Tag: aviation news

The Queen B747: Paris

#1 The Queen จากประสบการณ์ของผม “จะไปปารีส” #เหตุการณ์ครั้งหนึ่ง#TheQueen#b747 ตอนที่เกิดเหตุการณ์นี้ ผมยังเป็นนักบินที่สองที่มีอาวุโสทางการบินพอสมควรแล้ว และนักบินที่หนึ่งคือกัปตันท่านหนึ่งซึ่งท่านเสียชีวิตไปนานแล้ว ขออนุญาตนำมาเล่าสู่กันอ่านเป็นซีรีส์เรื่องราวแรกของ “The Queen จากประสบการณ์ของผม” วันนั้นเป็นไฟลท์ปารีสกลางวัน โบอิ้ง 747-400 มีกำหนดเดินทางจากกรุงเทพฯ (ดอนเมือง) ไปกรุงปารีส สนามบิน Paris-Charles de Gaulle (CDG) ปารีสมีหลายสนามบินแต่หลักๆจะใช้ ปารีส-ชาร์ล เดอ โกล วันนั้นจำได้แม่นๆว่า อากาศดีมาก ท้องฟ้าแจ้มใส่สุดๆ แต่ก็ร้อนสุดๆเช่น น้ำหนักวิ่งขึ้นค่อนข้างมาก หมายถึงเครื่องบินต้องแบกน้ำหนักตัวและผู้โดยสารที่เต็มลำ และเที่ยวบินนี้ต้องใช้น้ำมันเยอะกว่าปกติเพราะเป็นไฟลท์กลางวัน สำหรับระหว่างทางก็เกี่ยวกับลมฟ้าอากาศ ความกดอากาศ ฯลฯ ระยะทางภาคพื้นนั้นเท่ากันกับตอนกลางคืนแหละ แต่ระยะทางบินผ่านอากาศสูงกว่าเที่ยวบินกลางคืน (ESAD= Equivalent Still Air Distance) สรุปคือบินนานกว่า ใช้น้ำมันมากกว่าเที่ยวบินกลางคืน เที่ยวบินนี้เกือบๆจะถึง MTOW (Maximum Takeoff Weight) เพราะอุณหภูมิสูงทำให้สมรรถนะของเครื่องยนต์ในการวิ่งขึ้นต่ำลง การใช้ระยะทางวิ่งบนรันเวย์ก็จะเกือบๆสุดสนาม โดยที่มี V1 ห่างจาก Vr หลายสิบ knots V1 คือ decision speed หรือจะเรียกว่า critical speed ก็ได้ อธิบายง่ายๆคือ ความเร็วที่ V1 ต้องตัดสินใจว่าจะหยุดหรือจะไป ถ้าเลย V1 คือห้ามหยุด […]

ลำตัวเครื่องบินเหมือนหลอดกระดาษ

เครื่องบินลงกระแทกอย่างแรง ทำให้ลำตัวเครื่องบินเกิดความเสียหาย การกระแทกพื้นจากการลงสนามที่ผิดพลาดอาจเกิดได้หลายสาเหตุปัจจัย อาทิ การที่สภาพอากาสไม่ดีทำให้การลงสนามมีความยากเพิ่มขึ้นและนักบินไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ทันจนเกิดการสัมผัสพื้นที่แรงกว่าปกตอ หรือจากการที่นักบินบังคับเครื่องบินผิดพลาดประมาณว่า ประสบการณ์น้อย ฝีมือยังไม่ดี บินไม่เก่งว่างั้นก็ได้ ภาพด้านล่างนี้จากเครื่องบิน 767 ของสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เป็นเครื่องบินรุ่นเก่า และใช้งานมานานกว่า 30 ปี จะว่าไปการที่เครื่องบินเก่าไม่ใช่ปัญหาเพราะระบบการบำรุงรักษานั้นค่อนข้างเข้มงวดอยู่แล้วเรื่องการกำกับมาตรฐานความปลอดภัย แต่กรณีที่ลงกระแทกแรงๆ จนเกินกว่าที่โครงสร้างเครื่องบินถูกออกแบบและกำหนดเป็นมาตรฐานไว้ เช่น มากว่า 4G 5G หรือเท่าไหร่ก็แล้วแต่ เครื่องบินเก่าย่อมทนแรงหรือลิมิตต่ำกว่าเครื่องบินลำใหม่ๆแน่นอน กรณีการกระแทกรุนแรง ในบางครั้งก็ถึงขนาดว่าล้อของเครื่องบินกระแทกทะลุเข้ามาภายในลำตัว หรือทำให้เกิดน้ำมันรั่ว ปีกแตก หรืออย่างภาพนี้คือ ลำตัวยู่ยี่ เพราะการกระแทกโดยที่ส่วนของลำตัวถูกสะบัด เหมือนเราสะบัดหลอด ถ้าเราสะบัดหลอดไปกระแทกหรือสัมผัสสิ่งของหลอดก็จะเกิดการพับ ถ้าเป็นหลอดพลาสติกเราอาจไม่เห็นรอยพับเพราะความยืดหยุ่นของพลาสติกทำให้มันกลับคืนสู่สภาพเดิม ลำตัวเครื่องบินเหมือนหลอดกระดาษ เพราะความยืดหยุ่นจะต่ำกว่าพลาสติก หากหักพับแล้วไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิมได้ ภาพจาก https://onemileatatime.com/ AIRCRAFT MADE A HARD LANDING AND POST FLIGHT INSPECTION REVEALED DAMAGE TO THE FUSELAGE สายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ วันที่ 29 กรกฎาคม 2566 ลงกระแทกพื้นรุนแรง hard landing จนกระทั่งเกิดความเสียหายของลำตัวอ่านข่าวจากavheraldonemileatatime

รูปแบบของปีกเครื่องบินและ wingtips

ปีกของเครื่องบินแบ่งออกเป็นหลายประเภทแบบคร่าวๆได้ ดังนี้: ปีกแบบตรง (Straight Wing): เป็นปลายปีกที่มีรูปร่างเรียบและตรง ส่วนมากใช้ในเครื่องบินที่มีความเร็วในการบินที่ไม่สูงมาก เช่น เครื่องบินอู่ฮัย อีโรเพลน ที่ใช้ในการบินในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ปีกแบบไบโพลาร์ (Swept Wing): ปลายปีกมีรูปร่างเหลี่ยมมุมกับเส้นตรงที่คาดว่าจะลากเหมือนกับเส้นตรงของตัวเครื่องบิน เครื่องบินแบบนี้มีประสิทธิภาพที่ดีในเรื่องของความเร็ว ใช้ในเครื่องบินเช่น เครื่องบินโบอิ้ง 747 และ แอร์บัส A320 ปีกแบบหาง (Delta Wing): ปลายปีกมีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยม มักใช้ในเครื่องบินที่มีความเร็วสูงและสามารถทำการบินแบบเหลื่อมล้ำ (supersonic) ได้ เช่น เครื่องบินคองคอด (Concorde) ปีกแบบปีกบินด้วยพลังงาน (Winglet): ปลายปีกมีส่วนขยายออกมาด้านบนหรือด้านล่างเป็นรูปร่างเหมือนการงองอย่างเส้นตรงหรือเป็นโค้งเล็กน้อย ปลายปีกแบบนี้ช่วยลดการสร้างเสียงดัง เช่น เครื่องบินโบอิ้ง 737-800 การเลือกใช้ปลายปีกขึ้นอยู่กับการออกแบบและการใช้งานของเครื่องบิน ปลายปีกแต่ละแบบมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันและมีประโยชน์แตกต่าง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความต้องการของการบินในแต่ละกรณี และการพัฒนาเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมการบิน ส่วนคำว่า Wingtips หมายถึงส่วนปลายปีกของเครื่องบินที่มีลักษณะของปลายปีกที่บานออกไปตามแนวนอน เรียกได้ว่าเป็นส่วนที่อยู่ท้ายสุดของปีก ปลายปีกเป็นส่วนที่มีความสำคัญในการกำหนดคุณสมบัติบินของเครื่องบิน เพราะมีผลต่อเสถียรภาพและประสิทธิภาพของการบิน Wingtips มีหลายรูปแบบและสไตล์ต่าง ๆ ซึ่งอาจมีผลต่อประสิทธิภาพบินและการลดการเสียเวลาในอากาศ. รูปแบบที่พบบ่อยได้แก่: Winglet: Winglet เป็นส่วนที่บิดงอขึ้นบนปลายปีก เพื่อเพิ่มพื้นที่สองข้างของปลายปีกและลดการสร้างเสียงดัง ทำให้เครื่องบินบินได้ดีขึ้นและลดการใช้เชื้อเพลิง Sharklet: Sharklet เป็นรูปแบบของ winglet ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับการันต์ของปลาฉลาม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบินและประหยัดเชื้อเพลิง Blended Winglet: Blended Winglet เป็นรูปแบบที่ผสมระหว่างปลายปีกและตัวเครื่องบิน มีลักษณะที่พองออกมาจากปลายปีกเพื่อลดแรงต้านอากาศและประสิทธิภาพการบินที่ดีขึ้น Wingtips มีประโยชน์ในการลดการสร้างแรงต้านอากาศและเสียเวลาในการบิน ซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการบิน […]

TG เฉี่ยว EVA ที่ฮาเนดะ เป็นอุบัติเหตุหรือไม่

เครื่องบินการบินไทยเฉี่ยวกับเครื่องบินของอีว่าแอร์ที่จอดรอวิ่งขึ้นที่สนามบินโตเกียวฮาเนดะ เหตุการณ์นี้ไม่เป็นทั้ง accident และ incident (เฉยๆ) ครับ ก่อนอื่นเรามาตีความคำว่า accident หรือ อุบัติเหตุ กับคำว่า incident หรือ อุบัติการณ์ กันก่อนครับ ตามภาคผนวกที่ 13 ขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO Annex 13) Accident (Aircraft)  An occurrence associated with the operation of an aircraft that takes place between the time any person boards the aircraft with the intention of flight until such time as all such persons have disembarked in which a person is fatally or seriously injured, the aircraft sustains substantial damage, or the aircraft […]

เครื่องการบินไทยเฉี่ยวกับอีว่าแอร์

11 Jun 23เหตุเกิดที่สนามบินโตเกียวฮาเนดะ (Haneda Tokyo International Airport) คู่กรณีเป็นเครื่องบินแอร์บัส A330 ทั้งสองลำ เครื่องของอีว่า EVA AIR จอดอยู่บนทางขับ (taxiway) เพื่อรอการอนุญาตให้เข้าในทางวิ่ง (runway) กำลังจะเดินทางไปสนามบินไทเป มีผู้โดยสารและลูกเรือ รวม 207 คน เครื่องบินแอร์บัส เอ 330 ลำนี้มีอายุใช้งาน 5.7 ปี ส่วนเครื่องบินของการบินไทย เป็นแอร์บัส เอ 330 ที่มีอายุการใช้งานมาแล้ว 14.2 ปี มีผู้โดยสารและลูกเรือ 264 คน ได้รับ clearance ให้ทำการเคลื่อนตัวในทางขับ (taxiway) ในช่วงที่ผ่านเครื่องบินของ EVA Air ปลายปีกด้านขวาเกิดเฉี่ยวกับบริเวณแพนหางของเครื่องบินของสายการบินอีว่า ทำให้เครื่องบินทั้งสองลำได้รับความเสียหาย และจะต้องทำการซ่อมแซมก่อนทำการบิน ทางการของญี่ปุ่นทำการพิทักษ์เครื่องบิน (aircraft in custody) ทั้งสองลำเพื่อทำการตรวจสอบสาเหตุ คาดว่าคงไม่พิทักษ์ไว้นาน แค่เพียงทำการเก็บภาพและข้อมูลที่จำเป็นก่อนที่จะปลดพิทักษ์เพื่อให้ทางสายการบินทำการซ่อมบำรุง ดูรูปจาก ทวิตเตอร์ครับ เหตุการณ์แบบนี้ ทางการบินจัดเป็นเพียงอุบัติการณ์ร้ายแรง หรือ serious incident ครับ แม้ว่าจะเกิดความเสียหายขึ้นแต่ก็ยังไม่เข้าข่ายการเป็นอุบัติเหตุ (accident) จากการตีความกรอบของการวินิจฉัยเหตุการที่มีบัญญัติไว้ในผนวกที่ 13 ว่าด้วยเรื่อง Aircraft Accident and Incedent Investigation ขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO: […]

1 2 3 13
0
0