เรื่องขั้นตอนการสมัครสอบและการเตรียมเอกสารต่าง ๆ ในการสมัครสอบผมคงจะไม่พูดถึงในหนังสือเล่มนี้นะครับ ช่องทางการหาข้อมูลเหล่านั้นมีมากมายทั้งทางเวบไซต์หรือ โซเชียลมีเดียต่าง ๆ สามารถหาข้อมูลเหล่านี้ได้ไม่ยากนัก
ในบทนี้ผมจะเล่าเกี่ยวกับการทดสอบหลาย ๆ อย่างที่มักจะใช้เป็นตัวทดสอบความสามารถของผู้ที่จะสอบคัดเลือกครับ ยกเว้นพวกข้อสอบคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษนะครับ
ตัวอย่างข้อสอบแต่ละประเภทนั้นจะวัดระดับความสามารถในหลาย ๆ รูปแบบ ผมจะให้คำแนะนำว่า การทำสอบแต่ละประเภทนั้น เค้าต้องการดูอะไรเรา
ลองทำในตัวอย่างที่ให้มาดูครับ หลังจากนั้นให้ลองค้นคว้าใน Google หรือ หาซื้อมาอ่านจากร้านหนังสือเพื่อลองฝึกฝนเพิ่มเติมดูครับ เป็นการลองทำที่ได้ประโยชน์ต่อการลับสมองของเราไปด้วยในตัว
มีข้อสอบบางประเภทที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะทาง เช่น การค้นหาตัวเลข 1 ถึง 100 โดยให้เวลา 1 นาที แบบทดสอบนี้ เน้นที่ความเร็ว และต้องการดูปฏิกิริยาภายใต้ความกดดันเรื่องของเวลาที่มีให้จำกัด และการวงจะต้องเรียงลำดับ 1,2,3,4,5,6….ไปเรื่อย ๆ เมื่อหมดเวลาจะต้องวางปากกาทันที ไม่มีแถม ใครวงได้ถึงเลขเท่าไหร่ ก็เป็นคะแนนมาก น้อยไปตามสัดส่วน
จุดสำคัญอยู่ตรงที่ว่า เราจะต้องไม่วงกลมข้ามตัวเลขใด เด็ดขาด เพราะหากวงข้าม หมายความว่า เราสะเพร่า นับเลขข้าม หรือ ตั้งใจโกง อาทิเช่น หากเราจะวงกลมที่ตัวเลขทุกตัว โดยไม่ได้เรียงลำดับ เลขเพียงหนึ่งร้อยตัว เราน่าจะสามารถวงได้ภายในหนึ่งนาที แต่ถ้าต้องวงโดยเรียงลำดับไปเรื่อย ๆ ค่าเฉลี่ยนั้นควรที่จะอยู่ที่ประมาณ 60-70 ตัวเลขในเวลา 1 นาที โอกาสที่จะทำได้ครบ 100 ตัวนั้นแทบเป็นไปไม่ได้ หากใครทำได้เกิน 80 ก็ถือว่าดีมากแล้วตามความคิดผมนะครับ
ความสามารถที่จะกวาดสายตา มองหา รวมถึงจดจำตำแหน่งของตัวเลขที่ผ่านตาได้ดี
การลองทำแบบทดสอบนี้เล่น ๆ กับเพื่อนก็น่าสนุกดีครับ ให้เพื่อนคนหนึ่งเขียนตัวเลข แล้วคว่ำไว้ก่อน พอเริ่มจับเวลาก็พลิกกระดาษมาแล้ว วง ๆ ๆ ไปตามลำดับ
หรือจะลองเปลี่ยนเป็น A,B,C…และ a,b,c.. ก็ได้นะครับ
ในบทต่อ ๆ ไป ผมจะกล่าวถึงการทดสอบเรื่องทั่ว ๆ ไป ที่เป็น paper test และบางเรื่องอาจจะเป็นการทดสอบในระหว่างที่ถูกสัมภาษณ์ครับ อย่างเช่น การจดจำรูปภาพหรือสัญลักษณ์ การคิดเลขในใจแบบง่าย ๆ แต่ก็ไม่ง่ายเวลาถูกทดสอบ การทวนคำศัพท์ย้อนหลัง เป็นต้น
ลำดับเลขอนุกรมแบบต่าง ๆ
1, 2, 3, _ , 5 เลขที่หายไปคือ 4 อันนี้ง่ายใช่ไหมครับ ความจริงลำดับเลขอนุกรมจะมีทั้งง่ายและยาก ข้อที่ง่ายต้องตอบถูก เพราะมันคือ คะแนนบวก
ข้อสอบลำดับอนุกรมหรือข้อสอบแบบอื่น ๆ ก็อาจจะมีการกำหนดคะแนนแต่ละข้อไม่เท่ากันด้วย และในการสอบประเภทนี้เค้ามักจะกำหนดว่า
คำตอบที่ผิดจะได้คะแนนติดลบ ตามค่าคะแนนของข้อนั้น
เช่นข้อที่เป็น 2 คะแนน ถ้าตอบผิด ก็อาจจะติดลบ 2 คะแนน แล้วแต่ว่าเค้าจะวางกติกาในการทำข้อสอบอย่างไร
ถ้ากติกาเป็นแบบนี้ ข้อที่ไม่มั่นใจว่าจะตอบถูก ควรเว้นไว้จะดีกว่า ทีนี้ เวลาเค้าตรวจข้อสอบเค้าก็อาจจะดูละเอียดว่า ข้อง่ายถูกเว้น หรือ ตอบผิดหรือเปล่า
ข้อที่ตอบผิดเป็นข้อที่ยาก และมีการเว้นไม่ตอบกี่ข้อ
เวลาที่ให้ในการทำข้อสอบจะเป็นตัวบีบให้การทำข้อสอบประเภทนี้มีความยากเพิ่มขึ้น
เพราะผู้สอบต้องไตร่ตรองให้ดีว่า ทำผิด ทำถูก จะเดาดีไหม หรือไม่ควรเดาเพราะจะทำให้เป็นโดนติดลบเยอะ แทนที่จะได้คะแนนจากการทำข้อสอบชุดนี้
การให้คะแนนติดลบในข้อที่ตอบผิดนั้นถือว่าใช้เป็นตัวบีบเราได้ระดับหนึ่งเลยครับ คนที่ทำอะไรลวก ๆ รีบ ๆ แค่จะทำให้เสร็จ เวลาเจอข้อสอบแบบนี้เมื่อทำเสร็จอาจจะสอบได้คะแนนติดลบก็เป็นได้
มาดูตัวอย่างคร่าว ๆ อนุกรมดูครับ ไม่เฉลยนะครับ เรื่องอนุกรมพวกนี้มีหนังสือขายมากมาย ถ้าจะฝึกฝนให้ลองหาซื้อมาทำเล่นครับ
ลำดับอนุกรมรูปภาพ
นอกจากลำดับอนุกรมตัวเลขที่เขียนไปในบทที่แล้ว ก็จะมีลำดับอนุกรมรูปภาพซึ่งเป็นการทดสอบเรื่องของการคิดที่เป็นเหตุเป็นผลในลักษณะเดียวกับอนุกรมตัวเลข แต่จะเป็นเรื่องของการมองเปรียบเทียบมากขึ้น เป็นการทดสอบการสังเกตและการเชื่อมโยง
ผมจะลองยกตัวอย่างของแบบทดสอบประเภทนี้ให้เป็นตัวอย่างสักเล็กน้อยล่ะกันนะครับ
ข้อนี้คิดว่า คำตอบคือ ช่องไหนครับ
Short Term Memory Test
แบบทดสอบความจำนั้นจะมีการทดสอบได้หลายรูปแบบ และมีความยากง่ายที่แตกต่างกันไป แล้วแต่ความโหดของกรรมการ จริง ๆ คือ แล้วแต่ว่ากรรมการจะพิจารณาว่าผู้ถูกสัมภาษณ์นั้นควรเจอแบบโหดเพื่อดูว่าทำได้ไหม หากทำได้จะกลายเป็นคะแนนช่วย ใครเจอโหดมาก ๆ แสดงว่า เราอาจมีจุดอ่อนบางอย่างที่กรรมการเค้าต้องการวัดดูว่า จะไหวไหม
แบบแรกของการทดสอบ short term memory คือ การจดจำรูปภาพหรือสัญลักษณ์ ใช้ทดสอบว่าผู้ถูกสัมภาษณ์มีวิธีการจดจำอย่างเป็นระบบหรือรูปแบบหรือไม่ หรืออาจจะไม่มีรูปแบบอะไรเลยสามารถที่จะท่องจำเอาอย่างเดียวแต่จำได้หมด
ดูภาพในหน้าถัดไปครับ
กรรมการจะให้ดูรูปลักษณะประมาณนี้ประมาณ 1-2 นาที โดยบอกว่า ให้จำให้ได้ทั้ง สี ตำแหน่ง และรูปแบบของสัญลักษณ์ต่าง ๆ เมื่อหมดเวลา กรรมการจะขอกระดาษแผ่นนั้นคืน เสร็จแล้วก็จะชวนคุยเรื่องอื่น ๆ จิปาถะ สักประมาณ 3-5 นาที แล้วก็จะให้เราเขียนรูปที่เพิ่งให้ดูเมื่อสักครู่ว่า เราจะจำได้แค่ไหน โดยให้เวลาในการเขียนไม่นานนัก
ถ้าทำไม่ได้หรือจำได้ไม่ถึงครึ่ง หมายความว่า สอบตกหรือเปล่า คำตอบคือ ไม่ตก แต่อาจจะไม่ได้คะแนนบวก
การทดสอบนี้จะเป็นการวัดประสิทธิภาพในการจดจำว่าจะสามารถหาวิธีในการจำสิ่งที่อาจจะไม่มีความเกี่ยวข้องกันเลยได้อย่างไร หรือสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของรูป ตัวเลข ตัวอักษร และสีต่าง ๆ ได้อย่างไร ในการทดสอบนี้ อย่าซีเรียสกับมันมากครับ ใช่ว่าเราจะต้องจำมันได้ทั้งหมด หรือถ้าหากจำไม่ได้เลย ก็อาจจะดูว่าแย่ แต่จริง ๆ แล้วกรรมการที่สัมภาษณ์เค้าอาจจะดูอย่างอื่น เช่น
ถ้าเค้าเขียนสัญลักษณ์เยอะแยะหลายสีมากมายและชวนคุยนานมากเพื่อให้ลืม ถือเป็นการทดสอบที่ยากมาก ๆ ไม่น่าจะจำได้แน่นอน เค้าอาจจะมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะทำให้เราเสียกำลังใจ เสียความมั่นใจ เพื่อจะดูว่า เราสามารถที่จะควบคุมหรือเก็บอาการได้ไหม ยังสามารถแก้สถานการณ์ให้ออกจากมุมอับที่เค้าวางไว้ได้อย่างไร
การสัมภาษณ์เป็นจิตวิทยาอย่างหนึ่งครับ ขอให้คิดว่า เรายังมีการทดสอบอีกหลายอย่างที่จะต้องผ่านด่านเหล่านั้น และพยายามทำมันให้ดีที่สุดจะดีกว่าครับ
- The Queen B747: Paris
- ลำตัวเครื่องบินเหมือนหลอดกระดาษ
- รูปแบบของปีกเครื่องบินและ wingtips
- Baggage กระเป๋าขึ้นเครื่อง กับ กระเป๋าเช็คอิน ต่างกันอย่างไร
- TG เฉี่ยว EVA ที่ฮาเนดะ เป็นอุบัติเหตุหรือไม่