Category: ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว

Safest seat

Safest seat  ที่นั่งตรงไหนที่ปลอดภัยที่สุดในห้องโดยสาร  คุณรู้หรือไม่ ที่นั่งตรงไหนที่ปลอดภัยที่สุดหากเครื่องบินมีอุบัติเหตุ บางคนอาจบอกว่าที่ปีก เพราะมีโครงสร้างที่แข็งแรงมากที่สุด บางคนคิดว่าน่าจะเป็นส่วนหัวของเครื่องบิน เพราะอยู่ใกล้นักบินและน้อยคนจะคิดว่าส่วนท้ายเพราะส่วนใหญ่มักคิดว่าท้ายเครื่องเล็กและคับแคบ สถิติการรอดชีวิตของผู้โดยสารจากอุบัติเหตุของเครื่องบิน ที่นั่งท้ายเครื่องบินมีอัตราผู้รอดชีวิตสูงที่สุด (Survival rate) คือ 69% (ภายในบริเวณสีเขียวด้วยกัน) และที่นั่งด้านหัวเครื่องบินมีอัตราผู้รอดชีวิตต่ำที่สุด 49% บริเวณนี้สายการบินและเครื่องบินส่วนใหญ่มักจะเป็นที่นั่งสำหรับชั้น First Class และ Business Class  ที่นั่งบริเวณปีกเครื่องบินมีอัตราผู้รอดชีวิตปานกลาง การที่อัตราผู้รอดชีวิตน้อยทีสุดที่บริเวณส่วนหัวของเครื่องบิน เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุ บริเวณส่วนหัวคือส่วนที่รับแรงกระแทกมากกว่าส่วนอื่น เพราะเป็นส่วนหน้าสุดของเครื่องบิน ซึ่งมักจะเป็นทิศทางที่เครื่องบินจะไถลไป บริเวณกลางลำตัวนั้น แม้โครงสร้างของเครื่องบินจะแข็งแรงที่สุด เพราะเป็นส่วนที่ต้องรับน้ำหนักของเครื่องบินแทบทั้งหมด แต่อันตรายจากบริเวณส่วนกลางลำตัวเวลามีอุบัติเหตุคือเป็นที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิง และทางออกจากเครื่องบินจะอยู่ในแนวของเครื่องยนต์ที่อาจมีปัญหามีไฟลุกไหม้อยู่เมื่อตอนมีอุบัติเหตุ ส่วนท้ายของเครื่องบิน เหมือนจะเป็นโครงสร้างที่บอบบางที่สุด เวลานั่งเครื่องบินด้านท้ายสุด จะไม่ค่อยสะดวกสบายเท่าด้านหน้าสุด เพราะบริเวณส่วนท้ายอยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางด้านแอโรไดนามิกส์ (mean aerodynamic cord)ของเครื่องบินมากกว่าส่วนอื่น จึงมีการเคลื่อนที่มากกว่าเวลาเครื่องบินเข้าบริเวณที่มีสภาพอากาศแปรปรวน แต่ทำไมอัตราการรอดชีวิตในบริเวณนี้จึงสูงกว่าที่อื่น นั่นเป็นเพราะว่า หากเกิดการกระแทก (impact) บริเวณนี้มักจะไม่ใช่จุด impact หรือ impact หลังสุด แรงกระแทกมันลดลงเยอะแล้ว เอาเป็นว่ามันเป็นส่วนท้าย ๆ สุดที่จะสัมผัสพื้นในกรณีฉุกเฉินต่าง ๆ ยกเว้น กรณีเอาหางแตะพื้นก่อนเพราะเครื่องบินผิดท่าทาง (unusual attitude)และร่วงลงกระแทกพื้น ถ้าเป็นการ landing โดยหางสัมผัสพื้นก่อน (tail strike) โดยไม่รุนแรงมาก เครื่องบินไม่เป็นไรนะครับ แต่จะทำการบินต่อไม่ได้ จนกว่าจะมีการตรวจสอบสภาพโครงสร้างของเครื่องบินทั้งลำใหม่ หากเลวร้าย tail strike ขั้นรุนแรง […]

Flying Phobia

Flying Phobia ปัญหาของผู้ที่รู้สึกกลัวการขึ้นเครื่องบินมาก แต่จำเป็นต้องเดินทางบ่อยๆ “โดยเฉพาะเที่ยวบินต้องบินไกลเป็นสิบชั่วโมงจะยิ่งรู้สึกกลัวมาก” “จะใช้ยานอนหลับได้หรือไม่  เพื่อจะได้หลับไปเลยระหว่างเดินทาง  ไม่ต้องรู้สึกเป็นกังวล” อาการกลัวเครื่องบินที่เรียกว่า flying phobia, flight phobia, หรือ aerophobia นั้น คือ ความรู้สึกเป็นกังวล มีอาการหวาดระแวง กลัว มือสั่น เหงื่อแตก รู้สึกอึดอัด หายใจไม่สะดวก ยิ่งเครื่องสั่นหรือตกหลุมอากาศจะยิ่งทำให้มีอาการเหล่านั้นเพิ่มขึ้น บางคนเคยขึ้นเครื่องบินมาแล้ว ไม่ได้รู้สักกังวลหรือหวาดกลัว แต่ภายหลังมาเจอเครื่องบินตกหลุมอากาศ หรือมีเหตุฉุกเฉินมีความรุนแรง หรือการเสพข่าวเกี่ยวกับอุบัติเหตุหรืออุบัติการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเครื่องบินมากเกินไป จึงทำให้เกิดความไม่มั่นใจ  การแก้ปัญหาเรื่องการกลัวการขึ้นเครื่องบินนั้นดูเหมือนจะเป็นปัญหาที่เป็นเฉพาะบุคคลและขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่ผ่านมาของคนๆนั้นด้วยว่า สาเหตุที่ไม่อยากขึ้นเครื่องเกิดจากอะไรถ้าเคยขึ้นเครื่องบินมาก่อน แล้วมากลัวทีหลัง แสดงว่า ได้รับประสบการณ์ไม่ดีจนเกิดความกังวล เรื่องที่นั่งบนเครื่องบินก็อาจมีส่วนเช่นกันครับ ที่นั่งที่คับแคบของชั้นประหยัด อาจทำให้รู้สึกไม่สบายตัว และไม่สามารถพักผ่อนได้ในระหว่างที่ต้องเดินทางไกล ๆ ไม่สามารถหลับได้ เหมือนต้องตื่นอยู่ตลอด บรรยากาศภายในห้องโดยสารก็มีส่วน คนที่ไม่ชอบที่แคบ เมื่อเดินทางในชั้นโดยสารที่แออัด ก็จะรู้สึกอึดอัด หายใจไม่สบายและเริ่มหงุดหงิด เมื่อเครื่องบินบินผ่านสภาพอากาศแปรปรวนเล็กน้อย ก็จะยิ่งทำให้รู้สึกเป็นกังวล ตัวระบบสันทนาการบนเครื่องบิน (Inflight Entertainment :IFE) ช่วยได้ระดับหนึ่งครับ หาภาพยนต์ ดนตรี หรือเกมส์ที่ช่วยให้ผ่อนคลายระหว่างการเดินทางเป็นทางออกที่ดีกว่าการใช้ยานอนหลับ การใช้ยานอนหลับ แม้ว่าจะยังไม่มีกฏหมายบังคับใช้กับผู้โดยสาร แต่โดยส่วนตัวผมไม่สนับสนุนนะครับ การใช้ยานอนหลับหรือยากล่อมประสาทประเภทต่าง ๆ ทั้งนักบินและพนักงานต้อนรับมีกฏบังคับใช้ว่ายาตัวไหนใช้ได้ ตัวไหนใช้ไม่ได้ ยานอนหลับต้องทานก่อนมาทำการบินไม่น้อยกว่าช่วงเวลาหนึ่ง เช่น 12, 18, 24 ชม.หรือมากกว่านั้น เป็นต้น  “ไม่เห็นด้วยที่จะใช้ยานอนหลับ ระหว่างเดินทางโดยเครื่องบิน” […]

บินใกล้กันเกินไปหรือเปล่า

บินใกล้กันเกินไปหรือเปล่า ครั้งหนึ่งเมื่อประมาณต้นปี 2558 ผมบินกลับจากลอนดอนเข้ากรุงเทพฯ มีสจ๊วตโทรขึ้นมา ที่ cockpit จากชั้นล่าง (main deck) ระหว่างที่เครื่องบินกำลังบินระดับอยู่ที่ความสูง 34000 ฟุต สจ๊วต : “ฮัลโหล กัปตันครับ” ผม : “ครับ” สจ๊วต : “ผู้โดยสารเฟิร์สคลาส (บอกเลขที่นั่งมาด้วยแต่ผมไม่ได้จำ) ผู้โดยสารมองไปนอกหน้าต่างแล้วเห็นเครื่องบินอีกลำ เค้าถามว่ามันใกล้เครื่องเรามากเกินไปหรือเปล่าครับ” ผม: “อ๋อ ครับ บอกผู้โดยสารนะครับว่า ผมมองเห็นอยู่ตลอด ไม่เป็นไรนะครับ บินอยู่คนละระดับความสูง ต่างกัน 2000 ฟุตครับ  เป็นปกตินะครับ ไม่ต้องกังวล”  หลังจากที่วางสายไปแล้ว ผมก็นึกอมยิ้มในใจว่า ทีแรกว่าจะแกล้งบอกว่า “ซิ่งแข่งกันอยู่ครับ”  ลำที่ผู้โดยสารเค้าเห็นมันอยู่ข้างล่าง ห่างออกไปเล็กน้อย แต่ก็เห็นชัดพอสมควร แต่ถ้าผู้โดยสารเห็นอีกลำหนึ่งที่อยู่บนหัวผมเนี่ย คุณผู้โดยสารท่านนั้นคงตกใจว่ามันบินใกล้กันจนเห็นชัดขนาดนี้เลย  ตั้งแต่มีเหตุการณ์เครื่องบินตก เครื่องบินหายสาบสูญ มีอุบัติเหตุบ่อย ๆ ในปี 2015 ทำให้ผู้โดยสารเป็นกังวลมากกว่าปกติประมาณ 17.89345% ตัวเลขสมมุติ อย่าจริงจังนะครับ กฏการบินมีข้อกำหนดเยอะมากมายครับ ผมอธิบายคร่าว ๆ แบบว่าให้เอาไว้คุยกันเล่น ๆ ได้นะครับ ปกติเครื่องบินขณะที่บินระดับในที่สูง ๆ (ไม่ใช่ตอนร่อนลงสนามหรือวิ่งขึ้นจากสนาม) เวลาที่บินไปเส้นทางเดียวกัน หรือเส้นทางที่อยู่ใกล้ ๆ กัน ถ้าบินด้วยความสูงระดับเดียวกันจะต้องบินห่างกัน 3-10 นาที (แล้วแต่ความสามารถของระบบการควบคุมจราจรทางอากาศ) หรือจะต้องบินด้วยความสูงต่างกัน […]

Obesity

Obesity passenger (อ้วน ๆ ๆ) มีคำถามนึงสงสัยมานานแล้ว ถามใครไม่ได้เพราะเป็นเรื่อง sensitive issue. “If there is a very big passenger, like 300-400 lbs or more, will that concern pilots about safety due to weight distribution? He/she will seat one side of the plane.”  สถานการณ์แบบนี้จะทำให้เครื่องบินเอียงไปข้างนึงป่าว แล้วมันจะทำให้บินยากขึ้นไหม? เคยเห็นแบบนั่งกิน 2 ที่เลยเพราะอีกคนนั่งไม่ได้ กรณีแบบนี้ pilot ทำไง?  เรื่องผู้โดยสารที่มีร่างกายขนาดใหญ่กว่าบุคคลทั่วไปมากนั้น มีข้อกำหนดเฉพาะ เราเรียกท่านผู้โดยสารไซส์เกินกว่ามาตรฐานมาก ๆ ว่า Obesity passenger ผู้โดยสารตัวอ้วนน้ำหนักมากไม่มีผลกับ balance ของเครื่องบิน หรือเรื่อง weight distribution ครับ แต่ถ้าเป็นสิ่งของที่โหลดใต้ท้องเครื่องและมีน้ำหนักมาก ๆ จะเรียกว่า Heavy cargo ซึ่งต้องมีข้อจำกัดเรื่องของ weight distribution ต่อพื้นที่ คือ ต้องคำนึงถึงน.น.ที่กดลงต่อตารางนิ้ว จึงอาจจะต้องมีถาดรองเพิ่มขึ้นมา เพื่อกระจายน้ำหนักต่อตารางนิ้วที่กดลงพื้น อะไรทำนองนั้นครับ […]

Power Bank ไฟไหม้

Power Bank ไฟไหม้ เมื่อประมาณเดือนมีนาคม 2558 เครื่องบินสายการบิน KLM Boeing B777 ลงจอดที่สนามบินสุวรรณภูมิ ระหว่างที่ผู้โดยสารกำลังจะลงจากเครื่องบินแล้วกระเป๋าสัมภาระของผู้โดยสารเกิดไฟลุกไหม้ขึ้น จากข่าวนั้น ยังไม่ยืนยันว่าต้นตอเกิดจากแบตเตอรี่สำรอง หรือ Power Bank จริงหรือไม่ ความเห็นส่วนตัวผมคิดว่ามีโอกาสเป็นไปได้ครับ คำถามคือว่า แล้วมันจะยังปลอดภัยอยู่หรือไม่ที่จะอนุญาตให้นำ Power Bank ขึ้นเครื่อง ขอบอกอย่างนี้ครับว่า Power Bank จะเป็นอันตราย ถ้าเป็นของที่มีคุณภาพต่ำ package ไม่ดี บุบ หรือ บวม หรือ แตก หากมีสภาพชำรุดก็มีโอกาสเกิดปัญหาได้ทุกเมื่อ ทาง IATA (The International Air Transport Association) ได้กำหนดข้อจำกัดเกี่ยวกับ Lithium Battery เอาไว้ ค่อนข้างชัดเจนและรัดกุมโดยแบ่ง การอนุญาตให้นำขึ้นเครื่องบินได้เป็น 2 แบบ คือ แบบที่สามารถนำติดตัวขึ้นเครื่องได้ กับแบบที่ ต้องบรรทุกเป็นสินค้าเท่านั้น เน้นคำว่า บรรทุกเป็นสินค้านะครับ  ไม่อนุญาตให้ใส่ในกระเป๋าสัมภาระของเราแล้วโหลดใต้ท้องเครื่องในทุกกรณี การที่ Lithium Battery ถูกกำหนดให้ไปใต้ท้องเครื่องได้ถ้าเป็นการบรรทุกเป็นสินค้านั้น เพราะว่า มีระเบียบปฏิบัติของบรรจุภัณท์เพิ่มเติม มี packing instruction เป็นการเฉพาะ มีการทำเครื่องหมาย labeling ที่ชัดเจน และ Lithium Battery บางประเภทถูกกำหนดให้บรรทุกเป็นสินค้า ได้เฉพาะกับ […]

0
0