Day: October 27, 2019

Loss of Separation

วันนี้เรามาทำความรู้จักกับคำว่า LOS หรือ Loss of Separation กัน คำว่า Loss of Separation หมายถึง เครื่องบินสองลำนั้นอยู่ห่างกันต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ (Separation Standards) ไม่ว่าจะเป็นทางด้านความสูง (vertical separation) หรือ ด้านระยะห่างในแนวราบ (lateral and longitudinal separation)  การเกิด Loss of separation นั้นถือเป็นอุบัติการณ์ที่มีความเสี่ยงสูง (High Severity of Safety Risks) เพราะการเกิด LOS นั้นจะทำให้มีโอกาสที่จะเกิดการบาดเจ็บขึ้นได้ จะเกิดการบาดเจ็บขึ้นได้ยังไง LOS นั้นเกิดได้หลายแบบ ประเภทที่รุนแรงที่สุดคือ ชนกันกลางอากาศ (ตายสถานเดียว เรียกว่า โอกาสรอดน้อยถึงน้อยที่สุดจะเหมาะสมกว่า) * a vertical or a horizontal plane, or both; *Level Bust; *Wake Vortex Turbulence; * Airspace Infringement; * Controlled Flight Into Terrain (CFIT). * Ground Operations (คนที่ยังไม่เคยอ่าน A Pilot เล่ม […]

Clear Air Turbulence

ทำไมผู้โดยสารจึงบาดเจ็บ ลองนึกภาพตามนะครับ ลองใส่เหรียญบาทในขวดแก้วใส ๆ จับวางนอนด้วยสองมือ เสร็จแล้วลองเขย่าครับ เหรียญบาทก็จะกระทบขวดแก้วเด้งไปมา ผู้โดยสารที่ไม่ได้รัดเข็มขัด มันก็คล้าย ๆ กับเหรียญบาทนั่นแหละครับ ทีนี้ลองใหม่ ถ้าเราติดกาวที่เหรียญบาทไว้ภายในขวด เขย่ายังไง เหรียญก็ไม่กระแทกขวดใช่ไหมครับ ขึ้นเครื่องบินเวลานั่งอยู่กับที่ ให้รัดเข็มขัดนิรภัยเสมอ โดยเฉพาะเวลานอนก็ต้องรัดเข็มขัดไว้ครับ ปลอดภัยกว่า กรณีของ Air Canada นั้นมีผู้บาดเจ็บถึง 37 คน และมีถึง 9 คนที่บาดเจ็บสาหัส https://apnews.com/49db2788d04d4e11bcbb1a63dbae4199 แต่ไม่ใช่ Air Canada ที่เคยเจอเหตุการณ์แบบนี้เป็นสายการบินแรก มีสายการบินอื่น ๆ ที่เคยประสบเหตุทำนองนี้มาแล้วหลายราย สายการบินแห่งชาติของเราเองก็เคยเจอหนัก ๆ เมื่อสมัยที่เครื่องบิน MD-11 ยังบินอยู่ ตอนนั้นกำลังลดระดับลงสนามบินไคตั้ก (สนามบินเก่า) ที่ฮ่องกง บาดเจ็บไปหลายสิบคนเหมือนกัน แต่ไม่ได้เป็นข่าวคึกโครมเหมือนสมัยนี้ เพราะ20 ปีที่แล้ว facebook, instagram, twitter ยังไม่เกิดและเทคโนโลยีการข่าวยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าปัจจุบัน เรามาดูสถิติที่เคยเกิดเหตุทำนองนี้กัน -4 May 2016, an Airbus A330-200 in the cruise in day VMC at FL390 เกิดบริเวณประเทศอินโดนีเซีย บาดเจ็บ 24 คน 7 คนที่บาดเจ็บสาหัส -18 October […]

อยากเรียนบิน อ่านก่อนนะ

“อยากรู้เรื่องการเตรียมตัว เข้าโรงเรียนการบินครับ ผมไม่ได้จบสายวิทย์จะเตรียมความพร้อมอย่างไรได้บ้างครับ” ก่อนอื่นให้ทำความเข้าใจก่อนว่า  การเข้าโรงเรียนการบินเองนั้น หมายถึง การใช้เงินทุนส่วนตัวเพื่อสมัครเข้าไปเรียนเป็นนักบิน ค่าใช้จ่ายตรงนี้ค่อนข้างสูง ส่วนใหญ่อยู่ที่ประมาณ 2.5 ล้านบาทขึ้นไป เพื่อที่จะได้ใบขับขี่นักบินพาณิชย์ตรี หรือ CPL: Commercial Pilot License ก็เขียนแนะนำไว้ในหนังสือแล้วนะครับว่า (อยากได้หนังสือคลิก) ควรจะลงทุนตรงนี้ หรือไม่ควรอย่างไร ผมจะเน้นไปที่หลักสูตรนักบินพาณิชย์ตรี/เครื่องบิน (Comercial Pilot License: Aeroplane) นะครับ (มีหลักสูตรนักบินพาณิชย์ตรี/เฮลิคอปเตอร์ ด้วย อันนี้ไม่ได้ดูรายละเอียดให้นะครับ) เอาเป็นว่าเริ่มต้นที่ “ไม่ต้องจบสายวิทย์ก็เรียนบินได้” ขอแค่มีเงินจ่ายครับ เงื่อนไขทั่วไปในการที่จะสมัครเข้าเรียนโรงเรียนการบิน เน้นว่าเป็นเงื่อนไขเพื่อเข้าไปเรียนในโรงเรียนการบินเพื่อฝึกให้ได้ใบขับขึ่เครื่องบินนะครับ ไม่ใช่เข้าเป็นนักบินในสายการบิน – สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า – ผ่านการตรวจสุขภาพร่างกาย และจิตวิทยาการบินจากสถาบันเวชศาสตร์การบิน กรมแพทย์ทหารอากาศ หรือ ศูนย์เวชศาสตร์การบินพลเรือนกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ – อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ (บางที่จะรับอายุมากกว่า 17 ปี) – มีคะแนนทดสอบภาษาอังกฤษ TOEIC ไม่ต่ำกว่า 600 คะแนน  วิชาภาคพื้น  ต้องเรียนทฤษฏีและความรู้พื้นฐานต่าง ๆ  เช่น aerodynamic กฏการบินทั้งหลาย อุตุนิยมวิทยาการบิน วิทยุสื่อสาร เครื่องวัดประกอบการบิน หลักการพื้นฐานด้านการบิน ฯลฯ วิชาภาคอากาศ (ฝึกบิน)  การฝึกบังคับเครื่องบิน ท่าทางและลักษณะการบินต่าง ๆ การบินด้วยมาตรวัดอย่างเดียว […]

0
0