Day: December 17, 2021

rate of rotation vs. TOW

Rate of rotation vs. TOW  (tailstrike prevention during takeoff) คำว่า rotation หมายถึงการดึงคันบังคับเข้าหาตัวเพื่อที่จะให้ส่วนปลายสุดของแพนหางของเครื่องบิน (elevators) กระดกขึ้นและจะทำให้หัวของเครื่องบินเชิดขึ้นมาตามลำดับ การดึงเพื่อปรับตัว elevator นั้นถ้าดึงเร็วดึงแรงตัวอัตราการกระดกหัวขึ้นก็เป็นไปตามการดึง เ ครื่องน้ำหนักเบา สามารถใช้ Rate of rotation มากกว่า เครื่องน้ำหนักมาก ๆ ได้ เพราะว่า เครื่องน้ำหนักเบาสามารถ Accelerate ได้เร็วและเครื่องบินจะลอยขึ้นฟ้า (liftoff หรือ airborne) ได้เร็วกว่า ซึ่งหมายถึงล้อของเครื่องบินที่อยู่บริเวณลำตัวลอยขึ้นจากพื้น (main landing gear) ถ้า Rotate ช้า ๆ speed จะเกิน V2 plus 10 ซึ่งก็อาจจะไม่เป็นปัญหานัก ถ้าไม่มีเรื่อง climb requirement ต่าง ๆ แต่ถึงอย่างไร กรณีของเครื่องน้ำหนักเบา ก็ต้องระมัดระวัง ไม่ให้ rate of rotation สูงเกินกว่า 3.0 องศาต่อวินาที สรุปว่าจะ rotate ช้า ๆ ก็ได้ไม่เป็นอันตรายถ้าไม่ติดปัญหาเรื่อง obstacle climb gradient etc. แต่กรณีเครื่องน้ำหนักมาก คือสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจกันให้มากขึ้นว่า […]

Altimeter, Altitude

Altimeter, Altitude and Altimeter setting รู้หรือไม่ว่า เครื่องบินวัดระดับความสูงอย่างไร เครื่องบินวัดระดับความสูงด้วยเครื่องมือหรือเครื่องวัดความสูงที่เรียกว่า “Altimeter” Altimeter จะวัดค่าระดับความสูงโดยการวัดค่าความกดอากาศ (atmospheric pressure) atmospheric pressure หรือ ความกดอากาศ คือ น้ำหนักของอากาศที่กดทับลงบนพื้นที่ขนาดหนึ่ง ปกติเรามักจะคุ้นเคยกับการวัดความดันเป็นปอนด์ต่อตารางนิ้ว หรือ psi (pound per squre inch) แต่ในทางการบินหรือทางอุตุนิยมวิทยาจะใช้ค่าเป็น millibar เครื่อง altimeter จึงเป็นการวัดความกดของอากาศโดยแสดงออกมาเป็นค่าความสูง(altitude) จากการเปรียบเทียบกับค่ากลางใด ๆ ค่าหนึ่งของความกดอากาศอ้างอิง ****ค่าที่ได้จาก altimeter จึงเป็นความสูงจากค่าความกดอากาศ (pressure altitude) ไม่ใช่ความสูงจริง ๆ ทางกายภาพที่เครื่องบินบินสูงจากพื้นโลก**** altimeter จึงต้องมีการตั้งค่าเริ่มต้นเพื่อใช้เป็นตัวเปรียบเทียบโดยเครื่องบินที่บินอยู่ในบริเวณเดียวกันต้องตั้งค่า altimeter ด้วยตัวเลขเดียวกัน เพื่อให้ค่า altitude ที่อ่านออกมาแต่ละเครื่องแสดง pressure altitude จากการอ้างอิงที่จุดเดียวกัน “แล้วจะเอาอะไรมาเป็นตัวเปรียบเทียบ?” ใช้ ISA (International Standard Atmosphere) และ Local atmospheric pressure ครับ เขียนแล้วมันยาวไปเรื่อย ไม่จบง่าย ๆ ครับ ถ้าอ่านแล้วไม่เข้าใจไม่แปลกครับ ลองอ่านบางส่วนของเอกสารจากบพ.ดูก่อนครับ “การแก้ไขวิธีปฏิบัติ Altimeter Setting Procedures ของประเทศไทย กลุ่มการจราจรทางอากาศ สํานักมาตรฐานสนามบิน […]

0
0