The Road in The Sky

เรื่องไม่ลับอาชีพนักบินกับสาระเบาๆเพื่อนักเดินทาง

4 words in ICAO documents

4 words in ICAO documents สี่คำที่น่าสนใจในทางการบิน 1. Standards Any specification for physical characteristics, configuration, material, performance, personnel or procedure, the uniform application of which is recognized as necessary for the safety or regularity of international air navigation and to which Contracting States will conform in accordance with the convention 2. Recommendation practice Any specification for physical characteristics, configuration, material, performance, personnel or procedure, the uniform application of which is recognized as desirable in the interest […]

ICAO Annex

ICAO Annex มาทำความรู้จักกับ Annex กันดีกว่า นอกจากคำว่า ICAO (International Civil Aviation Organization) แล้ว อีกคำหนึ่งที่พูดถึงไม่น้อยไปกว่าคำอื่น ๆ คือ คำว่า Annex ผู้คนในแวดวงการบินทุกคนคงจะรู้จักและได้ยินคำว่า Annex กันเป็นอย่างดี แต่ถ้าถามว่า รู้ไหมว่า Annex คือ อะไร คำตอบที่ได้ คงเป็นความเงียบชั่วขณะหนึ่ง ก่อนเริ่มต้นอธิบาย แล้วสุดท้ายก็ไม่ได้เข้าใจอย่าง จริง ๆ จัง ๆ หรอกว่า Annex คือ อะไร Annex แปลเป็นไทยประมาณว่า ภาคผนวกของหนังสือ แต่ความจริงไม่ใช่อย่างนั้นเลยในวงการการบิน Annex มีความสำคัญกว่าการเป็นภาคผนวก ที่ฟังดูเหมือนไม่มีความหมายหรือความสำคัญนัก แต่ความเป็นจริงแล้วมันเป็นมาตรฐานสำคัญที่ทุกส่วนในธุรกิจการบินต้องปฏิบัติตาม ตัวอย่างเช่น Annex 1 ที่ว่าด้วยเรื่องใบอนุญาตนักบิน (Personnel Licensing) ถ้าจะเขียนให้เข้าใจมากขึ้น ควรเขียนว่า “ANNEX 1 to the Convention on International Civil Aviation, Personnel Licensing”   ภาพจะเริ่มชัดขึ้นอีกนิดว่า มันเป็นภาคผนวกของสนธิสัญญาอะไรสักอย่างเกี่ยวกับการบินพลเรือนสากล คำว่า The Convention on International Civil Aviation นี่แหละครับที่คือคำตอบว่า Annex […]

มาตรฐานการบินคืออะไร

มาตรฐานการบินคืออะไร เป็นเรื่องยากที่จะเขียนสรุปอย่างสั้นๆเพื่อที่จะอธิบายให้ครอบคลุมความหมายของคำว่า “มาตรฐานการบิน” หรือ “Flight Standards” ความเห็นส่วนตัวผม ถ้าจะพูดให้ง่ายเข้าไว้ ใช้ภาษาชาวบ้านเพื่อให้เกิดความเข้าใจ คำว่า “มาตรฐานของการบิน” หรือ “flight standards” นั้นเป็นคำกลาง ๆ ที่ใช้เพื่อบ่งบอกว่า การทำการบินนั้นอยู่ในกรอบอ้างอิงหนึ่งที่สากลบัญญัติหลักเกณฑ์เอาไว้ร่วมกัน (reference) หรือไม่ หากการกระทำหรือการปฏิบัติการใดๆ ไม่มีข้อกำหนดหลักปฏิบัติเอาไว้ การกระทำนั้นจะเรียกว่า ไม่มีมาตรฐาน ไม่ได้ ดังนั้น ในทางปฏิบัติ จึงต้องมีกำหนดวิธีการกระทำหรือกำหนดให้กระทำและรายละเอียดอื่นๆ ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเอาไว้ และผู้ปฏิบัติต้องยึดหลักเกณฑ์ที่สอดคล้องกับพื้นฐานจากบทบัญญัติที่ได้มีการตกลงร่วมกันดังกล่าวไว้แล้ว จึงจะเรียกได้ว่า มีมาตรฐาน จากคำนิยาม (ของผมเอง) ข้างต้น จึงนำไปสู่การกำหนดหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติในแทบทุกๆเรื่อง(ที่จำเป็น)เอาไว้เพื่อเป็นตัวบ่งชี้หรือชี้วัดความมีมาตรฐานในเรื่องนั้นๆ ของผู้ปฏิบัติ และนั่นคือการถือกำเนิดขึ้นขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) เพื่อเป็นเวทีในการร่วมถกปัญหา ข้อดี ข้อเสีย ของเรื่องใดๆ ที่มีนัยสำคัญต่อการบิน และทำการตกผลึกร่วมกันของนานาประเทศ จึงจะประกาศสรุปหลักเกณฑ์กลางๆ เพื่อไว้ใช้อ้างอิง โดยที่แต่ละประเทศอาจเพิ่มเติมบทบัญญัติอื่นๆ ที่เป็นการเฉพาะส่วนเอาไว้ (filed difference to ICAO) เนื่องจากเห็นความสำคัญในแง่ของลักษณะเฉพาะของพื้นที่หรือเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยประเทศนั้นๆและยังไม่ได้ถ่ายทอดไปในระดับสากล มาตรฐานการบิน เป็นเรื่องสำคัญ เพราะเป็นการบัญญัติวิธีการปฏิบัติ หรือวิธีการบิน หรือวิธีการวางแผนการบิน หรือวิธีการให้ข้อมูล หรือวิธีการซ่อมบำรุง ฯลฯ รวมถึงกำหนดการต่าง ๆ ในการที่จะปฏิบัติสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น โดยทั้งหมดทั้งมวลเพื่อเป็นการตีกรอบให้ทุก ๆ วิธีการปฏิบัตินั้น อยู่ในกรอบมาตรฐานที่บ่งบอกหรือมีนัยสำคัญว่า จะสามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย โดยสรุปง่าย ๆ ตามความคิดผมนะครับ  […]

Flying Big 747

Flying Big 747 คำว่า cockpit หมายถึงห้องบังคับหรือห้องควบคุมเครื่องบินหรือห้องนักบินครับ ในภาพหน้าปกคือ Cockpit ของเครื่องบินโบอิ้ง 747-400 ภาพข้างบนนี้คือ เครื่องบินโบอิ้ง 747 ชื่อเล่น จัมโบ้ ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ปี 1969 เป็นเครื่องบินของบริษัท Boeing ที่ได้รับความนิยมมาตั้งแต่รุ่นซีรีส์ B747-200/300 จนกระทั่งเปลี่ยนมาเป็น B747-400 ซึ่งเป็นเครื่องบินที่ใช้ two-man crew ใช้นักบินควบคุมเพียง 2 คน และใช้ระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาควบคุมการทำงานของเครื่องบินแทนนักบินที่ 3 หรือ System Operator โดยมีการเปลี่ยนแปลงภายในของห้องนักบิน หรือ Cockpit เป็นระบบการแสดงภาพที่เป็นการสร้างสัญญาณภาพ ซึ่งในซีรีส์ 300 ยังเป็นระบบการแสดงสภาพและเครื่องวัดประกอบการบินต่าง ๆ ที่ยังเป็นการทำงานในระบบ analog B747 ยังเป็นเครื่องบิน wide-body aircraft รุ่นแรกที่มีห้องโดยสารสองชั้น (double-deck) ในปัจจุบัน B747 ได้ถูกพัฒนา เป็น B747-8 ส่วนใหญ่เรียกติดปากว่า 747-800 แต่ Boeing ออกชื่อรุ่นจริง ๆ ว่า B747-8  ซึ่งพัฒนาเทคโนโลยี fly-by-wired แบบเดียวกับ B777 และ B787 B747-400 ถือเป็นเครื่องบินรุ่นยอดนิยมรุ่นหนึ่งของบริษัทโบอิ้ง B747 ทุกซีรีส์จนถึงปัจจุบันถูกผลิตมากกว่า 1500 ลำ สายการบินที่มี Boeing B747 […]

Safest seat

Safest seat  ที่นั่งตรงไหนที่ปลอดภัยที่สุดในห้องโดยสาร  คุณรู้หรือไม่ ที่นั่งตรงไหนที่ปลอดภัยที่สุดหากเครื่องบินมีอุบัติเหตุ บางคนอาจบอกว่าที่ปีก เพราะมีโครงสร้างที่แข็งแรงมากที่สุด บางคนคิดว่าน่าจะเป็นส่วนหัวของเครื่องบิน เพราะอยู่ใกล้นักบินและน้อยคนจะคิดว่าส่วนท้ายเพราะส่วนใหญ่มักคิดว่าท้ายเครื่องเล็กและคับแคบ สถิติการรอดชีวิตของผู้โดยสารจากอุบัติเหตุของเครื่องบิน ที่นั่งท้ายเครื่องบินมีอัตราผู้รอดชีวิตสูงที่สุด (Survival rate) คือ 69% (ภายในบริเวณสีเขียวด้วยกัน) และที่นั่งด้านหัวเครื่องบินมีอัตราผู้รอดชีวิตต่ำที่สุด 49% บริเวณนี้สายการบินและเครื่องบินส่วนใหญ่มักจะเป็นที่นั่งสำหรับชั้น First Class และ Business Class  ที่นั่งบริเวณปีกเครื่องบินมีอัตราผู้รอดชีวิตปานกลาง การที่อัตราผู้รอดชีวิตน้อยทีสุดที่บริเวณส่วนหัวของเครื่องบิน เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุ บริเวณส่วนหัวคือส่วนที่รับแรงกระแทกมากกว่าส่วนอื่น เพราะเป็นส่วนหน้าสุดของเครื่องบิน ซึ่งมักจะเป็นทิศทางที่เครื่องบินจะไถลไป บริเวณกลางลำตัวนั้น แม้โครงสร้างของเครื่องบินจะแข็งแรงที่สุด เพราะเป็นส่วนที่ต้องรับน้ำหนักของเครื่องบินแทบทั้งหมด แต่อันตรายจากบริเวณส่วนกลางลำตัวเวลามีอุบัติเหตุคือเป็นที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิง และทางออกจากเครื่องบินจะอยู่ในแนวของเครื่องยนต์ที่อาจมีปัญหามีไฟลุกไหม้อยู่เมื่อตอนมีอุบัติเหตุ ส่วนท้ายของเครื่องบิน เหมือนจะเป็นโครงสร้างที่บอบบางที่สุด เวลานั่งเครื่องบินด้านท้ายสุด จะไม่ค่อยสะดวกสบายเท่าด้านหน้าสุด เพราะบริเวณส่วนท้ายอยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางด้านแอโรไดนามิกส์ (mean aerodynamic cord)ของเครื่องบินมากกว่าส่วนอื่น จึงมีการเคลื่อนที่มากกว่าเวลาเครื่องบินเข้าบริเวณที่มีสภาพอากาศแปรปรวน แต่ทำไมอัตราการรอดชีวิตในบริเวณนี้จึงสูงกว่าที่อื่น นั่นเป็นเพราะว่า หากเกิดการกระแทก (impact) บริเวณนี้มักจะไม่ใช่จุด impact หรือ impact หลังสุด แรงกระแทกมันลดลงเยอะแล้ว เอาเป็นว่ามันเป็นส่วนท้าย ๆ สุดที่จะสัมผัสพื้นในกรณีฉุกเฉินต่าง ๆ ยกเว้น กรณีเอาหางแตะพื้นก่อนเพราะเครื่องบินผิดท่าทาง (unusual attitude)และร่วงลงกระแทกพื้น ถ้าเป็นการ landing โดยหางสัมผัสพื้นก่อน (tail strike) โดยไม่รุนแรงมาก เครื่องบินไม่เป็นไรนะครับ แต่จะทำการบินต่อไม่ได้ จนกว่าจะมีการตรวจสอบสภาพโครงสร้างของเครื่องบินทั้งลำใหม่ หากเลวร้าย tail strike ขั้นรุนแรง […]

0
0