Tag: air accident

The Queen B747: Paris

#1 The Queen จากประสบการณ์ของผม “จะไปปารีส” #เหตุการณ์ครั้งหนึ่ง#TheQueen#b747 ตอนที่เกิดเหตุการณ์นี้ ผมยังเป็นนักบินที่สองที่มีอาวุโสทางการบินพอสมควรแล้ว และนักบินที่หนึ่งคือกัปตันท่านหนึ่งซึ่งท่านเสียชีวิตไปนานแล้ว ขออนุญาตนำมาเล่าสู่กันอ่านเป็นซีรีส์เรื่องราวแรกของ “The Queen จากประสบการณ์ของผม” วันนั้นเป็นไฟลท์ปารีสกลางวัน โบอิ้ง 747-400 มีกำหนดเดินทางจากกรุงเทพฯ (ดอนเมือง) ไปกรุงปารีส สนามบิน Paris-Charles de Gaulle (CDG) ปารีสมีหลายสนามบินแต่หลักๆจะใช้ ปารีส-ชาร์ล เดอ โกล วันนั้นจำได้แม่นๆว่า อากาศดีมาก ท้องฟ้าแจ้มใส่สุดๆ แต่ก็ร้อนสุดๆเช่น น้ำหนักวิ่งขึ้นค่อนข้างมาก หมายถึงเครื่องบินต้องแบกน้ำหนักตัวและผู้โดยสารที่เต็มลำ และเที่ยวบินนี้ต้องใช้น้ำมันเยอะกว่าปกติเพราะเป็นไฟลท์กลางวัน สำหรับระหว่างทางก็เกี่ยวกับลมฟ้าอากาศ ความกดอากาศ ฯลฯ ระยะทางภาคพื้นนั้นเท่ากันกับตอนกลางคืนแหละ แต่ระยะทางบินผ่านอากาศสูงกว่าเที่ยวบินกลางคืน (ESAD= Equivalent Still Air Distance) สรุปคือบินนานกว่า ใช้น้ำมันมากกว่าเที่ยวบินกลางคืน เที่ยวบินนี้เกือบๆจะถึง MTOW (Maximum Takeoff Weight) เพราะอุณหภูมิสูงทำให้สมรรถนะของเครื่องยนต์ในการวิ่งขึ้นต่ำลง การใช้ระยะทางวิ่งบนรันเวย์ก็จะเกือบๆสุดสนาม โดยที่มี V1 ห่างจาก Vr หลายสิบ knots V1 คือ decision speed หรือจะเรียกว่า critical speed ก็ได้ อธิบายง่ายๆคือ ความเร็วที่ V1 ต้องตัดสินใจว่าจะหยุดหรือจะไป ถ้าเลย V1 คือห้ามหยุด […]

ลำตัวเครื่องบินเหมือนหลอดกระดาษ

เครื่องบินลงกระแทกอย่างแรง ทำให้ลำตัวเครื่องบินเกิดความเสียหาย การกระแทกพื้นจากการลงสนามที่ผิดพลาดอาจเกิดได้หลายสาเหตุปัจจัย อาทิ การที่สภาพอากาสไม่ดีทำให้การลงสนามมีความยากเพิ่มขึ้นและนักบินไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ทันจนเกิดการสัมผัสพื้นที่แรงกว่าปกตอ หรือจากการที่นักบินบังคับเครื่องบินผิดพลาดประมาณว่า ประสบการณ์น้อย ฝีมือยังไม่ดี บินไม่เก่งว่างั้นก็ได้ ภาพด้านล่างนี้จากเครื่องบิน 767 ของสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เป็นเครื่องบินรุ่นเก่า และใช้งานมานานกว่า 30 ปี จะว่าไปการที่เครื่องบินเก่าไม่ใช่ปัญหาเพราะระบบการบำรุงรักษานั้นค่อนข้างเข้มงวดอยู่แล้วเรื่องการกำกับมาตรฐานความปลอดภัย แต่กรณีที่ลงกระแทกแรงๆ จนเกินกว่าที่โครงสร้างเครื่องบินถูกออกแบบและกำหนดเป็นมาตรฐานไว้ เช่น มากว่า 4G 5G หรือเท่าไหร่ก็แล้วแต่ เครื่องบินเก่าย่อมทนแรงหรือลิมิตต่ำกว่าเครื่องบินลำใหม่ๆแน่นอน กรณีการกระแทกรุนแรง ในบางครั้งก็ถึงขนาดว่าล้อของเครื่องบินกระแทกทะลุเข้ามาภายในลำตัว หรือทำให้เกิดน้ำมันรั่ว ปีกแตก หรืออย่างภาพนี้คือ ลำตัวยู่ยี่ เพราะการกระแทกโดยที่ส่วนของลำตัวถูกสะบัด เหมือนเราสะบัดหลอด ถ้าเราสะบัดหลอดไปกระแทกหรือสัมผัสสิ่งของหลอดก็จะเกิดการพับ ถ้าเป็นหลอดพลาสติกเราอาจไม่เห็นรอยพับเพราะความยืดหยุ่นของพลาสติกทำให้มันกลับคืนสู่สภาพเดิม ลำตัวเครื่องบินเหมือนหลอดกระดาษ เพราะความยืดหยุ่นจะต่ำกว่าพลาสติก หากหักพับแล้วไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิมได้ ภาพจาก https://onemileatatime.com/ AIRCRAFT MADE A HARD LANDING AND POST FLIGHT INSPECTION REVEALED DAMAGE TO THE FUSELAGE สายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ วันที่ 29 กรกฎาคม 2566 ลงกระแทกพื้นรุนแรง hard landing จนกระทั่งเกิดความเสียหายของลำตัวอ่านข่าวจากavheraldonemileatatime

จัมโบ้ล้อหลุดกลางอากาศ มีคลิป

11 Oct 2022 เครื่องบินโบอิ้ง 747-400 LCF Dreamlifter (LCF ย่อมาจาก Large Cargo Freighter) เป็นเครื่องบินรุ่นที่พัฒนาจากเครื่องบินจัมโบ้ B747-400 เดิมสร้างให้มีลำตัวขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อที่จะใช้ในการลำเลียงอุปกรณณ์โดยลำตัวของเครื่องบินโบอิ้ง 787 Drealiner และเครื่องบินรุ่นอื่นๆของโบอิ้งไปส่งที่โรงงานประกอบเครื่องบินหรือใช้ในภาระกิจขนถ่ายสินค้าขนาดใหญ่ๆ เหตุการณ์นี้เป็นการวิ่งขึ้นจากสนามบิน Taranto-Grottaglie Airport ในประเทศอิตาลี ขณะที่เครื่องบินกำลังทะยานขึ้นฟ้า (ดูคลิป) จะเห็นกลุ่มควันเล็กน้อยและเห็นล้อด้านซ้าย (เข้าใจว่าน่าจะสองล้อที่อยู่คู่กัน) หลุดออกและหล่นลงมากระแทกพื้นรันเวย์ อย่างไรก็ตามเครื่องบินไม่ได้กลับมาลงที่สนามบินแต่อย่างใดและเดินทางต่อไปลงสนามบิน Charleston, North Carolina ประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างปลอดภัย ความเห็นของ A Pilot Club หลังจากที่เครื่องบินขี้นไปแล้ว แน่นอนว่านักบินย่อมรู้ว่าเกิดความผิดปกติกับระบบฐานล้อ เพราะในห้องนักบินจะแจ้งเตือนว่ามีล้อ (หนึ่งหรือสอง) ล้อที่โชว์ในจอว่าไม่พบค่าความดันลมยาง (ระบบแสดงเฉพาะค่าความดันลมยาง) และอย่างเหตุการณ์นี้เชื่อว่าทางหอบังคับการบินน่าจะเห็นเหตุการณ์และแจ้งให้นักบินทราบ ทำไมเครื่องบินจึงไม่กลับมาลงสนาม ยังคงบินต่อไปตามกำหนด ปลอดภัยหรือไม่ หลังจากที่นักบินทราบความผิดปกติแล้ว อย่างแรกเลยนักบินจะต้องตรวจสอบผลกระทบจากความผิดปกติที่เกิดขึ้น อาทิเช่น มีระบบไฮดรอลิกเสียหายด้วยหรือไม่ ระบบฐานล้อนั้นเก็บเข้าที่ได้เป็นปกติไม่สร้างปัญหาอื่นๆ หากล้อที่หลุดมีการระเบิดของยาง การระเบิดนั้นสร้างความเสียหายให้กับลำตัวจนเกิดความเสียหายต่อระบบปรับความดันอากาศหรือไม่ ระบบน้ำมัน เพราะถังน้ำมันอยู่ใกล้ๆ ฯลฯ หากตรวจสอบทุกระบบแล้วว่าไม่มีอะไรผิดปกตินั้น การที่จะบินไปต่อสามารถทำได้ ปลอดภัยกว่าและเป็นประโยชน์ต่อเที่ยวบินอีกด้วย เพราะว่า ถ้าจะรีบกลับไปลงสนาม น้ำหนักเครื่องบินยังมากอยู่ โดยเฉพาะเมื่อล้อมีไม่ครบจำนวนด้วยแล้ว การบินต่อไปเพื่อให้น้ำหนักของเครื่องบินลดน้อยลงย่อมดีกว่ารีบกลับมาลงและสร้างปัญหาให้เกิดความเครียดต่อระบบล้อและโครงสร้างเครื่องบิน ประมาณว่าซ้ำเติมตัวเองอีกด้วย เครื่องบินยังมี airworthiness ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องรีบกลับไปลงสนามครับ

เครื่องบินชื่อ บางกอก หางกระแทกพื้น

6 Oct 2022 ไม่ใช่เครื่องบินของบางกอกแอร์เวยส์ แต่เป็นเครื่องบินโบอิ้ง 787 ของสายการบินเอธิโอเปียนแอร์ไลน์ โบอิ้ง 787-9 ของสายการบินเอธิโอเปียนแอร์ไลน์ (Ethiopian Airlines) ทะเบียน ET-AYC เครื่องบินลำนี้มีชื่อเล่นว่า “Bangkok” หรือ บางกอก เที่ยวบิน ET877 เดินทางจากเมือง Lilongwi ประเทศมาลาวี (Malawi) ไปเมือง Lubumbashi ประเทศคองโก ส่วนหางกระแทกถูไปกับพื้นอย่างแรงขณะลงสนาม วันที่เกิดเหตุไม่มีข้อมูลการรายงานสภาพอากาศอย่างเป็นทางการ (METAR) แต่จากข้อมูลที่มีการบันทึกไว้ถือว่าสภาพอากาศมีทัศนวิสัยดีและมีความเร็วลมไม่มากนักที่ 12 knots ไม่มีลมกระโชก (gust) ไม่มีฝนตก เครื่องบินลงทางด้านรันเวย์ 07 โดยมีลมเข้าทางทางทิศตะวันออก (ด้านขวาของเครื่องบิน) เมื่อพิจารณาจากสภาพอากาศแล้วถือว่าไม่น่าจะเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ tail strike มีโอกาสเกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง A Pilot Club ให้ความเห็นตามนี้ครับ ในขณะลงสนามหรือ landing การเกิดหางสัมผัสพื้นหรือกระแทกพื้นนั้นเกิดจาก มุมปะทะของเครื่องบินนั้นมากเกินกว่าปกติ โดยส่วนใหญ่แล้วหากล้อของเครื่องบินสัมผัสพื้นอยู่ มุมเงยของเครื่องบินที่เรียกว่า pitch attitude นั้นจะต้องเกินกว่า 12-13 องศา (แล้วแต่แบบเครื่องบิน) บริเวณหางของเครื่องบินจึงจะลงโดนพื้น (maximum pitch attitude on ground) แต่ถ้าหากเครื่องบินยังลอยอยู่ในอากาศ การที่หางจะสัมผัสพื้นโดยที่ล้อยังไม่แตะพื้นก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ (ยากกว่า) แต่ก็เกิดขึ้นได้เมื่อเครื่องบินหมดความเร็ว (ไม่เกาะอากาศ) และหากพยายามเปิดมุมปะทะมากขึ้นโดยไม่เติมกำลังของเครื่องยนต์เข้าไปก็จะทำให้เครื่องบินร่วงลงสู่พื้นโดยที่หางแตะพื้นก่อนส่วนอื่น ซึ่งท่าทางในลักษณะนั้นอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น high […]

ลูกไฟหล่นออกจากปีกเครื่องบิน B777 ของยูไนเต็ดแอร์ไลน์

21 Sep 2022 เครื่องบินโบอิ้ง 777 ของสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์เที่ยวบิน UA149 บินขึ้นจากสนามบินนิวยอร์ค Newark ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อไปเมืองเซาท์เปาโล ประเทศบราซิล ในทันทีที่เครื่องบินลอยขึ้นสู่อากาศขณะที่กำลังพับเก็บฐานล้อของเครื่องบิน (retracting landing gear) ก็เกิดประกายไฟร่วงหล่นลงมาจากบริเวณปีกด้านซ้ายของเครื่องบินลำดังกล่าว โดยมีผู้ถ่ายวิดีโอสั้นในขณะเกิดเหตุขึ้นได้ (ดูคลิป) คลิปวิดีโอจากทวิตเตอร์ @AeroXplorer หลังเกิดเหตุนักบินของเที่ยวบิน UA149 ได้แจ้งว่าเครื่องบินเกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบไฮโดรลิคและจำเป็นจะต้องกลับไปลงสนามบิน เครื่องบินโบอิ้ง B777 ไต่ระดับขึ้นไปที่ความสูง 24,000 ฟุตและไปบินวนอยู่เหนือมหาสมุทรแอตแลนติกกว่าหนึ่งชั่วโมง ก่อนที่จะกลับมาลงสนามบินนิวยอร์คที่เพิ่งบินขึ้นไป โดยใช้เวลาบิน 2 ชั่วโมง 3 นาที เหตุการณ์ในลักษณะนี้นักบินจำเป็นจะต้องทำการบังคับเครื่องบินให้ปลอดภัยเป็นลำดับแรก ปัญหาของระบบไฮดรอลิคที่เสียหายนั้นอาจไม่ได้ทำให้การควบคุมเครื่องบินยากลำบากขึ้นมากนัก ขึ้นอยู่กับว่าระบบไหนที่เสีย ปกติบนเครื่องบินจะมีการแยกระบบไฮดรอลิกออกเป็นหลายๆส่วน (system) เพื่อไม่ให้เสียหายไปพร้อมกันทั้งหมดจนไม่สามารถควบคุมเครื่องบินได้ ดังนั้นความรุนแรงของเหตุการณ์นี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าความเสียหายของระบบไฮดรอลิคนั้นสร้างความปั่นป่วนให้กับระบบอื่นๆของเครื่องบินมากน้อยแค่ไหน เพราะระบบไฮดรอลิคนั้นจะเป็นตัวช่วยในการทำงานของหลายๆส่วน (แยกระบบไฮดรอลิค) เช่น landing gear หรือระบบพับและกางฐานล้อ , flight controls เป็นระบบความคุมการบังคับท่าทางต่างๆของเครื่องบิน หรือระบบเบรค ซึ่งแต่ละระบบเหล่านั้นจะมีระบบไฮดรอลิคมากกว่าหนึ่งระบบในการเข้าช่วยในการทำงาน ประมาณว่า มีสายไฮดรอลิคหลายเส้นและแต่ละเส้นแยกออกจากกัน เมื่อนักบินพบว่าเกิดปัญหา ก็จะต้องนำเครื่องบินไปบินวนในบริเวณใดบริเวณหนึ่งอย่างเช่นกรณีนี้ บินวนอยู่เหนือทะเล และทำขั้นตอนใน malfunction checklist เพื่อที่จะวิเคราะห์ต่อไปว่า ระบบใดอีกบ้างที่ถูกลดทอนประสิทธิภาพไปเนื่องจากการสูญเสียระบบไฮดรอลิคไป หากหลายๆระบบถูกกระทบ checklist ก็จะมีความยุ่งยากในการจัดการไปด้วย และโดยเฉพาะหากน้ำหนักของเครื่องบินนั้นเกินกว่าน้ำหนักลงสนามสูงสุด (Maximum Landing Weight) การเผาผลาญน้ำมันให้น้ำหนักน้อยลงก็มีความจำเป็น หรือในเครื่องบินบางแบบก็สามารถที่จะทิ้งน้ำมันออกไปทางด้านปลายปีกได้ด้วยเรียกว่า fuel jettisoning […]

0
0