินนั้น ผู้สัมภาษณ์อาจทำการทดสอบปฏิกิริยาต่าง ๆ ของผู้ถูกสัมภาษณ์ เพื่อค้นหาว่า ผู้ถูกสัมภาษณ์นั้น มีจุดอ่อนหรือจุดแข็งตามคะแนนที่กรรมการเห็นอยู่ในมือหรือไม่ แน่นอนครับ ก่อนจะเรียกเข้ามาสัมภาษณ์ กรรมการสอบจะคุยกันสั้น ๆ จากผลคะแนนของการสอบข้อเขียนในรอบที่ผ่านมา และดูประวัติส่วนบุคคล ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน (ถ้ามี) คะแนนเรียนในแต่ละเทอม หรือ คะแนนสอบวัดระดับต่าง ๆ ที่มี เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเริ่มสัมภาษณ์ การแต่งกายการวางตัว การควบคุมอารมณ์ การควบคุมความตื่นเต้น ฯลฯ เรื่องเทคนิคต่าง ๆ เหล่านี้ผมเขียนไว้แล้วในสองเล่มแรก ลองอ่านซ้ำดูนะครับ การสอบสัมภาษณ์จะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการพูดคุย แต่อาจจะถูกสอดแทรกด้วยการทดสอบบางอย่างด้วย โดยการทดสอบระหว่างสัมภาษณ์นั้น อาจจะเป็นการทดสอบง่าย ๆ สั้น ๆ เพื่อสนับสนุนหรือทำให้กรรมการเกิดความมั่นใจว่า ผู้ถูกสัมภาษณ์นั้นได้คะแนนจากการสอบข้อเขียนด้านนี้มาด้วยความสามารถ ไม่ได้ฟลุ๊คตอบถูก […]

“ทำไมกัปตันต้องนั่งด้านซ้าย”

ที่นั่งด้านซ้าย จะมีอุปกรณ์จำเป็นที่มีเหลืออยู่ตอนเกิดความขัดข้องของระบบต่าง ๆการออกแบบเครื่องบินนั้นจะมีระบบสำรองหลาย ๆ ระบบเข้าทำงานทดแทนกันได้ ซึ่งอาจจะไม่ได้สมบูรณ์เท่ากับระบบหลัก ๆ โดยที่การมีระบบสำรองเอาไว้หลาย ๆ ชั้นนั้น เป็นการการันตีเรื่องของการทำงานของส่วนควบคุมที่สำคัญ ๆ ตัวอย่างเช่น ถ้าเครื่องยนต์ดับหนึ่งเครื่อง เครื่องยนต์ที่เหลือต้องสามารถผลิดกำลังมีเพียงพอสำหรับการพาเครื่องบินไปต่อได้ รวมทั้งผลิตระบบจ่ายกำลังให้แก่เครื่องช่วยอื่น ๆ ด้วย เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบความดัน ระบบไฮดรอลิค เป็นต้นและยังมีระบบช่วยที่จะใช้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ อย่าง APU หรือ Auxillary Power Unit ซึ่งเป็นเสมือนเครื่องยนต์ขนาดเล็ก ๆ แต่ไม่ได้มีไว้ผลิตกำลังในการขับเคลื่อนเครื่องบิน มันมีไว้สำหรับสร้างกระแสไฟฟ้า และกำลังลม (pneumatic system) สำหรับนำไปใช้ปรับอากาศและสร้างกำลังขับในส่วนอื่น เช่น ปั่นไฮดรอลิค หรือ กาง flaps เป็นต้นสมมุติว่า ระบบผลิตกระแสไฟฟ้าขัดข้อง (Engine Generator) ทำให้ระบบต่าง ๆ ไม่ถูกจ่ายไฟไปเลี้ยง อุปกรณ์เหล่านั้นก็จะไม่ทำงาน ลองนึกภาพว่า ถ้าจอ LCD ที่อยู่ด้านหน้าของนักบินไม่มีไฟเลี้ยง อะไรจะเกิดขึ้น ยิ่งถ้านักบินไม่สามารถมองเห็นภายนอกเพราะอยู่ในความมืดหรือสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยผู้ผลิตเครื่องบินจะไม่ยอมให้เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นครับ หากกระแสไฟจากเครื่องยนต์ขัดข้องไปตัวหนึ่ง ตัว ENG Gen อีกด้านหนึ่งก็จะเข้าจ่ายไฟให้กับด้านที่หายไปด้วยในทันที แล้วถ้ากระแสไฟต้องถูกใช้มาก ระบบก็จะตัดการใช้กระแสไฟฟ้าของส่วนที่ไม่สำคัญออกไป หากปัญหาเกิดขึ้นต่อ ENG Gen อีกตัวหนึ่งพังไปด้วย เพราะรับโหลดไม่ไหว ทำยังไงดีล่ะครับตอนนี้ Battery จะเข้าจ่ายไฟสู่ระบบแทน Battery ก็เหมือน powerbank […]

ชื่อเรียกส่วนต่างๆของเครื่องบิน

ปกติเราจะรู้จักส่วนประกอบของเครื่องบินกันแต่เพียงผิวเผิน เช่น บริเวณปีก ส่วนของล้อ ส่วนของลำตัว และห้องโดยสาร มาดูกันครับว่า จริงๆแล้วโครงสร้างหลักๆของเครื่องบินที่เรามองเห็นกันจากภายนอกนั้น มีชื่อเรียกเป็นศัพท์เฉพาะว่ายังไงบ้าง Aircraft component in general ติดตามกัปตันโสภณได้ทางยูทูปและโซเชียลมีเดีย Youtube https://www.youtube.com/channel/UC_aaFFHPV6rckhnA-tAdkHg Facebookhttps://www.facebook.com/aPilotBook Line Official “@a-pilot” หรือกดลิงค์นี้เพื่อ add friend https://line.me/R/ti/p/%40apilotclub Website https://www.apilotclub.com สนใจหนังสือ A Pilot Book มีทั้งหมด 5 เล่ม ติดต่อได้ทุกช่องทางโซเชียลมีเดียหรือสั่งซื้อผ่านทาง Shopee https://shopee.prf.hn/l/6WoxlPo Line Shop https://shop.line.me/@qgm0886l

Runway Excursion

Runway excursion หมายถึง การที่เครื่องบินลงบนทางวิ่งหรือเรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า รันเวย์ (runway) แต่เครื่องบินไม่จอดนิ่งสนิทอยู่บนรันเวย์ อาทิเช่น เมื่อเครื่องบินแตะพื้นแล้วแต่ไม่สามารถลดความเร็วให้เครื่องบินหยุดได้ตามปกติ เบรคไม่ดี หยุดไม่อยู่ประมาณนั้น เครื่องบินก็เลยวิ่งทะลุเลยพื้นแข็งๆของรันเวย์ ไปกองอยู่ที่พื้นดินพื้นหญ้าหรือบ่อน้ำ หรือ เครื่องบินแตะรันเวย์แล้วเครื่องเป๋ไปเป๋มาจนหลุดออกข้างทางไปอยู่ข้างรันเวย์  หรือ เป๋ออกไปด้านข้างประมาณว่า ล้อเหยียบหญ้าข้างทาง แล้วนักบินพาเครื่องบินกลับเข้าพื้นแข็งได้ ก็นับเป็นการออกนอกรันเวย์ ที่ยกตัวอย่างมาทั้งหมดนั้นเรียกว่า runway excursion Runway excursion อาจไม่ใช่อุบัติเหตุเสมอไป บางครั้งการเป๋ออกไปนอกสนามเช่น ล้อซ้ายตะกุยดินไปหนึ่งข้างแล้ววกกลับเข้ามาได้ ยางไม่แตก ล้อไม่หัก แต่ฝ่ายช่างก็ต้องทำการตรวจเช็คสภาพโครงสร้างของเครื่องบินว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นหรือไม่ เพราะการที่ล้อข้างหนึ่งไปจมดินอยู่ การรับแรงที่ส่วนยึดของปีกกับล้อนั้นอาจทำให้โครงสร้างปีกเกิดรอยร้าวได้  หากการเกิด runway excursion ไม่ได้ทำให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างเครื่องบิน ไม่ได้ทำให้เกิดไฟไหม้หรือมีผู้บาดเจ็บล้มตาย เหตุการณ์นั้นก็จะเรียกว่าเป็นเพียงอุบัติการณ์ (incident) กรณีดังข้างต้นนั้น เกิดขึ้นบ่อย แต่ไม่ค่อยเป็นข่าว เพราะเวลาที่ล้อออกไปกินหญ้านั้นเกิดขึ้นรวดเร็วมาก ผู้โดยสารแทบไม่ทันรู้สึก แต่นักบินควรจะรู้เพราะนั่งอยู่ด้านหน้า สามารถมองเห็นเส้นกึ่งกลางของรันเวย์ก็จะทำให้รู้ว่าเครื่องบินอยู่ส่วนไหนของรันเวย์ หากเอียงเฉไปทางซ้ายหรือขวามากเกินไป ก็ต้องสันนิษฐานว่ามีโอกาสที่ล้อบริเวณลำตัว (main body gear) จะหลุดออกนอกรันเวย์ได้ ถามว่า “เรื่องแบบนี้เคยเกิดขึ้นไหม”  เคยเกิดครับ มีทั้งที่รู้ตัวว่าตกขอบรันเวย์กับไม่รู้ตัวแต่มารู้ทีหลังก็ตอนที่เครื่องบินจอดแล้วเดินตรวจเครื่องบิน ก็จะเห็นดินโคลนหรือหญ้าติดมากับล้อด้วย บางทีก็ทำให้ยางแตก หรือ หอบังคับการบินแจ้งว่าเครื่องบินเหยียบไฟทำให้ไฟของสนามบินเสียหาย นักบิน อาจจะไม่รู้สึกเลยก็เป็นไปได้ ถามว่า “ทำไมนักบินถึงไม่รู้สึกว่าเหยียบหลอดไฟหรือการที่ล้อเครื่องบินตกขอบไปกินหญ้านักบินไม่รู้สึกถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นเลยได้อย่างไร” นักบินอาจจะรู้สึกถึงความผิดปกติหรืออาจจะไม่รู้สึกว่ามีความผิดปกติก็ได้ครับ ขึ้นอยู่กับว่าสถานการณ์นั้นเลวร้ายหรือรุนแรงมากน้อยแค่ไหน และขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องบินด้วย นั่นเป็นเพราะว่า เครื่องบินโดยสารที่มีขนาดใหญ่อย่าง โบอิ้ง B747 B777 B787 หรือแอร์บัส […]

0
0