นกแอร์ไถลออกนอกทางวิ่งที่สนามบินเชียงราย

30Jul2022

เครื่องบินของสายการบิน Nok Air  เที่ยวบินที่ DD108 จากท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง กรุงเทพฯ ไปยังท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวงเชียงราย  ผู้โดยสาร 163 คน และลูกเรือ 6 คน

เครื่องบินโบอิ้ง 737-800 หมายเลขทะเบียน HS-DBR ออกเดินทางจากสนามบินดอนเมืองไปสนามบินเชียงราย 

ประสบอุบัติเหตุไถลออกนอกรันเวย์ขณะลงจอด

รายงานสภาพอากาศในช่วงเวลาที่เกิดเหตุ 

กระแสลมความเร็ว 6 น็อต ทัศนวิสัย 5 กิโลเมตร มีเมฆปกคลุมเล็กน้อยแต่เป็นเมฆฝนฟ้าคะนองที่ความสูง 1800 ฟุต และเมฆปกคลุมหนาแน่นที่ความสูง 3000 ฟุต 4900 ฟุต อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ความกดอากาศ 1008 โดยมีการพยากรณ์ชั่วระยะสั้นในช่วงเวลาว่าจะมี พายุฝนฟ้าคะนองบริเวณสนามบิน

VTCT 301400Z 33006KT 5000 -TSRA FEW018CB SCT018 BKN030 OVC049 25/25 Q1008 TEMPO 2000 TSRA

เฟสบุ๊คของผู้โดยสารที่อยู่บนเที่ยวบินดังกล่าว

https://www.facebook.com/100028298052461/posts/1056432065310052/?d=n

“ตอนนี้ออกจากเครื่องได้แล้วนะทุกคน ปลอดภัยดีจ้าไม่ได้รับบาดเจ็บอะไร ถ้าคนบนเครื่องไม่บ่นว่าหายใจไม่ออก ไม่รู้จะได้ออกมาเมื่อไหร่ ผู้โดยสารบอกขอไปรอข้างนอกได้ไหม หายใจไม่ออก หน.แอร์ก็บอกต้องรอเป็นกฎของการท่าห้ามไปยืนบนรันเวย์ แล้วตอนนี้ฝนตก กลัวผู้โดยสารจะเปียก ทุกคนพร้อมใจกันบอกไม่กลัวเปียกจ้า หายใจไม่ออก ติดมาชั่วโมงนึงแล้ว คนได้ออกไม่ถึง 20 คน การจัดการแย่มากกกก ช้ามากกกกก ทางออกมีทางเดียว คนในเครื่อง 164 คน แอร์แจ้งว่ารอรถบัสมารับ โทรแจ้งตั้งแต่เครื่องลงแล้ว ผ่านไปเป็นชั่วโมงมีรถตู้เวียนรับคันสองคัน สักพักทนเสียงบ่นไม่ไหว ให้สไลด์ออกมา คนร้อยกว่าคนก็สไลด์ออกมาแปบเดียวก็หมด งงว่าก่อนหน้ารออะไรนานจัง นี่ออกมาจะถึงอาคารแล้วรถบัสเพิ่งไป ถ้าไฟไหม้เครื่องนี่คงไม่รอดละ เรารู้นะว่าเป็นอุบัติเหตุใครก็ไม่คาดคิด แต่แผนการจัดการอพยพผู้โดยสารแย่มาก ช้ามากกกกกกกกกกก”

การไถลออกนอกรันเวย์ มีศัพท์ภาษาการบินว่า Runway Excursion

ศัพท์การบิน

สำหรับสาเหตุของเหตุการณ์ต้องรอการสืบสวนสอบสวนจากคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ร้ายแรงครับ

ภาพจากเฟสบุ๊ค GATC Thailand

Added 5Aug22

คลิปที่ผู้โดยสารถ่ายขณะติดอยู่บนเครื่องบินที่เกิดอุบัติเหตุ
เรื่องเล่าเช้านี้ ผู้โดยสารโวย นกแอร์จัดการแย่สุดๆ

(1Aug22) CAAT สอบสาเหตุ/ปฏิบัติการกรณีเครื่องบินไถลออกนอกทางวิ่งกำชับสนามบิน/สายการบินเร่งคลี่คลายสถานการณ์ เน้นดูแลผู้โดยสารที่ได้รับผลกระทบจากการปิด ทชร. ชุดปฏิบัติการกู้อากาศยานเข้าถึงพื้นที่แล้ว คาดเปิดใช้งานได้ตามปกติ 4 ส.ค. นี้

ความคืบหน้าการเคลียร์พื้นที่เกิดเหตุของเครื่องบินสายการบินนกแอร์ที่ประสบเหตุไถลออกนอกทางวิ่ง (Runway Excursion) ขณะที่นักบินกำลังนำเครื่องบินลงจอด ณ ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวงเชียงราย (ทชร.) และการให้ความช่วยเหลือผู้โดยสารที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) ได้ติดตามการดำเนินงานของสายการบินและสนามบิน มีความคืบหน้า ดังนี้

1. การเชิญเจ้าหน้าที่สายการบินนกแอร์ นักบิน และ ทชร. เข้าชี้แจง

CAAT ได้เชิญผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของสายการบินนกแอร์และ ทชร. เข้าชี้แจงถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งกำชับให้สายการบินเร่งแก้ไขปัญหาหน้างานให้คลี่คลายโดยเร็วที่สุด และให้สายการบินสรุปข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเพื่อเข้ามาชี้แจงอย่างละเอียดอีกครั้งกับ CAAT

ประเด็นด้านการอพยพผู้โดยสาร รวมทั้งการปฏิบัติของภาคพื้น (สนามบิน ดับเพลิง ฯลฯ) ตามประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง ข้อกำหนดการรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศ (Air Operator Certificate Requirements) พ.ศ. 2564 ซึ่งกำหนดให้ผู้ดำเนินการเดินอากาศต้องมีการดำเนินการตามบทที่ 1 ข้อ 13.1 Evaluation of Passenger Evacuation Capability/Emergency Evacuation Demonstrations ที่ระบุว่า การอพยพผู้โดยสารทั้งหมดออกจากอากาศยานในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินจะต้องสามารถทำได้ภายในระยะเวลา 90 วินาที ทั้งนี้ การอพยพผู้โดยสารตามมาตรฐานสากลในกรณีฉุกเฉินให้ลุล่วงภายในเวลา 90 วินาทีนี้ ถูกกำหนดขึ้นใช้กับอากาศยานพลเรือนทุกแบบ

ในกรณีเกิดเหตุ การตัดสินใจของนักบินในการสั่งการอพยพผู้โดยสารจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ขณะนั้น เช่น หากมีไฟไหม้หรือกลุ่มควัน หรือเหตุที่พิจารณาแล้วว่าเป็นอันตรายต่อชีวิต ไม่มีทางอื่นนอกจากอพยพโดยทันที (Emergency Evacuation) แต่หากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่ภายใต้การควบคุมของนักบินและหลังเกิดเหตุไม่ปรากฏแนวโน้มที่จะเกิดภาวะฉุกเฉินหรืออันตรายต่อชีวิต อีกทั้งมีปัจจัยอื่น ๆ เช่น เวลากลางคืน หน่วยกู้ภัยภาคพื้นยังมาไม่ถึง หรือบริเวณโดยรอบจุดเกิดเหตุเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยง หรือสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย นักบินสามารถตัดสินใจพิจารณาถึงความปลอดภัยของชีวิตผู้โดยสารเป็นหลัก โดยอาจตัดสินใจไม่อพยพผู้โดยสารโดยทันที

ทั้งนี้ เบื้องต้นสายการบินระบุว่านักบินได้ปฏิบัติตามขั้นตอนการอพยพในกรณีฉุกเฉิน (Emergency Evacuation Checklist) รวมทั้งได้ติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่ภาคพื้นของสนามบินขอความช่วยเหลือและลำเลียงผู้โดยสารจากที่เกิดเหตุไปยังอาคารผู้โดยสารอย่างปลอดภัย แต่ระยะเวลาในการอพยพผู้โดยสาร ที่เกิดเป็นประเด็นคำถามทางสังคมถึงความล่าช้านั้น CAAT มีกำหนดการเชิญนักบินผู้ควบคุมอากาศยานและนักบินผู้ช่วยของเครื่องบินลำที่เกิดเหตุทั้ง 2 ราย เข้ามาสัมภาษณ์ในวันพุธที่ 3 สิงหาคมนี้

ด้านการปฏิบัติงานของสนามบินและหน่วยดับเพลิงของสนามบิน CAAT มีข้อกำหนดฉบับที่ 14 ว่าด้วยมาตรฐานสนามบิน หมวด 6 บริการของสนามบิน ส่วนที่ 1 การวางแผนฉุกเฉินของสนามบิน ข้อ 982 ระบุถึงการปฏิบัติการดับเพลิงและกู้ภัย ณ จุดใด ๆ บนทางวิ่งที่ใช้งานภายใต้สภาพทัศนวิสัยและสภาพพื้นผิวที่เหมาะสม เวลาในการตอบสนองต้องไม่เกินสองนาที ซึ่งจากการสอบถามข้อเท็จจริงจากสายการบินและสนามบิน พบว่าเป็นไปตามข้อกำหนดข้างต้น คือ ในวันที่เกิดเหตุ เวลา 21.10 น. หอบังคับการบินแจ้งหน่วยดับเพลิง ทชร. กรณีการเกิดอากาศยานไถลออกนอกทางวิ่ง และเมื่อเวลา 21.11 น. รถกู้ภัยและรถดับเพลิงถึงที่เกิดเหตุ แต่ในการอพยพผู้โดยสารออกจากตัวเครื่องบิน CAAT ได้รับรายงานว่าปกติแล้ว ทชร. จะใช้สะพานเทียบอากาศยาน (Aerobridge) ในการขึ้นลงของผู้โดยสาร จึงมีข้อจำกัดเรื่องรถขนส่งผู้โดยสาร

2. การเคลียร์พื้นที่เกิดเหตุที่ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวงเชียงราย สายการบินเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบและประสานงานในการกู้และเคลื่อนย้ายอากาศยาน ซึ่งขณะนี้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบอยู่ในพื้นที่เกิดเหตุแล้วแต่ยังอยู่ระหว่างการประเมินการเคลื่อนย้ายอากาศยานให้ปลอดภัยที่สุด โดยมีขั้นตอนดำเนินการทั้งเรื่องการสอบสวนและให้เตรียมการเพื่อเคลื่อนย้ายอากาศยาน โดยทั้งสายการบินและท่าอากาศยานได้ประสานกันอย่างต่อเนื่องและมีการจัดทำแผนตามสภาพหน้างาน และจะต้องมีการปรับปรุงทางวิ่งเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานต่อไป โดยสนามบินได้มีการแจ้งให้กับ CAAT ทราบอย่างต่อเนื่อง เบื้องต้นระยะเวลา การปิดท่าอากาศยานยังคงเป็นไปตามกำหนดการเดิมคือ 3 สิงหาคม 2565

3. การดูแลผู้โดยสารในเที่ยวบินที่เกิดเหตุ CAAT ได้สอบถามกับสายการบินทราบว่าสายการบินได้พยายามดำเนินการตามขั้นตอน แต่เนื่องจากเที่ยวบินเป็นเวลากลางคืนทำให้ไม่สามารถหาอาหารว่างได้และน้ำดื่มมีจำกัดจึงไม่สามารถดำเนินการได้อย่างทั่วถึง กรณีเรื่องสัมภาระนั้นหน่วยงานสอบสวนได้ดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมาย และได้อนุญาตให้นำสัมภาระออกมาได้ ทางสายการบินนกแอร์แจ้งว่าได้เริ่มนำสัมภาระของผู้โดยสารออกจากเครื่องบินตั้งแต่ช่วงเย็นของวันที่ 31 ก.ค. และได้ประสานให้ผู้โดยสารมารับสัมภาระที่โหลดใต้ท้องเครื่องบินแล้ว (Checked baggage) ส่วนสัมภาระที่นำติดตัวขึ้นเครื่องบิน (Carry-on baggage) มีผู้โดยสารมาแสดงตนขอรับคืนแล้วบางส่วน สำหรับสัมภาระที่ยังไม่มีผู้มาแสดงตนขอรับคืน ยังฝากอยู่ที่ ทชร.

สำหรับเที่ยวบินขากลับจากเชียงรายมายังกรุงเทพ ฯ สายการบินนกแอร์ได้มีการจัดที่พักให้กับผู้โดยสารขากลับและทำการชดเชยผู้โดยสารตามประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่องการคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสารที่ใช้บริการสายการบินของไทยในเส้นทางประจำภายในประเทศ พ.ศ. 2553 และได้จัดรถเพื่อนำผู้โดยสารมายังท่าอากาศยานเชียงใหม่เพื่อเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ต่อไป

กรณีที่สายการบินได้ออกข่าวไปในเบื้องต้นซึ่งมีประเด็นที่ไม่ถูกต้องนั้น สายการบินจะปรับปรุงโดยให้มีการตรวจสอบความถูกต้องก่อนที่จะออกข่าวนั้นโดยสายการบินออกข่าวใหม่และได้ขอโทษผู้โดยสารที่ได้รับผลกระทบรวมถึงได้ออกมาตรการชดเชยตามที่เป็นข่าว

4. ผู้โดยสารที่ได้รับผลกระทบจากการปิด ทชร. สำหรับผู้ที่มีบัตรโดยสารอยู่แล้วจากการจองเที่ยวบินเข้าและออกท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวงเชียงราย ซึ่งยังอยู่ระหว่างปิดดำเนินการชั่วคราว สายการบินทุกสายที่มีเที่ยวบินเข้าและออกจาก ทชร. ได้ปรับเส้นทางเป็นการเดินทางด้วยเที่ยวบินที่เข้าและออกจากเชียงใหม่แทนแล้ว โดยจัดการรับส่งผู้โดยสารจากเชียงรายมายังเชียงใหม่เพื่อทำการเดินทาง หรือจัดรถจากเชียงใหม่เพื่อเดินทางต่อไปยังเชียงราย และบางสายการบินยังได้จัดเที่ยวบินพิเศษจากตารางการบินเดิมไปยังเชียงใหม่ เพื่อรองรับความต้องการเดินทางสำหรับผู้โดยสารที่เดินทางมาจากเชียงรายด้วย และจากการตรวจสอบสายการบิน ด้านการดูแลตามสิทธิผู้โดยสาร พบว่าทุกสายการบินที่เกี่ยวข้องยังคงปฏิบัติตามประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่องการคุ้มครองสิทธิของผู้โดยสารที่ใช้บริการสายการบินของไทยในเส้นทางประจำภายในประเทศ พ.ศ. 2553

5. ส่วนผู้โดยสารที่ไม่ได้มีบัตรโดยสารอยู่เดิมและซื้อบัตรโดยสารใหม่ในช่วงใกล้เวลาการเดินทางเข้าและออกจากท่าอากาศยานเชียงใหม่ อาจประสบปัญหาบัตรโดยสารราคาสูง อย่างไรก็ตาม CAAT มีกลไกการตรวจสอบราคาขายบัตรโดยสารของสายการบินอยู่แล้ว โดยเฉพาะช่วงหลังเหตุการณ์ดังกล่าวได้ตรวจสอบอย่างต่อเนื่องทุกวัน เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีการขายเกินเพดานราคาที่กำหนดไว้

อย่างไรก็ตาม หากผู้โดยสารไม่ได้รับความเป็นธรรมด้านสิทธิผู้โดยสาร สามารถร้องเรียนมาได้ที่ https://caat.or.th/complaint/

credit: GATC Thailand
credit: GATC Thailand
ด้านท้องของเครื่องบินที่ไถลออกนอกรันเวย์
ภาพจาก CAAT แสดงสรุปขั้นตอนในการซ่อมแซมสนามบินก่อนเปิดใช้งาน

(3Aug22) ขยายเวลาปิดสนามบินถึงวันที่ 5 ส.ค. – พายุฝนถล่มทำให้งานกู้/เคลื่อนย้ายล่าช้ากว่าแผน

CAAT ลงพื้นที่เตรียมตรวจสอบมาตรฐานก่อนให้สนามบินเชียงรายกลับมาเปิดให้บริการ พร้อมเริ่มวิเคราะห์ข้อมูล หลังนักบินผู้ควบคุมอากาศยาน นักบินผู้ช่วย และผู้จัดการสถานี ทชร. ของสายการบินนกแอร์เข้าชี้แจงแล้ว

ความคืบหน้าการเคลื่อนย้ายเครื่องบินของสายการบินนกแอร์ที่ประสบเหตุไถลออกนอกทางวิ่ง (Runway Excursion) ขณะที่นักบินกำลังนำเครื่องบินลงจอด ณ ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวงเชียงราย (ทชร.) ล่าสุด CAAT ซึ่งติดตามกำกับดูแลและประสานงานกับท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวงเชียงราย (ทชร.) อย่างต่อเนื่อง ได้ส่งเจ้าหน้าที่จากฝ่ายมาตรฐานสนามบิน สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) ลงพื้นที่เตรียมตรวจสอบมาตรฐานก่อนอนุญาตกลับมาเปิดให้บริการตามปกติ แจ้งให้ ทชร. ต้องซ่อมแซมระบบ อุปกรณ์ และปรับทางวิ่งเพื่อให้กลับสู่สภาพตามมาตรฐานความปลอดภัย และต้องผ่านการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ CAAT ก่อนกลับมาเปิดให้บริการได้ตามปกติ ดังนี้

1. ซ่อมแซมระบบไฟฟ้าสนามบินและเครื่องอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศประเภททัศนวิสัย (Visual Aids) ที่ได้รับความเสียหายให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ (ทั้งนี้ จะดำเนินการได้ต่อเมื่อได้เคลื่อนย้ายอากาศยานพ้นจากบริเวณที่ระบบไฟฟ้าสนามบินและเครื่องช่วยอำนวยความสะดวก ฯ ติดตั้งอยู่)

2. กำจัดวัตถุแปลกปลอม (Foreign Object Debris : FOD) ที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์อากาศยานไถลออกจากทางวิ่งและจัดให้มีมาตรการในการเฝ้าระวัง FOD ที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างและหลังการดำเนินการเคลื่อนย้ายอากาศยาน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในการปฏิบัติการของอากาศยาน

3. ทดสอบค่าความเสียดทานของทางวิ่ง (Friction Test) ก่อนเปิดใช้งานทางวิ่ง เพื่อให้แน่ใจได้ว่าค่าความเสียทานของทางวิ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

4. เร่งดำเนินการปรับค่าระดับพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่ง (Runway Strip) บริเวณที่อากาศยานไถลออกจากทางวิ่งให้มีค่าระดับเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 14 ว่าด้วยมาตรฐานสนามบิน โดย Runway Strip คือพื้นที่ปลอดภัยรอบทางวิ่ง (Runway) ที่มีไว้เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายแก่อากาศยานที่วิ่งออกนอกทางวิ่ง

5. ส่งรายงานการดำเนินการกรณีอากาศยานไถลออกนอกทางวิ่งให้ CAAT ทราบ หลังเหตุการณ์กลับเข้าสู่สภาวะปกติเรียบร้อยแล้ว

ทั้งนี้ ความคืบหน้าด้านการกู้เครื่องบินลำที่เกิดเหตุ เนื่องจากคืนวานนี้ (2 ส.ค. 65) เกิดพายุ ฝนฟ้าคะนอง ทำให้ไม่สามารถดำเนินการเคลื่อนย้ายอากาศยานตามแผนที่วางไว้ได้ จึงเริ่มดำเนินการเคลื่อนย้ายอากาศยานอีกครั้งในเวลา 11.30 น. ของวันนี้ อย่างไรก็ตาม สนามบินได้แจ้งออกประกาศผู้ทำการในอากาศ (NOTAM) แจ้งการปิดให้บริการสนามบินถึงวันที่ 5 สิงหาคม 2565 โดยจะเปิดให้บริการในวันที่ 6 สิงหาคม 2565

นอกจากนี้ CAAT ยังได้เชิญนักบินผู้ควบคุมอากาศยาน นักบินผู้ช่วย และผู้จัดการสถานี ทชร. ของสายการบินนกแอร์ เข้าสัมภาษณ์เพื่อให้ข้อมูล โดย CAAT จะนำไปประกอบการวิเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในภาพรวมทั้งหมดเพื่อเร่งจัดทำรายงานสรุปเบื้องต้น และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนลดความเสี่ยงที่อาจส่งผลให้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะเดียวกันนี้ขึ้นอีกในอนาคต รวมถึงเพื่อปรับปรุงและเพิ่มมาตรการด้านความปลอดภัยทางการบินที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป

ขณะที่ ตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 ในกรณีที่อากาศยานประสบเหตุ นักบินของอากาศยานนั้นจะต้องหยุดทำการบินและเข้ารับการตรวจทางแพทย์ ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมงจากสถานพยาบาลที่ได้รับการรับรอง ซึ่ง CAAT ได้รับทราบผลการตรวจร่างกายและผลการตรวจหาสารเสพติดของนักบินและนักบินผู้ช่วยของเครื่องบินลำที่เกิดเหตุแล้ว พบว่ามีผลเป็นปกติ

———————————————

คลิกเพื่ออ่านฉบับเต็ม>>

https://www.caat.or.th/th/archives/66427

CAAT News ฉบับที่ 19 / 2565 วันที่ 3 สิงหาคม 2565

กู้เครื่องบินนกแอร์ไม่สำเร็จ ต้องปิดรันเวย์ต่ออีก 2 วัน
ภาพการเคลื่อนย้ายเครื่องบินนกแอร์ที่ไถลออกจากรันเวย์ credit: CAAT
CREDIT: CAAT
กู้เครื่องบินนกแอร์ที่ไถลออกจากรันเวย์ที่เชียงรายได้แล้ว

ช่องยูทูปกัปตันโสภณ

สอบสัมภาษณ์ สมัครสอบนักบิน
https://youtu.be/V1ov2HwIEpE
Comments are closed
0
0