Category: ความรู้การบิน Aviation Knowledge

Airmanship ฉบับโสภณ

Airmanship ฉบับโสภณ คำว่า Airmanship แปลตามพจนานุกรม หมายถึง ทักษะ ความรู้ ประสบการณ์ และวิธีการทำงานที่ทำให้การควบคุมเครื่องบินมีความปลอดภัย อันนี้ผมพยายามแปลตรง ๆ ดู ตามหนังสือเขาว่าไว้ว่า Airmanship ประกอบไปด้วย 3 ส่วนคือ ทักษะในการทำงานและรวมถึงความรู้ในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการบิน (Skill) ความเชี่ยวชาญหรือประสิทธิภาพในการทำงาน รวมถึงความสามารถในการนำความรู้ไปใช้งาน (Proficiency) และความมีระเบียบวินัยในการปฏิบัติงาน (Discipline) ผมว่าเขียนตามหลักวิชามันน่าเบื่อ เหมือนเอาหนังสือมาแปลให้อ่าน เขียนตามความเข้าใจและที่อยากให้คนอ่านเข้าใจดีกว่า (ว่าแล้วก็ปิดตำรา และมาต่อกันที่ความเข้าใจส่วนตัวละกันครับ) ถ้าจะให้อธิบายความหมายจากความรู้สึกส่วนตัวจริง ๆ ไม่อิงตำราหรือหนังสือที่ไหน Airmanship ผมขอแปลว่า  “กึ๋น” ครับ สั้น ๆ เลย Airmanship มันคือ กึ๋นในการทำงานของนักบิน มันเป็นตัวบอกว่า นักบินคนนั้น เป็นนักบินที่ดีหรือไม่ มีการทำงานที่มีช่องโหว่แห่งอุบัติเหตุหรือไม่ จริง ๆ การบินเป็นอะไรที่ง่ายและไม่ซับซ้อน ถ้ารู้และเข้าใจ รวมทั้งรู้ศักยภาพของตัวเองด้วย (อันสุดท้ายนี่สำคัญมาก) การบินเพื่อให้ทุก ๆ เวลามีความเสี่ยงภัยน้อยที่สุด หรือลดดีกรีความรุนแรงของปัญหาให้เร็วที่สุดและมากที่สุด การบินเป็นเรื่องที่ไม่ง่าย และมีความซับซ้อนมากที่สุดเช่นกัน โดยเฉพาะกับนักบินที่ยังขาด Airmanship ที่ดี และอีกพวกคือพวกที่มีความมั่นใจไร้สติ (Overconfidence) พวกนี้มีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุมากที่สุด เพราะอาจจะทำอะไรที่เป็นการแหกกฏ โดยรู้อยู่แก่ใจ หรือบางกรณีคือ ไม่รู้ (โง่) แต่ก็ยังทำลงไปได้เพราะมั่นใจว่าฉันทำได้ การรู้น้อย ไม่ผิดครับ แต่รู้น้อยแล้วดันทะลึ่งไม่ยอมรับสภาพตัวเอง อันนี้มีความเสี่ยงเกิดขึ้นมากทันที การบิน เป็นเรื่องของการตัดสินใจในการทำงาน การตัดสินใจในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าหรือ การตัดสินใจที่จะพาตัวเองออกจากปัญหา การยอมรับปัญหาด้วยการ terminate mission นั้น ๆ […]

Wet Wet Wet

Wet Wet Wet พื้นเปียก ก็ลื่นเป็นเรื่องธรรมดา เรามักได้ยินคำว่า  Slippery when wet กันบ่อย ๆ  สนามบินเปียก เรียกว่า Wet Runway พื้นสนามบินเปียกนั้น จึงมีผลทำให้ระบบเบรคมีประสิทธิภาพลดลง บางสนามบินจึงทำพื้น runway ให้เป็นร่องเพื่อรีดน้ำออกได้เร็วขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพในการเบรคไปด้วยพร้อมกัน เราเรียกพื้นสนามบินแบบนั้นว่า grooved runway (pavement) แต่ก็มีบางกรณีที่ทำให้ระบบเบรคทำงานได้ไม่มีประสิทธภาพเลย พูดง่าย ๆ เบรคจนล้อล๊อคเครื่องบินก็ไม่ลดความเร็ว  ค่อย ๆ อ่านตามไปเรื่อย ๆ ครับ เครื่องบินจะมีระบบป้องกันล้อล๊อค เรียกว่า Anti-Skid System นอกจากช่วยป้องกันล้อล๊อคแล้ว ยังป้องกันการลดความเร็วไม่เท่ากันของล้อที่อยู่คู่กันและทุกล้อที่อยู่ในชุดเดียวกัน (Skidding) ล้อเครื่องบินนั้น เป็นพวงรวมกัน 2-6 ล้อ ต่อหนึ่ง Landing Gear อย่าง B747 จะมี Landing Gear ทั้งหมด 5 พวง 1 ที่ส่วนหน้า (Nose Gear) 4 ที่บริเวณลำตัว (2 Body & 2 Wing Gear) ล้อหน้า Nose Gear มักมี 2 ล้อ และเล็กกว่าล้อที่ช่วงลำตัว ล้อที่ช่วงลำตัวต้องรับน้ำหนักและแรงกระแทกมากจึงมีขนาดใหญ่กว่าและมีจำนวนยางมากกว่า […]

Go Around

การที่นักบินตัดสินใจนำเครื่องขึ้นใหม่ทั้งๆที่ในบางครั้งเครื่องบินกำลังจะแตะพื้นหรือแตะพื้นไปแล้วด้วยซ้ำแต่กลับเร่งเครื่องยนต์และเชิดหัวขึ้นใหม่ ภาษาการบินเราเรียกว่า Go-Around  การ Go-Around คือ การที่นักบินพิจารณาดูแล้วว่าหากนำเครื่องบินร่อนลงสนามต่อไป อาจมีความไม่ปลอดภัย ซึ่งปัจจัยต่าง ๆที่ต้องพิจารณามีหลายสาเหตุครับ ทั้งเรื่องของทัศนวิสัยที่ลดลง ความรุนแรงของลมที่กระโชกพัดผ่านเส้นทางที่จะลงสนาม ปัญหาด้านเทคนิคของสนามบินและเครื่องบิน ฯลฯ ซึ่งนักบินจะพิจารณาจาก เครื่องวัดประกอบการบินต่าง ๆการรายงานสภาพอากาศจากหอบังคับการบิน เป็นต้น โดยรวม ๆ ภาษานักบินเราเรียกว่า เกิดสภาพการบินที่มีความไม่แน่นอน (non-stabilize Approach) หรืออาจจะมองไม่เห็นสนามบินเมื่อถึงความสูงต่ำสุดที่สามารถลงไปได้ (Minimum Descend Altitude/Height หรือ Decision Altitude/Height แล้วแต่ชนิดของการลงสนาม) จึงต้องทำการตัดสินใจนำเครื่องบินขึ้นอีกครั้งเพื่อเริ่มต้นใหม่จึงเป็นทางออกที่ดีกว่า เพื่อความมั่นใจว่าทุกคนบนเครื่องบินปลอดภัยครับ ทุก ๆ Landing คือ การเตรียม Go-Around เรื่องการบินเป็นเรื่องของการคิดถึง worst case scenario มีหลักและกฏเกณฑ์ที่เป็นตัวชี้วัดต่าง ๆ ว่า ณ เวลานั้น ๆ เครื่องบินมีความเสี่ยงที่ทำให้ความปลอดภัยถูกลดลงไปหรือไม่ ตัวอย่างเช่น เวลาร่อนลงสนาม Approach to Land ช่วงของการลงสนามถือเป็นช่วงที่นักบินมี high workload สูงที่สุดเมื่อเทียบกับเฟสอื่น ๆ โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดเพราะตัวคน ก็ย่อมมีมากไปด้วย การลงสนามก็ต้องใช้ทักษะ ความสามารถในการบังคับเครื่องบินมากกว่าช่วงอื่น ๆ ด้วย หากมีตัวแปรอื่น ๆ เข้ามาร่วมด้วย เช่น ฝนตก มีกระแสลมแรง การบังคับเครื่องบินก็จะยิ่งมีความยากเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ดังนั้น […]

ปีกกระดก-Aileron

ปีกกระดก-Aileron   ส่วนสำคัญในการบังคับการเอียงซ้าย-ขวา ของเครื่องบิน คือ Aileron ไม่รู้จะเรียกภาษาไทยว่าอะไรดีให้จำง่าย ๆ ก็เรียกทับศัพท์กันไปล่ะกันครับ (เครื่องบินบางประเภทจะเรียกว่า Flaperon ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Flaps เรายังไม่พูดเรื่อง flaps เอาเป็นว่าอย่าเพิ่งลงลึกขนาดนั้นเดี๋ยวจะงง) ระหว่างเขียน มีคำเรียก aileron ขึ้นมาในใจว่า “ปีกกระดก”  เรื่องภาษาเรียกของผม อย่าเอาไปเป็นบรรทัดฐานสากลนะครับ ผมพยายามเรียกขานเพื่อให้มองเห็นภาพ และเพื่อความเข้าใจพื้นฐาน Aileron จะมีอยู่เหนือปีกทั้งสองข้างผมเคยเขียนเรื่อง Lift ไปแล้ว ว่ามันคือการสร้างแรงยกตัวของ airfoil แต่ aileron นั้นจะเป็นการทำให้ airfoil สูญเสีย Lift หรือในทางกลับกันคือเป็นการสร้าง lift กลับด้าน aileron ถูกติดตั้งไว้เหนือปีก มันจะยกตัวกระพือขึ้นเพื่อเปลี่ยน vector ของลมแล้วทำให้เกิดแรงยกที่ปีกด้านนั้นลดลง ในขณะที่ปีกอีกข้าง aileron จะไม่ยกตัวขึ้นมา (หรือปรับมุมลงล่างสวนทางไปเลย แล้วแต่การดีไซน์ปีก) เมื่อปีกสองข้างมี Lift ไม่เท่ากัน เครื่องบินก็จะเอียงไปทางปีกที่ aileron ยกตัวขึ้น เช่น aileron ด้านซ้ายยกตัวขึ้น ก็จะทำให้เครื่องบินเอียงซ้าย aileron ด้านขวายกตัวขึ้น ก็จะทำให้เครื่องบินเอียงขวา อย่างนี้เป็นต้น ภายในห้องบังคับเครื่องบินที่นักบินนั่งอยู่นั้นจะมีอุปกรณ์บังคับเลี้ยวบนอากาศ เรียกว่า Control Column  ถ้าเครื่อง Airbus รุ่นใหม่ ๆ จะเป็น Control Stick […]

หางตั้ง (Vertical Fin)

หางตั้ง (Vertical Fin) รูปร่างสามเหลี่ยมเกือบมุมฉาก วางแนวตั้งที่ด้านท้ายเครื่องบิน หน้าตาคล้ายหางปลา ส่วนที่แทบทุกสายการบินใช้แปะโลโก้ เราเรียกส่วนนี้ว่า Vertical Fin หรือ Vertical Stabilizer  Vertical Stabilizer หน้าตาจะคล้ายกับครึ่งเดียวของ Horizontal Stabilizer จับวางในแนวตั้ง เครื่องบินบางแบบใส่เครื่องยนต์ที่ 3 ไว้ที่บริเวณนี้ด้วย ในอดีตมีการผลิตเครื่องบิน 3 engines ค่อนข้างมาก เพื่อแทรกกลางพิสัยการบินของ 2 กับ 4 เครื่องยนต์ และลบข้อจำกัดของการบินด้วย 2 engines ที่ห้ามออกทะเลไกลๆ หรือห่างจากสนามบินที่สามารถนำเครื่องลงจอดได้เกินกว่า 1 ชม. ก็เลยใส่เครื่องยนต์ที่สามเพื่อช่วยแก้ปัญหาเรื่องข้อจำกัดนี้ รุ่นที่นิยมมากคือ DC10 และ MD11 แต่ปัจจุบันข้อกำหนดนี้ถูกกำกับด้วยมาตรฐานอื่นๆไปแล้ว  สำหรับ 2 engines aircraft ตัวอย่างเช่น การเพิ่มวิธีปฏิบัติและแนวทางในการซ่อมบำรุงที่เพิ่มขึ้น ทำให้เครื่องบินที่มี 2 เครื่องยนต์สามารถบินข้ามน้ำข้ามทะเลได้ไกลถึง 240 นาที กลับมาที่ vertical stabilizer ครับ หน้าที่หลักเป็นเรื่องการสร้างสมดุลย์ของเครื่องบินระหว่างอยู่บนอากาศ ตั้งลำอยู่ได้ในท่าทางที่ต้องการ ไม่หมุนควงสว่าน ใน vertical stabilizer มีพื้นที่ส่วนหนึ่งที่ขยับซ้าย-ขวาได้ ทำหน้าที่เป็นตัวช่วยในการบังคับเลี้ยว เราเรียกตรงส่วนนั้นว่า Rudder ที่เรียก rudder ว่าเป็นตัวช่วยในการบังคับเลี้ยว เพราะว่าถ้าใช้ rudder อย่างเดียวเครื่องไม่เลี้ยวครับ […]

0
0