Category: ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว

Lying Sick passenger

Lying Sick passenger ผมได้มีโอกาสพาผู้โดยสารชาวอังกฤษ อายุ 68 ปี ป่วยเนื่องจากผ่าตัดช่องท้อง ลำไส้เน่าและกระเพาะปัสสาวะอักเสบเดินทางกลับบ้านที่ประเทศอังกฤษ ระหว่างอยู่บนเครื่องบินต้องนอนตลอดการเดินทาง มีทั้งหมอและพยาบาลติดตามมาดูแลอาการระหว่างบินด้วย สำหรับสายการบินก็ต้องมีการติดตั้งเตียงพิเศษเพื่อผู้โดยสาร เราเรียกเตียงนี้ว่า Stretcher แปลตามศัพท์หมอก็คือ เปล นั่นแหละครับ แต่นำมาติดตั้งยึดให้มั่นคงแข็งแรงบนเครื่องบิน ผมนำภาพตัวอย่างมาให้ชมนิดหน่อย บนเครื่องบินจะมีตำแหน่งที่ติดตั้งเปลนี้เป็นการเฉพาะ ซึ่งสำหรับเครื่องบิน B747-400 จะอยู่ที่บริเวณประตูหลังสุดด้านซ้าย เวลาจะขึ้น-ลงก็ต้องใช้รถพิเศษยกสูงขึ้นมาที่ประตูแล้วเข็นผู้โดยสารเข้าเครื่องบิน (ขึ้นก่อน ลงทีหลัง) คุณลุงแกต้องใช้ออกซิเจน 4 ลิตรต่อนาที ไปตลอดการเดินทาง 13 ชั่วโมง ทางสายการบินก็ต้องมีการเตรียมถังออกซิเจนเพิ่มสำหรับผู้โดยสาร (คิดเงินเพิ่ม) จริง ๆ บนเครื่องบินทุกลำ มีถังออกซิเจน สำหรับใช้กรณีมีคนป่วยกะทันหันอยู่แล้ว เราเรียกถังออกซิเจนนี้ว่า Portable Oxygen portable oxygen นั้นจะมีอยู่จำนวนมากพอเพียงสำหรับบริการผู้โดยสารในกรณีจำเป็นต่าง ๆ เช่น ช่วง Post Decompression Period (ช่วงเวลาหลังจากเครื่องบินสูญเสียระบบปรับความดัน) โดยให้ออกซิเจนสำหรับผู้โดยสารที่อาจจะหมดสติหรือยังมีอาการมึนงงอยู่ แต่กรณีนี้ รู้ล่วงหน้าว่าต้องใช้ออกซิเจนเยอะเป็นเวลานาน แบบกรณีนี้ ก็ต้องนำถัง oxygen ขึ้นมาเพิ่ม เพราะที่มีอยู่บนเครื่องเอาไว้ใช้กรณีฉุกเฉินเท่านั้น หลังจาก landing ที่ลอนดอน ผมก็ลงไปดูความเรียบร้อยอีกครั้งผมเข้าไปพูดคุยกับคุณหมอเล็กน้อย เพื่อสอบถามสภาพโดยทั่วไปของผู้โดยสารระหว่างการเดินทาง คุณหมอบอกว่าโดยทั่วไปไม่มีอะไรผิดปกติเพิ่มขึ้น คนไข้หลับสบายดีระหว่างเดินทาง ในกรณีแบบนี้ นักบินต้องพิจารณาเรื่องของ การลดระดับความสูง การ landing การลดความเร็ว (Braking) ต้องปราณีตและนุ่มนวลเป็นพิเศษ […]

ผู้โดยสารมาช้า กัปตันจะทำอย่างไร

ผู้โดยสารมาช้า กัปตันจะทำอย่างไร ตามความคิดและประสบการณ์ส่วนตัวนะครับ ชาติที่มีวินัยที่สุดในการขึ้นเครื่องบิน คือ ญี่ปุ่น ไฟล์ทไปหรือกลับจากญี่ปุ่น จะมีปัญหาเรื่องผู้โดยสารมาเครื่องช้าน้อยมาก การที่ผู้โดยสารมาช้า อาจจะเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น  ต่อเครื่องมาจากสถานีอื่น หลงทางอยู่ในสนามบิน ติดอยู่ที่กองตรวจคนเข้าเมือง (Immigration) ขึ้นผิดเครื่อง  (สมัยก่อนมีครับ สักสิบกว่าปีที่แล้ว ผู้โดยสารขึ้นเครื่องบินที่เขียน “เชียงใหม่” ที่ลำตัว เพราะนึกว่าเครื่องลำนี้ไปเชียงใหม่) มัวช้อปปิ้งเพลิน “หลับ” ระหว่างรอต่อเครื่อง ของีบสักแป๊ป ฯลฯ ปัญหาผู้โดยสารขึ้นเครื่องช้ามีหลายรูปแบบและหลายสาเหตุครับ พนักงานภาคพื้นที่เป็นคนดูแลคนและของขึ้นเครื่องบิน (Load Control หรือ Red Cap เพราะมักจะใส่หมวกแดงกัน) จะเป็นคนมารายงานก่อนพาผดส.ขึ้นเครื่องว่า วันนี้มีกรณีพิเศษอะไรบ้าง เช่น ผู้โดยสารจำนวนกี่คน ต่อไฟล์ทมาจากที่อื่น คาดว่าเครื่องจะลงกี่โมง จะเสียเวลาเท่าไหร่ ถ้าผู้โดยสารมาจากต่างประเทศก็ต้องผ่าน transit immigration  (อันนี้วุ่นวายมาก มีอยู่ช่วงหนึ่งโดยเฉพาะตอนเช้าเจ้าหน้าที่เปิดช่องตรวจน้อย เครื่องจากยุโรปของไทยก็จะลงตอนเช้า แล้วผดส.จำนวนมากจะต่อเครื่องไปภูเก็ต เชียงใหม่กัน แต่ต้องผ่านตม.ที่สุวรรณภูมิก่อน ทั้งๆที่ สามารถไปตรวจลงตราที่ปลายทางก็ได้ อันนี้ขั้นตอนกฏหมายไทย It a must ว่าต้องทำทั้ง 2 ที่หรือเปล่า ไม่รู้เขาแก้ไขกันหรือยัง แต่การเปิดช่องตรวจน้อยทำให้เครื่องดีเลย์กันมาก ก็ทำงานแบบไทย ไทย ไม่ค่อยใส่ใจว่าใครเขาจะเดือดร้อน “ทำอะไรตามใจ คือไทยแท้”) มีผู้โดยสารป่วย ที่ต้องดูแลพิเศษ ต้องใช้ Oxygen หรืออุปกรณ์เสริมใดบ้างและทำการ approved จากหน่วยงานที่รับผิดชอบแล้ว ว่าถูกต้องตามกฏสามารถนำขึ้นเครื่องได้ […]

หูอื้อ

หูอื้อ มีคำถามจากเพื่อนสมัยเรียนมัธยมเขียนถามมาในเฟสบุ๊คว่า “ขึ้นเครื่องจากดอนเมืองไปอุดรรู้สึกหูอื้อช่วงเครื่องขึ้นสักพักก็หาย แต่พอไปได้สักครึ่งทางก็หูอื้อ บางช่วงรู้สึกปวดแก้วหู เราไม่พกหมากฝรั่งเลยใช้วิธีเคี้ยวปาก จนกระทั่งเครื่องลงก็ไม่หาย  กลับถึงบ้านแล้ว 5-6 ชม.ค่อยดีขึ้น  ปกติขึ้นเครื่องก็ไม่เคยเป็นขนาดนี้นะ จะเป็นเฉพาะเครื่องบินต่างระดับเท่านั้น แต่ครั้งนี้รู้สึกมากขนาดปวดหู ถามน้องที่ไปด้วยก็บอกว่าไม่มีอาการ อยากทราบว่าอาการที่เกิดขึ้นเป็นที่ตัวเราเองรึเปล่าคะ” ขอตอบแบบใช้ความรู้ของนักบินนะครับ อาการหูอื้อมักเกิดขึ้นช่วงเครื่องบินลดระดับ มากกว่าช่วงเครื่องบินไต่ระดับความสูงขึ้น ช่วงบินขึ้น อากาศภายในห้องโดยสารจะเบาบางลง ความดันอากาศภายในหูจะค่อย ๆ ปรับได้ไม่ยาก ช่วงที่เครื่องบินลดระดับ จะมีการอัดอากาศเข้าในห้องโดยสารเพื่อเพิ่มความกดอากาศให้สัมพันธ์กับความดันอากาศที่อยู่ที่พื้นเมื่อเครื่องบินแตะพื้น หูชั้นในจะต้องปรับความดันเพื่อให้อากาศเข้าไปด้วย ไม่อย่างนั้นจะมีความต่างของความดันเพิ่มขึ้นจะเกิดความรู้สึกหูอื้อ และอาจถึงขั้นปวดหู หากไม่ปรับความดันของหูชั้นในเลยอาจทำให้หูชั้นในได้รับบาดเจ็บฉีกขาดได้ โดยปกติร่างกายจะพยายามปรับตัวอยู่แล้ว และจะส่งสัญญาณเตือนให้เรารู้ด้วยอาการหูอื้อดังนั้น ผมแนะนำว่า การกลืนน้ำลาย หรือการเคี้ยวหมากฝรั่ง ช่วยได้ ถ้าใครกระดิกหูได้ก็ลองทำดูครับ ช่วยเปิดอากาศให้ถ่ายเทเข้าสู่หูชั้นในได้เช่นกัน  หากเริ่มหูอื้อ จนรู้สึกว่า มีแรงกดเข้าที่หู อาจจะต้องใช้วิธีการที่เรียกว่า Valsalva Valsalva คือ การที่เราหายใจเข้าลึก ๆ แล้วใช้มือบีบจมูกและเม้มปากไว้ หลังจากนั้นให้ทำเหมือนพยายามเป่าลมออกมา เราจะได้ยินเสียง Air Pop ที่หูของเรา อาจจะต้องทำหลาย ๆ ครั้ง หากยังมีอาการหูอื้ออยู่ ขึ้นเครื่องบินบางครั้ง เป็นบางครั้งไม่เป็น หรือไม่เกิดอาการหูอื้อ อาจจะอยู่ที่ร่างกายของเราด้วยครับ เช่น คนเป็นหวัด หรือมีอาการอักเสบของแก้วหู ที่มีอาการบวมของหูชั้นในอยู่ จะทำให้ความสามารถในการปรับความดันของหูลดลง อาจจะทำให้เกิดอาการหูอื้อ หรือหูดับไปได้หลายชั่วโมง คนที่เป็นอาการหนัก ๆ อาจจะเป็นวัน ๆ แล้วอยู่ดี ๆ ก็จะได้ยินเสียง “Air Pop” […]

Seat Belt

กรุณารัดเข็มขัดนิรภัยด้วยครับ หากกัปตันไม่ให้สัญญาณว่าปลดเข็มขัดนิรภัยได้ ผู้โดยสารไม่ควรปลดออกในทุกกรณี หากเป็นการออกเดินทางเพื่อไปจุดหมาย มักไม่ค่อยพบปัญหานี้เท่าไหร่ เพราะส่วนใหญ่จะนั่งรอเครื่องวิ่งขึ้น แต่เมื่อ landing ที่ปลายทางแล้ว ผู้โดยสารมักชอบลุกจากที่นั่งเพื่อรีบหยิบของเตรียมตัวลงจากเครื่องบิน  อันนี้ไม่ปลอดภัย แม้ว่าเราจะรู้สึกว่าเครื่องหยุดอยู่กับที่ แต่ความจริงแล้วเครื่องบินอาจจะกำลังเคลื่อนที่อยู่อย่างช้า ๆ หรือบางครั้งอาจจะหยุดเพื่อรอทาง   ส่วนตัวผม หากเกิดกรณีที่จำเป็นต้องหยุดเครื่องโดยรู้ล่วงหน้า ผมจะประกาศบอกผู้โดยสารเสมอว่า ให้นั่งอยู่กับที่ก่อนจนกว่าสัญญาณรัดเข็มขัดจะดับลง เพราะเครื่องบินยังไม่ถึงหลุมจอด อาจจะด้วยหลายสาเหตุ เช่น มีเครื่องบินลำอื่นจอดอยู่ยังไม่ถอยออกจากหลุมจอดที่เราจะเข้า หรือทางที่เราจะใช้เคลื่อนตัวเข้าไปจอด มีเครื่องบินอีกลำเคลื่อนสวนออกมา เป็นต้น โดยปกติ หอบังคับการบิน จะพยายามจัดการจราจรภาคพื้นเพื่อให้เครื่องบินทุกลำสามารถเคลื่อนที่ไปได้โดยไม่ต้องสะดุด หรือจอดรอ แต่ในบางครั้งก็จำเป็นครับ อาจจะเพราะเครื่องบินมาก หรือมีการปิดซ่อมทาง taxiway ทำให้การจัดการจราจรภาคพื้นคับคั่ง และก็อาจจะมีบ้างที่ต้องเบรคกระทันหัน เช่น รถขนของวิ่งตัดหน้าเครื่องบิน (คนขับไม่ได้มอง อันนี้คนขับรถจะโดนลงโทษความผิด ยิ่งกว่าฝ่าไฟแดงแล้วโดนกล้องวงจรปิดถ่ายรูปไว้) หรือ มีการเข้าใจผิดในการใช้ทาง หรือ ฯลฯการเบรคกระทันหัน แม้ว่าจะเป็นช่วงที่มีความเร็วต่ำ ๆ ของเครื่องบิน ก็สามารถทำให้เกิดอันตรายต่อผู้โดยสารได้เช่นกันเพราะว่าการที่เครื่องบินเคลื่อนที่ช้า ๆ (ตามความรู้สึกของเรา) แต่จริง ๆ แล้ว เครื่องบินเคลื่อนที่ด้วยความเร็วพอสมควรทีเดียวครับ การ taxi เพื่อเข้าจอด หรือ เพื่อไปวิ่งขึ้นก็ตาม นักบินจะใช้ความเร็ว 10-30 knots ซึ่งเทียบเท่ากับประมาณ 20-60 km/hr การเบรคกระทันหันที่ความเร็วนี้ จึงอาจทำอันตรายให้กับผู้ที่ลุกขึ้นยืน หรือกำลังอยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสมได้ คนที่ยืน อาจจะล้มไปกระแทกกับคนที่นั่งอยู่ทำให้บาดเจ็บ และถ้าเกิดคนที่ลุกยืนทำการเปิดช่องเก็บสัมภาระเหนือศรีษะอยู่ด้วย ยิ่งเป็นอันตรายมาก เพราะของในที่ใส่ของอาจจะหล่นลงมาใส่คนที่นั่งอยู่จนได้รับบาดเจ็บ […]

ขึ้นเครื่องบินอย่าเมาเหล้า

ขึ้นเครื่องบินอย่าเมาเหล้า เห็นข่าวเรื่องผู้โดยสารเมาแล้วทะเลาะวิวาทกันบนเครื่องบินไหมครับ มีหลายประเด็นที่น่ากล่าวถึงเพื่อเป็นประโยชน์ให้เพื่อนๆรับทราบข้อมูลกรณีต้องเดินทางโดยเครื่องบิน และอยากดื่ม แอลกอฮอล์ ขอให้คิดสักนิด ก่อนดื่ม ขอให้ดื่มแต่พอดี  อย่าคิดว่าเป็นของฟรีแล้วดื่มไม่ยั้ง ขอให้หยุดดื่มทันที เมื่อพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินปฏิเสธที่จะให้บริการเครื่องดื่มมึนเมาแก่ท่าน บริษัท หรือ สายการบินชั้นนำทั่ว ๆ ไป แทบทุกสายการบินจะไม่อนุญาตให้นำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ซื้อหามาเองมาดื่มบนเครื่องบินระหว่างเที่ยวบิน อ่านแล้วอาจจะแปลกใจว่า “ ทำไม ฉันซื้อมาเองทำไมจะดื่มไม่ได้ “  คำถามนี้เกิดขึ้นบ่อย ๆ ครับ ทั้ง ๆ ที่สายการบินน่าจะชอบที่ไม่ต้องเปลืองเหล้า เบียร์ หรือไวน์ของบริษัท น่าจะช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายของบริษัทฯ นะ ความจริงมีอยู่ว่า สายการบินชั้นนำ หรือที่เรียกกันว่า Premium ไม่ได้คิดถึงเรื่องการประหยัดในเรื่องนี้ครับ แต่นึกถึงการให้บริการที่ดีตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก แต่นึกถึงความปลอดภัยโดยรวมของเที่ยวบินมากกว่าทุก ๆ สิ่งครับ การห้ามผู้โดยสารนำของมึนเมาที่ซื้อหามาเองมาดื่มบนเครื่องบินนั้น เป็นกฏกติกาของบริษัทหรือสารการบินชั้นนำที่มีมาตรฐานสากล แบบเดียวกับการบินไทย ที่ต้องการความปลอดภัย ความสะดวกสบายและความเป็นส่วนตัวของผู้โดยสารบนเที่ยวบินครับ  “เราขอสงวนสิทธิที่จะให้บริการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่ผู้โดยสารที่อยู่ในอาการมึนเมา และผู้โดยสารที่อายุน้อยกว่า 18ปี และ ไม่อนุญาตให้นำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาดื่มเอง และให้ดื่มได้เฉพาะที่บริษัทฯ มีเตรียมไว้บริการบนเครื่องเท่านั้น” สำนวนประมาณนี้ครับ เวลาที่แอร์โฮสเตสประกาศบนเที่ยวบิน เพราะว่า ทางพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินจะมีหน้าที่คอยเฝ้าดูแลผู้โดยสารทุก ๆ คนและระงับการให้บริการแก่ผู้โดยสารที่มีอาการมึนเมา หรือ ผู้โดยสารที่ไม่อยู่ในสภาพที่สมควรดื่มแอลกอฮอล์  เช่น อายุต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ ๑๘ ปี  หรือผู้โดยสารที่ถูกเนรเทศออกนอกประเทศ  หรือผู้โดยสารที่จำเป็นต้องมีผู้ควบคุมความประพฤติเดินทางด้วยในทุก ๆ กรณี (รวมทั้งผู้คุมก็ถูกห้ามด้วย) เป็นต้น สาเหตุก็เพราะว่าหากผู้โดยสารนำเครื่องดื่มของมึนเมามาทานเอง พนักงานต้อนรับจะไม่สามารถประเมินและควบคุมปริมาณการดื่มเพื่อให้อยู่ในปริมาณที่ไม่มากเกินไปจนเกินความมึนเมาได้ ไม่ใช่หวง ไม่ให้เพราะงก แต่ไม่ให้เพราะคุณเริ่มจะเมาแล้ว […]

0
0