Day: August 19, 2020

Runway Excursion

Runway excursion หมายถึง การที่เครื่องบินลงบนทางวิ่งหรือเรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า รันเวย์ (runway) แต่เครื่องบินไม่จอดนิ่งสนิทอยู่บนรันเวย์ อาทิเช่น เมื่อเครื่องบินแตะพื้นแล้วแต่ไม่สามารถลดความเร็วให้เครื่องบินหยุดได้ตามปกติ เบรคไม่ดี หยุดไม่อยู่ประมาณนั้น เครื่องบินก็เลยวิ่งทะลุเลยพื้นแข็งๆของรันเวย์ ไปกองอยู่ที่พื้นดินพื้นหญ้าหรือบ่อน้ำ หรือ เครื่องบินแตะรันเวย์แล้วเครื่องเป๋ไปเป๋มาจนหลุดออกข้างทางไปอยู่ข้างรันเวย์  หรือ เป๋ออกไปด้านข้างประมาณว่า ล้อเหยียบหญ้าข้างทาง แล้วนักบินพาเครื่องบินกลับเข้าพื้นแข็งได้ ก็นับเป็นการออกนอกรันเวย์ ที่ยกตัวอย่างมาทั้งหมดนั้นเรียกว่า runway excursion Runway excursion อาจไม่ใช่อุบัติเหตุเสมอไป บางครั้งการเป๋ออกไปนอกสนามเช่น ล้อซ้ายตะกุยดินไปหนึ่งข้างแล้ววกกลับเข้ามาได้ ยางไม่แตก ล้อไม่หัก แต่ฝ่ายช่างก็ต้องทำการตรวจเช็คสภาพโครงสร้างของเครื่องบินว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นหรือไม่ เพราะการที่ล้อข้างหนึ่งไปจมดินอยู่ การรับแรงที่ส่วนยึดของปีกกับล้อนั้นอาจทำให้โครงสร้างปีกเกิดรอยร้าวได้  หากการเกิด runway excursion ไม่ได้ทำให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างเครื่องบิน ไม่ได้ทำให้เกิดไฟไหม้หรือมีผู้บาดเจ็บล้มตาย เหตุการณ์นั้นก็จะเรียกว่าเป็นเพียงอุบัติการณ์ (incident) กรณีดังข้างต้นนั้น เกิดขึ้นบ่อย แต่ไม่ค่อยเป็นข่าว เพราะเวลาที่ล้อออกไปกินหญ้านั้นเกิดขึ้นรวดเร็วมาก ผู้โดยสารแทบไม่ทันรู้สึก แต่นักบินควรจะรู้เพราะนั่งอยู่ด้านหน้า สามารถมองเห็นเส้นกึ่งกลางของรันเวย์ก็จะทำให้รู้ว่าเครื่องบินอยู่ส่วนไหนของรันเวย์ หากเอียงเฉไปทางซ้ายหรือขวามากเกินไป ก็ต้องสันนิษฐานว่ามีโอกาสที่ล้อบริเวณลำตัว (main body gear) จะหลุดออกนอกรันเวย์ได้ ถามว่า “เรื่องแบบนี้เคยเกิดขึ้นไหม”  เคยเกิดครับ มีทั้งที่รู้ตัวว่าตกขอบรันเวย์กับไม่รู้ตัวแต่มารู้ทีหลังก็ตอนที่เครื่องบินจอดแล้วเดินตรวจเครื่องบิน ก็จะเห็นดินโคลนหรือหญ้าติดมากับล้อด้วย บางทีก็ทำให้ยางแตก หรือ หอบังคับการบินแจ้งว่าเครื่องบินเหยียบไฟทำให้ไฟของสนามบินเสียหาย นักบิน อาจจะไม่รู้สึกเลยก็เป็นไปได้ ถามว่า “ทำไมนักบินถึงไม่รู้สึกว่าเหยียบหลอดไฟหรือการที่ล้อเครื่องบินตกขอบไปกินหญ้านักบินไม่รู้สึกถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นเลยได้อย่างไร” นักบินอาจจะรู้สึกถึงความผิดปกติหรืออาจจะไม่รู้สึกว่ามีความผิดปกติก็ได้ครับ ขึ้นอยู่กับว่าสถานการณ์นั้นเลวร้ายหรือรุนแรงมากน้อยแค่ไหน และขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องบินด้วย นั่นเป็นเพราะว่า เครื่องบินโดยสารที่มีขนาดใหญ่อย่าง โบอิ้ง B747 B777 B787 หรือแอร์บัส […]

0
0