AUDIT

AUDIT


เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ Regulatory Audit ในวงการการบิน ผมโชคดีได้มีโอกาสไปช่วยรับใช้ชาติ ได้โอกาสใช้ความรู้ความสามารถและประสบการณ์การบินตลอดยี่สิบกว่าปีที่ผ่านมาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยแก้ปัญหาของกรมการบินพลเรือนกรณีถูกลดชั้นจาก ICAO Standards 

ทางบริษัทฯ ส่งตัวไปร่วมช่วยแก้ปัญหา (ไปเป็นส่วนหนึ่งเท่านั้นนะครับ ปัญหาหลัก ๆ กรมการบินพลเรือนเป็นผู้ที่ต้องแก้ไขเอง) จึงต้องไปเรียนหนังสือเข้าคอร์สอบรมร่วมกับเจ้าหน้าที่ของกรมฯ ที่กรมการบินพลเรือน ว่าด้วยเรื่อง Regulatory Audit แปลตรง ๆ ตัวก็หมายถึง หน้าที่ในการตรวจสอบและกำกับดูแลผู้ดำเนินการเดินอากาศ

ผมจึงอยากจะจับประเด็นตรงที่ชนิดของการตรวจสอบมาคุยกันเล่น ๆ ครับ การ Audit แปลแบบบ้าน ๆ เพื่อสื่อถึงความเข้าใจในหมู่คนทุกระดับ (ที่อยู่ในแวดวงและนอกแวดวงธุรกิจการบิน) คือ การตรวจสอบคุณภาพ แต่ว่ารายละเอียดของการตรวจและขั้นตอนการตรวจนั้นมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างออกไป รวมทั้งความถี่หรือความเข้มข้นของการตรวจสอบก็แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับมูลเหตุที่ทำให้เกิดการ audit

เรามาพูดถึงในแง่ของผู้ใช้หรือผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งก็คือ ผู้ถูกตรวจ Auditee สำหรับผู้ไปตรวจเรียก Auditor หรือ Inspector แล้วแต่กรณี

Audit กับ Inspection ในด้านการบินแตกต่างกันนิดหน่อยครับ

An Audit it an in-depth review of the activities of an organization to verify conformance to regulatory requirement or approved company procedures.

An Inspection is narrow focus on one particular area such as ramp inspection, which is specific to verify the aircraft and flight crew safety and security for particular flight.

สรุปว่า Inspector เป็นผู้ตรวจที่ขอบเขตของงานเฉพาะเจาะจงมากกว่า และเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการตรวจสอบทั้งระบบอย่างการ Audit

ในการ Audit ของ Authorities นั้น มี 4 รูปแบบ (Type)

Post Certification audit คือ การ audit หลังจากได้รับ AOC:Air Operator Certificate (สายการบินใหม่ที่เพิ่งยื่นขอครั้งแรก จะต้องมีการทำ audit หลังจากได้รับ AOC ประมาณ 6 เดือน)

Additional Authority audit หมายถึงการ audit ก่อนที่จะอนุมัติให้ทำการใดๆที่เพิ่มขึ้นจากที่เคยได้รับเดิม (จาก audit ครั้งก่อน) เช่น เครื่องใหม่ยังไม่เคยบิน ETOPs ก็ต้องทำ audit เพื่อ granted approval

Routine Conformance audit หมายถึง audit ที่ต้องทำเป็นประจำเช่น ทุก 6 เดือน หรือ 1-5 ปี เป็นต้น

Special Purpose audit เรื่องด่วนอื่นๆ ที่ทำให้เกิดความไม่มั่นใจจึงต้องทำการตรวจสอบเพิ่ม เช่น มี accident, หรือเหตุต่างๆที่เป็น safety concerns etc.

Special audit เป็น audit เดียวที่ไม่จำเป็นต้องบอกล่วงหน้า เรียกว่าเป็น “NO notice audit” ก็ได้ อย่างการ ramp inspection เป็นต้น (ในทางปฏิบัติจะบอกล่วงหน้าอยู่ดีแต่ไม่บอกก็ได้หรือบอกแบบ very short notice) ส่วน audit ประเภทอื่นจะบอกล่วงหน้าเสมอ

ramp inspection ไม่ใช่ special audit เสมอไป
เพราะ ramp inspection อาจเป็นส่วนหนึ่งของ post cert., routine หรือ additional audit ก็ได้ การ audit แบ่ง area ใหญ่ๆที่สำคัญๆได้เป็น ด้าน Operations กับ ด้าน Airworthiness ส่วนด้านอื่นๆจัดอยู่ในหมวด Others เช่น Dangerous Goods เป็นต้น

Tags:

Comments are closed
0
0