Category: ประสบการณ์การบิน

House of Airmanship

จะเป็นนักบินที่ดีต้องมี Airmanship เรื่อง airmanship นั้นผมเคยเขียนไปแล้วสั้น ๆ ในหนังสือ A Pilot เล่มแรก วันนี้จะมาเขียนอีกครั้งแบบเต็ม ๆ ว่า Airmanship นั้นมันคือ อะไร ยังไง เรื่องการบินนั้น แน่นอนต้องมีเครื่องบินกับนักบิน แต่การบินพาณิชย์นั้นไม่ได้บินคนเดียว ลำเดียว การบินพาณิชย์มีเครื่องบินอยู่บริเวณเดียวกันหลาย ๆ ลำ Airmanship สำหรับการบินพาณิชย์จึงมีองค์ประกอบของการมีมารยาทที่จะบินด้วยกันบนน่านฟ้าด้วย เรื่องนี้นักบินด้วยกันรู้ดีว่า การเอาเปรียบกันบนน่านฟ้าแบบไหน ที่เรียกว่า นักบินขาด airmanship เกริ่น ๆ ไว้เท่านี้ครับ พูดถึงเรื่อง airmanship ตามทฤษฏีกันดีกว่า airmanship นั้นหมายถึง การที่นักบินมีการตัดสินใจที่ดีต่อการปฏิบัติการบินในสถานการณ์ใด ๆ หรือตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติหน้าที่ในการบิน บางทีผมอยากแปลว่า มารยาทในการบินเข้าไปด้วย ผมแปลจากความเข้าใจและประสบการณ์นะครับ ไม่ได้อ้างอิงตำรับ ตำราที่ไหน จะเข้าเป้าตามหลักวิชาการขั้นปริญญาเอกหรือเปล่าไม่ทราบ เอาเป็นว่า airmanship แบบผม เป็นแบบนี้ องค์ประกอบของการที่นักบินคนหนึ่ง จะมีความสามารถที่จะตัดสินใจอะไร ๆ ระหว่างการบินได้อย่างถูกต้องนั้นมีหลายองค์ประกอบร่วม ตาม House of Airmanship ของ Kern ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนพื้นฐาน หรือ Bedrock Principles ส่วนของความรู้ หรือ Pillars of Knowledge และส่วนที่เป็นผลลัพธ์จาก […]

เป็นนักบินไทยที่มองโกเลีย

คุณ Arpakorn เล่าประสบการณ์บินที่ไปบินที่มองโกเลีย เป็นประโยชน์ครับ เรียนบินจากอเมริกาแล้วไปเป็นนักบินของมองโกเลี่ยนแอร์ไลน์ Wet lease ไปบินที่ Armenia บินไปในยุโรป รวมถึงรัสเซียที่เป็นพื้นที่สงคราม เล่าและคุยกันหลายๆเรื่อง ลองฟังดูครับ #เป็นนักบินต่างประเทศ #บินเยอรมันฟังยาก #ผมว่าฝรั่งเศสยากกว่า

Baggage กระเป๋าขึ้นเครื่อง กับ กระเป๋าเช็คอิน ต่างกันอย่างไร

ความยืดหยุ่นในการพกพาสัมภาระของสายการบิน (Airline baggage allowance) หมายถึงกฎเกณฑ์และข้อจำกัดที่เฉพาะเจาะจงโดยสายการบินเพื่อกำหนดขนาด น้ำหนัก และจำนวนกระเป๋าที่ผู้โดยสารได้รับอนุญาตให้พกพาหรือจัดส่งระหว่างการเดินทางทางอากาศ ข้อกำหนดเหล่านี้อาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสายการบิน ประเภทตั๋วที่ใช้ จุดหมายปลายทาง และชั้นเดินทาง นี่คือบางข้อสำคัญในการพิจารณาเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การพกพาสัมภาระของสายการบิน: กระเป๋าโดยสารในเครื่อง (Carry-on Baggage): ส่วนใหญ่สายการบินอนุญาตให้ผู้โดยสารพกพาจำนวนกระเป๋าหรือสิ่งของบางอย่างขึ้นเครื่องไปกับตนเองในเครื่องบิน โดยบางครั้งนี้อาจรวมถึงของส่วนบุคคลขนาดเล็กหรือกระเป๋าขนาดใหญ่ขึ้นที่เรียกว่ากระเป๋าโดยสาร สายการบินจะกำหนดขนาดสูงสุดและน้ำหนักสูงสุดของกระเป๋าเหล่านี้โดยทั่วไป กระเป๋าสัมภาระที่เช็คชื่อ (Checked Baggage): กระเป๋าสัมภาระที่เช็คชื่อหมายถึงกระเป๋าขนาดใหญ่หรือหนักกว่าที่ผู้โดยสารส่งให้สายการบินรับรองในระหว่างกระบวนการเช็คชื่อ กำหนดการพกพาสัมภาระที่เช็คชื่ออาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสายการบินและชั้นเดินทาง โดยทั่วไปจะใช้หน่วยวัดเป็นจำนวนกระเป๋า น้ำหนักต่อกระเป๋า และขนาดสูงสุด ข้อจำกัดเกี่ยวกับน้ำหนัก: สายการบินมักกำหนดข้อจำกัดน้ำหนักสำหรับกระเป๋าทั้งที่พกพาและที่เช็คชื่อ ข้อจำกัดน้ำหนักนี้ถูกกำหนดเพื่อให้ความปลอดภัยและความสะดวกสบายในการดำเนินงานของเครื่องบิน การเกินข้อจำกัดน้ำหนักอาจเกิดค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมหรือจำเป็นต้องจัดการกระเป๋าใหม่หรือลดสิ่งของในกระเป๋า ข้อจำกัดเกี่ยวกับขนาด: สายการบินยังกำหนดข้อจำกัดเกี่ยวกับขนาดกระเป๋าทั้งในกระเป๋าโดยสารและกระเป๋าสัมภาระที่เช็คชื่อ ข้อจำกัดเหล่านี้มักอธิบายตามความยาว ความกว้าง และความสูง และเป็นเพื่อให้กระเป๋าสามารถจัดเก็บได้อย่างปลอดภัยในช่องบรรจุของเครื่องบินหรือช่องบรรจุสินค้า สัมภาระเกินกำหนด: หากผู้โดยสารเกินกำหนดสัมภาระที่ได้รับอนุญาต อาจต้องชำระเงินเพิ่มสำหรับน้ำหนักเกินหรือกระเป๋าเ กี่ใบเสริม ค่าใช้จ่ายสำหรับสัมภาระเกินกำหนดสามารถแตกต่างกันไปอย่างมากที่สุด ในการเดินทาง ควรตรวจสอบและเข้าใจกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการพกพาสัมภาระของสายการบินก่อนเดินทางเพื่อหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิดหรือปัญหาที่อาจเกิดขึ้น สายการบินมักจัดหาข้อมูลที่เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับนโยบายของสายการบินเกี่ยวกับสัมภาระในเว็บไซต์ของพวกเขาหรือในการยืนยันการจอง นอกจากนี้ สถานะแบบมีบัตรครบครัน ชั้นเดินทาง และโปรแกรมสมาชิกสายการบินอาจมีสัมภาระเพิ่มเติมหรือการยกเว้นสัมภาระบางประเภท

การลงสนาม (ที่ไม่ปลอดภัย)

Unwonted Landing การลงสนามที่ไม่ปกติ ไม่ธรรมดา หรือไม่เป็นที่น่าพอใจ ไม่อยากให้เป็นหรือไม่อยากให้เกิดขึ้น ในปกติเวลาเครื่องบินทำการบินลงสนาม เครื่องบินต้องมีการลดความเร็วให้พอเหมาะที่จะทำการสัมผัสพื้นรันเวย์และทำการเบรคเพื่อหยุดให้ปลอดภัย ซึ่งหมายถึงการใช้กำลังเครื่องยนต์ที่เหมาะสมกับน้ำหนักเครื่องบินและการเตรียมการเกี่ยวกับ configulations ต่างๆของเครื่องบินเช่น การเพิ่มพื้นที่ผิวปีก (กาง flaps) , arm* autobrake, arm spoilers/speedbrakes, กางฐานล้อ (landing gears) เป็นต้น เมื่อเครื่องบินพร้อมที่จะลงสนามคือระบบต่างๆถูกตั้งค่าให้พร้อม เรียกว่า landing configulation (*Arm หมายถึงการสั่งให้ระบบนั้นๆพร้อมที่จะทำงานเมื่อเงื่อนไขครบ อาทิเช่น การ arm autobrake ระบบเบรคจะทำงานในทันทีที่ล้อสัมผัสพื้นและเกิดการหมุนของล้อที่ความเร็วที่กำหนด ไม่ใช่การจับล้อเอาไว้ให้หยุดตั้งแต่อยู่บนอากาศเพราะหากล้อไม่หมุนในขณะสัมผัสพื้นจะทำให้หน้ายางถูกเฉือนหายไปและทำให้ยางแตกได้ในที่สุด การ arm spoilers/speedbrakes ก็เช่นเดียวกัน spoilers หรือ speedbrakes จะทำงานเมื่อเงื่อนไขในการทำงานครบตามที่ระบบตั้งไว้) เวลาลงสนามถ้าสภาพอากาศดี ทัศนวิสัยเยี่ยม ลมสงบ หัว-ลำตัว-หาง ของเครื่องบินก็จะมีทิศทางเป็นแนวเดียวกับรันเวย์ เมื่อถึงขอบสนามเครื่องบินก็จะค่อยๆผ่อนความเร็วและค่อยๆเชิดหัวขึ้นเล็กน้อยเพื่อเข้าสู่ท่าทางในการสัมผัสพื้น เมื่อล้อสัมผัสพื้นแล้วก็จึงเริ่มเบรคเพื่อลดความเร็วลงสู่ safe taxi speed ก่อนที่จะออกจากรันเวย์เข้าสู่ทางขับ (taxiway) (เรื่องคำศัพท์ต่างๆ มีอธิบายในหนังสือ Aviation A-Z หนังสือเล่มที่ 4 ของ A PILOT BOOK ครับ) ถ้าลมมีกำลังแรงแต่มีทิศทางที่มาตรงๆ เครื่องบิน(นักบิน) ก็จะต้องปรับกำลังเครื่องยนต์เพื่อรักษาความเร็วตามที่คำนวณไว้ (ความเร็วมากหรือน้อยสัมพันธ์กับน้ำหนักตัวของเครื่องบินขณะนั้น) หากความเร็วลมมากเกิน 10-15 knots (แล้วแต่แบบ) ค่า […]

ทำไมต้องปรับเก้าอี้และเปิดม่านหน้าต่าง

สำหรับท่านผู้โดยสารที่เดินทางบ่อย ๆ มักจะคุ้นเคยกันดีกับการประกาศของลูกเรือบนเที่ยวบินให้ปฏิบัติบางอย่าง เช่น กรุณาปรับเก้าอี้ให้อยู่ในระดับตรง การเปิดม่านหน้าต่างในขณะที่เครื่องบินจะทำการวิ่งขึ้นหรือร่อนลงสนามเป็นต้น การปรับเก้าอี้นั่งให้ตั้งตรงนั้นมีความสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงจากการกระแทกกับเก้าอี้ด้านหน้าครับ โดยปกติลูกเรือจะประกาศให้ผู้โดยสารปรับที่นั่งให้อยู่ในระดับตรง เมื่อเครื่องบินจะทำการวิ่งขึ้นและก่อนที่จะทำการลงสนามเพื่อที่หากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้นผู้โดยสารจะไม่เหวี่ยงไปกระแทกเก้าอี้ด้านหน้า และหากจำเป็นที่จะต้องทำการอพยพก็จะสามารถทำได้ทันทีและรวดเร็วโดยไม่มีพนักเก้าอี้ใดเอนนอนอยู่จนเป็นการกีดขวางการอพยพ seat-back up right ส่วนเรื่องการปรับม่านหน้าต่างเปิดขึ้นทั้งในขณะที่เครื่องบินจะทำการวิ่งขึ้นหรือร่อนลงสนามนั้น ก็เป็นเหตุผลด้านความปลอดภัยเช่นกัน ในกรณีฉุกเฉินที่จำเป็นต้องอพยพจะสามารถมองเห็นด้านนอกได้ว่าเป็นอย่างไร และถ้าปิดม่านหน้าต่างไว้หากโครงสร้างของเครื่องบินเกิดบิดเบี้ยวเพราะอุบัติเหตุก็อาจจะทำให้ม่านหน้าต่างไม่สามารถเปิดขึ้นได้ เรื่องม่านหน้าต่างนี้มีอีกเหตุผลหนึ่งที่ประกอบกันกับการเปิดและปิดไฟในขณะที่เครื่องบินจะทำการวิ่งขึ้นหรือร่อนลงสนาม  หากเป็นการบินตอนกลางคืนในระหว่างบินระดับอยู่บนอากาศ ลูกเรือจะปรับไฟในห้องโดยสารให้สว่างเพื่อให้บริการผู้โดยสารได้โดยสะดวกจนกว่าจะบริการเสร็จ พอใกล้ ๆ จะถึงพื้นลูกเรือก็จะลดระดับความสว่างของไฟภายในห้องโดยสารลง และประกาศให้ผู้โดยสารเปิดม่านหน้าต่างไปพร้อมกันด้วย  ถ้าเป็นการบินระดับช่วงเวลากลางวัน แดดจัด ๆ ผู้โดยสารมักจะปิดม่านหน้าต่างลงเพื่อบังแดดไม่ให้ร้อนหรือแสบตา แต่เมื่อถึงช่วงขณะที่จะร่อนลงสนามลูกเรือก็จะประกาศให้เปิดม่านหน้าต่างขึ้น ตรงนี้คือ การปรับสายตาให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของแสงให้ม่านตาของเราปรับสภาพการมองเห็นในสภาวะแวดล้อมของแสงในขณะนั้น ลองนึกภาพว่า ในเวลากลางคืนหากยังเปิดไฟในห้องโดยสารไว้สว่างจ้าจนกระทั่งถึงพื้นแล้วมีความจำเป็นต้องอพยพ ระบบไฟให้แสงสว่างในห้องโดยสารดับวูบไป สายตาหรือรูม่านตาก็จะเกิดการพร่ามัวไปชั่วขณะ หากเป็นเวลากลางวัน ทุกคนปิดหน้าต่างกันหมดเพราะแดดร้อน เมื่อต้องอพยพและเปิดประตูหรือหน้าต่าง แดดที่จ้าก็จะทำให้ตาเราพร่ามัวไปชั่วขณะเช่นกัน การเปิดหน้าต่างยังเป็นการทำให้เราสามารถมองเห็นภายนอกและรับรู้สถานการณ์ว่าเกิดอะไรขึ้นด้านนอก เช่น หากมีไฟลุกไหม้อยู่ด้านนั้นหรือในบริเวณนั้นก็ทำให้เราสามารถตัดสินใจอพยพไปอีกทางหนึ่งได้ทันที การเปิดหน้าต่างในระหว่างที่เครื่องบินจะทำการวิ่งขึ้นหรือร่อนลงสนามและการเปิด ปิดไฟจึงมีความสำคัญมากครับทุกคนจึงควรปฏิบัติตามเวลาที่ลูกเรือประกาศนะครับ ยังมีอุปกรณ์อีกชนิดหนึ่งที่ผู้โดยสารอาจจะไม่ค่อยได้สังเกตหรือให้ความสำคัญเท่าไหร่ ไฟทางออกฉุกเฉินครับ  เมื่ออ่านถึงตรงนี้ ท่านผู้โดยสารเคยสังเกตกันไหมครับ เวลาเดินทางลองมองไปที่พื้นข้างทางเดินระหว่างที่นั่งดูครับ ท่านจะมองเห็นแถบไฟนำทางเป็นเส้นยาวไปถึงประตูทางออกของเครื่องบิน แถบไฟนำทางนี้จะสว่างขึ้นเองทันทีที่กัปตันมีคำสั่งให้ต้องมีการอพยพออกจากเครื่องบิน ไฟนำทางนี้จะพาไปสู่ประตูทางออก มันมีความสำคัญและใช้งานกรณีการอพยพเท่านั้นครับ และโดยเฉพาะเมื่อต้องอพยพในเวลากลางคืนไฟนำทางเหล่านี้จะสว่างและเห็นชัดเจนในที่มืด หรือ การอพยพอาจจะต้องก้มลงและคลานไปกับพื้นอย่างเช่น การเกิดมีไฟไหม้และมีกลุ่มควันไฟหนาแน่นภายในห้องโดยสาร การหมอบคลานไปกับพื้นก็จะสามารถคลานตามไฟนำทางนี้ไปสู่ทางออกฉุกเฉินได้ครับ การรู้จักและเข้าใจเหตุผลของการปฏิบัติต่าง ๆ ทำให้เราเดินทางอย่างปลอดภัยร่วมกันครับ ดังนั้นทุก ๆ ครั้งที่เดินทางโดยเครื่องบินขอให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของกัปตันและลูกเรือนะครับ

1 2 3 18
0
0