Day: October 22, 2019

Obesity

Obesity passenger (อ้วน ๆ ๆ) มีคำถามนึงสงสัยมานานแล้ว ถามใครไม่ได้เพราะเป็นเรื่อง sensitive issue. “If there is a very big passenger, like 300-400 lbs or more, will that concern pilots about safety due to weight distribution? He/she will seat one side of the plane.”  สถานการณ์แบบนี้จะทำให้เครื่องบินเอียงไปข้างนึงป่าว แล้วมันจะทำให้บินยากขึ้นไหม? เคยเห็นแบบนั่งกิน 2 ที่เลยเพราะอีกคนนั่งไม่ได้ กรณีแบบนี้ pilot ทำไง?  เรื่องผู้โดยสารที่มีร่างกายขนาดใหญ่กว่าบุคคลทั่วไปมากนั้น มีข้อกำหนดเฉพาะ เราเรียกท่านผู้โดยสารไซส์เกินกว่ามาตรฐานมาก ๆ ว่า Obesity passenger ผู้โดยสารตัวอ้วนน้ำหนักมากไม่มีผลกับ balance ของเครื่องบิน หรือเรื่อง weight distribution ครับ แต่ถ้าเป็นสิ่งของที่โหลดใต้ท้องเครื่องและมีน้ำหนักมาก ๆ จะเรียกว่า Heavy cargo ซึ่งต้องมีข้อจำกัดเรื่องของ weight distribution ต่อพื้นที่ คือ ต้องคำนึงถึงน.น.ที่กดลงต่อตารางนิ้ว จึงอาจจะต้องมีถาดรองเพิ่มขึ้นมา เพื่อกระจายน้ำหนักต่อตารางนิ้วที่กดลงพื้น อะไรทำนองนั้นครับ […]

Power Bank ไฟไหม้

Power Bank ไฟไหม้ เมื่อประมาณเดือนมีนาคม 2558 เครื่องบินสายการบิน KLM Boeing B777 ลงจอดที่สนามบินสุวรรณภูมิ ระหว่างที่ผู้โดยสารกำลังจะลงจากเครื่องบินแล้วกระเป๋าสัมภาระของผู้โดยสารเกิดไฟลุกไหม้ขึ้น จากข่าวนั้น ยังไม่ยืนยันว่าต้นตอเกิดจากแบตเตอรี่สำรอง หรือ Power Bank จริงหรือไม่ ความเห็นส่วนตัวผมคิดว่ามีโอกาสเป็นไปได้ครับ คำถามคือว่า แล้วมันจะยังปลอดภัยอยู่หรือไม่ที่จะอนุญาตให้นำ Power Bank ขึ้นเครื่อง ขอบอกอย่างนี้ครับว่า Power Bank จะเป็นอันตราย ถ้าเป็นของที่มีคุณภาพต่ำ package ไม่ดี บุบ หรือ บวม หรือ แตก หากมีสภาพชำรุดก็มีโอกาสเกิดปัญหาได้ทุกเมื่อ ทาง IATA (The International Air Transport Association) ได้กำหนดข้อจำกัดเกี่ยวกับ Lithium Battery เอาไว้ ค่อนข้างชัดเจนและรัดกุมโดยแบ่ง การอนุญาตให้นำขึ้นเครื่องบินได้เป็น 2 แบบ คือ แบบที่สามารถนำติดตัวขึ้นเครื่องได้ กับแบบที่ ต้องบรรทุกเป็นสินค้าเท่านั้น เน้นคำว่า บรรทุกเป็นสินค้านะครับ  ไม่อนุญาตให้ใส่ในกระเป๋าสัมภาระของเราแล้วโหลดใต้ท้องเครื่องในทุกกรณี การที่ Lithium Battery ถูกกำหนดให้ไปใต้ท้องเครื่องได้ถ้าเป็นการบรรทุกเป็นสินค้านั้น เพราะว่า มีระเบียบปฏิบัติของบรรจุภัณท์เพิ่มเติม มี packing instruction เป็นการเฉพาะ มีการทำเครื่องหมาย labeling ที่ชัดเจน และ Lithium Battery บางประเภทถูกกำหนดให้บรรทุกเป็นสินค้า ได้เฉพาะกับ […]

Lying Sick passenger

Lying Sick passenger ผมได้มีโอกาสพาผู้โดยสารชาวอังกฤษ อายุ 68 ปี ป่วยเนื่องจากผ่าตัดช่องท้อง ลำไส้เน่าและกระเพาะปัสสาวะอักเสบเดินทางกลับบ้านที่ประเทศอังกฤษ ระหว่างอยู่บนเครื่องบินต้องนอนตลอดการเดินทาง มีทั้งหมอและพยาบาลติดตามมาดูแลอาการระหว่างบินด้วย สำหรับสายการบินก็ต้องมีการติดตั้งเตียงพิเศษเพื่อผู้โดยสาร เราเรียกเตียงนี้ว่า Stretcher แปลตามศัพท์หมอก็คือ เปล นั่นแหละครับ แต่นำมาติดตั้งยึดให้มั่นคงแข็งแรงบนเครื่องบิน ผมนำภาพตัวอย่างมาให้ชมนิดหน่อย บนเครื่องบินจะมีตำแหน่งที่ติดตั้งเปลนี้เป็นการเฉพาะ ซึ่งสำหรับเครื่องบิน B747-400 จะอยู่ที่บริเวณประตูหลังสุดด้านซ้าย เวลาจะขึ้น-ลงก็ต้องใช้รถพิเศษยกสูงขึ้นมาที่ประตูแล้วเข็นผู้โดยสารเข้าเครื่องบิน (ขึ้นก่อน ลงทีหลัง) คุณลุงแกต้องใช้ออกซิเจน 4 ลิตรต่อนาที ไปตลอดการเดินทาง 13 ชั่วโมง ทางสายการบินก็ต้องมีการเตรียมถังออกซิเจนเพิ่มสำหรับผู้โดยสาร (คิดเงินเพิ่ม) จริง ๆ บนเครื่องบินทุกลำ มีถังออกซิเจน สำหรับใช้กรณีมีคนป่วยกะทันหันอยู่แล้ว เราเรียกถังออกซิเจนนี้ว่า Portable Oxygen portable oxygen นั้นจะมีอยู่จำนวนมากพอเพียงสำหรับบริการผู้โดยสารในกรณีจำเป็นต่าง ๆ เช่น ช่วง Post Decompression Period (ช่วงเวลาหลังจากเครื่องบินสูญเสียระบบปรับความดัน) โดยให้ออกซิเจนสำหรับผู้โดยสารที่อาจจะหมดสติหรือยังมีอาการมึนงงอยู่ แต่กรณีนี้ รู้ล่วงหน้าว่าต้องใช้ออกซิเจนเยอะเป็นเวลานาน แบบกรณีนี้ ก็ต้องนำถัง oxygen ขึ้นมาเพิ่ม เพราะที่มีอยู่บนเครื่องเอาไว้ใช้กรณีฉุกเฉินเท่านั้น หลังจาก landing ที่ลอนดอน ผมก็ลงไปดูความเรียบร้อยอีกครั้งผมเข้าไปพูดคุยกับคุณหมอเล็กน้อย เพื่อสอบถามสภาพโดยทั่วไปของผู้โดยสารระหว่างการเดินทาง คุณหมอบอกว่าโดยทั่วไปไม่มีอะไรผิดปกติเพิ่มขึ้น คนไข้หลับสบายดีระหว่างเดินทาง ในกรณีแบบนี้ นักบินต้องพิจารณาเรื่องของ การลดระดับความสูง การ landing การลดความเร็ว (Braking) ต้องปราณีตและนุ่มนวลเป็นพิเศษ […]

ผู้โดยสารมาช้า กัปตันจะทำอย่างไร

ผู้โดยสารมาช้า กัปตันจะทำอย่างไร ตามความคิดและประสบการณ์ส่วนตัวนะครับ ชาติที่มีวินัยที่สุดในการขึ้นเครื่องบิน คือ ญี่ปุ่น ไฟล์ทไปหรือกลับจากญี่ปุ่น จะมีปัญหาเรื่องผู้โดยสารมาเครื่องช้าน้อยมาก การที่ผู้โดยสารมาช้า อาจจะเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น  ต่อเครื่องมาจากสถานีอื่น หลงทางอยู่ในสนามบิน ติดอยู่ที่กองตรวจคนเข้าเมือง (Immigration) ขึ้นผิดเครื่อง  (สมัยก่อนมีครับ สักสิบกว่าปีที่แล้ว ผู้โดยสารขึ้นเครื่องบินที่เขียน “เชียงใหม่” ที่ลำตัว เพราะนึกว่าเครื่องลำนี้ไปเชียงใหม่) มัวช้อปปิ้งเพลิน “หลับ” ระหว่างรอต่อเครื่อง ของีบสักแป๊ป ฯลฯ ปัญหาผู้โดยสารขึ้นเครื่องช้ามีหลายรูปแบบและหลายสาเหตุครับ พนักงานภาคพื้นที่เป็นคนดูแลคนและของขึ้นเครื่องบิน (Load Control หรือ Red Cap เพราะมักจะใส่หมวกแดงกัน) จะเป็นคนมารายงานก่อนพาผดส.ขึ้นเครื่องว่า วันนี้มีกรณีพิเศษอะไรบ้าง เช่น ผู้โดยสารจำนวนกี่คน ต่อไฟล์ทมาจากที่อื่น คาดว่าเครื่องจะลงกี่โมง จะเสียเวลาเท่าไหร่ ถ้าผู้โดยสารมาจากต่างประเทศก็ต้องผ่าน transit immigration  (อันนี้วุ่นวายมาก มีอยู่ช่วงหนึ่งโดยเฉพาะตอนเช้าเจ้าหน้าที่เปิดช่องตรวจน้อย เครื่องจากยุโรปของไทยก็จะลงตอนเช้า แล้วผดส.จำนวนมากจะต่อเครื่องไปภูเก็ต เชียงใหม่กัน แต่ต้องผ่านตม.ที่สุวรรณภูมิก่อน ทั้งๆที่ สามารถไปตรวจลงตราที่ปลายทางก็ได้ อันนี้ขั้นตอนกฏหมายไทย It a must ว่าต้องทำทั้ง 2 ที่หรือเปล่า ไม่รู้เขาแก้ไขกันหรือยัง แต่การเปิดช่องตรวจน้อยทำให้เครื่องดีเลย์กันมาก ก็ทำงานแบบไทย ไทย ไม่ค่อยใส่ใจว่าใครเขาจะเดือดร้อน “ทำอะไรตามใจ คือไทยแท้”) มีผู้โดยสารป่วย ที่ต้องดูแลพิเศษ ต้องใช้ Oxygen หรืออุปกรณ์เสริมใดบ้างและทำการ approved จากหน่วยงานที่รับผิดชอบแล้ว ว่าถูกต้องตามกฏสามารถนำขึ้นเครื่องได้ […]

หูอื้อ

หูอื้อ มีคำถามจากเพื่อนสมัยเรียนมัธยมเขียนถามมาในเฟสบุ๊คว่า “ขึ้นเครื่องจากดอนเมืองไปอุดรรู้สึกหูอื้อช่วงเครื่องขึ้นสักพักก็หาย แต่พอไปได้สักครึ่งทางก็หูอื้อ บางช่วงรู้สึกปวดแก้วหู เราไม่พกหมากฝรั่งเลยใช้วิธีเคี้ยวปาก จนกระทั่งเครื่องลงก็ไม่หาย  กลับถึงบ้านแล้ว 5-6 ชม.ค่อยดีขึ้น  ปกติขึ้นเครื่องก็ไม่เคยเป็นขนาดนี้นะ จะเป็นเฉพาะเครื่องบินต่างระดับเท่านั้น แต่ครั้งนี้รู้สึกมากขนาดปวดหู ถามน้องที่ไปด้วยก็บอกว่าไม่มีอาการ อยากทราบว่าอาการที่เกิดขึ้นเป็นที่ตัวเราเองรึเปล่าคะ” ขอตอบแบบใช้ความรู้ของนักบินนะครับ อาการหูอื้อมักเกิดขึ้นช่วงเครื่องบินลดระดับ มากกว่าช่วงเครื่องบินไต่ระดับความสูงขึ้น ช่วงบินขึ้น อากาศภายในห้องโดยสารจะเบาบางลง ความดันอากาศภายในหูจะค่อย ๆ ปรับได้ไม่ยาก ช่วงที่เครื่องบินลดระดับ จะมีการอัดอากาศเข้าในห้องโดยสารเพื่อเพิ่มความกดอากาศให้สัมพันธ์กับความดันอากาศที่อยู่ที่พื้นเมื่อเครื่องบินแตะพื้น หูชั้นในจะต้องปรับความดันเพื่อให้อากาศเข้าไปด้วย ไม่อย่างนั้นจะมีความต่างของความดันเพิ่มขึ้นจะเกิดความรู้สึกหูอื้อ และอาจถึงขั้นปวดหู หากไม่ปรับความดันของหูชั้นในเลยอาจทำให้หูชั้นในได้รับบาดเจ็บฉีกขาดได้ โดยปกติร่างกายจะพยายามปรับตัวอยู่แล้ว และจะส่งสัญญาณเตือนให้เรารู้ด้วยอาการหูอื้อดังนั้น ผมแนะนำว่า การกลืนน้ำลาย หรือการเคี้ยวหมากฝรั่ง ช่วยได้ ถ้าใครกระดิกหูได้ก็ลองทำดูครับ ช่วยเปิดอากาศให้ถ่ายเทเข้าสู่หูชั้นในได้เช่นกัน  หากเริ่มหูอื้อ จนรู้สึกว่า มีแรงกดเข้าที่หู อาจจะต้องใช้วิธีการที่เรียกว่า Valsalva Valsalva คือ การที่เราหายใจเข้าลึก ๆ แล้วใช้มือบีบจมูกและเม้มปากไว้ หลังจากนั้นให้ทำเหมือนพยายามเป่าลมออกมา เราจะได้ยินเสียง Air Pop ที่หูของเรา อาจจะต้องทำหลาย ๆ ครั้ง หากยังมีอาการหูอื้ออยู่ ขึ้นเครื่องบินบางครั้ง เป็นบางครั้งไม่เป็น หรือไม่เกิดอาการหูอื้อ อาจจะอยู่ที่ร่างกายของเราด้วยครับ เช่น คนเป็นหวัด หรือมีอาการอักเสบของแก้วหู ที่มีอาการบวมของหูชั้นในอยู่ จะทำให้ความสามารถในการปรับความดันของหูลดลง อาจจะทำให้เกิดอาการหูอื้อ หรือหูดับไปได้หลายชั่วโมง คนที่เป็นอาการหนัก ๆ อาจจะเป็นวัน ๆ แล้วอยู่ดี ๆ ก็จะได้ยินเสียง “Air Pop” […]

0
0