Category: เรียนบิน อยากเป็นนักบิน

Altimeter, Altitude

Altimeter, Altitude and Altimeter setting รู้หรือไม่ว่า เครื่องบินวัดระดับความสูงอย่างไร เครื่องบินวัดระดับความสูงด้วยเครื่องมือหรือเครื่องวัดความสูงที่เรียกว่า “Altimeter” Altimeter จะวัดค่าระดับความสูงโดยการวัดค่าความกดอากาศ (atmospheric pressure) atmospheric pressure หรือ ความกดอากาศ คือ น้ำหนักของอากาศที่กดทับลงบนพื้นที่ขนาดหนึ่ง ปกติเรามักจะคุ้นเคยกับการวัดความดันเป็นปอนด์ต่อตารางนิ้ว หรือ psi (pound per squre inch) แต่ในทางการบินหรือทางอุตุนิยมวิทยาจะใช้ค่าเป็น millibar เครื่อง altimeter จึงเป็นการวัดความกดของอากาศโดยแสดงออกมาเป็นค่าความสูง(altitude) จากการเปรียบเทียบกับค่ากลางใด ๆ ค่าหนึ่งของความกดอากาศอ้างอิง ****ค่าที่ได้จาก altimeter จึงเป็นความสูงจากค่าความกดอากาศ (pressure altitude) ไม่ใช่ความสูงจริง ๆ ทางกายภาพที่เครื่องบินบินสูงจากพื้นโลก**** altimeter จึงต้องมีการตั้งค่าเริ่มต้นเพื่อใช้เป็นตัวเปรียบเทียบโดยเครื่องบินที่บินอยู่ในบริเวณเดียวกันต้องตั้งค่า altimeter ด้วยตัวเลขเดียวกัน เพื่อให้ค่า altitude ที่อ่านออกมาแต่ละเครื่องแสดง pressure altitude จากการอ้างอิงที่จุดเดียวกัน “แล้วจะเอาอะไรมาเป็นตัวเปรียบเทียบ?” ใช้ ISA (International Standard Atmosphere) และ Local atmospheric pressure ครับ เขียนแล้วมันยาวไปเรื่อย ไม่จบง่าย ๆ ครับ ถ้าอ่านแล้วไม่เข้าใจไม่แปลกครับ ลองอ่านบางส่วนของเอกสารจากบพ.ดูก่อนครับ “การแก้ไขวิธีปฏิบัติ Altimeter Setting Procedures ของประเทศไทย กลุ่มการจราจรทางอากาศ สํานักมาตรฐานสนามบิน […]

Aviation A-Z คำศัพท์การบิน อักษร E Echo

EASA ย่อมาจาก European Aviation Safety Agency ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลการบินพลเรือนของสหภาพยุโรป (ดูคำว่า CAA) Echo  เป็นการออกเสียงเพื่อติดต่อวิทยุ ตามมาตรฐาน International Radiotelephony Spelling Alphabet ซึ่งหมายถึง ตัวอักษร E (ดูคำว่า Alfa) EGT Exhaust Gas Temperature หมายถึง ความร้อนของอากาศที่ออกจาก turbine unit บางทีจึงเรียกว่า TOT: Turbine Outlet Temperature EGT จะแสดงค่าให้นักบินมองเห็นได้ที่ห้องนักบินเพื่อเป็นค่าหนึ่งที่แสดงสถานะของเครื่องยนต์และมีค่าสูงสุดกำกับไว้เพื่อให้นักบินเฝ้าระวัง หากค่า EGT เกินหรือกำลังจะเกินค่าที่กำหนดไว้ อาทิเช่น ช่วงที่ start เครื่องยนต์ หากค่า EGT สูงเกินลิมิต นักบินจะต้องดับเครื่องยนต์ให้ช่างทำการซ่อมบำรุง ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องยนต์ได้รับความเสียหายและทำให้การบินไม่ปลอดภัย Electronic Flight Bag (EFB)  แปลเป็นไทยง่าย ๆ คือ อุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ที่ใช้เป็นเครื่อง-มือสำหรับเก็บข้อมูลทางการบินต่าง ๆ เอาไว้ใช้ในระหว่างทำการบิน อาทิเช่น แผนที่เส้นทางบิน แผนที่สนามบิน คู่มือต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับเที่ยวบิน และอื่น ๆ เป็นต้น ELT Emergency Locator Transmitter เป็นอุปกรณ์ส่งสัญญาณบอกตำแหน่งซึ่งมีทั้งแบบที่ทำงานเองอัตโนมัติเมื่อเกิดแรงกระเทก และแบบที่สั่งให้ทำงานเองได้ มีทั้งแบบพกพาและแบบที่ยึดติดอยู่กับเครื่องบิน ตัวมันจะส่งสัญญาณเพื่อแจ้งตำแหน่งให้ทีมกู้ภัยและค้นหาสามารถติดตามตำแหน่งเพื่อเข้าช่วยเหลือได้ง่ายขึ้น Emergency […]

Aviation A-Z คำศัพท์การบินตัวอักษร D Delta

Deadhead  deadhead/dead head หรือบางทีก็เรียกกันอีกอย่างว่า passive crew หมายถึง นักบินและ/หรือพนักงานต้อนรับที่เดินทางไปด้วยบนเที่ยวบินโดยไม่ได้ทำหน้าที่ในระหว่างไฟลท์ แต่เดินทางไปเพื่อทำหน้าที่หลังจากไฟลท์หรือเดินทางกลับบ้าน กล่าวถึงเฉพาะด้านนักบินเพื่อให้เห็นภาพถึงสถานการณ์ที่ต้องเดินทางเป็น dead head กันครับ ปกตินักบินจะบินเครื่องบินได้เฉพาะแบบ เช่น คนที่บิน B777 ก็บินได้เฉพาะ B777 นักบิน B747 ก็บินได้เฉพาะ B747 นักบิน B777 แม้ว่าจะเคยบิน B747 มาก่อนอยู่ ๆ วันนี้จะบิน B747 เลยไม่ได้ (นักบินนั้นถูกกำหนดตามกฎหมายให้บินเครื่องบินได้เพียงแบบเดียว หากจะบินเครื่องบินสองแบบต้องมีการขออนุมัติและมีมาตรการการฝึกและกำกับดูแลเพิ่มเติม ดังนั้นส่วนใหญ่แล้วสายการบินจะให้บินเพียงแบบเดียวเท่านั้นเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงปัญหา ไม่ให้เกิดความสับสนและทำให้เกิดข้อบกพร่องในด้านคุณภาพการบิน)  การทำงานของนักบินจะมีการกำหนดระยะเวลาทำงานสูงสุดที่สามารถทำได้ต่อวัน ซึ่งก็คือประมาณ 11-13 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่เริ่มต้นทำงานและโดยปกติแล้วเที่ยวบินที่เดินทางจากกรุงเทพฯ ไปตามเมืองต่าง ๆ ในยุโรปนั้นจะใช้เวลาเดินทางประมาณ 10 ชั่วโมงขึ้นไป ดังนั้น เมื่อไปถึงนักบินจึงบินกลับมาเลยไม่ได้ จะต้องลงนอนพักผ่อนที่ปลายทางก่อนที่จะทำการบินกลับ(ดูช่วงเวลาการพักผ่อนขั้นต่ำด้านล่าง) ส่วนเครื่องบินนั้นจะเดินทางรับผู้โดยสารกลับมาเลยในวันเดียวกันนั้นโดยใช้นักบินอีกชุดหนึ่งที่ไปถึงก่อนหน้าแล้ว 1 วัน (ขึ้นอยู่กับตารางการบินและการจัดการด้านการเคลื่อนย้ายกำลังพลด้วย) เรามาดูตัวอย่างกันชัด ๆ ว่าเมื่อไหร่ต้องมี dead head  หากวันที่ 1 เครื่องบิน B777 บินไปที่สนามบิน A นักบินก็จะลงนอนค้างคืนเพื่อพักผ่อนก่อนที่จะต้องบินกลับ  แต่หากวันที่ 2 จำเป็นต้องใช้เครื่องบิน B747 บินไปที่สนามบิน A นักบิน B777 ที่บินไปถึงเมื่อวันที่ 1 […]

Aviation A-Z ศัพท์การบิน B Bravo

Baggage หมายถึง  ถุง เป้ หรือกระเป๋า โดยมีการแบ่งแยกประเภทออกไปเป็น hand baggage หรือ carry-on baggage หรือบางทีก็ใช้ว่า cabin baggage หรือบางทีก็ใช้กันว่า hand carry หมายถึง ถุง เป้ หรือกระเป๋าที่อนุญาตให้เราถือติดตัวขึ้นไปบนเครื่องบินได้ ส่วนคำว่า checked baggage หรือ hold baggage นั้นความหมายเหมือนกัน คือ กระเป๋าที่ต้องถูกตรวจเช็ค (screening) แล้วลำเลียงเพื่อนำไปเก็บไว้ที่ที่เก็บสัมภาระหรือช่องเก็บสินค้าของเครื่องบิน (cargo hold) Bank คำนี้ไม่ได้หมายถึง ธนาคาร นะครับ คำว่า bank ทางการบินหมายถึง การเอียงปีกครับ bank left หมายถึงเอียงปีกซ้ายลง (ปีกขวาก็กระดกขึ้น) จริง ๆ จะเรียกว่า การเอียงปีกอย่างเดียวก็ไม่ถูกต้องนักครับ เช่น helicopter ไม่มีปีก แต่ก็ใช้คำว่า bank เหมือนกัน ดังนั้นคำว่า bank มีความหมายว่า แนวแกนด้านlateral นั้นไม่เป็นมุมระดับมีการ roll หรือหมุนของ longitudinal axis อ่านแล้วงงใช่ไหมครับ  จำเอาง่าย ๆ ว่าคือ การเอียงปีกครับ  Blackbox (FDR/CVR) คำว่า blackbox นั้นน่าจะเป็นคำที่ผู้สนใจการบินรู้จักกันดีอยู่แล้วว่าคือ […]

Aviation A-Z บทนำ

Aviation A-Z คำศัพท์การบินเหล่านี้ ผมตั้งใจเขียนและเรียบเรียงตามความเข้าใจและประสบการณ์การทำงาน เพื่อที่จะให้คนที่สนใจด้านการบิน คนที่เรียนบินอยู่ หรือแม้แต่นักบินที่เพิ่งเริ่มต้นการบินอาชีพได้มีโอกาสทำความเข้าใจอย่างง่าย ๆ และเก็บไว้ใช้ทบทวนความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการบินหรืออุปกรณ์การบินต่าง ๆ ที่ไม่ต้องอาศัยการอธิบายหรือจะต้องอ่านรายละเอียดมากเกินไปนักซึ่งจะทำให้เกิดความเบื่อหน่ายและไม่น่าสนใจ คำอธิบายต่าง ๆ จะเป็นการใช้ภาษาง่าย ๆ ต้องการเน้นให้เกิดความเข้าใจเบื้องต้น ไม่ได้เน้นให้สามารถใช้เป็นตำราอ้างอิงหรือเคร่งในหลักวิชาการมากเกินไป ผู้อ่านจะได้รับพื้น-ฐานความเข้าใจมากขึ้น เวลาอ่านข่าวสารหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ทางด้านการบินและเกี่ยวกับการบินตามหน้าหนังสือพิมพ์หรือเว็บไซต์และโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงในเพจ A Pilot Club เองด้วย จะทำให้การอ่านนั้นมีอรรถรสและได้ความรู้ความเข้าใจมากขึ้นไปพร้อม ๆ กัน หนังสือเล่มนี้จึงอาจไม่เหมาะสมที่จะใช้เพื่อเป็นเอกสารอ้างอิงหรือเป็นตำราประกอบการเรียน แต่เป็นความรู้ที่ถ่ายทอดจากประสบการณ์การบินโดยตรงของผมส่งต่อให้แก่ผู้ติดตามทุก ๆ ท่านครับ กัปตันโสภณ พิฆเนศวร ธันวาคม 2561 คำศัพท์การบินในหนังสือนี้ จะอธิบายง่าย ๆ เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจการบิน เหมาะสำหรับใช้เป็นพื้นฐานความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับการบินหรืออุปกรณ์การบินต่าง ๆ คำอธิบายจึงเป็นการใช้ภาษาพื้น ๆ เพราะต้องการให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการบินคร่าว ๆ ไม่ได้เน้นที่จะอธิบายโดยอิงหลักวิชาการมากเกินไปนัก เพราะฉะนั้นจึงอาจไม่เหมาะสมที่จะใช้เพื่อเป็นเอกสารอ้างอิงอย่างเป็นทางการ ***คำศัพท์ต่าง ๆ นั้นอาจมีความหมายแตกต่างจากภาษาอังกฤษที่มีการใช้งานในกิจวัตรประจำวัน เริ่มต้นกันที่การออกเสียงตัวอักษรภาษาอังกฤษอย่าง A, B, C, D,…..Z กันก่อนครับอักษร A นั้น ในทางการบินเราจะบอกกันด้วยการออกเสียงว่า alphaB ออกเสียงว่า BravoC คือ ChalieD = DeltaE = EchoF = FoxtrotG = GolfH […]

0
0