The Road in The Sky

เรื่องไม่ลับอาชีพนักบินกับสาระเบาๆเพื่อนักเดินทาง

ผู้โดยสารมาช้า กัปตันจะทำอย่างไร

ผู้โดยสารมาช้า กัปตันจะทำอย่างไร ตามความคิดและประสบการณ์ส่วนตัวนะครับ ชาติที่มีวินัยที่สุดในการขึ้นเครื่องบิน คือ ญี่ปุ่น ไฟล์ทไปหรือกลับจากญี่ปุ่น จะมีปัญหาเรื่องผู้โดยสารมาเครื่องช้าน้อยมาก การที่ผู้โดยสารมาช้า อาจจะเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น  ต่อเครื่องมาจากสถานีอื่น หลงทางอยู่ในสนามบิน ติดอยู่ที่กองตรวจคนเข้าเมือง (Immigration) ขึ้นผิดเครื่อง  (สมัยก่อนมีครับ สักสิบกว่าปีที่แล้ว ผู้โดยสารขึ้นเครื่องบินที่เขียน “เชียงใหม่” ที่ลำตัว เพราะนึกว่าเครื่องลำนี้ไปเชียงใหม่) มัวช้อปปิ้งเพลิน “หลับ” ระหว่างรอต่อเครื่อง ของีบสักแป๊ป ฯลฯ ปัญหาผู้โดยสารขึ้นเครื่องช้ามีหลายรูปแบบและหลายสาเหตุครับ พนักงานภาคพื้นที่เป็นคนดูแลคนและของขึ้นเครื่องบิน (Load Control หรือ Red Cap เพราะมักจะใส่หมวกแดงกัน) จะเป็นคนมารายงานก่อนพาผดส.ขึ้นเครื่องว่า วันนี้มีกรณีพิเศษอะไรบ้าง เช่น ผู้โดยสารจำนวนกี่คน ต่อไฟล์ทมาจากที่อื่น คาดว่าเครื่องจะลงกี่โมง จะเสียเวลาเท่าไหร่ ถ้าผู้โดยสารมาจากต่างประเทศก็ต้องผ่าน transit immigration  (อันนี้วุ่นวายมาก มีอยู่ช่วงหนึ่งโดยเฉพาะตอนเช้าเจ้าหน้าที่เปิดช่องตรวจน้อย เครื่องจากยุโรปของไทยก็จะลงตอนเช้า แล้วผดส.จำนวนมากจะต่อเครื่องไปภูเก็ต เชียงใหม่กัน แต่ต้องผ่านตม.ที่สุวรรณภูมิก่อน ทั้งๆที่ สามารถไปตรวจลงตราที่ปลายทางก็ได้ อันนี้ขั้นตอนกฏหมายไทย It a must ว่าต้องทำทั้ง 2 ที่หรือเปล่า ไม่รู้เขาแก้ไขกันหรือยัง แต่การเปิดช่องตรวจน้อยทำให้เครื่องดีเลย์กันมาก ก็ทำงานแบบไทย ไทย ไม่ค่อยใส่ใจว่าใครเขาจะเดือดร้อน “ทำอะไรตามใจ คือไทยแท้”) มีผู้โดยสารป่วย ที่ต้องดูแลพิเศษ ต้องใช้ Oxygen หรืออุปกรณ์เสริมใดบ้างและทำการ approved จากหน่วยงานที่รับผิดชอบแล้ว ว่าถูกต้องตามกฏสามารถนำขึ้นเครื่องได้ […]

หูอื้อ

หูอื้อ มีคำถามจากเพื่อนสมัยเรียนมัธยมเขียนถามมาในเฟสบุ๊คว่า “ขึ้นเครื่องจากดอนเมืองไปอุดรรู้สึกหูอื้อช่วงเครื่องขึ้นสักพักก็หาย แต่พอไปได้สักครึ่งทางก็หูอื้อ บางช่วงรู้สึกปวดแก้วหู เราไม่พกหมากฝรั่งเลยใช้วิธีเคี้ยวปาก จนกระทั่งเครื่องลงก็ไม่หาย  กลับถึงบ้านแล้ว 5-6 ชม.ค่อยดีขึ้น  ปกติขึ้นเครื่องก็ไม่เคยเป็นขนาดนี้นะ จะเป็นเฉพาะเครื่องบินต่างระดับเท่านั้น แต่ครั้งนี้รู้สึกมากขนาดปวดหู ถามน้องที่ไปด้วยก็บอกว่าไม่มีอาการ อยากทราบว่าอาการที่เกิดขึ้นเป็นที่ตัวเราเองรึเปล่าคะ” ขอตอบแบบใช้ความรู้ของนักบินนะครับ อาการหูอื้อมักเกิดขึ้นช่วงเครื่องบินลดระดับ มากกว่าช่วงเครื่องบินไต่ระดับความสูงขึ้น ช่วงบินขึ้น อากาศภายในห้องโดยสารจะเบาบางลง ความดันอากาศภายในหูจะค่อย ๆ ปรับได้ไม่ยาก ช่วงที่เครื่องบินลดระดับ จะมีการอัดอากาศเข้าในห้องโดยสารเพื่อเพิ่มความกดอากาศให้สัมพันธ์กับความดันอากาศที่อยู่ที่พื้นเมื่อเครื่องบินแตะพื้น หูชั้นในจะต้องปรับความดันเพื่อให้อากาศเข้าไปด้วย ไม่อย่างนั้นจะมีความต่างของความดันเพิ่มขึ้นจะเกิดความรู้สึกหูอื้อ และอาจถึงขั้นปวดหู หากไม่ปรับความดันของหูชั้นในเลยอาจทำให้หูชั้นในได้รับบาดเจ็บฉีกขาดได้ โดยปกติร่างกายจะพยายามปรับตัวอยู่แล้ว และจะส่งสัญญาณเตือนให้เรารู้ด้วยอาการหูอื้อดังนั้น ผมแนะนำว่า การกลืนน้ำลาย หรือการเคี้ยวหมากฝรั่ง ช่วยได้ ถ้าใครกระดิกหูได้ก็ลองทำดูครับ ช่วยเปิดอากาศให้ถ่ายเทเข้าสู่หูชั้นในได้เช่นกัน  หากเริ่มหูอื้อ จนรู้สึกว่า มีแรงกดเข้าที่หู อาจจะต้องใช้วิธีการที่เรียกว่า Valsalva Valsalva คือ การที่เราหายใจเข้าลึก ๆ แล้วใช้มือบีบจมูกและเม้มปากไว้ หลังจากนั้นให้ทำเหมือนพยายามเป่าลมออกมา เราจะได้ยินเสียง Air Pop ที่หูของเรา อาจจะต้องทำหลาย ๆ ครั้ง หากยังมีอาการหูอื้ออยู่ ขึ้นเครื่องบินบางครั้ง เป็นบางครั้งไม่เป็น หรือไม่เกิดอาการหูอื้อ อาจจะอยู่ที่ร่างกายของเราด้วยครับ เช่น คนเป็นหวัด หรือมีอาการอักเสบของแก้วหู ที่มีอาการบวมของหูชั้นในอยู่ จะทำให้ความสามารถในการปรับความดันของหูลดลง อาจจะทำให้เกิดอาการหูอื้อ หรือหูดับไปได้หลายชั่วโมง คนที่เป็นอาการหนัก ๆ อาจจะเป็นวัน ๆ แล้วอยู่ดี ๆ ก็จะได้ยินเสียง “Air Pop” […]

Seat Belt

กรุณารัดเข็มขัดนิรภัยด้วยครับ หากกัปตันไม่ให้สัญญาณว่าปลดเข็มขัดนิรภัยได้ ผู้โดยสารไม่ควรปลดออกในทุกกรณี หากเป็นการออกเดินทางเพื่อไปจุดหมาย มักไม่ค่อยพบปัญหานี้เท่าไหร่ เพราะส่วนใหญ่จะนั่งรอเครื่องวิ่งขึ้น แต่เมื่อ landing ที่ปลายทางแล้ว ผู้โดยสารมักชอบลุกจากที่นั่งเพื่อรีบหยิบของเตรียมตัวลงจากเครื่องบิน  อันนี้ไม่ปลอดภัย แม้ว่าเราจะรู้สึกว่าเครื่องหยุดอยู่กับที่ แต่ความจริงแล้วเครื่องบินอาจจะกำลังเคลื่อนที่อยู่อย่างช้า ๆ หรือบางครั้งอาจจะหยุดเพื่อรอทาง   ส่วนตัวผม หากเกิดกรณีที่จำเป็นต้องหยุดเครื่องโดยรู้ล่วงหน้า ผมจะประกาศบอกผู้โดยสารเสมอว่า ให้นั่งอยู่กับที่ก่อนจนกว่าสัญญาณรัดเข็มขัดจะดับลง เพราะเครื่องบินยังไม่ถึงหลุมจอด อาจจะด้วยหลายสาเหตุ เช่น มีเครื่องบินลำอื่นจอดอยู่ยังไม่ถอยออกจากหลุมจอดที่เราจะเข้า หรือทางที่เราจะใช้เคลื่อนตัวเข้าไปจอด มีเครื่องบินอีกลำเคลื่อนสวนออกมา เป็นต้น โดยปกติ หอบังคับการบิน จะพยายามจัดการจราจรภาคพื้นเพื่อให้เครื่องบินทุกลำสามารถเคลื่อนที่ไปได้โดยไม่ต้องสะดุด หรือจอดรอ แต่ในบางครั้งก็จำเป็นครับ อาจจะเพราะเครื่องบินมาก หรือมีการปิดซ่อมทาง taxiway ทำให้การจัดการจราจรภาคพื้นคับคั่ง และก็อาจจะมีบ้างที่ต้องเบรคกระทันหัน เช่น รถขนของวิ่งตัดหน้าเครื่องบิน (คนขับไม่ได้มอง อันนี้คนขับรถจะโดนลงโทษความผิด ยิ่งกว่าฝ่าไฟแดงแล้วโดนกล้องวงจรปิดถ่ายรูปไว้) หรือ มีการเข้าใจผิดในการใช้ทาง หรือ ฯลฯการเบรคกระทันหัน แม้ว่าจะเป็นช่วงที่มีความเร็วต่ำ ๆ ของเครื่องบิน ก็สามารถทำให้เกิดอันตรายต่อผู้โดยสารได้เช่นกันเพราะว่าการที่เครื่องบินเคลื่อนที่ช้า ๆ (ตามความรู้สึกของเรา) แต่จริง ๆ แล้ว เครื่องบินเคลื่อนที่ด้วยความเร็วพอสมควรทีเดียวครับ การ taxi เพื่อเข้าจอด หรือ เพื่อไปวิ่งขึ้นก็ตาม นักบินจะใช้ความเร็ว 10-30 knots ซึ่งเทียบเท่ากับประมาณ 20-60 km/hr การเบรคกระทันหันที่ความเร็วนี้ จึงอาจทำอันตรายให้กับผู้ที่ลุกขึ้นยืน หรือกำลังอยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสมได้ คนที่ยืน อาจจะล้มไปกระแทกกับคนที่นั่งอยู่ทำให้บาดเจ็บ และถ้าเกิดคนที่ลุกยืนทำการเปิดช่องเก็บสัมภาระเหนือศรีษะอยู่ด้วย ยิ่งเป็นอันตรายมาก เพราะของในที่ใส่ของอาจจะหล่นลงมาใส่คนที่นั่งอยู่จนได้รับบาดเจ็บ […]

ขึ้นเครื่องบินอย่าเมาเหล้า

ขึ้นเครื่องบินอย่าเมาเหล้า เห็นข่าวเรื่องผู้โดยสารเมาแล้วทะเลาะวิวาทกันบนเครื่องบินไหมครับ มีหลายประเด็นที่น่ากล่าวถึงเพื่อเป็นประโยชน์ให้เพื่อนๆรับทราบข้อมูลกรณีต้องเดินทางโดยเครื่องบิน และอยากดื่ม แอลกอฮอล์ ขอให้คิดสักนิด ก่อนดื่ม ขอให้ดื่มแต่พอดี  อย่าคิดว่าเป็นของฟรีแล้วดื่มไม่ยั้ง ขอให้หยุดดื่มทันที เมื่อพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินปฏิเสธที่จะให้บริการเครื่องดื่มมึนเมาแก่ท่าน บริษัท หรือ สายการบินชั้นนำทั่ว ๆ ไป แทบทุกสายการบินจะไม่อนุญาตให้นำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ซื้อหามาเองมาดื่มบนเครื่องบินระหว่างเที่ยวบิน อ่านแล้วอาจจะแปลกใจว่า “ ทำไม ฉันซื้อมาเองทำไมจะดื่มไม่ได้ “  คำถามนี้เกิดขึ้นบ่อย ๆ ครับ ทั้ง ๆ ที่สายการบินน่าจะชอบที่ไม่ต้องเปลืองเหล้า เบียร์ หรือไวน์ของบริษัท น่าจะช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายของบริษัทฯ นะ ความจริงมีอยู่ว่า สายการบินชั้นนำ หรือที่เรียกกันว่า Premium ไม่ได้คิดถึงเรื่องการประหยัดในเรื่องนี้ครับ แต่นึกถึงการให้บริการที่ดีตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก แต่นึกถึงความปลอดภัยโดยรวมของเที่ยวบินมากกว่าทุก ๆ สิ่งครับ การห้ามผู้โดยสารนำของมึนเมาที่ซื้อหามาเองมาดื่มบนเครื่องบินนั้น เป็นกฏกติกาของบริษัทหรือสารการบินชั้นนำที่มีมาตรฐานสากล แบบเดียวกับการบินไทย ที่ต้องการความปลอดภัย ความสะดวกสบายและความเป็นส่วนตัวของผู้โดยสารบนเที่ยวบินครับ  “เราขอสงวนสิทธิที่จะให้บริการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่ผู้โดยสารที่อยู่ในอาการมึนเมา และผู้โดยสารที่อายุน้อยกว่า 18ปี และ ไม่อนุญาตให้นำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาดื่มเอง และให้ดื่มได้เฉพาะที่บริษัทฯ มีเตรียมไว้บริการบนเครื่องเท่านั้น” สำนวนประมาณนี้ครับ เวลาที่แอร์โฮสเตสประกาศบนเที่ยวบิน เพราะว่า ทางพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินจะมีหน้าที่คอยเฝ้าดูแลผู้โดยสารทุก ๆ คนและระงับการให้บริการแก่ผู้โดยสารที่มีอาการมึนเมา หรือ ผู้โดยสารที่ไม่อยู่ในสภาพที่สมควรดื่มแอลกอฮอล์  เช่น อายุต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ ๑๘ ปี  หรือผู้โดยสารที่ถูกเนรเทศออกนอกประเทศ  หรือผู้โดยสารที่จำเป็นต้องมีผู้ควบคุมความประพฤติเดินทางด้วยในทุก ๆ กรณี (รวมทั้งผู้คุมก็ถูกห้ามด้วย) เป็นต้น สาเหตุก็เพราะว่าหากผู้โดยสารนำเครื่องดื่มของมึนเมามาทานเอง พนักงานต้อนรับจะไม่สามารถประเมินและควบคุมปริมาณการดื่มเพื่อให้อยู่ในปริมาณที่ไม่มากเกินไปจนเกินความมึนเมาได้ ไม่ใช่หวง ไม่ให้เพราะงก แต่ไม่ให้เพราะคุณเริ่มจะเมาแล้ว […]

In the cabin

In the cabin เรื่องน่ารู้ภายในห้องโดยสาร สำหรับนักเดินทางที่เดินทางโดยเครื่องบินบ่อย ๆ คงไม่ต้องอ่านเรื่องต่อไปนี้  สำหรับคนที่เดินทางไม่บ่อย มีหลาย ๆ อย่างที่อยากแนะนำให้รับทราบไว้ เผื่อจะได้ไม่งุนงง ผู้โดยสาร ภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า Passenger ตัวย่อทางเทคนิคในแวดวงการบิน คือ PAX ซึ่งหมายถึงผู้โดยสารหลาย ๆ คน หรือเวลาเราพูดโดยไม่เจาะจงจำนวนหรือเป็นการกล่าวถึงเป็นบุคคลที่สาม ถ้าเป็นการเฉพาะเจาะจงถึงผู้โดยสารเพียงคนเดียวจะใช้คำว่า PAP Air Crew โดยรวม หมายถึง ลูกเรือบนเครื่องบินทั้งหมด รวมนักบิน (Flight deck Crew/Cockpit Crew) และ พนักงานต้อนรับ (Cabin Crew) Air Steward (มักเรียกสั้น ๆ ว่า “สจ๊วต”) หมายถึง พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเพศชาย Air Hostess หมายถึง พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเพศหญิง (ในภาษาอังกฤษใช้อีกคำหนึ่งด้วยคือ Stewardess) บนเครื่องบินของสายการบินชั้นนำส่วนใหญ่จะมีจำนวน Cabin Crew มากกว่าที่กำหนดไว้ขั้นต่ำ เพื่อให้บริการผู้โดยสารให้มีความสะดวกสบายในการเดินทาง และประโยชน์สูงสุดคือเรื่องการให้ความช่วยเหลือ pax กรณีมีเหตุการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ เกิดขึ้น การทำงานของลูกเรือ (ปกติจะใช้คำว่า “ลูกเรือ” หมายถึง Cabin Crew) จะแบ่งเป็นโซน ซ้าย-ขวา และเป็นช่วง ๆ โดยมีตำแหน่งประตูเป็นชื่อประจำตำแหน่ง เช่น […]

0
0