Category: ประสบการณ์การบิน

การเปลี่ยนแบบเครื่องบินของนักบิน

การเปลี่ยนแบบเครื่องบินของนักบิน นักบินแต่ละคนจะสามารถบินเครื่องบินได้แบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น ยกเว้นเครื่องบินรุ่นใหม่ๆ ที่อยู่ในตระกูลหรือลักษณะการทำงานที่สอดคล้องใกล้เคียงกันนักบินจะได้รับอนุญาตให้บินได้มากกว่า 1 แบบ เช่น นักบินที่บินเครื่องบิน Boeing 747-400 จะไม่สามารถบินเครื่องบิน Airbus A380 ได้ในคราวเดียวกัน  หมายถึง เที่ยวบินนี้บิน B747 พอเที่ยวบินหน้าไปบิน A380 อย่างนี้ทำไม่ได้ แต่นักบินอาจบิน B747 สลับกับ B777 ได้ หากได้รับการฝึกเพิ่มในการทำงานในเครื่องทั้งสองแบบและต้องได้รับการรับรองจากกรมการบินพลเรือนแล้วเท่านั้น จึงจะทำการบินในลักษณะนี้ได้ ปัจจุบัน (รวมถึงอนาคต) เครื่องบินของแต่ละบริษัททั้ง Boeing และ Airbus จะพยายามทำ streamline layout ตำแหน่งปุ่มและ switches ในการทำงานของระบบต่าง ๆ ให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมือนกันให้มากที่สุด เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการใช้งานด้วยนักบินชุดเดียวสามารถบินเครื่องบินได้หลายแบบ เป็น common หรือ similar types ซึ่งเป็นการลดข้อจำกัดเรื่องของจำนวนนักบินและประหยัดค่าใช้จ่ายในการฝึกของนักบินนักบินกลุ่มเดียว สามารถบินเครื่องได้หลายรุ่นหลายแบบ ย่อมใช้งานได้สะดวกมากกว่า ทางบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินก็ต้องผ่านการรับรองว่าเครื่อง 2 หรือ 3 แบบนั้น สามารถใช้นักบินชุดเดียวกันได้ เรื่องนี้ทางผู้ผลิตต้องผ่านขั้นตอนการพิจารณาจากองค์กรการบินของแต่ละประเทศ อย่างเช่น Boeing B747-400 , B777, B787 เป็นรุ่นที่นักบินสามารถบินควบคู่กันได้   หรือ ฝั่ง Airbus ก็จะเป็น A380, A340, A330, A320 เป็นต้น ทั้งนี้นักบินก็ต้องได้รับการฝึกเพิ่มด้วย เมื่อผ่านการฝึกแล้วก็จะต้องประทับตรารับรองในใบอนุญาตบังคับอากาศยานของนักบิน (Pilot […]

“ใคร ๆ ก็บินได้ จริงๆ”

“ใคร ๆ ก็บินได้ จริงๆ” มองในแง่ของมุมมองที่เป็นนักบินแบบตรงไปตรงมาครับ ไม่ใช่เพื่อเชิดชูหรือยกย่องนักบินด้วยกัน เพราะว่าตัวเองเป็นนักบิน มาลองคิดตามผมเล่นๆ กันครับ ในระยะ 20-30 ปีมานี้มนุษย์สามารถพัฒนาวิทยาการด้านการบินก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะด้านของอุปกรณ์อำนวยการบินซึ่งช่วยเพิ่มเติมประสิทธิภาพในการบินนั้นถูกติดตั้งเพิ่มเข้าไปมากมายหลายชนิด อุปกรณ์ต่าง ๆ ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อสนับสนุนให้การปฏิบัติการบินมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเน้นที่ความประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงและแน่นอนที่สุดคือเพื่อเพิ่มมาตรฐานความปลอดภัยในการเดินทาง รวมทั้งแก้ไขข้อผิดพลาดต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ตัวอย่างระบบต่างๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้น อาทิเช่น – เทคโนโลยีด้านดาวเทียมที่ใช้เพื่อระบุตำแหน่ง (GPS หรือ Global Positioning System) – ระบบเพิ่มความแม่นยำในการลงสู่พื้นที่ติดตั้งอยู่ที่สนามบิน (ILS,MLS,RNAV,GBAS,LAAS,WAAS,etc.) – ระบบต่าง ๆ บนเครื่องบินที่สร้างขึ้นเพื่อตอบสนองการพัฒนาในการเพิ่มสมรรถนะด้านความเที่ยงตรงและแม่นยำในการเดินอากาศ หรือเพิ่มความสามารถในการติดต่อสื่อสารระหว่างภาคพื้นกับเครื่องบินบนอากาศ (Future Air Navigation, Datalink, CPDLC, ADS-B, HUD, EVS, ) – ระบบการควบคุมและการบังคับเครื่องบินอัตโนมัติและเครื่องช่วยการเดินอากาศที่พัฒนาให้ตอบสนองกับผู้ใช้งานในการตีความหมายและการควบคุมการบังคับที่ง่ายและว่องไวมากขึ้น (Enhanced Autoflight system, Flight Management system, Flight Mode Annunciation, Flight Information Displays etc.)  – การพัฒนาวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ บนเครื่องบินให้มีความทนทานเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง การประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง (Aircraft Performance, Power-plant and Airframe technology) เป็นต้น หมายเหตุ: […]

กว่าจะเป็นกัปตัน

กว่าจะเป็นกัปตัน (edited 16Sep2022) เมื่อ 29 ปีก่อน ผมเรียนขับเครื่องบิน ที่ศูนย์ฝึกการบินพลเรือน (หัวหิน) ด้วยทุนนักบินฝึกหัด (Student Pilot Scholarship) การเรียนเป็นนักบินที่หัวหิน ใช้เวลา กิน นอน อยู่กับเพื่อน ๆ ในรุ่นที่สนามบินหัวหิน 1 ปีเต็มๆ เพื่อเรียนหนังสือ และขับเครื่องบินเล็ก การเรียนภาคพื้นเป็นเรื่องพื้นฐานความรู้ในด้านการบินต่าง ๆ เช่น Meteorology, Radio Communication, Navigation, Power Plants, Fuel, Aerodynamics, Basic Flight Control ฯลฯ หลังจากเรียนพื้นฐานเบื้องต้นเกี่ยวกับเครื่องบินได้ระดับหนึ่งแล้วก็จะเริ่มขึ้นบินกับเครื่องใบพัดลำเล็ก ๆ เริ่มต้นจากเครื่องบินเครื่องยนต์เดียว และฝึกฝนทักษะการบินจนบินเครื่องบินที่มี 2 เครื่องยนต์  หลังจากสะสมประสบการณ์การบินต่าง ๆ ตามหลักสูตร การฝึกบินนั้นจะมีทั้งการบินในเวลากลางวัน เวลากลางคืน การฝึกบินอยู่ในสภาพอากาศสมมุติ (ใช้หน้ากากปิดบังไม่ให้มองไปด้านหน้า และให้บินโดยใช้เครื่องวัดประกอบการบินในการนำร่องเพียงอย่างเดียว เรียกภาษานักบินว่า Instruments Flying) ตอนแรก ๆ ต้องบินกับครูการบินไปก่อนจนกระทั่งครูเห็นว่า สามารถบินได้แล้วจึงจะปล่อยให้ขึ้นบินคนเดียวได้ พวกเราเรียกกันว่า “ปล่อยเดี่ยว” วัน “ปล่อยเดี่ยว” เป็นอีกวันที่มีความหมายของการเป็นนักบินฝึกหัด เป็นวันที่น่าตื่นเต้นและจดจำสำหรับชีวิตนักบินทุกคนครับ (Last Solo จะโดนจับโยนทะเล) การเรียนพื้นฐานเกี่ยวกับการบินนั้น เพื่อให้ได้รู้ถึงวิธีการบินต่าง ๆ จนสามารถที่จะประกอบอาชีพเป็นนักบินพาณิชย์ได้ (Commercial Pilot […]

1 16 17 18
0
0