Day: October 22, 2019

มาตรฐานการบินคืออะไร

มาตรฐานการบินคืออะไร เป็นเรื่องยากที่จะเขียนสรุปอย่างสั้นๆเพื่อที่จะอธิบายให้ครอบคลุมความหมายของคำว่า “มาตรฐานการบิน” หรือ “Flight Standards” ความเห็นส่วนตัวผม ถ้าจะพูดให้ง่ายเข้าไว้ ใช้ภาษาชาวบ้านเพื่อให้เกิดความเข้าใจ คำว่า “มาตรฐานของการบิน” หรือ “flight standards” นั้นเป็นคำกลาง ๆ ที่ใช้เพื่อบ่งบอกว่า การทำการบินนั้นอยู่ในกรอบอ้างอิงหนึ่งที่สากลบัญญัติหลักเกณฑ์เอาไว้ร่วมกัน (reference) หรือไม่ หากการกระทำหรือการปฏิบัติการใดๆ ไม่มีข้อกำหนดหลักปฏิบัติเอาไว้ การกระทำนั้นจะเรียกว่า ไม่มีมาตรฐาน ไม่ได้ ดังนั้น ในทางปฏิบัติ จึงต้องมีกำหนดวิธีการกระทำหรือกำหนดให้กระทำและรายละเอียดอื่นๆ ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเอาไว้ และผู้ปฏิบัติต้องยึดหลักเกณฑ์ที่สอดคล้องกับพื้นฐานจากบทบัญญัติที่ได้มีการตกลงร่วมกันดังกล่าวไว้แล้ว จึงจะเรียกได้ว่า มีมาตรฐาน จากคำนิยาม (ของผมเอง) ข้างต้น จึงนำไปสู่การกำหนดหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติในแทบทุกๆเรื่อง(ที่จำเป็น)เอาไว้เพื่อเป็นตัวบ่งชี้หรือชี้วัดความมีมาตรฐานในเรื่องนั้นๆ ของผู้ปฏิบัติ และนั่นคือการถือกำเนิดขึ้นขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) เพื่อเป็นเวทีในการร่วมถกปัญหา ข้อดี ข้อเสีย ของเรื่องใดๆ ที่มีนัยสำคัญต่อการบิน และทำการตกผลึกร่วมกันของนานาประเทศ จึงจะประกาศสรุปหลักเกณฑ์กลางๆ เพื่อไว้ใช้อ้างอิง โดยที่แต่ละประเทศอาจเพิ่มเติมบทบัญญัติอื่นๆ ที่เป็นการเฉพาะส่วนเอาไว้ (filed difference to ICAO) เนื่องจากเห็นความสำคัญในแง่ของลักษณะเฉพาะของพื้นที่หรือเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยประเทศนั้นๆและยังไม่ได้ถ่ายทอดไปในระดับสากล มาตรฐานการบิน เป็นเรื่องสำคัญ เพราะเป็นการบัญญัติวิธีการปฏิบัติ หรือวิธีการบิน หรือวิธีการวางแผนการบิน หรือวิธีการให้ข้อมูล หรือวิธีการซ่อมบำรุง ฯลฯ รวมถึงกำหนดการต่าง ๆ ในการที่จะปฏิบัติสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น โดยทั้งหมดทั้งมวลเพื่อเป็นการตีกรอบให้ทุก ๆ วิธีการปฏิบัตินั้น อยู่ในกรอบมาตรฐานที่บ่งบอกหรือมีนัยสำคัญว่า จะสามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย โดยสรุปง่าย ๆ ตามความคิดผมนะครับ  […]

Flying Big 747

Flying Big 747 คำว่า cockpit หมายถึงห้องบังคับหรือห้องควบคุมเครื่องบินหรือห้องนักบินครับ ในภาพหน้าปกคือ Cockpit ของเครื่องบินโบอิ้ง 747-400 ภาพข้างบนนี้คือ เครื่องบินโบอิ้ง 747 ชื่อเล่น จัมโบ้ ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ปี 1969 เป็นเครื่องบินของบริษัท Boeing ที่ได้รับความนิยมมาตั้งแต่รุ่นซีรีส์ B747-200/300 จนกระทั่งเปลี่ยนมาเป็น B747-400 ซึ่งเป็นเครื่องบินที่ใช้ two-man crew ใช้นักบินควบคุมเพียง 2 คน และใช้ระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาควบคุมการทำงานของเครื่องบินแทนนักบินที่ 3 หรือ System Operator โดยมีการเปลี่ยนแปลงภายในของห้องนักบิน หรือ Cockpit เป็นระบบการแสดงภาพที่เป็นการสร้างสัญญาณภาพ ซึ่งในซีรีส์ 300 ยังเป็นระบบการแสดงสภาพและเครื่องวัดประกอบการบินต่าง ๆ ที่ยังเป็นการทำงานในระบบ analog B747 ยังเป็นเครื่องบิน wide-body aircraft รุ่นแรกที่มีห้องโดยสารสองชั้น (double-deck) ในปัจจุบัน B747 ได้ถูกพัฒนา เป็น B747-8 ส่วนใหญ่เรียกติดปากว่า 747-800 แต่ Boeing ออกชื่อรุ่นจริง ๆ ว่า B747-8  ซึ่งพัฒนาเทคโนโลยี fly-by-wired แบบเดียวกับ B777 และ B787 B747-400 ถือเป็นเครื่องบินรุ่นยอดนิยมรุ่นหนึ่งของบริษัทโบอิ้ง B747 ทุกซีรีส์จนถึงปัจจุบันถูกผลิตมากกว่า 1500 ลำ สายการบินที่มี Boeing B747 […]

Safest seat

Safest seat  ที่นั่งตรงไหนที่ปลอดภัยที่สุดในห้องโดยสาร  คุณรู้หรือไม่ ที่นั่งตรงไหนที่ปลอดภัยที่สุดหากเครื่องบินมีอุบัติเหตุ บางคนอาจบอกว่าที่ปีก เพราะมีโครงสร้างที่แข็งแรงมากที่สุด บางคนคิดว่าน่าจะเป็นส่วนหัวของเครื่องบิน เพราะอยู่ใกล้นักบินและน้อยคนจะคิดว่าส่วนท้ายเพราะส่วนใหญ่มักคิดว่าท้ายเครื่องเล็กและคับแคบ สถิติการรอดชีวิตของผู้โดยสารจากอุบัติเหตุของเครื่องบิน ที่นั่งท้ายเครื่องบินมีอัตราผู้รอดชีวิตสูงที่สุด (Survival rate) คือ 69% (ภายในบริเวณสีเขียวด้วยกัน) และที่นั่งด้านหัวเครื่องบินมีอัตราผู้รอดชีวิตต่ำที่สุด 49% บริเวณนี้สายการบินและเครื่องบินส่วนใหญ่มักจะเป็นที่นั่งสำหรับชั้น First Class และ Business Class  ที่นั่งบริเวณปีกเครื่องบินมีอัตราผู้รอดชีวิตปานกลาง การที่อัตราผู้รอดชีวิตน้อยทีสุดที่บริเวณส่วนหัวของเครื่องบิน เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุ บริเวณส่วนหัวคือส่วนที่รับแรงกระแทกมากกว่าส่วนอื่น เพราะเป็นส่วนหน้าสุดของเครื่องบิน ซึ่งมักจะเป็นทิศทางที่เครื่องบินจะไถลไป บริเวณกลางลำตัวนั้น แม้โครงสร้างของเครื่องบินจะแข็งแรงที่สุด เพราะเป็นส่วนที่ต้องรับน้ำหนักของเครื่องบินแทบทั้งหมด แต่อันตรายจากบริเวณส่วนกลางลำตัวเวลามีอุบัติเหตุคือเป็นที่เก็บน้ำมันเชื้อเพลิง และทางออกจากเครื่องบินจะอยู่ในแนวของเครื่องยนต์ที่อาจมีปัญหามีไฟลุกไหม้อยู่เมื่อตอนมีอุบัติเหตุ ส่วนท้ายของเครื่องบิน เหมือนจะเป็นโครงสร้างที่บอบบางที่สุด เวลานั่งเครื่องบินด้านท้ายสุด จะไม่ค่อยสะดวกสบายเท่าด้านหน้าสุด เพราะบริเวณส่วนท้ายอยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางด้านแอโรไดนามิกส์ (mean aerodynamic cord)ของเครื่องบินมากกว่าส่วนอื่น จึงมีการเคลื่อนที่มากกว่าเวลาเครื่องบินเข้าบริเวณที่มีสภาพอากาศแปรปรวน แต่ทำไมอัตราการรอดชีวิตในบริเวณนี้จึงสูงกว่าที่อื่น นั่นเป็นเพราะว่า หากเกิดการกระแทก (impact) บริเวณนี้มักจะไม่ใช่จุด impact หรือ impact หลังสุด แรงกระแทกมันลดลงเยอะแล้ว เอาเป็นว่ามันเป็นส่วนท้าย ๆ สุดที่จะสัมผัสพื้นในกรณีฉุกเฉินต่าง ๆ ยกเว้น กรณีเอาหางแตะพื้นก่อนเพราะเครื่องบินผิดท่าทาง (unusual attitude)และร่วงลงกระแทกพื้น ถ้าเป็นการ landing โดยหางสัมผัสพื้นก่อน (tail strike) โดยไม่รุนแรงมาก เครื่องบินไม่เป็นไรนะครับ แต่จะทำการบินต่อไม่ได้ จนกว่าจะมีการตรวจสอบสภาพโครงสร้างของเครื่องบินทั้งลำใหม่ หากเลวร้าย tail strike ขั้นรุนแรง […]

Flying Phobia

Flying Phobia ปัญหาของผู้ที่รู้สึกกลัวการขึ้นเครื่องบินมาก แต่จำเป็นต้องเดินทางบ่อยๆ “โดยเฉพาะเที่ยวบินต้องบินไกลเป็นสิบชั่วโมงจะยิ่งรู้สึกกลัวมาก” “จะใช้ยานอนหลับได้หรือไม่  เพื่อจะได้หลับไปเลยระหว่างเดินทาง  ไม่ต้องรู้สึกเป็นกังวล” อาการกลัวเครื่องบินที่เรียกว่า flying phobia, flight phobia, หรือ aerophobia นั้น คือ ความรู้สึกเป็นกังวล มีอาการหวาดระแวง กลัว มือสั่น เหงื่อแตก รู้สึกอึดอัด หายใจไม่สะดวก ยิ่งเครื่องสั่นหรือตกหลุมอากาศจะยิ่งทำให้มีอาการเหล่านั้นเพิ่มขึ้น บางคนเคยขึ้นเครื่องบินมาแล้ว ไม่ได้รู้สักกังวลหรือหวาดกลัว แต่ภายหลังมาเจอเครื่องบินตกหลุมอากาศ หรือมีเหตุฉุกเฉินมีความรุนแรง หรือการเสพข่าวเกี่ยวกับอุบัติเหตุหรืออุบัติการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเครื่องบินมากเกินไป จึงทำให้เกิดความไม่มั่นใจ  การแก้ปัญหาเรื่องการกลัวการขึ้นเครื่องบินนั้นดูเหมือนจะเป็นปัญหาที่เป็นเฉพาะบุคคลและขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่ผ่านมาของคนๆนั้นด้วยว่า สาเหตุที่ไม่อยากขึ้นเครื่องเกิดจากอะไรถ้าเคยขึ้นเครื่องบินมาก่อน แล้วมากลัวทีหลัง แสดงว่า ได้รับประสบการณ์ไม่ดีจนเกิดความกังวล เรื่องที่นั่งบนเครื่องบินก็อาจมีส่วนเช่นกันครับ ที่นั่งที่คับแคบของชั้นประหยัด อาจทำให้รู้สึกไม่สบายตัว และไม่สามารถพักผ่อนได้ในระหว่างที่ต้องเดินทางไกล ๆ ไม่สามารถหลับได้ เหมือนต้องตื่นอยู่ตลอด บรรยากาศภายในห้องโดยสารก็มีส่วน คนที่ไม่ชอบที่แคบ เมื่อเดินทางในชั้นโดยสารที่แออัด ก็จะรู้สึกอึดอัด หายใจไม่สบายและเริ่มหงุดหงิด เมื่อเครื่องบินบินผ่านสภาพอากาศแปรปรวนเล็กน้อย ก็จะยิ่งทำให้รู้สึกเป็นกังวล ตัวระบบสันทนาการบนเครื่องบิน (Inflight Entertainment :IFE) ช่วยได้ระดับหนึ่งครับ หาภาพยนต์ ดนตรี หรือเกมส์ที่ช่วยให้ผ่อนคลายระหว่างการเดินทางเป็นทางออกที่ดีกว่าการใช้ยานอนหลับ การใช้ยานอนหลับ แม้ว่าจะยังไม่มีกฏหมายบังคับใช้กับผู้โดยสาร แต่โดยส่วนตัวผมไม่สนับสนุนนะครับ การใช้ยานอนหลับหรือยากล่อมประสาทประเภทต่าง ๆ ทั้งนักบินและพนักงานต้อนรับมีกฏบังคับใช้ว่ายาตัวไหนใช้ได้ ตัวไหนใช้ไม่ได้ ยานอนหลับต้องทานก่อนมาทำการบินไม่น้อยกว่าช่วงเวลาหนึ่ง เช่น 12, 18, 24 ชม.หรือมากกว่านั้น เป็นต้น  “ไม่เห็นด้วยที่จะใช้ยานอนหลับ ระหว่างเดินทางโดยเครื่องบิน” […]

บินใกล้กันเกินไปหรือเปล่า

บินใกล้กันเกินไปหรือเปล่า ครั้งหนึ่งเมื่อประมาณต้นปี 2558 ผมบินกลับจากลอนดอนเข้ากรุงเทพฯ มีสจ๊วตโทรขึ้นมา ที่ cockpit จากชั้นล่าง (main deck) ระหว่างที่เครื่องบินกำลังบินระดับอยู่ที่ความสูง 34000 ฟุต สจ๊วต : “ฮัลโหล กัปตันครับ” ผม : “ครับ” สจ๊วต : “ผู้โดยสารเฟิร์สคลาส (บอกเลขที่นั่งมาด้วยแต่ผมไม่ได้จำ) ผู้โดยสารมองไปนอกหน้าต่างแล้วเห็นเครื่องบินอีกลำ เค้าถามว่ามันใกล้เครื่องเรามากเกินไปหรือเปล่าครับ” ผม: “อ๋อ ครับ บอกผู้โดยสารนะครับว่า ผมมองเห็นอยู่ตลอด ไม่เป็นไรนะครับ บินอยู่คนละระดับความสูง ต่างกัน 2000 ฟุตครับ  เป็นปกตินะครับ ไม่ต้องกังวล”  หลังจากที่วางสายไปแล้ว ผมก็นึกอมยิ้มในใจว่า ทีแรกว่าจะแกล้งบอกว่า “ซิ่งแข่งกันอยู่ครับ”  ลำที่ผู้โดยสารเค้าเห็นมันอยู่ข้างล่าง ห่างออกไปเล็กน้อย แต่ก็เห็นชัดพอสมควร แต่ถ้าผู้โดยสารเห็นอีกลำหนึ่งที่อยู่บนหัวผมเนี่ย คุณผู้โดยสารท่านนั้นคงตกใจว่ามันบินใกล้กันจนเห็นชัดขนาดนี้เลย  ตั้งแต่มีเหตุการณ์เครื่องบินตก เครื่องบินหายสาบสูญ มีอุบัติเหตุบ่อย ๆ ในปี 2015 ทำให้ผู้โดยสารเป็นกังวลมากกว่าปกติประมาณ 17.89345% ตัวเลขสมมุติ อย่าจริงจังนะครับ กฏการบินมีข้อกำหนดเยอะมากมายครับ ผมอธิบายคร่าว ๆ แบบว่าให้เอาไว้คุยกันเล่น ๆ ได้นะครับ ปกติเครื่องบินขณะที่บินระดับในที่สูง ๆ (ไม่ใช่ตอนร่อนลงสนามหรือวิ่งขึ้นจากสนาม) เวลาที่บินไปเส้นทางเดียวกัน หรือเส้นทางที่อยู่ใกล้ ๆ กัน ถ้าบินด้วยความสูงระดับเดียวกันจะต้องบินห่างกัน 3-10 นาที (แล้วแต่ความสามารถของระบบการควบคุมจราจรทางอากาศ) หรือจะต้องบินด้วยความสูงต่างกัน […]

0
0