Day: October 24, 2019

Full Flight Simulator

สิ่งสำคัญสำหรับการฝึกนักบินพาณิชย์ คือ เครื่องฝึกบินจำลอง ภาษาไทยอย่างเป็นทางการคือ เครื่องจำลองการฝึกบินเต็มรูปแบบ (Full Flight Simulator: FFS) เครื่องฝึกบินจำลองนั้นมีหลายแบบ และหลายระดับในแต่ละแบบ  ส่วนใหญ่เรามักคุ้นเคยกับคำว่า Simulator ซึ่งเป็นคำกว้าง ๆ หมายถึงการ จำลองการฝึก เท่านั้น แต่ฝึกอะไร อย่างไร ได้ประโยชน์จากการฝึกแค่ไหน เรื่องนี้เรามาเรียนรู้ไปด้วยกันให้หมดเปลือกไปเลย ภาษาอย่างเป็นทางการที่ ICAO, EASA หรือ FAA ใช้สำหรับเครื่องฝึกบินจำลองนั้นคือ Flight Simulator Training Device (FSTD) โดยที่ทางการของไทยใช้คำอย่างเป็นทางการสำหรับ FSTD ว่า เครื่องช่วยฝึกบิน อ่านแล้วเริ่มงงไหมครับ ผู้อ่านจะไม่งง เมื่ออ่านจนจบ  FSTD (Flight Simulator Training Device) นั้น หมายถึง เครื่องช่วยฝึกบินทุกชนิด เป็นคำกว้าง ๆ แบบที่เราเรียกว่า Simulator เฉย ๆ FSTD นั้นแบ่งให้ละเอียดลงไปได้อีก 4 แบบ คือ BITD (Basic Instrument Training Device) FNPT (Flight and Navigation Procedure Trainer) FTD (Flight Training Device) และ […]

School Flight

เวลาเปลี่ยนแบบเครื่องบิน นักบินต้องไปเรียนหนังสือเรื่องของทฏษฏี และการทำความเข้าใจระบบต่าง ๆ ของเครื่องบิน อาทิ ระบบฐานล้อ ระบบเบรค ระบบเครื่องยนต์ ระบบการจ่ายน้ำมันเชื่อเพลิง ระบบควบคุมการบังคับเครื่องบิน ระบบไฮดรอลิก ระบบไฟฟ้า ระบบปรับอุณหภูมิและความดันอากาศ ระบบอัตโนมัติต่าง ๆ และระบบการนำทางหรือนำร่อง ฯลฯ นักบินก็จะเริ่มเข้าฝึกเพื่อทำความเข้าใจภาคปฏิบัติเกี่ยวกับการทำงานจริงของระบบต่าง ๆ ของเครื่องบินและการแก้ปัญหาระบบนั้น ๆ เมื่อมีความผิดปกติ โดยการฝึกนั้นจะแบ่งออกเป็นสองส่วนใหญ่ ๆ คือ Fixed Base Simulation (FBS) กับ Full Flight Simulation (FFS) FBS เป็นการฝึกกับเครื่องฝึกบินจำลอง โดยไม่มีการใส่ระบบจำลองการเคลื่อนที่ของเครื่องบิน (motion) การฝึกส่วนนี้เพื่อเป็นการฝึกความเข้าใจกับระบบต่าง ๆ แบบเสมือนจริง ส่วน FFS นั้น เป็นการจำลองระบบการเคลื่อนที่หรือเคลื่อนไหวของเครื่องบินเข้าไปด้วย (FBS+motion) เพื่อให้นักบินได้รับรู้ถึงอาการหรือท่าทางของเครื่องบินที่เปลี่ยนไปด้วย เช่น ถ้าบังคับเลี้ยวขวา เมื่อเครื่องบินเอียงปีกขวา  นักบินก็จะรู้สึกถึงการเอียงนั้นด้วย FFS จึงเป็นการจำลองสถานการณ์จริง เพื่อเน้นให้นักบินรับรู้ถึงสภาวะของการเกิดปัญหา และทำความคุ้นเคยกับเหตุการณ์นั้น จะได้รู้วิธีการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง และทันท่วงที Full Flight Simulator จึงเป็นการฝึกนักบินเสมือนการบินบนเครื่องบินจริง ๆ  Flight Simulator หรือ ศัพท์เทคนิคอีกคำ คือ Flight  Simulation Training Device (FSTD) นั้น แบ่งออกได้เป็นหลาย […]

Pilot in Command Under Supervision (PICUS)

เมื่อนักบินพาณิชย์เริ่มต้นชีวิตนักบินไปได้สักระยะหนึ่ง เริ่มสะสมประสบการณ์และความรู้ต่าง ๆ และเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมในการเป็นกัปตัน  จะต้องทำการทดสอบการทำ PICUS กัน ก็เลยอยากจะแชร์แนวคิด ลำดับขั้นพัฒนาการของนักบินให้อ่านกันครับ ไม่เคยเขียนที่ไหนมาก่อน แต่ได้เคยบอกหรือเล่าให้ฟังไปแล้วกับนักบินหลายๆคน  ตั้งแต่ยังไม่เป็นกัปตันจนเป็นกัปตันไปแล้ว และได้คุยกับกัปตันใหม่ๆที่ขอแลกเปลี่ยนแนวความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ ของอาชีพ ผมขอเกริ่นจาก  PPL การที่เราเริ่มต้นบิน เรียนรู้อะไร ขึ้น-ลงสนาม การบังคับเครื่องบินเบื้องต้น จบแค่นั้น ต่อไปเราเรียนอะไร instrument flying night landing multi-engine land เพื่อให้บินในสภาพอากาศและบินเดินทางไปที่ไกลๆได้ เรากำลังเรียนเพื่อบินในสภาพอากาศที่มองข้างนอกไม่เห็น เป็น IFR ทั้งหมดนั้นเพื่อให้ได้มาซึ่ง CPL (Commercial Pilot License) จบ CPL แล้วหางานทำ ได้เลยใช่ไหมครับ คำตอบคือ ใช่  แต่ต้องมาเรียนต่อกับทางสายการบิน  เพื่อให้ได้ type rating จึงจะบินเครื่องบินแบบนั้นๆได้  แล้ว CPL มันต่างจาก ATPL ยังไง ตอนที่เราเรียน CPL เราเริ่มทำการบินแบบ commercial คือ มีเรื่องของการวางแผน เรียนรู้กฏต่างๆที่จะไม่ทำให้ผู้อื่นและตนเองเดือดร้อน เป็นการทำการบินที่ไม่ใช่เพื่อความบันเทิง แต่เป็นเรื่องทางการพาณิชย์ เราต้องวางแผนเรื่องน้ำมัน เรื่องสภาพอากาศ เลือกสนามบินสำรอง และเรื่องความปลอดภัย แต่ ATPL เป็นมากกว่า commercial เพราะอะไร ผมตอบสั้นๆง่ายๆเลยครับ ATPL เป็นการสร้าง profit […]

หยุดหรือไปดีกว่ากัน

วันนี้จะพูดถึงการ takeoff จาก runway มีหลายกรณีที่นักบินเห็นว่า  การนำเครื่องบินขึ้นบินไปบนฟ้า  จะทำให้เกิดสถานะการณ์ที่มีความยากลำบากมากขึ้น (จริง ๆ น่าจะพูดว่า ถ้าฝืนนำเครื่อง takeoff ขึ้นไป เครื่องบินอาจจะลอยบนอากาศไม่ได้ หรือ การจะพามาลงสนามได้ก็ต้องพามาอย่างลักทุเล)  ดังนั้นจึงสมควรยกเลิกการวิ่งขึ้นดีกว่า เพราะถ้าฝืนบินต่อไปจะเป็นอันตราย ศัพท์ทางการบินเรียกการตัดสินใจยกเลิกการวิ่งขึ้นจากทางวิ่งว่าการ “Abort Takeoff” เนื่องจากเครื่องบินมีการเคลื่อนตัวไปข้างหน้าแล้ว มีความเร็วมากขึ้นแล้ว เมื่อตัดสินใจ Abort Takeoff สิ่งที่เกิดขึ้นคือ  นักบินจะต้องรีบทำการลดความเร็วของเครื่องบินให้อยู่ในช่วงที่มีความปลอดภัยให้เร็วที่สุด และระบบ Autobrake (ซึ่งจะต้อง ARMED ไว้ทุก ๆ การวิ่งขึ้น)  จะทำงานเต็มที่ (MAX AUTOBRAKE) (ภาษาแบบรถยนต์คือ กระทืบเบรค “มิด”) Note: ARMED หมายถึง การเตรียมพร้อมเข้าทำงานเมื่อระบบมีการส่งสัญญาณบอกให้ทำ เพราะว่าความเร็วสูง ระยะทางที่เหลือของ runway ย่อมเหลือน้อย  จึงต้องรีบลดความเร็วของเครื่องบินอย่างเร็วที่สุดเพื่อให้เครื่องบินหยุดนิ่งอยู่บนพื้นทางวิ่ง ด้วยระยะเบรคน้อยที่สุด ดังนั้นสิ่งที่ตามมาก็คือ การกระชาก  เนื่องจากการลดความเร็วแบบกระทันหัน อันตรายอาจเกิดขึ้นได้ง่ายในช่วงนี้ครับ นักบินมีวิธีคิดครับว่า  สถานการณ์ที่เกิดขึ้นขณะนั้นควรหยุดหรือควรไปต่อ  โดยอาศัยค่าความเร็วค่าหนึ่งที่เรียกว่า  Critical Speed หรือ Decision Speed มีชื่อย่อว่า V1 ถ้าขณะที่เกิดเหตุการณ์ผิดปกติเครื่องบินมีความเร็วต่ำกว่า V1  นักบินจะตัดสินใจยกเลิกการวิ่งขึ้น (Abort Takeoff)  แต่ถ้าความเร็วขณะนั้น เกินค่า V1 ไปแล้ว นักบินจะนำเครื่องบินให้เพิ่มความเร็วต่อไป […]

การทำงานร่วมกันของนักบิน

ปกติเครื่องบินโดยสารจะใช้นักบินไม่น้อยกว่าสองคนในการบินแต่ละครั้ง ทั้งนี้เพราะการทำงานกับเครื่องบินโดยสารมีการควบคุมระบบต่าง ๆ หลายอย่างพร้อม ๆ กัน โดยเฉพาะระบบอัตโนมัตต่าง ๆ นั้นต้องใช้การทำงานร่วมกันของนักบินในการตรวจสอบการทำงานของเครื่องบินและการตรวจสอบกันเองของนักบินทั้งสอง อย่างในช่วงที่เป็น high workload คือ ระหว่างที่อยู่ใกล้พื้นดิน ทั้งตอนวิ่งขึ้นและตอนลงสนาม การทำงานของระบบต่าง ๆ จะถูกใช้งานเต็มประสิทธิภาพของมันและนักบินคือผู้ตรวจสอบระบบต่าง ๆ ว่าทำงานดีอยู่หรือไม่ มีอะไรผิดปกติหรือเปล่า รวมทั้งสั่งให้ระบบอื่น ๆ เข้าทำงานในช่วงเวลาที่เหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ กัปตันกับโคไพลอตนั้นจะแบ่งหน้าที่ในการทำงานในช่วงเวลาต่าง ๆ โดยมีการกำหนดชัดเจนเพื่อป้องกันการสับสนว่าในช่วงนั้นใครจะต้องทำอะไร ทั้งสองคนอาจทำหน้าที่สลับกันได้ในบางช่วงเวลา ขึ้นอยู่กับการกำหนดวิธีปฏิบัติของแต่ละสายการบินและแบบของเครื่องบินด้วย อาทิเช่น เราเรียก นักบินที่ทำหน้าที่บังคับเครื่องบินว่า Pilot Flying (PF)  และนักบินที่ไม่ได้ทำหน้าที่ในบังคับเครื่องบินแต่ทำหน้าที่ตรวจสอบหรือดูแลระบบต่าง ๆ ในระหว่างบินว่า Pilot Monitoring (PM) ในอดีตเรียกว่า Pilot not Flying (PNF) ซึ่งฟังดูมันเหมือนกับว่าไม่ต้องทำอะไรเลย จึงถูกเปลี่ยนไปใช้คำว่า Pilot Monitoring จนถึงปัจจุบันนี้ เพื่อให้สื่อความหมายที่ชัดเจนขึ้นในการปฏิบัติหน้าที่ว่า ต้องทำหน้าที่ในการ monitor การทำงานของระบบและการทำงานของนักบินที่กำลังบินอยู่  หากโคไพลอตอาจทำหน้าที่ในการนำเครื่องบินขึ้น-ลงสนาม ในเที่ยวบินก็จะทำหน้าที่ PF โดยที่กัปตันจะทำหน้าที่ PM หากกัปตันทำหน้าที่บินขึ้น-ลง โคไพลอตก็จะทำหน้าที่ PM สลับกันแบบนี้ขึ้นอยู่กับว่าจะมอบหมายให้ใครทำหน้าที่ไหน นอกจากหน้าที่ PF หรือ PM แล้ว ยังมีหน้าที่ในการทำการบินบางช่วงที่แบ่งออกเป็นหน้าที่ของ Left Pilot (LP) หรือ Right […]

0
0