Day: October 24, 2019

Memory วิธีการจำ

การฝึกบินนั้นต้องใช้ทักษะหลาย ๆ อย่างประกอบกัน หลาย ๆ ครั้งที่มักถูกถามว่า ในห้องนักบินมีปุ่มต่าง ๆ มากมาย จำได้หมดหรือ แล้วมีวิธีจำยังไง การใช้ความจำมีหลายแบบครับ  ผมขอจำแนกอย่างง่าย ๆ ได้ สองแบบ คือ  จำด้วยความเข้าใจ กับ จำโดยไม่ต้องเข้าใจ แบบที่หนึ่ง การจำด้วยความเข้าใจ คือ การจำเรื่องที่เป็นพื้นฐานความรู้หรือหลักสำคัญของการทำงาน เป็นการจำแบบที่ต้องใช้เหตุและผล เพื่อใช้งานเรื่องเหล่านั้นในภายหลัง เป็นการจำที่ต้องทำการศึกษาเพื่อให้รู้ถึงเหตุและผลจึงจะเกิดความเข้าใจ  การจำแบบนี้เป็นการจำที่จะทำให้สามารถพัฒนาความคิดและต่อยอดความรู้ออกไปได้อีกเมื่อได้รับข้อมูลเพิ่มเติมใหม่ ๆ หรือได้รับประสบการณ์เพิ่มขึ้นจากการทำงานซ้ำ ๆ  การจำแบบแรกนี้จึงมีความสำคัญมาก และต้องอาศัยความทุ่มเทในการพยายามทำความเข้าใจ แต่หากมีพื้นฐานหรือหลักการในการเรียนหรือทำความเข้าใจแล้ว การจำแบบนี้ก็ไม่ใช่เรื่องยาก แต่บางคนใช้ความจำแบบที่ไม่ต้องเข้าใจมาใช้ทำงานกับเรื่องที่ต้องจำด้วยความเข้าใจ อันนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่ผิด  โดยเฉพาะหากเป็นนักบิน การใช้ความจำอย่างเดียว เพื่อทำงานที่ต้องมีหลักความเข้าใจร่วมด้วยนั้นเป็นอันตราย ดังนั้น นักบินจึงจะต้องถูกฝึกให้คิด และถูกกำกับการทำงานด้วย checklist เพื่อป้องกันไม่ให้การทำงานหรือการแก้ไขสถานการณ์ไม่ทำหรือปฏิบัติข้ามขั้นตอน ซึ่งอาจกลายเป็นทำให้เกิดภาวะอันตรายเพิ่มขึ้น ไม่ใช่ทุก ๆ เรื่องที่เราต้องทำความเข้าใจหรอกครับ  เพราะบางครั้งแราแค่ต้องจำเฉย ๆ เช่น หากเพื่อนบอกเบอร์โทรศัพท์ หรือเบอร์บัญชีธนาคาร เราคงไม่ต้องทำความเข้าใจกับตัวเลขเหล่านั้น แต่เราสามารถจำได้ระยะหนึ่ง หากผ่านไปนานเช่น 15-20 นาที เราก็คงจะจำมันไม่ได้ หรือ อาจจะไม่มั่นใจว่ามันถูกหรือผิด ขึ้นอยู่กับว่า เราต้องจำตัวเลขหรือรายละเอียดที่ต้องจำนั้นมากน้อยแค่ไหน การจำแบบที่ไม่ต้องทำความเข้าใจแบบนี้  ก็มีความสำคัญกับการบินเช่นกันครับ  แต่จะใช้กับบางเรื่อง และไม่ต้องใช้ความสามารถพิเศษมากนัก (แต่ต้องฝึก) สำหรับการบินการจำแบบนี้ก็มีความสำคัญมากทีเดียวครับ อาทิเช่น การจำสิ่งที่หอบังคับการบินพูด และทวนคำพูดเหล่านั้น หลังจากผ่านระยะเวลาหนึ่งต้องทำในสิ่งที่ได้รับคำแนะนำหรือคำสั่งให้ทำนั้นให้ครบถ้วนหรือถูกต้อง ตัวอย่างการที่ต้องจำอย่างไม่มีเหตุผล […]

การเรียนบินไม่ใช่เรื่องน่ากลัวแต่เรียนจบแล้วไม่มีงานทำน่ากลัวกว่า

“ใครๆก็เป็นนักบินได้” เป็นวลีเชิญชวนของโรงเรียนการบินหรือสถาบันต่าง ๆ ที่อยากให้คนที่มีความฝันหรือสร้างฝันอยากให้มาเรียนเป็นนักบินกันเยอะ ๆ  แรงจูงใจอะไรที่ผลักดันให้หลายคนอยากเป็นนักบิน อันนี้ผมขอเว้นวรรคไม่พูดถึงเพราะเป็นเรื่องส่วนตัวและเป็นความคิดส่วนบุคคล ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักจะรู้ ๆ กันอยู่แล้วว่ามีอะไรบ้าง ผมเคยเขียนไปบ้างแล้วว่า มีคนเคยถามเรื่องการลงทุนเพื่อไปเรียนเป็นนักบิน ส่วนตัวก็แนะนำแล้วว่าไม่ใช่เรื่องที่ควรเสี่ยง แต่ถ้าไม่เดือดร้อนอะไรเรื่องเงิน ยิ่งคิดเอาไว้ก่อนได้ว่าหากเรียนแล้วไม่มีงานทำก็ไม่เป็นไรได้บินเป็นความสุข แบบนี้ก็เรียนบินได้เพราะไม่มีอะไรต้องห่วงเลยหากเรียนจบแล้ว “ตกงาน” จริงอยู่ที่ปัจจุบันความต้องการนักบินทั่วโลกนั้นมีปริมาณสูงขึ้นมาก แต่ไม่ได้หมายความว่า ในประเทศไทยจะมีความต้องการเป็นสัดส่วนไปตามภาวะตลาดโลก แม้ว่าในภูมิภาค asia-pacific จะมีความต้องการนักบินมากมายมหาศาลก็ตาม แต่นักบินจบใหม่ ๆ ของไทย อาจไม่สามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานของนักบินอาชีพได้ง่ายนัก นั่นเป็นเพราะว่า  การขยายตัวของธุรกิจการบินภายในประเทศกระจุกตัวอยู่ในระดับประเทศและขยายไปประเทศเพื่อนบ้านได้ในปริมาณจำกัด ประเด็นนี้เกิดจากปัญหาการติดธงแดงของประเทศเรา ที่ทำให้สายการบินของไทยขยายเส้นทางทำการบินได้น้อยลง จึงเป็นโอกาสให้สายการบินต่างชาติขยายตัวเข้ายึดจุดยุทธศาสตร์สำคัญทางการบิน(ก็ประเทศไทยนั่นแหละ) ใช้เป็นจุดเชื่อมของเส้นทางการบินต่อไปยังภูมิภาคอื่น ๆ ได้มากขึ้นโดยไม่มีคู่แข่งจากประเทศไทยเองลงสนามแข่งขันกับเขา เพราะถูกแบน การที่สายการบินของไทยขยายตัวได้อย่างจำกัด ทำให้การรับนักบินจบใหม่เข้าทำการบิน ลดปริมาณลงไปด้วยโดยปริยาย จึงทำให้ขาดความสมดุลย์ของดีมานด์กับซัพพลาย  แล้วทำไมไม่ไปสมัครสายการบินต่างชาติล่ะ ในเมื่อในภูมิภาคยังมีความต้องการนักบินมากมายอยู่ หรือนักบินของไทยขาดคุณภาพ ไปสมัคร ไปสอบแล้วประเทศอื่น ๆ เค้าไม่รับเป็นนักบิน คำตอบคือ จริง ครับ เราขาดคุณภาพ  แต่เป็นการขาดคุณภาพในแง่ของการแสดงคุณสมบัติด้านมาตรฐานใบอนุญาต คือ มันเป็นโดมิโน ต่อมาจากปัญหาที่ ICAO ลดเครดิตของประเทศไทยลงเมื่อปี 2015 นั่นแหละครับ ศิษย์การบิน หรือ student pilot ที่ทำการบินกับสถาบันหรือศูนย์ฝึกอบรมการบินในประเทศไหนต้องขึ้นทะเบียนใบอนุญาตในประเทศนั้น เริ่มเห็นภาพหรือยัง Pilot License จะออกให้โดยผู้กำกับดูแลมาตรฐานการฝึกอบรมของสถาบันที่จดทะเบียนหรือกำกับดูแลภายในประเทศนั้นหลังจากนั้นจึงจะไปทำการ validation license ที่ประเทศที่จะทำงาน นักบินที่ไปเรียนบินมาจาก ประเทศอื่น ก่อนจะมาทำงานหรือบินในสังกัดของสายการบินประเทศไหน ต้องไปทำการขึ้นทะเบียนโดยการสอบวัดผลความสามารถในการทำงานจากผู้กำกับดูแลกฏระเบียบข้อบังคับด้านการบินพลเรือนของประเทศนั้น […]

ทำไมจึงสอบตกสัมภาษณ์

จั่วหัวไว้ว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการบินแต่เริ่มต้นด้วยการตกสอบสัมภาษณ์นักบิน ดูเหมือนเป็นเรื่องเศร้าที่สอบตกสัมภาษณ์ เวลาสอบตกหรือสัมภาษณ์ไม่ผ่าน ไม่ได้หมายความว่าทุกอย่างบนโลกใบนี้ต้องสิ้นหวังไปหมด การไม่ผ่านสอบสัมภาษณ์ไม่ได้ทำให้ชีวิตของเราดูเลวร้ายอะไรเลยนะครับ อยากให้มองใหม่ คิดใหม่ครับ ปกติการสอบสัมภาษณ์จะเป็นการดูบุคคลิกภาพ การพูดจา และดูไหวพริบในการตอบปัญหา บางครั้งการสอบสัมภาษณ์ใช้เวลาเพียงสั้น ๆ ก็อาจจะทำให้ผู้สัมภาษณ์ได้รับรู้อะไรบางอย่างจากตัวผู้ถูกสัมภาษณ์  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า คนที่สัมภาษณ์เค้าต้องการอะไร หรือคาดหวังอะไรจากเรา โดยหลักแล้วการสัมภาษณ์นักบินจะดูที่ความมั่นใจในตัวเอง ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญ แต่ไม่ใช่สำคัญที่สุด เพราะ  ความมั่นใจที่มากเกินไป กลับเป็นผลร้ายสำหรับการเป็นนักบินพาณิชย์  นักบินพาณิชย์จะทำการบินมากกว่าหนึ่งคนเสมอ เพราะต้องช่วยกันบังคับหรือควบคุมการทำงานระบบต่าง ๆ ของเครื่องบิน และโดยกฏการบินมีการบังคับให้คิดและทำงานร่วมกันเป็นการเพิ่มความมั่นใจว่า ทุกอย่างที่ทำนั้นถูกต้อง และมีการตรวจทานโดยอีกคนหนึ่งเสมอ คนที่เชื่อมั่นตนเองมากเกินไป อาจทำให้เกิดความประมาท ไม่ฟังคนอื่น หลงตัวเอง  ทั้ง ๆ ที่ความคิด ณ เวลานั้นอาจจะไม่ถูกต้องหรือไม่ใช่หนทางเลือกที่เหมาะสม  และนำไปสู่ปัญหาที่แก้ยากขึ้น หรือไม่มีโอกาสแก้ไข ตรงนี้ผมพูดกว้าง ๆ เอาไว้ เพราะเจาะลึกลงไปจะออกนอกประเด็นไปเรื่อย วันหลังจะเขียนเรื่องนี้ใหม่ครับ CRM (Crew Resource Management) Multi-Crew operations และ Task Sharing ที่จะรวมถึงประเด็นเรื่องการใช้ checklist และ การ call-out หรือ confirm/affirm ในสิ่งที่แต่ละคนทำ ถ้าเกี่ยวกับการพูดวิทยุกับหอการบิน ก็จะเป็นประเด็นเรื่อง Read-Back/Hear-Back กลับมาที่ประเด็นการสัมภาษณ์ครับ การสัมภาษณ์คือเครื่องมือในการค้นหาตัวตนของผู้ถูกสัมภาษณ์ บางครั้งคำถามเค้าไม่ได้ต้องการคำตอบ แต่เค้าต้องการปฏิภาณไหวพริบในการตอบมากกว่า การท่องหรือเตรียมตอบคำถามไปมาก ๆ อาจเป็นผลเสียต่อเราได้ เพราะเรามัวแต่จะนึกถึงสิ่งที่ท่องไว้ กลัวจะตอบผิด แล้วก็ทำให้เกิด […]

การสอบสัมภาษณ์นักบินพาณิชย์

ผมจะไม่เขียนเชิงวิชาการอะไรมากนักแต่จะขอเขียนเชิงแนะนำในการปฏิบัติตัวเพื่อเตรียมสอบครับ อย่างแรกเลยคือเตรียมเอกสารให้พร้อมและครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในรายละเอียดการสมัครจะได้ตัดปัญหารบกวนใจเกี่ยวกับหลักฐานหรือเอกสารที่ยังไม่พร้อม เตรียมทุกอย่างให้พร้อมตั้งแต่เนิ่น ๆ ไปเลย การแต่งกาย ต้องสุภาพและเหมาะสม ไม่ต้องเน้นหล่อเนี้ยบ แต่ต้องดูเรียบร้อย ทรงผมและความสะอาดในการแต่งกายเป็น first impression ที่กรรมการเห็นเราตั้งแต่เดินเข้าห้องสัมภาษณ์ เพราะฉะนั้นคิดดูเอาเองว่าอยากให้เค้ามองเห็นเราแล้วคิดอย่างไร แฟชั่นมากไปไม่ดีแน่นอนครับ เอาไว้ใส่วันอื่นดีกว่า กรรมการเราไม่รู้จักเค้า แต่เค้าแอบมองเราตั้งแต่เรามารายงานตัวแล้วนะครับ การสำรวมและกิริยามารยาทก็ควรให้เหมาะสมกับสถานที่ ไปก่อนเวลานัด ไม่ควรมานั่งอ่านเอกสารอะไรในวันสัมภาษณ์แล้ว  วันนั้นต้องพร้อมมาแล้ว ไม่ใช่ทำตัวเหมือนมาสอบเข้ามหาลัยแต่อ่านหนังสือไม่ทัน ถัดไปคือ เตรียมใจ จิตใจที่สงบและไม่ฟุ้งซ่าน จะทำให้เราไม่ทำร้ายตัวเราเอง ความฟุ้งซ่านหรือความอยาก คือเป็นศัตรูตัวร้ายของเรา เพราะมันจะบดบังความคิดที่ตรงไปตรงมาของเรา  เนื่องจากความกลัว กลัวทำได้ไม่ดี กลัวตอบไม่ได้ กลัวโน่นนี่นั่น จะคิดไปทำไม คิดแล้วได้อะไร เข้าห้องสัมภาษณ์ก็รู้เองว่าเค้าจะถามอะไร เราก็มีหน้าที่ตอบไป ขอให้คิดแค่นี้พอ ผมขอแนะนำว่า ให้เริ่มบอกตัวเองได้แล้วว่า เราพร้อมที่จะได้รับประสบการณ์ใหม่ ๆ ได้เรียนรู้อะไร ๆ จากการเข้าสอบในครั้งนี้ และนั่นเพียงพอแล้วสำหรับการได้ทำมัน ไม่ว่ามันจะผ่านหรือไม่ผ่าน แต่มันคือ ความสำเร็จของเราแล้วว่า “ได้ทำมันแล้ว” ดังนั้น จึงไม่ควรและไม่ต้องอยากเป็นนักบินจนทำให้เสียสติ  ในระหว่างการรอวันสัมภาษณ์มาถึง จึงควรพักผ่อนและผ่อนคลาย ใครชอบทำอะไรแล้วมีความสุขก็ทำอันนั้น สภาพจิตใจและความมั่นใจในตัวเองเป็น inner จะทำให้การนำเสนอหรือแสดง performance ของเราออกมาอย่างที่เราเป็น หรืออย่างที่เราอยากให้เค้าเห็น ผมเคยเขียนไปแล้วว่า การสัมภาษณ์คือ การนำเสนอตัวเองให้เค้าเห็น ให้เค้าได้สัมผัสความเป็นตัวเรา ดีที่สุด ถ้าเราเหมาะสมที่จะเป็น ร้ายที่สุดคือ เราไม่เหมาะแต่เราดันผ่านเข้าไปเป็นนักบิน (ชีวิตการบินจะเหนี่อยหรืออาจจะไปไม่รอด) เมื่อยี่สิบกว่าปีที่แล้วตอนที่ผมจะไปสัมภาษณ์ผมจึงแทบไม่เตรียมตัวอะไรเลยจริง ๆ แต่ไม่ใช่ “จับเสือมือเปล่า” […]

เส้นทางสู่ฝันการเป็นนักบินพาณิชย์

การเป็นนักบินพาณิชย์ หรือ An Airline Pilot นั้นแต่ละคนมีเส้นทางเดินเพื่อสู่เป้าหมายที่แตกต่างกันไป แต่สำหรับผมไม่เคยนึกไฝ่ฝันอยากเป็นนักบินมาก่อนเลย ตั้งแต่เข้าช่วงเริ่มเป็นวัยรุ่น ก็มุ่งมั่นแต่การทำความเข้าใจเรื่องต่าง ๆ ที่กำลังเรียน พอจบม. 3 ก็สอบชิงทุนพสวท. ก็รับทุนตั้งแต่ม.4 จึงไม่เคยวาดฝันถึงการมีอาชีพเป็นนักบินเลยสักนิด เพราะว่าไม่เคยรับรู้ว่าการเป็นนักบินต้องทำอย่างไรบ้างหรือเป็นนักบินแล้วดีอย่างไร ในตอนนั้นมุ่งมั่นที่จะเป็นนักวิทยาศาสตร์เพียงอย่างเดียว จนกระทั่ง…วันที่ได้เห็นโฆษณาในหน้าหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง ตอนที่ชีวิตเริ่มว่าง ช่วงระหว่างรอเรียนปริญญาโท ช่วงนั้นได้เห็นโฆษณาในหนังสือพิมพ์เขียนว่า “pilot scholarship”  เป็นโฆษณาของบริษัทการบินไทย แต่ว่ามันคือ อะไรล่ะ “นักบิน”  ความสงสัยจึงเริ่มเกิดขึ้นอย่างมากมายว่า การเป็นนักบินมันเป็นยังไง เค้าต้องทำอะไรกันบ้างเวลาทำงาน แล้วเขาต้องเรียนอะไรกัน คำถามที่เกิดขึ้นในใจตอนนั้น ตอบไม่ได้แม้แต่ข้อเดียว เพราะไม่เคยรู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับการบินและเครื่องบินเลย เป็นเพราะความไม่รู้ในตอนนั้น ผมจึงตัดสินใจ ลองสอบดูล่ะกัน  ตอนนั้นผมคิดแค่ว่าการสอบชิงทุนเป็นเรื่องน่าสนุก อยากรู้ว่าจะสอบง่าย สอบยากแค่ไหน เราจะทำได้ไหม ผมยังจำได้ว่าคำตอบที่ผมตอบ professor ตอนสอบสัมภาษณ์ คือ “Challenge” ผมแค่ต้องการมาสอบดูว่าเป็นยังไง จะสอบหรือทำข้อสอบได้หรือไม่ ตอนนั้นไม่ได้มีความอยากเป็นนักบินเลยครับ ด้วยเพราะว่าเราไม่รู้จักอะไรเกี่ยวกับการบินเลย แต่มาสอบเพราะว่ามีความอยากรู้ว่ามันเป็นยังไง ตอนสอบสัมภาษณ์กรรมการที่เป็นกัปตันเค้าถามว่า รู้จักไหมเครื่องบินที่ตั้งอยู่ที่มุมห้อง เป็นเครื่องบินของบริษัทไหน รุ่นอะไร คำตอบที่ได้จากผมในวันนั้นคือ ไม่ทราบครับ ตอบแบบตรงไป ตรงมาทันทีเลยครับ ไม่มีอะไรต้องนึก เพราะตอนนั้นไม่ทราบจริง ๆ และก็ไม่ได้รู้สึกว่าเป็นความผิดอะไรที่จะไม่รู้ ตอนนั้นไม่ได้คิดอะไรจริง ๆ ครับ แล้วก็ยังไม่ได้คิดด้วยว่า ถ้าสอบได้จะตัดสินใจอย่างไรระหว่างรับทุนเรียนต่อให้ถึงปริญญาเอก หรือลาออกมาเรียนบิน นี่คือ จุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงชีวิตเข้าหาอาชีพการบินของผม เรื่องการสอบเข้าเป็นนักบินและการสอบสัมภาษณ์ผมคงไม่เขียนถึงในเล่มนี้ เพราะผมเขียนเอาไว้พอสมควรแล้วในเล่มแรก “A […]

0
0