Category: เรียนบิน อยากเป็นนักบิน

ความกลัว ความกังวลและความเครียด

ความเครียดกับการเป็นนักบิน สำหรับคนที่ติดตามอ่านเรื่องที่ผมเขียนตลอด 3-4 ปีที่ผ่านมา  ก็คงจะพอรับรู้ได้บ้างว่าการเป็นนักบินนั้นมีความเครียดเวลาที่มีสถานการณ์ไม่ปกติ แต่ “ความเครียดกับการเป็นนักบินไม่ใช่ของที่ควรอยู่คู่กัน” ก่อนอื่นผมขอนิยาม คำว่า  “ความกลัว ความกังวล ความเครียด” ตามแนวความคิดของผมแบบนี้ครับ ความกลัวเกิดจาก ความไม่รู้ หรือไม่สามารถประเมินได้ว่า จะมีอันตรายหรือรุนแรงแค่ไหน หรือจะเป็นความกลัวที่เกิดจากการคาดคะเนด้วยมโนภาพหรือจินตนาการไปต่าง ๆ นานา แบบกลัวผี โดยที่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง หรือ ตรรกะตามข้อเท็จจริงใด ๆ เลยก็ได้ ความกังวลเกิดจากความไม่มั่นใจในสถานการณ์ ไม่สามารถคาดเดาผลลัพธ์ หรือไม่มีข้อมูลเพียงพอให้เชื่อมั่น หรือยังยืนยันไม่ได้ ไม่เห็นด้วยตาตัวเองประมาณนี้เป็นต้น ความเครียด อาจเป็นการสะสมรวมกันของความกังวลและความกลัว โดยที่ไม่สามารถหาเหตุผลมาหักล้างหรือสนับสนุนให้เกิดความเชื่อมั่น โดยอาจมีเรื่องของเวลาเข้ามาเป็นตัวตีกรอบหรือเป็นสิ่งเร้าที่กระตุ้นให้เกิดความเครียดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือหลาย ๆ เรื่องรวม ๆ กัน นักบินก็เป็นคนธรรมดาคนหนึ่ง ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดความกลัว ความกังวล หรือความเครียดนั้นย่อมเกิดขึ้นได้ แต่นักบินต้องมีวิธีบริหารจัดการมันให้ได้ในเวลาที่มีจำกัด โดยเฉพาะเมื่ออยู่บนเครื่องบิน นักบินต้องบริหารจัดการทั้งความกลัว ความกังวล และความเครียดได้ เอาทีละเรื่องเลยครับ “ความกลัว เกิดจากความไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง” ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการบิน การแก้ปัญหาเรื่องความกลัวในการบิน ก็ต้องแก้ด้วยการศึกษาและฝึกฝนตนเองให้รู้อย่างถ่องแท้ตามลำดับขั้นตอนที่จำเป็นต้องรู้ อาทิเช่น ก่อนขึ้นบินครั้งแรก โรงเรียนการบินเค้าสอนอะไร นั่นแหละคือสิ่งที่ต้องรู้ ก่อนนั่งในเก้าอี้นักบิน เรียนให้รู้และเข้าใจ ground school ก่อนการขึ้นบินครั้งแรกคือ สิ่งจำเป็นสำหรับการขับเครื่องบิน แม้ว่าจะขึ้นบินกับครูก็ตามที ก่อนปล่อย solo ก็ต้องเรียนรู้ทฏษฎีและกฏระเบียบด้านการบินมาหมดแล้ว วงจรการบินเป็นอย่างไร downwind ห่างเท่าไหร่ เมื่อไหร่ต้อง turnbase ดูอย่างไรเพื่อเลี้ยวเข้า […]

ทดสอบเรื่องทิศทาง

การทดสอบด้านทิศทางนั้นเป็นแค่เพียงส่วนหนึ่งของการตรวจความสามารถในการที่จะรับรู้หรือกำหนดพิกัดที่มีส่วนใช้ในการทำความเข้าใจในการบิน อาทิเช่น ความสามารถในการอ่านแผนที่ การเข้าใจระบบนำร่องทางการบิน หรือการเข้าใจเครื่องวัดประกอบการบิน เป็นต้น เวลาสอบสัมภาษณ์นั้น เน้นไปที่การพูดคุยเป็นหลัก การที่จะมี activities บางครั้งก็อาจจะจำเป็น ตรงนี้แล้วแต่ว่าสถานการณ์ในระหว่างการสัมภาษณ์นั้นมันพาไปถึงตรงไหน วิธีการหนึ่งที่ผมใช้เป็นเทคนิคในการทดสอบเรื่องความเข้าใจด้านทิศทาง คือ การให้เขียนแผนที่ เอาแบบง่าย ๆ เลยก็แผนที่ประเทศไทยนี่หล่ะ ไม่ต้องสวยงาน แต่ก็ควรจะเป็นรูปเป็นร่างหน่อยนะครับ พอเขียนเป็นรูปประเทศไทยแล้ว ก็จะถามต่อไปที่ประเทศเพื่อนบ้าน ทิศเหนือติดกับประเทศอะไร ทิศใต้มีใครเป็นเพื่อนบ้าน ท่านผู้อ่านเชื่อไหมครับว่า มีผู้สมัครหลายคนเลยที่ไม่ทราบว่าประเทศเพื่อนบ้านเรานั้น ใครอยู่ทิศไหนของประเทศ บางคนตอบว่าทิศใต้ของไทยติดกับประเทศจีน บางคนตอบว่าทิศตะวันตกของไทยติดกับประเทศกัมพูชา หรือเวียดนามมีชายแดนติดกับประเทศไทย อะไรประมาณนั้น เรื่องของภูมิศาสตร์นั้น ผมคิดว่าเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาความสามารถเรื่องของการเข้าใจทิศทางและรับรู้ตำแหน่ง พื้นฐานนี้จะนำไปสู่การพัฒนาการในการนำร่อง (Navigation) ซึ่งต้องประเมินหรือเข้าใจตำแหน่งและท่าทางของเครื่องบินตลอดเวลาที่ทำการบิน อีกตัวอย่างหนึ่ง อันนี้เป็นการทดสอบเรื่องทิศทางแบบง่าย ๆ คือ เหนือ-ใต้ ตะวันออก-ตะวันตก โจทย์จะเป็นแบบนี้ครับ “สมมติว่า เบื้องหน้าของคุณคือ  ทิศเหนือ  ด้านขวาของคุณจะเป็นทิศอะไร” เป็นคำถามที่ง่ายมากเลยใช่ไหมครับ เชื่อไหมครับว่า มีคนตอบไม่ได้ ที่ตอบไม่ได้ไม่ใช่เพราะว่าไม่เข้าใจ แต่เป็นเพราะความตื่นเต้นที่เกิดขึ้นในระหว่างที่สอบ ความตื่นเต้นนั้นทำให้สมาธิหรือประสิทธิภาพในการควบคุมสติถูกลดทอนลง  “เรื่องที่ว่าง่าย ๆ ก็อาจจะถึงกับนึกไม่ออกเลยทีเดียว” ลองถามให้ยากขึ้นอีกนิดครับ “ถ้าเบื้องหน้าของคุณคือ ทิศตะวันออก ถามว่าซ้ายมือของคุณคือทิศอะไร” ไม่ยากนะครับ ลองนึกภาพกันดู ทีนี้มาลองอัพเลเวลขึ้นอีกหน่อยครับ สมมติว่าคุณยืนหันหน้าไปทางทิศตะวันตก เดินตรงไปสาม block แล้วเลี้ยวขวา จากนั้นเดินตรงไปอีกสอง block เลี้ยวขวาอีกครั้งหนึ่ง เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา …  กรรมการอาจถามว่า ตอนนี้คุณหันหน้าไปทางทิศไหน […]

คำถามที่น่าตอบ

ทุกคนเรียนการบินได้ แต่ไม่ใช่ ทุกคน ที่จะเป็นนักบินได้ใช่มั้ยครับ ⭕️ทุกคนเรียนการบินได้ครับ แต่จะออกใบอนุญาตให้บินได้ที่ระดับไหน อันนี้แล้วแต่คุณสมบัติครับ เช่น ใบอนุญาตนักบินส่วนบุคคล ข้อกำหนดและเงื่อนไขจะน้อยที่สุด เพราะเป็นการบินส่วนตัวรับผิดชอบตัวเองในการบิน แต่ก็มีข้อจำกัดนะครับ เพราะต้องรับผิดชอบส่วนรวมด้วยเช่นกัน เช่น หากมีข้อขัดข้องหรือปัญหาเกิดขึ้นระหว่างทำการบินจะต้องแก้ไขได้ เนื่องจากการบินของเราอาจทำให้เกิดปัญหากับเครื่องบินอื่น ๆ ที่บินอยู่ในบริเวณเดียวกันได้ จึงต้องผ่านการทดสอบด้านกฏการบินด้วย ถ้าเป็นใบอนุญาตพาณิชย์ตรี (Commercial Pilot License) ก็จะต้องผ่านการทดสอบหลายอย่างมากขึ้น และสามารถบินขนส่งผู้โดยสารได้ พิธีและวิธีการบินก็จะต้องเรียนรู้กฏการบินเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีศักย์การบินอื่น ๆ เข้ามาประกอบเพิ่มขึ้นด้วย เช่น Multi-engine, night landing, Instrument rating ฯลฯ (อ่านใน A Pilot เล่มแรกครับ) รวมไปถึงต้องผ่านการตรวจร่างกายจากแพทย์เวชศาสตร์การบินด้วย ส่วนใบอนุญาตนักบินพาณิชย์เอก (Airline Transport Pilot License) นั้น จะเป็นขั้นสูงสุดที่ต้องมี CPL อยู่ก่อนแล้วและทำการบินสะสมชั่วโมงบินและประสบการณ์จำนวนปีตามที่กำหนดก่อนจึงจะสามารถยื่นสอบขอใบอนุญาตชนิดนี้ได้ สรุปคำตอบ คือ ใช่ครับ เรียนบินได้ แต่อาจจะไม่ได้เป็นนักบินพาณิชย์ก็ได้ครับ เพราะต้องผ่านการสอบเข้าสายการบิน ระบบการฝึก นักเรียนการบินเหมือนระบบทหาร ใช่มั้ยครับ ❌ขอตอบว่า ไม่ใช่เลยครับ การเรียนเป็นนักบินพาณิชย์ไม่ใช่การบินแบบเครื่องบินทหาร แตกต่างกันค่อนข้างมากทีเดียวครับ ดังนั้นการฝึกนักเรียนการบิน จึงแตกต่างกัน บางสายการบินสอบขอทุน student pilot ผ่านแล้ว ต้อง ขอกู้จะธนาคารเอง ใช่ มั้ยครับ  🎯ใช่ครับ แต่สายการบินจะอำนวยความสะดวกให้โดย […]

การสะกดคำศัพท์กลับหลัง

การทดสอบนี้ เหมาะกับทุกเพศทุกวัย และเหมาะมากที่จะใช้เป็นคำถามในระหว่างที่ “เดินตามจุด” (อยู่บทถัดไปครับ) สิ่งที่จะใช้เป็นคำถามคือ คำศัพท์ หรือ บางทีอาจเป็นเบอร์โทรศัพท์หรือตัวเลขอะไรก็ได้ที่ปกติในชีวิตประจำวันเราจำได้เป็นปกติ เช่น นามสกุล เบอร์โทรศัพท์มือถือ เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน ชื่อมหาวิทยาลัย ชื่อบริษัท ชื่อโรงเรียน ฯลฯ วิธีการทดสอบนี้คือ กรรมการจะดูจากข้อมูลประวัติของตัวผู้สมัคร และเลือกชวนคุย ถามโน่นนี่ไปเรื่อย ๆ เน้นหาจังหวะที่จะดูว่า คำไหนเหมาะ ๆ แล้วจะให้เราพูดคำนั้นกลับหลัง เช่น คุณสะกดชื่อมหาวิทยาลัยเป็นภาษาอังกฤษได้ไหม “C-H-U-L-A-L-O-N-G-K-O-R-N” แบบนี้ พอเราสะกดให้ฟังเรียบร้อยแล้วก็จะชวนคุยเปลี่ยนเรื่องไปเรื่องอื่นสักครู่แล้วจึงจะย้อนกลับมาถามเราใหม่ว่า ให้สะกดกลับหลังภาษาอังกฤษคำว่า “จุฬาลงกรณ์” Please spell backward “CHULALONGKORN” การทดสอบนี้ถ้าผมเป็นกรรมการจะถามตอนที่ให้ทำกิจกรรมอื่นร่วมอยู่ด้วย เช่น การเดินตามจุด ที่อยู่ในบทถัดไป หรือ การหมุนมือทวนกัน เพื่อให้เป็นการทำ multi-tasking และเป็นการทดสอบการแยกประสาทให้การทำงานหลาย ๆ อย่างไปพร้อม ๆ กัน  เทคนิคหนึ่งคือ การเขียนภาพตัวอักษรทั้งหมดในใจ แล้วจึงนึกถึงภาพนั้นย้อนกลับมาทีละตัวอักษร การมองเป็นภาพจะช่วยให้สามารถพูดกลับหลังมาได้ทีละตัวอักษร ลองทำดูครับ เปลี่ยนเป็นตัวเลขเบอร์โทรศัพท์ก็ได้ครับ ยาก-ง่าย พอ ๆ กันแล้วแต่ความมถนัด  เสร็จแล้วไปต่อที่ “เดินตามจุดกัน” ในบทถัดไปครับ

คิดเลขง่ายๆ แต่ไม่ง่าย

เวลาสอบสัมภาษณ์อาจจะถูกทดสอบด้วยการคิดเลขในใจ บางทีกรรมการอาจจะถามคำถาม เช่น  คำถาม 17×18 เท่ากับเท่าไหร่ ให้ลองคิดหรือหาวิธีที่จะคิดเลขในใจดูครับ เช่น ใช้ 17 คูณ 20 แล้วลบออกด้วย 34 คำถาม 25×25  อันนี้แทบจะต้องตอบได้ทันทีว่า เท่ากับ 625  คำถาม 20×19  เลข 2 กับ 19 ได้ 38 แล้วเติม 0 เข้าไป เป็น 380  บางคนอาจใช้การคูณ 20 กับ 20 เป็น 400 แล้วลบออก 19 ซึ่งทำให้มันยากคิดหลายตลบ เพราะโจทย์ที่ลงท้ายด้วย 0 ไม่ควรเสียเวลาคิดนาน บางทีโดนถามจนมึน เลยมัวไปหาวิธีคิดแปลก ๆ ที่แปลกเกินความจำเป็น คำถาม 35×74 แบบนี้จะคูณยังไงดีครับ ลองหาวิธีคิดในใจได้ไหม แล้วถ้าเจอยาก ๆ แบบเลขสามหลักล่ะ คำถาม 128×32  จริง ๆ แล้วถ้าเรามีหลักในการคิดจะสามารถหาคำตอบได้ไม่ยากนะครับสามารถทำได้แน่นอน ของแบบนี้เป็นเรื่องที่สามารถฝึกฝนได้ หรือคนที่เคยทำเลขมาเยอะ ๆ ก็จะได้เปรียบ คูณเป็นแล้ว ลองหารดูบ้างก็ดีนะครับ คำถาม 74 หารด้วย 3 ได้ผลลัพธ์เท่าไหร่ คำถาม 655 หารด้วย 20 […]

0
0