Day: October 24, 2019

เวลานั่งเครื่องบินเคยกลัวฟ้าผ่าไหม

ตอนที่นั่งเครื่องบินแล้วเข้าเมฆหรือเข้าใกล้ฟ้าแลบ แปร๊บ ๆ  เคยรู้สึกกลัวไหมครับ มันจะเป็นอันตรายอย่างไรหรือเปล่า เครื่องบินจะเป็นอะไรไหม ฟ้าผ่า หรือ Lightning strike นั้นมีความรุนแรงมากไหม เมื่อกระทบกับเครื่องบิน ผู้โดยสารจะเป็นอันตรายหรือไม่  แล้วเครื่องบินจะเป็นอะไรหรือเปล่า เรื่องนี้ขอเฉลยตามนี้ครับ Lightning แบบที่อยู่บนฟ้า วิ่งไปมาระหว่างก้อนเมฆ ปกติแล้วนักบินจะไม่บินเข้าไปอย่างแน่นอนครับ แต่บางครั้ง Lightning Strike นั้น อาจจะวิ่งเข้าหาเครื่องบินได้โดยไม่ต้องบินเข้าไปอยู่ในเมฆก้อนที่กำลัง active แค่เฉียดเข้าไปมันก็วิ่งมาได้ถ้าเราดันไปอยู่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างความต่างศักย์ของเมฆสองก้อน ส่วน lightning strike ที่วิ่งลงสู่พื้นนั้น มันก็มีโอกาสเกิดขึ้นอยู่แล้วตามปกติของเมฆฝนฟ้าคะนองทั่ว ๆ ไป ที่เกิดบนสนามบิน ทางสนามบินจะประกาศห้ามทำงานในลานจอด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการบาดเจ็บหากมีฟ้าผ่าลงมาที่สนามบิน หรือที่ตัวเครื่องบิน ถ้าเครื่องบินบินระดับอยู่บนฟ้าสูง ๆ Lightning Strike มักจะกระทบที่ส่วนหัวของเครื่องบินเป็นส่วนใหญ่ (Nose Section หรือ Nose Radome) และกระแสไฟฟ้าจะไหลออกไปที่ปลายปีก หรือชายปีก หรือ ที่ส่วนท้ายของเครื่องบิน การเกิดขึ้นเป็นเวลาเสี้ยวของวินาทีเท่านั้น ความรุนแรงก็มีทั้งมากและน้อย แต่ที่แน่นอนที่สุดคือ เครื่องบินจะไม่เป็นอะไรมาก และผู้โดยสารจะต้องปลอดภัย เพราะมันเป็นข้อบังคับในการผลิตเครื่องบินว่าต้องสามารถทำการบินต่อไปได้เมื่อถูกฟ้าผ่าครับ ในกูเกิล อาจจะเป็นภาพน่ากลัวว่า ฟ้าผ่าเครื่องเป็นรูขนาดใหญ่ แบบนั้นไม่เกิดเวลาที่บินสูงๆ  น่าจะเกิดที่พื้น หรือบินใกล้พื้น เป็นการที่ฟ้าผ่าลงพื้น (Cloud-to-ground) แต่เครื่องบินดันไปอยู่เป็นตัวกลางระหว่างก้อนเมฆกับพื้น ถ้าเป็นฟ้าผ่าระหว่างบินอยู่สูง ไม่ออกมาเป็นรูใหญ่ขนาดนั้นครับ โอกาสน้อยมาก แต่ก็อาจจะทำให้เครื่องบินเป็นรอยไหม้ได้เช่นกันนะครับ เครื่องบินสามารถบินต่อไปได้อย่างปลอดภัย โดยที่นักบินต้องทำการตรวจสอบว่าระบบต่าง ๆ เป็นปกติหรือไม่ ส่วนใหญ่อุปกรณ์ที่อาจจะได้รับผลกระทบอาจเป็นพวกที่ต้องใช้ไฟฟ้า […]

ทำไมเที่ยวบินถึงดีเลย์

ยุคนี้การเดินทางโดยเครื่องบินเป็นเรื่องง่ายและสะดวกสบาย ทำให้ธุรกิจการเดินอากาศมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นมาก ธรรมชาติของสายการบินทุกบริษัท เรื่องของเวลามีค่ามาก เพราะการดีเลย์ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น ทุกนาทีที่ดีเลย์เท่ากับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น เพราะสายการบินต้องการใช้งานเครื่องบินให้บินได้เต็มที่ขึ้นลงให้ได้หลาย ๆ เที่ยวบินนักบินและพนักงานทุกคนจึงพยายามนำเครื่องบินออกเดินทางให้ได้ตามเวลาและถึงที่หมายก่อนเวลาที่กำหนดไว้ แต่สาเหตุของการดีเลย์นั้นมีปัจจัยมากมายจริง ๆ ครับ  ผมขอยกตัวอย่างสักสองสามเรื่องครับ ช่วงเวลาที่เครื่องบินเข้าออกจากสนามบินดอนเมืองพร้อม ๆ กัน การที่เครื่องบินจะขึ้น จะลงสนามแต่ละลำต้องมีระยะห่างระหว่างกัน 2-3 นาที หากเราเป็นลำที่ 5 ก็ต้องรอคิววิ่งขึ้น อย่างน้อย ๆ 10-15 นาที บางครั้งนานกว่านั้นหากมีเครื่องเข้ามาลงสนามหนาแน่นด้วย เราอาจจะเป็นลำที่ 10 ในการวิ่งขึ้น กรณีนี้อาจจะทำให้ดีเลย์มากถึง 30 นาที สภาพอากาศที่สนามบิน ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญมากสำหรับการร่อนลงจอด หากสภาพอากาศขวางเส้นทางที่จะทำการลง การที่เครื่องบินแต่ละลำจะสามารถเข้าลงสนามได้ก็จะยากขึ้น ต้องบินหลบ บินวน บินอ้อม ทำให้กำหนดเวลาที่คาดการณ์ไว้คลาดเคลื่อน เสียเวลาเพิ่มขึ้น บางทีฝนตกหนักเหนือสนามบินทำให้ทัศนวิสัยต่ำเกินกว่าค่าที่กำหนดไว้ หรือมีลมกรรโชกแรงเกินขีดจำกัดในการลงสนามของเครื่องบินแบบนั้น ๆ ก็จำเป็นจะต้องทำการบินวนรอ กรณีแบบนี้เสียเวลาเพิ่มขึ้นอีกอย่างแน่นอน 15 นาทีถือว่าเร็วสำหรับการวนรอสภาพอากาศ ซึ่งบางครั้งสภาพอากาศปิด มีทัศนวิสัยต่ำอยู่นานมากการบินวนรออยู่นานเป็นชั่วโมงๆ ก็คงเป็นเรื่องที่มำได้ยากในทางปฏิบัติ เที่ยวบินนั้นจึงอาจจะต้องเปลี่ยนเส้นทางไปลงที่สนามบินสำรอง หากเป็นแบบนี้ก็จะเกิดความล่าช้าไม่น้อยกว่า 1-2 ชั่วโมงครับ การหาผู้โดยสารไม่พบนั้นเป็นอีกเหตุการณ์หนึ่งที่สร้างปัญหาให้เกิดความล่าช้าแก่เที่ยวบินได้ โดยเฉพาะเมื่อผู้โดยสารมาเช็คอินและโหลดสัมภาระขึ้นเครื่องบินเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่มาแสดงตัวที่จะขึ้นเครื่อง การตามหาผู้โดยสารเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องรีบกระทำไปพร้อม ๆ กับการเตรียมหาสัมภาระที่ผู้โดยสารได้ทำเช็คอินไว้ สาเหตุที่ต้องทำการรื้อค้นสัมภาระของผู้โดยสารนั้นให้เจอและนำออกจากเครื่องบินนั้น เป็นเหตุผลด้านความปลอดภัย การรื้อค้นกระเป๋าหลายร้อยใบที่อยู่ใต้ท้องเครื่องบินอย่างกรณีนี้เสียเวลาอีกไม่ต่ำกว่า 5-10 นาที และโดยปกติเราจะเริ่มค้นหากระเป๋าเมื่อตรวจสอบแล้วว่าผู้โดยสารยังมาไม่ถึงบริเวณขึ้นเครื่องประมาณ 15 นาที เพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้าแก่ผู้โดยสารท่านอื่น ๆ ที่รออยู่บนเครื่องบินครับ การดีเลย์มีหลายสาเหตุมากครับ […]

Safety and Security

Security กับ Safety นั้นมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันแทบจะตลอดเวลา หากแปลตรงตัวตามหลักภาษา คำว่า Security แปลว่า การรักษาความปลอดภัย ขยายความได้อีกว่า เป็นการป้องกันมิให้เกิดเหตุหรือทำให้ความปลอดภัยถูกลดทอนลง หรือเป็นมาตรการที่ต้องการเพิ่มการกำกับดูแลและเฝ้าระวังมิให้เกิดข้อบกพร่องและจุดอ่อนที่มีความเสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สินในระหว่างการเดินทาง ถึงแม้ว่าเที่ยวบินในประเทศส่วนใหญ่จะเป็นเที่ยวบินสั้นๆใช้เวลาเดินทางไม่นานนัก  แต่มาตรการเกี่ยวกับความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยของผู้โดยสารไม่ได้ลดหรือหดสั้นลงไปด้วย  ที่ผ่านมามีบ้างที่ผู้โดยสารอาจไม่เข้าใจเจตนาของพนักงานในการปฏิบัติตามมาตรการรักษาความปลอดภัยต่างๆ  วันนี้ผมจึงขออธิบายหลายๆเหตุการณ์ให้เข้าใจตรงกันครับว่ามีความเป็นมาอย่างไรและมีผลกระทบกับท่านอย่างไร การควบคุมและจัดการด้านความปลอดภัยนั้นเป็นการปฏิบัติงานร่วมกันของหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ของการท่าอากาศยานหรือพนักงานของสายการบิน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องอาศัยความเข้าใจและร่วมมือในการปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ต่างๆจากผู้โดยสารด้วยเช่นกันครับ เริ่มตั้งแต่การเช็คอินของผู้โดยสารที่มีกระเป๋าสัมภาระที่จะต้องบรรทุกใต้ท้องเครื่องบิน กระเป๋าหรือสัมภาระที่ต้องบรรทุกใต้ท้องเครื่องบินนั้น จะถูกลำเลียงเข้าเครื่อง x-ray ของการท่าอากาศยาน เพื่อทำการ scan วัตถุต้องห้ามว่ามีบรรจุไว้หรือไม่ เช่น วัตถุระเบิด วัตถุไวไฟ บรรจุภัณฑ์อัดแก๊สชนิดต่าง ๆและรวมถึงวัตถุอีกหลาย ๆ ประเภทที่เราอาจคิดว่าสามารถโหลดขึ้นเครื่องบินได้ แต่ความจริงแล้วกลับเป็นวัตถุที่สามารถทำให้เกิดอันตรายต่อการเดินทางได้อย่างร้ายแรง ตัวอย่างเช่น Power Bank ที่ไม่อนุญาตให้บรรทุกใต้ท้องเครื่องบิน แต่อนุญาตให้พกติดตัวได้ในขนาดไม่เกินที่กำหนดไว้ เพราะว่า หาก power bank มีการชำรุดเสียหายมันสามารถทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้ โดยที่ระบบดับเพลิงที่ติดตั้งภายในห้องเก็บสัมภาระใต้ท้องเครื่องไม่สามารถควบคุมเพลิงไหม้ที่เกิดจาก power bank ที่มีส่วนประกอบของลิเทียมไอออนได้ ท่านผู้โดยสารควรศึกษารายละเอียดเรื่องนี้ก่อนเดินทาง มิเช่นนั้นจะทำให้ท่านต้องเสียเวลาเพิ่มขึ้น เพราะหลังจากโหลดกระเป๋าที่เคาน์เตอร์เช็คอินแล้ว หากเจ้าหน้าที่การท่าอากาศยานตรวจพบวัตถุต้องสงสัยในระหว่างการ x-ray เจ้าหน้าที่จะขอให้ทางสายการบินติดตามตัวท่านมาเปิดกระเป๋าเพื่อตรวจสอบ และนำสิ่งของต้องห้ามเหล่านั้นออกจากกระเป๋า ผู้โดยสารควรให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเองและผู้โดยสารคนอื่น ๆ ด้วย  ดังนั้นการเดินทางโดยมีสัมภาระโหลดใน้ท้องเครื่องบินจึงควรเผื่อเวลาในการมาเช็คอินก่อนเวลาเดินทางตามที่กำหนดด้วยครับ (ภายในประเทศ ไม่น้อยกว่า 45 นาที ต่างประเทศมากกว่า 1 ชม.) สายการบินจะสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้บริการผู้โดยสารอย่างสม่ำเสมอ อย่างเช่นการเช็คอิน ผู้โดยสารที่เดินทางบางสายการบินก็สามารถเช็คอินด้วยตัวเองได้ ผ่านทางคอมพิวเตอร์ มือถือสมาร์ทโฟนและ Apple Watch […]

Safety Management System

ผมถือโอกาสนำข้อความที่ผมเขียนลงในนิตยสาร JIBjib ซึ่งเป็นนิตยสารที่ให้บริการแก่ผู้โดยสารบนเครื่องบินของนกแอร์มาลงให้อ่านกันครับ ถือเป็นโอกาสที่ดีที่ของผมในฐานะกัปตันสายการบินนกแอร์ จะได้มาบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ให้กับผู้โดยสารทุกท่านในฉบับเดือนมิถุนายนนี้ ผมขอเริ่มจากหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านความปลอดภัยกันเสียก่อนครับ      “นกแอร์” ได้เริ่มดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาการปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่โครงสร้างการบริหารงานของบริษัท และการพัฒนาด้านบุคคลากรในการปฏิบัติหน้าที่บริหารและจัดการต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก หนึ่งในนั้นคือการพัฒนาระบบบริหารจัดการด้านความปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเป้าหมายของเราคือการยกระดับมาตรฐานให้เทียบเท่ากับสายการบินพันธมิตรในทวีปยุโรป   โดยหลักใหญ่ ๆ นั้นเราได้วางแผนให้มีการเร่งและปรับปรุงคุณภาพในหลาย ๆ ภาคส่วน ทั้งด้านการบริการผู้โดยสาร การสร้างความเชื่อมั่น การตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อสังคมไทย โดยมีจุดแข็งอยู่ที่จุดบริการการบินครอบคลุมมากที่สุดในประเทศไทย ด้วยราคาที่เหมาะสมและคุ้มค่า และมีการให้บริการที่เป็นมิตร ร่าเริง สดใส ใส่ใจในการให้บริการจากพนักงานนกแอร์ทุกคน ผมเชื่อว่าผู้โดยสารที่เคยใช้บริการนกแอร์สามารถสัมผัสถึงความรู้สึกนี้ได้อย่างแน่นอนครับ ถ้าพูดถึงความปลอดภัย กลุ่มผู้โดยสารที่เป็น Corporate sales นั้น เป็นอีกกลุ่มที่ต้องการความเชื่อมั่นให้กับพนักงานของเขา โดยก่อนการทำข้อตกลงร่วมกันนั้น บริษัทนั้นจะทำการตรวจสอบมาตรฐานของนกแอร์ก่อน อย่างเช่น เมื่อไม่นานมานี้ทางฝ่ายควบคุมคุณภาพของบริษัทระดับโลกแห่งหนึ่ง ส่งผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานมาตรวจสอบและพูดคุยกับผม  ผู้เชี่ยวชาญท่านนั้นเป็นผู้ชำนาญการมีประสบการณ์ด้านการตรวจสอบมาหลายสิบปี จบปริญญาเอกสาขาด้านความปลอดภัยและมีปริญญาด้านการจัดการธุรกิจการบิน เขาเดินสายตรวจสอบสายการบินต่าง ๆ ทั่วโลกที่บริษัทของเขาทำธุรกิจอยู่ เพื่อประเมินระบบการทำงานของสายการบินว่ามีขั้นตอนและวิธีการทำงานที่มีการกำกับดูแลมาตรฐานอย่างถูกต้องครบถ้วนและมีมาตรฐานหรือไม่ ก่อนที่ทางบริษัทแม่จะอนุญาตให้พนักงานซึ่งมีอยู่หลายแสนคนทั่วโลกเดินทางกับสายการบินที่ผ่านการตรวจสอบแล้วว่ามีมาตรฐานดีและมีความปลอดภัยสูง ไม่มีความเสี่ยงในระหว่างการเดินทาง        วันนั้นผมได้พูดคุยตอบข้อซักถาม ให้ดูแผนงานและขั้นตอนการกำกับดูแลด้านความปลอดภัยของนกแอร์ทุกขั้นตอน ผลการตรวจสอบเป็นที่พอใจ นกแอร์สอบผ่านฉลุยครับ พนักงานของบริษัทเขาสามารถใช้บริการได้อย่างสบายใจ   อีกหนึ่งกลยุทธ์ในการเร่งประสิทธิภาพของนกแอร์ คือ การเพิ่มบุคคลากรคุณภาพเข้ามาช่วยขับเคลื่อนบริษัท ทั้งในแง่ของการวางแนวทางปฏิบัติและการวิเคราะห์มูลเหตุของปัญหา รวมถึงวางแผนและกำหนดวิธีการป้องกัน แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ดังนั้นเพื่อให้ผู้โดยสารได้รับสิ่งที่ดีที่สุด นกแอร์จึงเพิ่มศักยภาพของบุคลากรให้ทันกับแผนที่กำหนดเอาไว้ โดยการนำครูการบิน และเทคโนโลยีการเรียนการสอนเกี่ยวกับการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในเครื่องบิน […]

First Solo

ผมขี้นเครื่องบินครั้งแรกคือ เดินทางจากจังหวัดเลยมาสนามบินดอนเมืองราวๆ กลางเดือนพค. 2535 ออกจากแปลงสำรวจเหมืองทองคำที่นั่นเพื่อมาลงทะเบียนและรายงานตัวเรียนปริญญาโท ที่จุฬาฯ จำได้ว่าเป็นช่วงพฤษภาฯทมิฬ แต่เป็นไฟล์ทบังคับที่ต้องมา เพราะเราต้องเรียนป.โท ตามเกณฑ์ของทุนพสวท.ที่ทุกคนต้องจบอย่างน้อยป.โท ผ่านไปอีกหนึ่งปีเศษ  ได้ขึ้นเครื่องบินอีกครั้งตอนเป็นศิษย์การบิน จำได้ว่าตื่นเต้นมากและอยากอ้วกมากด้วย 555 ครูผมไม่อยู่มีงานราชการ  ท่านผอ.ศูนย์ฝึกฯ สมัยนั้น จึงมาเป็นครูฝึกให้ผมและเพื่อน เครื่องบิน Piper Warrior เครื่องยนต์เดียวแบบใบพัด เที่ยวบินแรกเป็นการ familiarization บินตรง บินระดับ ยังเป็นเรื่องยาก เลี้ยวไปเลี้ยวมาจนเวียนหัว แต่นั่นไม่ทำให้ผมรู้สึกเสียวหรือกังวลอะไร บินไปบินมาสนุกดี บินสักพักครูท่านสูบไปป์กลิ่นเชอร์รี่  แรกๆ ก็หอมดีครับ  แต่การ บินตรง_บินระดับ ในครั้งแรกของการจับคันบังคับ  มันไม่ตรงและไม่ระดับนะสิครับ กลิ่นหวานๆของไปป์ มันทำให้ เวียนหัว สุดจะบรรยาย  เป็นประสบการณ์ที่ดีมากในครั้งแรก  แบบว่าฝึกสภาพร่างกาย ไม่ให้อ้วกใส่เครื่องบิน 555 เราสองคนขึ้นด้วยกันไปตลอด พร้อมกับครูฝึกอีกหนึ่งท่าน ช่วงแรกต้องมีครูขึ้นบินด้วยเสมอ  จนกว่าจะบินได้คล่องแล้ว สามารถ landing ได้อย่างปลอดภัยแล้ว ครูจึงจะปล่อยให้เรา Solo Flight Solo Flight คือการบินเดี่ยว ขึ้นบินคนเดียว  first solo flight ครูจะให้บินแค่เที่ยวเดียวเท่านั้น  คือ takeoff ขึ้นไป บินเข้า downwind เลี้ยวเข้า base leg  และเลี้ยวต่อเข้า final เพื่อ landing […]

0
0