The Road in The Sky

เรื่องไม่ลับอาชีพนักบินกับสาระเบาๆเพื่อนักเดินทาง

นักบินอาชีพ

บินดี (ในมุมของนักบิน การบินดีคือบินได้ถูกต้องตามหลักการบิน ที่เราเรียกว่า Flight Procedures)  การบินได้นิ่มนวล ทั้งการลดระดับเพดานบินและการร่อนลงสู่สนาม โดยที่ผู้โดยสารไม่รู้สึกหูอื้อ หรือถูกกระชาก หรือกระแทก อันนี้คือส่วนที่ ผู้โดยสารสัมผัสได้  แต่บางครั้งนักบินจะไม่เลือกความนิ่มนวล หากความนิ่มนวลนั้นจะก่อให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มขึ้น อาทิเช่น หากสนามบินมีฝนตกและกระแสลมแรง จะทำให้ทัศนวิสัยต่ำ พื้นสนามบินเปียกก็จะลื่น การลงจอดจะใช้ระยะทางมากกว่าปกติ ดังนั้น นักบินจะเลือกลงกระแทกเล็กน้อยเพื่อให้ล้อของเครื่องบินสัมผัสผิวรันเวย์และเริ่มการเบรคเพื่อลดความเร็วให้ได้เร็วและให้ใช้ระยะทางบนรันเวย์น้อย ๆ  อีกคุณสมบัติหนึ่งของการเป็นนักบินที่ดี คือ ความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหา หรือการคาดคะเนความต่อเนื่องของปัญหา เพราะว่าปัญหาบางเรื่องทำตัวเหมือนฆาตกรต่อเนื่อง คือเกิดอันนี้ขึ้นจะกระทบกับเรื่องนั้นเรื่องนี้ต่อๆกัน  แต่โดยส่วนใหญ่แล้วเครื่องบินถูกออกแบบระบบต่างๆเพื่อพยายามกำจัดหรือจำกัดให้เป็นปัญหาเดี่ยวๆให้มากที่สุดโดยการมีระบบสำรองเข้ามาทำงานแทน แต่ก็ยังมีปัญหาอื่นๆอยู่บ้างที่ทำให้นักบินต้องนึกถึงปัญหา ที่อาจจะมีตามมาหลังจากเกิดปัญหาแรก โดยเฉพาะปัญหาที่เกี่ยวข้องกับผู้โดยสาร และสภาพอากาศที่มีผล กระทบต่อการปฏิบัติการบินหลังจากนั้น ซึ่งสิ่งสำคัญที่ต้องนำมาคิดเสมอและเป็นลำดับแรกทุกครั้งคือ ความปลอดภัย  ความรู้และความเข้าใจในระบบต่างๆของเครื่องบินและกฏระเบียบการบินจึงมีความสำคัญส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งคือ ประสบการณ์ในการแก้ปัญา โดยเฉพาะปัญหาที่ไม่ได้เกิดจากระบบของเครื่องบิน  นักบินแต่ละคนจึงอาจจะแก้ปัญหาเรื่องเดียวกันด้วยวิธีที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ณ ขณะนั้น ประกอบเข้ากับประสบการณ์การบินที่ผ่านมา  ผมจึงอยากจะบอกว่า ไม่ว่านักบินจะแก้ปัญหาแล้วเกิดผลกระทบกับการเดินทางของเรามากน้อยอย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดที่นักบินทุกคนนึกถึงก่อนทุกครั้ง เมื่อนักบินกำลังเผชิญกับปัญหาเฉพาะหน้าที่ต้องแก้ไข  คือ  “ความปลอดภัยของผู้โดยสารทุกคน”  สำหรับผู้โดยสารคงมองกันไม่ออกหรอกครับว่า นักบินคนไหนเป็นนักบินที่ดีหรือไม่ดี มีแต่นักบินด้วยกันเองนั่นแหละที่จะรู้ว่า บินแบบนี้ ดีหรือยัง

การเป็นนักบินพาณิชย์

เขียนให้ร่วมสมัยเพราะเห็นว่าปัจจุบันมีนักบินใหม่ ๆ เริ่มเข้าสู่วงการการบินพาณิชย์ ก็เลยอยากเล่าและแอบสอนผ่านตัวหนังสือ เป็นเกร็ดเล็กน้อยเผื่อไว้สำหรับคนที่อยากเป็นนักบินหรือกำลังเป็นนักบินฝึกหัด ผมขอเล่าจากประสบการณ์ตัวเองที่มีอยู่ 23 ปี และหวังว่าคงมีประโยชน์สำหรับทุกคนครับ สมัยที่ผมจบโรงเรียนการบินใหม่ ๆ และเข้ามาเป็นนักบินของการบินไทย ผมเริ่มต้นด้วยการเป็น System Operator/Flight Engineer เรียกง่าย ๆ ว่า นักบินที่ 3 ของเครื่องบินแบบ Boeing 747-200/300 ซึ่งเป็นเครื่องบินที่ยังต้องใช้นักบิน 3 คนในการบิน นักบินที่ 3 จะเป็นผู้จัดการเรื่องระบบต่าง ๆ ของเครื่องบินในแต่ละช่วงของการบิน เช่น การปรับระบบน้ำมัน การปรับระบบความดันอากาศ ระบบไฟฟ้า ระบบไฮดรอลิก เป็นต้น ความที่เราเป็นนักบินใหม่ ประสบการณ์การบินเรียกว่า ไม่มีเลยสำหรับการบินพาณิชย์ แต่ความรู้ต้องมี เพราะมีการเรียนในห้องเรียนก่อนเริ่มต้นบินจริง ๆ ไล่ตั้งแต่กฏระเบียบต่าง ๆ และวิธีการปฏิบัติ การอ่านแผนที่นำทาง ระบบนำร่องต่าง ๆ  ทั้งหมดเป็นการปูพื้นฐานสำหรับใช้ในการบินจริง ซึ่งมีความสำคัญมากที่จะต้องเก็บเกี่ยวความรู้ต่าง ๆ ในการทำงานบนเครื่องบิน และในระหว่างการเริ่มขึ้นเครื่องบินจริงนั้นก็จะต้องมีการทบทวนและการทำความเข้าใจระบบการทำงานแต่ละส่วนของเครื่องบิน จดจำปุ่มต่าง ๆ ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก โดยต้องจำได้ด้วยพื้นฐานความเข้าใจอย่างเป็นระบบ ก่อนขึ้นบินจริงต้องมีเข้าฝึกในเครื่องฝึกบินจำลองเป็นสิบ ๆ ครั้ง เพื่อให้มั่นใจเรื่องการปรับระบบต่าง ๆ และการทำความเข้าใจในการบินขึ้นลงสนามบินด้วย  ส่วนตัวผมเห็นว่าการบินเครื่องบินเครื่องใหญ่ เครื่องเล็ก เหมือนกันหมดครับ เพราะใช้พื้นฐานของเครื่องวัดประกอบการบินแบบเดียวกัน เพียงแต่เครื่องบินพาณิชย์นั้นมีเครื่องวัดต่าง ๆ จำนวนมากขึ้นกว่าเครื่องบินใบพัดลำเล็ก ๆ ที่ใช้ฝึกในโรงเรียนการบิน หากว่าเราเข้าใจพื้นฐานการอ่านค่าเครื่องวัดประกอบการบินแล้ว […]

ภาพรวมการบินปี 2018

ภาพรวมการบินของไทยในปี 2018 ที่ผ่านมา มีตัวเลขน่าสนใจอยู่หลายอย่างตามนี้ครับ -ประเทศไทยมีสนามบินทั้งหมด 38 สนามบิน เป็นสนามบินระหว่างประเทศ 11 สนามและสนามบินภายในประเทศ 27 สนาม -รับรองผู้โดยสารทั้งหมด 162 ล้านคน -แต่ละวันมีเที่ยวบินอยู่บนอากาศโดยเฉลี่ยวันละ 3007 เที่ยวบิน -มีเครื่องบินจดทะเบียนสัญชาติิไทยทั้งสิ้น 708 ลำ เป็นเครื่องบินพาณิชย์ 415 ลำ เครื่องบินส่วนตัว 225 ลำ และ Ultra Light 68 ลำ -มีหน่วยซ่อมบำรุงอากาศยานที่ได้รับการรับรองแล้ว 262 หน่วย อยู่ภายในประเทศ 28 หน่วย และอยู่ต่างประเทศ 234 หน่วย -มีการจดทะเบียนใบอนุญาตประกอบกิจการค้าขายในการเดินอากาศ (AOL) ทั้งสิ้น 40 ใบอนุญาต (ปัจจุบัน AOL เปลี่ยนชื่อไปเป็น CAOL และมีการแบ่งประเภทใบอนุญาตให้ละเอียดขึ้น) -มีการรับรองให้เดินอากาศไปแล้วทั้งสิ้น 30 ใบอนุญาต  -มีศูนย์ฝึกอบรมด้านการบินที่ได้รับการรับรองแล้วทั้งสิ้น 16 ศูนย์ ภาพที่สองน่าสนใจตรงที่อัตราการขยายตัวของเครื่องบินแต่ละแบบในอีกเกือบ ๆ ยี่สิบปีข้างหน้า เครื่องบินแอร์บัส A320 จะเป็นเครื่องบินที่มีจำนวนมากที่สุดคือกว่า 400 ลำจากทั้งหมด 800 กว่าลำ และมีโบอิ้ง 737 ประมาณ 200 ลำที่ทำการบินในปี 2037  ความจริงยังมีเรื่องที่น่าสนใจอีกมากใน presentation […]

Aircraft Registration

ทะเบียนอากาศยาน Aircraft Registration  เครื่องบินก็เหมือนรถยนต์ที่ต้องมีการระบุทะเบียนประจำแต่ละลำ เพื่อเป็นการแสดง “สัญชาติ” ของอากาศยานนั้น ตามประมวลกฏหมายของไทยผู้ที่จะยื่นขอจดทะเบียนอากาศยานในประเทศไทย จะต้องเป็นผู้ถือสัญชาติไทยด้วย หมายถึง ผู้มีกรรมสิทธิหรือสิทธิครอบครองอากาศยานจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ แต่ต้องมี “สัญชาติไทย” ในการขอยื่นจดทะเบียนอากาศยานในประเทศไทย ประเด็นเรื่อง “สัญชาติ” ของอากาศยานนั้น มีความสำคัญในแง่ของกฏหมายต่าง ๆ ที่จะเข้ามาบังคับใช้กับเครื่องบินหรืออากาศยานลำนั้น ๆ ตามมาอีกเป็นร้อย ๆ ข้อกำหนดและข้อบังคับ ทั้งจากประเทศที่เป็นสัญชาติเองและจากนานาประเทศที่เครื่องบินลำนั้นจะต้องบินผ่าน เอาเป็นว่า ผมต้องการสื่อถึงประเด็นว่า เราจะรู้ได้อย่างไรว่า เครื่องบินหรืออากาศยานลำไหนเป็นอากาศยานของประเทศใด ICAO กำหนดไว้ตัวอักษรของเลขทะเบียนเพื่อแสดงสัญชาติของอากาศยานเอาไว้ เพื่อให้สามารถรู้ว่าเครื่องบินนั้นเป็นเครื่องบินที่จดทะเบียนสัญชาติที่ประเทศใด อย่างของไทยเรา จะเริ่มต้นเลขทะเบียนเครื่องบินด้วย “HS” เช่น HS-TGA ฝ่ายทะเบียนและใบอนุญาตของกรมการบินก็จะทราบทันทีว่าคือ เครื่องบิน Boeing 747-400 ของบริษัทการบินไทย และสามารถตรวจสอบประวัติการซ่อมบำรุง และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องบินลำนั้นทั้งหมด ถ้าทะเบียนเครื่องบินขึ้นต้นด้วย N หมายถึง สหรัฐอเมริกา, C หมายถึง Canada, A หมายถึง Austria, D หมายถึง Germany, G หมายถึง United Kingdom, JA หมายถึง Japan เป็นต้น

AUDIT

AUDIT เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ Regulatory Audit ในวงการการบิน ผมโชคดีได้มีโอกาสไปช่วยรับใช้ชาติ ได้โอกาสใช้ความรู้ความสามารถและประสบการณ์การบินตลอดยี่สิบกว่าปีที่ผ่านมาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยแก้ปัญหาของกรมการบินพลเรือนกรณีถูกลดชั้นจาก ICAO Standards  ทางบริษัทฯ ส่งตัวไปร่วมช่วยแก้ปัญหา (ไปเป็นส่วนหนึ่งเท่านั้นนะครับ ปัญหาหลัก ๆ กรมการบินพลเรือนเป็นผู้ที่ต้องแก้ไขเอง) จึงต้องไปเรียนหนังสือเข้าคอร์สอบรมร่วมกับเจ้าหน้าที่ของกรมฯ ที่กรมการบินพลเรือน ว่าด้วยเรื่อง Regulatory Audit แปลตรง ๆ ตัวก็หมายถึง หน้าที่ในการตรวจสอบและกำกับดูแลผู้ดำเนินการเดินอากาศ ผมจึงอยากจะจับประเด็นตรงที่ชนิดของการตรวจสอบมาคุยกันเล่น ๆ ครับ การ Audit แปลแบบบ้าน ๆ เพื่อสื่อถึงความเข้าใจในหมู่คนทุกระดับ (ที่อยู่ในแวดวงและนอกแวดวงธุรกิจการบิน) คือ การตรวจสอบคุณภาพ แต่ว่ารายละเอียดของการตรวจและขั้นตอนการตรวจนั้นมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างออกไป รวมทั้งความถี่หรือความเข้มข้นของการตรวจสอบก็แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับมูลเหตุที่ทำให้เกิดการ audit เรามาพูดถึงในแง่ของผู้ใช้หรือผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งก็คือ ผู้ถูกตรวจ Auditee สำหรับผู้ไปตรวจเรียก Auditor หรือ Inspector แล้วแต่กรณี Audit กับ Inspection ในด้านการบินแตกต่างกันนิดหน่อยครับ An Audit it an in-depth review of the activities of an organization to verify conformance to regulatory requirement or approved company procedures. An Inspection […]

0
0