Day: October 22, 2019

Walk Around Check by Pilot

Walk Around Check by Pilot Walk around check คือ การเดินตรวจสภาพกายภาพของเครื่องบินโดยนักบินก่อนทำการบินปกติในทุกๆเที่ยวบิน เป็นการตรวจความพร้อมของเครื่องบินก่อนออกเดินทาง  ก่อนออกเดินทางทุกครั้ง ทุกเที่ยวบิน เครื่องบินจะต้องได้รับการตรวจเช็คสภาพความพร้อมทั้งภายนอกและภายในด้วยการตรวจเช็คการทำงานของระบบต่างๆ ทั้งจาก ช่างเทคนิค (Licensed Aircraft Engineer) นักบิน และพนักงานต้อนรับ โดยแบ่งความรับผิดชอบในการตรวจสอบแตกต่างกันไป โดยกัปตันเป็นคนตรวจรับความพร้อมของเครื่องบินก่อนทำจะอนุญาตให้ทำการนำผู้โดยสารขึ้นเครื่องบิน (Passenger Boarding)  ทุกๆ ครั้งที่เครื่องบินเข้ามาจอด ช่างต้องต้องทำการตรวจสภาพภายนอกของเครื่องบินในทันทีที่เครื่องบินจอดสนิทและดับเครื่องยนต์แล้ว ส่วนนักบินที่นำเครื่องบินเข้าจอดจะเขียนรายงานสภาพของระบบการทำงานต่างๆว่ามีระบบใดที่ทำงานผิดพลาด ผิดปกติ หรือไม่ทำงานหรือไม่ โดยบันทึกลงใน สมุดปูมเดินทาง (Aircraft Log) ชึ่งจะบอกรายละเอียดของข้อบกพร่องต่างๆในแต่ละระบบที่เกิดขึ้นระหว่างเที่ยวบิน เพื่อที่ทางช่างจะได้ทำการซ่อมบำรุงให้มีความสมบูรณ์พร้อมก่อนที่จะออกเดินทางอีกครั้งหนึ่ง ระหว่างที่เครื่องจอดพักนั้น ก็คือช่วงเวลาในการทำงานของช่างเทคนิคในแต่ละส่วนที่จะเข้าตรวจสอบระบบของเครื่องบิน ถึงแม้ว่านักบินอาจไม่ได้ลงบันทึกข้อบกพร่อง (snag) ไว้ใน Aircraft Log ทางช่างก็ต้องทำการตรวจสอบตามรายการ (checklist) ที่ต้องทำทุกครั้งก่อนเครื่องขึ้นบิน โดยทุก ๆ 24 หรือ 48 ชั่วโมง ต้องมีการตรวจสอบใหญ่หนึ่งครั้งเสมอ

เครื่องยนต์ดับ

เครื่องยนต์ดับ ให้เดาสาเหตุที่ทำให้เครื่องยนต์ดับกลางอากาศ พร้อม ๆ กันหลายเครื่องยนต์ เน้นว่า พร้อม ๆ กันหลายเครื่องยนต์อย่างกรณีของสิงคโปร์แอร์ไลน์ SQ836 ที่มีข่าวออกมาว่า เครื่องยนต์ดับที่ความสูง 39000 ฟุต แล้วติดเครื่องยนต์ขึ้นใหม่ได้ที่ความสูง 13000 ฟุต ด้วยความเห็นส่วนตัว การที่เครื่องยนต์ดับพร้อม ๆ กันนั้นไม่น่าเกิดจาก mechanical failure ของตัวเครื่องยนต์เอง เพราะโอกาสที่จะเกิดความผิดปกติจากกลไกของเครื่องยนต์พร้อม ๆ กันเกินกว่าหนึ่งเครื่องยนต์เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นยากมากในทางสถิติ ระบบอื่น ๆ ที่มีโอกาสทำให้เกิดเครื่องยนต์ดับพร้อม ๆ กันก็มี แต่ก็ยากมากที่จะเกิดแบบนั้นเช่นกัน ระบบน้ำมัน (fuel) ระบบน้ำมันนั้น มี back-up ในตัวระบบจ่ายน้ำมันอยู่หลายชั้น เรียกว่า มี Redundancy ในตัวระบบเยอะ รวมทั้งหลักการแยกจ่ายน้ำมันด้วย pressure pump ของแต่ละเครื่องยนต์ ถ้าระบบของเครื่องยนต์หนึ่งมีปัญหา ระบบของอีกเครื่องยนต์หนึ่งก็สามารถจ่ายทดแทนได้ หรือแม้กระทั่ง ระบบ pressure pump เสียหมด ก็ยังสามารถเป็น gravity feeding (เฉพาะเครื่องยนต์ที่อยู่ต่ำกว่าถังน้ำมัน เครื่องบางรุ่นมีเครื่องยนต์อยู่สูงกว่าถังน้ำมัน จะพึ่งพาระบบ gravity feeding ไม่ได้) แต่ถ้าเป็นปัญหาจากตัวน้ำมันที่สกปรก (contaminated) จนทำให้ไส้กรองน้ำมันเกิดตัน ก็ไม่น่าจะใช่ เพราะระบบจะเตือนว่า “Fuel Filter” มีปัญหา ซึ่งกรณีนี้ นักบินต้องรีบหาสนามบินใกล้ ๆ เพื่อลงจอดให้เร็วที่สุดก่อนเครื่องยนต์จะมีปัญหา  ดังนั้นถ้าเป็นกรณี […]

Airmanship ฉบับโสภณ

Airmanship ฉบับโสภณ คำว่า Airmanship แปลตามพจนานุกรม หมายถึง ทักษะ ความรู้ ประสบการณ์ และวิธีการทำงานที่ทำให้การควบคุมเครื่องบินมีความปลอดภัย อันนี้ผมพยายามแปลตรง ๆ ดู ตามหนังสือเขาว่าไว้ว่า Airmanship ประกอบไปด้วย 3 ส่วนคือ ทักษะในการทำงานและรวมถึงความรู้ในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการบิน (Skill) ความเชี่ยวชาญหรือประสิทธิภาพในการทำงาน รวมถึงความสามารถในการนำความรู้ไปใช้งาน (Proficiency) และความมีระเบียบวินัยในการปฏิบัติงาน (Discipline) ผมว่าเขียนตามหลักวิชามันน่าเบื่อ เหมือนเอาหนังสือมาแปลให้อ่าน เขียนตามความเข้าใจและที่อยากให้คนอ่านเข้าใจดีกว่า (ว่าแล้วก็ปิดตำรา และมาต่อกันที่ความเข้าใจส่วนตัวละกันครับ) ถ้าจะให้อธิบายความหมายจากความรู้สึกส่วนตัวจริง ๆ ไม่อิงตำราหรือหนังสือที่ไหน Airmanship ผมขอแปลว่า  “กึ๋น” ครับ สั้น ๆ เลย Airmanship มันคือ กึ๋นในการทำงานของนักบิน มันเป็นตัวบอกว่า นักบินคนนั้น เป็นนักบินที่ดีหรือไม่ มีการทำงานที่มีช่องโหว่แห่งอุบัติเหตุหรือไม่ จริง ๆ การบินเป็นอะไรที่ง่ายและไม่ซับซ้อน ถ้ารู้และเข้าใจ รวมทั้งรู้ศักยภาพของตัวเองด้วย (อันสุดท้ายนี่สำคัญมาก) การบินเพื่อให้ทุก ๆ เวลามีความเสี่ยงภัยน้อยที่สุด หรือลดดีกรีความรุนแรงของปัญหาให้เร็วที่สุดและมากที่สุด การบินเป็นเรื่องที่ไม่ง่าย และมีความซับซ้อนมากที่สุดเช่นกัน โดยเฉพาะกับนักบินที่ยังขาด Airmanship ที่ดี และอีกพวกคือพวกที่มีความมั่นใจไร้สติ (Overconfidence) พวกนี้มีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุมากที่สุด เพราะอาจจะทำอะไรที่เป็นการแหกกฏ โดยรู้อยู่แก่ใจ หรือบางกรณีคือ ไม่รู้ (โง่) แต่ก็ยังทำลงไปได้เพราะมั่นใจว่าฉันทำได้ การรู้น้อย ไม่ผิดครับ แต่รู้น้อยแล้วดันทะลึ่งไม่ยอมรับสภาพตัวเอง อันนี้มีความเสี่ยงเกิดขึ้นมากทันที การบิน เป็นเรื่องของการตัดสินใจในการทำงาน การตัดสินใจในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าหรือ การตัดสินใจที่จะพาตัวเองออกจากปัญหา การยอมรับปัญหาด้วยการ terminate mission นั้น ๆ […]

Wet Wet Wet

Wet Wet Wet พื้นเปียก ก็ลื่นเป็นเรื่องธรรมดา เรามักได้ยินคำว่า  Slippery when wet กันบ่อย ๆ  สนามบินเปียก เรียกว่า Wet Runway พื้นสนามบินเปียกนั้น จึงมีผลทำให้ระบบเบรคมีประสิทธิภาพลดลง บางสนามบินจึงทำพื้น runway ให้เป็นร่องเพื่อรีดน้ำออกได้เร็วขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพในการเบรคไปด้วยพร้อมกัน เราเรียกพื้นสนามบินแบบนั้นว่า grooved runway (pavement) แต่ก็มีบางกรณีที่ทำให้ระบบเบรคทำงานได้ไม่มีประสิทธภาพเลย พูดง่าย ๆ เบรคจนล้อล๊อคเครื่องบินก็ไม่ลดความเร็ว  ค่อย ๆ อ่านตามไปเรื่อย ๆ ครับ เครื่องบินจะมีระบบป้องกันล้อล๊อค เรียกว่า Anti-Skid System นอกจากช่วยป้องกันล้อล๊อคแล้ว ยังป้องกันการลดความเร็วไม่เท่ากันของล้อที่อยู่คู่กันและทุกล้อที่อยู่ในชุดเดียวกัน (Skidding) ล้อเครื่องบินนั้น เป็นพวงรวมกัน 2-6 ล้อ ต่อหนึ่ง Landing Gear อย่าง B747 จะมี Landing Gear ทั้งหมด 5 พวง 1 ที่ส่วนหน้า (Nose Gear) 4 ที่บริเวณลำตัว (2 Body & 2 Wing Gear) ล้อหน้า Nose Gear มักมี 2 ล้อ และเล็กกว่าล้อที่ช่วงลำตัว ล้อที่ช่วงลำตัวต้องรับน้ำหนักและแรงกระแทกมากจึงมีขนาดใหญ่กว่าและมีจำนวนยางมากกว่า […]

1 3 4 5
0
0