Category: ความรู้การบิน Aviation Knowledge

ปีกเล็ก ๆ ที่อยู่ท้ายเครื่องบิน

ปีกเล็ก ๆ ที่อยู่ท้ายเครื่องบิน มีไว้ทำอะไร   ส่วนท้ายของเครื่องบินที่มีลักษณะคล้ายกับปีกแต่มีขนาดเล็กกว่าปีกมาก เรียกว่า Horizontal Stabilizer แต่มีหน้าที่ไม่เหมือนกับส่วนปีก เพราะไม่ได้ทำหน้าที่สร้างแรงยกตัวหลักเพื่อรับน้ำหนักตัวของเครื่องบินแบบบริเวณปีก แต่ทำหน้าที่ในการสร้างความสมดุลย์ของแรงที่กระทำต่อเครื่องบิน เหมือนเป็นตัว balance และปรับการบังคับให้เครื่องบินบินอยู่ในท่าทางที่ต้องการ เช่น เชิดหัวขึ้น (Pitch Up) หรือ ปรับให้เป็นมุมก้ม (Pitch Down) horizontal stabilizer คือ ตัวบังคับทิศทางในแนวดิ่ง (Vertical) นั่นเอง horizontal stabilizer จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของ Flight Control Systems เป็นชิ้นส่วนที่สามารถปรับมุม (ขึ้น-ลง) เพื่อบังคับเครื่องบินได้ ตัว Horizontal Stabilizer นั้น มี Elevators เป็นองค์ประกอบที่สามารถขยับปรับมุมขึ้นลงได้เช่นกัน แต่เป็นพื้นที่เพียงไม่กี่เปอร์เซนต์ของ horizontal stabilizer ทั้งแผ่น อธิบายง่าย ๆ ให้เห็นภาพชัด ๆ ว่า หากเครื่องบินต้องการเปลี่ยนท่าทาง แค่เพียงชั่วขณะ สามารถใช้ elevators ชิ้นเล็กๆ นี้ ปรับทิศทางของแรงที่กระทำต่อเครื่องบินทั้งลำได้  แต่ถ้าต้องการให้เครื่องบินอยู่ในท่าทางนั้นนาน ๆ ก็ให้ปรับมุมของ horizontal stabilizer เพื่อ balance ให้เครื่องบินอยู่ในท่าทางนั้น ๆ ไปเลย ในการบังคับเครื่องบินจะใช้ทั้ง horizontal stabilizer และ elevator เพื่อปรับมุมก้ม-มุมเงย ควบคู่กันไปตลอดเวลา

ว่าด้วยเรื่องแรงยกตัว Lift

ว่าด้วยเรื่องแรงยกตัว Lift  Lift หรือ แรงยกในทางการบิน ถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่สุดในการทำให้เครื่องบินลอยขึ้นไปในอากาศ รวมถึงการบังคับทิศทางของเครื่องบินในขณะอยู่บนอากาศด้วย ถ้าพูดถึงเครื่องบิน เราจะนึกถึง ปีก (wings) แรงยกที่ปีก ทำให้เครื่องบินลอยสู่อากาศโดยอาศัยหลักวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับความดัน (pressure) ปีกเครื่องบินด้านบนจะถูกทำให้เป็นรูปร่างโค้ง ผิวปีกด้านล่างจะเป็นแบบเรียบ ส่วนสันด้านหน้าจะหนากว่าด้านท้าย เราเรียกลักษณะรูปร่าง ที่ทำเป็นปีกของเครื่องบินด้านบนโค้งด้านล่างตัดตรง ว่า aerofoil (หรือ Airfoil) aerofoil เมื่อวิ่งแหวกอากาศไปนั้น ลมที่ถูกแหวกให้วิ่งผ่านเหนือ aerofoil นั้น จะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วมากกว่า ลมที่ผ่านใต้ aerofoil ด้านบนที่ลมมีความเร็วสูงจะเกิดความดันอากาศน้อยลงและน้อยกว่าด้านล่างใต้ aerofoil (Bernoulli′s Principle) ความดันที่ด้านใต้สูงกว่าความดันที่ด้านบนจึงทำให้เกิดแรงดันขึ้นด้านบน หรือ เกิดแรงยกตัว คือ Lift นั่นเอง ดังนั้นหากต้องการ Lift เยอะ ๆ ก็ทำปีกให้ใหญ่ ให้กว้างและยาวขึ้น เพื่อให้สัมพันธ์กับน้ำหนักของเครื่องบิน เครื่องบินลำใหญ่จึงต้องสร้างปีกใหญ่ๆ และบริเวณแพนหางขนาดที่ใหญ่ตามไปด้วยเพื่อใช้บังคับทิศทางของเครื่องบิน

Taxi and Taxiway

Taxi and Taxiway คำว่า Taxi หมายถึงเครื่องบินเคลื่อนที่ด้วยกำลังของเครื่องยนต์ไปตามทางระหว่าง หลุมจอด (parking bay) เพื่อไปที่ runway หรือระหว่างออกจาก runway ไปที่หลุมจอด เส้นทางที่ใช้ในการ taxi ภาษาไทยเรียกว่า ทางขับ ภาษาอังกฤษเรียกว่า taxiway  ส่วน runway ภาษาไทย เรียกว่า ทางวิ่ง การที่เครื่องบินจะ taxi ไปทางไหน จะต้องได้รับคำอนุญาตจากหอบังคับการบินก่อนเสมอ ซึ่งหอบังคับการบินก็จะแบ่งส่วนในการควบคุมออกไปเป็นส่วนหรือ zone ย่อยๆอีก เช่น การควบคุมตอนเครื่องบินอยู่ที่พื้นในบริเวณหลุมจอด จะเรียกว่า apron control หรือ ground control อาจมีบริเวณคาบเกี่ยวกัน อย่างสุวรรณภูมิ เรียกเป็น ground ไม่ได้แยกเป็น apron หลังจากออกจากบริเวณหลุมจอด ก็จะเป็น taxiway  ต่างๆ ที่ใช้ ground control เป็นคนให้เส้นทางเพื่อไปสู่รันเวย์ที่จะวิ่งขึ้น taxiway ต่างๆจะมีชื่อประจำตัว เหมือนเป็นชื่อถนน แต่เป็นชื่อสั้นๆที่เป็น code ให้เข้าใจง่าย หลังจากเคลื่อนที่เข้ามาจะใกล้จะถึงรันเวย์ ก็จะเป็นหน้าที่ของ tower control ที่จะเป็นคนควบคุมคำสั่งในการบริหารการจราจรระหว่างก่อนเครื่องบินเข้าในรันเวย์จนกระทั่งเครื่องบินลอยสู่อากาศที่ความสูงความสูงหนึ่ง แล้วแต่การกำหนดของการควบคุมจราจรทางอากาศ (Airspace classification) แล้วจะส่งต่อให้กับ departure control อีกต่อหนึ่ง สนามบินเล็ก ๆ อาจจะใช้ […]

Preamble

ผมเริ่มเขียนเรื่องราวต่างๆ จากประสบการณ์การบินตลอด 20 กว่าปี โดยเริ่มโพสต์ในเฟสบุ๊คตั้งแต่ช่วงประมาณเดือนกรกฏาคม 2557 เดิมทีตั้งใจว่า ค่อย ๆ เขียนไปเรื่อย ๆ นึกเรื่องอะไรน่าสนใจได้ก็เขียนไป บางเรื่องก็เขียนจากคำถามที่เพื่อนเคยถามเวลาอยู่ในวงสนทนา รวมถึงข้อสงสัยบางประเด็นที่เป็นข่าวตอนนั้น หรือประเด็นที่คนส่วนใหญ่อาจไม่เข้าใจหรือเข้าใจไม่ถูกต้อง ถือเป็นการให้ข้อมูลในมุมมองของนักบินแบบกลาง ๆ ครับ ไม่ได้เอียงซ้าย เอียงขวา หลังจากเขียนไปได้ระยะหนึ่ง ก็มีเพื่อน ๆ พยายามบอกว่าให้รวมเล่ม ทำขายไปเลย แต่ด้วยความที่ผมไม่ใช่นักเขียนมืออาชีพ ก็ไม่ค่อยจะมั่นใจนักว่างานเขียนของผมจะตอบโจทย์ความน่าสนใจของคนทั่วไปได้จริง ๆ หรือไม่  คราวนี้ถือเป็นการลองของ โดนยุให้พิมพ์เป็นเล่มครับ ผมลองคัดเรื่องบางเรื่องที่เคยเขียนไว้ในเฟสบุ๊ค มาเรียบเรียงใหม่และเขียนเพิ่มเติมขึ้นอีกหลายหัวข้อ หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์บ้างสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับอาชีพนักบินและการบินรวมทั้งความรู้ทั่วไปสำหรับนักเดินทาง หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคงจะเป็นประโยชน์กับสาธารณะบ้างไม่มากก็น้อยครับ กัปตันโสภณ พิฆเนศวร กันยายน 2558 คำนำจากการพิมพ์ครั้งที่ 5 การพิมพ์ A Pilot Book เล่มนี้ห่างจากการพิมพ์ครั้งแรกประมาณ สองปีกว่า ๆ รอบนี้มีการแก้ไขและปรับตัวอักษรให้มีขนาดใหญ่ขึ้น หนังสือก็จะมีความหนาเพิ่มขึ้นกว่าครั้งก่อน ๆ ประมาณ 40 หน้า ส่วนเนื้อหาต่าง ๆ นั้นอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง โดยเฉพาะบทที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องของกรมการบินพลเรือน ซึ่งในปัจจุบันกรมการบินพลเรือนนั้นได้ถูกยุบไปแล้วและได้มีการจัดตั้งสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยขึ้นมาทำหน้าที่แทน  อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการรักษาข้อความและเนื้อความเดิม ๆ ของทุก ๆ เรื่องเอาไว้ ผมจึงพยายามที่จะปรับแต่งเนื้อความในแต่ละบทให้น้อยที่สุด แต่จะเพิ่มเติมข้อความหรือข้อมูลใหม่ ๆ เข้าไปแทนเพื่อทำให้ข้อมูลนั้นมีความเป็นปัจจุบันมากขึ้น ผมหวังว่าหนังสือ A Pilot เล่มนี้ จะเป็นตัวแทนในการเล่าประสบการณ์ของ A […]

Welcome to A Pilot Club, World of Aviators

ยินดีต้อนรับสู่โลกแห่งการบิน แหล่งความรู้และประสบการณ์การบิน พร้อมข้อแนะนำในการเดินทาง ข้อมูลและข้อแนะนำแหล่งท่องเที่ยวทั่วทุกมุมโลก ผมเริ่มเขียนเรื่องราวต่างๆ จากประสบการณ์การบินตลอด 20 กว่าปี โดยเริ่มโพสต์ในเฟสบุ๊คตั้งแต่ช่วงประมาณเดือนกรกฏาคม 2557 เดิมทีตั้งใจว่า ค่อย ๆ เขียนไปเรื่อย ๆ นึกเรื่องอะไรน่าสนใจได้ก็เขียนไป บางเรื่องก็เขียนจากคำถามที่เพื่อนเคยถามเวลาอยู่ในวงสนทนา รวมถึงข้อสงสัยบางประเด็นที่เป็นข่าวตอนนั้น หรือประเด็นที่คนส่วนใหญ่อาจไม่เข้าใจหรือเข้าใจไม่ถูกต้อง ถือเป็นการให้ข้อมูลในมุมมองของนักบินแบบกลาง ๆ ครับ ไม่ได้เอียงซ้าย เอียงขวา หลังจากเขียนไปได้ระยะหนึ่ง ก็มีเพื่อน ๆ พยายามบอกว่าให้รวมเล่ม ทำขายไปเลย แต่ด้วยความที่ผมไม่ใช่นักเขียนมืออาชีพ ก็ไม่ค่อยจะมั่นใจนักว่างานเขียนของผมจะตอบโจทย์ความน่าสนใจของคนทั่วไปได้จริง ๆ หรือไม่  คราวนี้ถือเป็นการลองของ โดนยุให้พิมพ์เป็นเล่มครับ ผมลองคัดเรื่องบางเรื่องที่เคยเขียนไว้ในเฟสบุ๊ค มาเรียบเรียงใหม่และเขียนเพิ่มเติมขึ้นอีกหลายหัวข้อ หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์บ้างสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับอาชีพนักบินและการบินรวมทั้งความรู้ทั่วไปสำหรับนักเดินทาง หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคงจะเป็นประโยชน์กับสาธารณะบ้างไม่มากก็น้อยครับ กัปตันโสภณ พิฆเนศวร กันยายน 2558 พิมพ์ครั้งที่ 5 การพิมพ์ A Pilot Book เล่มนี้ห่างจากการพิมพ์ครั้งแรกประมาณ สองปีกว่า ๆ รอบนี้มีการแก้ไขและปรับตัวอักษรให้มีขนาดใหญ่ขึ้น หนังสือก็จะมีความหนาเพิ่มขึ้นกว่าครั้งก่อน ๆ ประมาณ 40 หน้า ส่วนเนื้อหาต่าง ๆ นั้นอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง โดยเฉพาะบทที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องของกรมการบินพลเรือน ซึ่งในปัจจุบันกรมการบินพลเรือนนั้นได้ถูกยุบไปแล้วและได้มีการจัดตั้งสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยขึ้นมาทำหน้าที่แทน  อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการรักษาข้อความและเนื้อความเดิม ๆ ของทุก ๆ เรื่องเอาไว้ ผมจึงพยายามที่จะปรับแต่งเนื้อความในแต่ละบทให้น้อยที่สุด แต่จะเพิ่มเติมข้อความหรือข้อมูลใหม่ ๆ เข้าไปแทนเพื่อทำให้ข้อมูลนั้นมีความเป็นปัจจุบันมากขึ้น ผมหวังว่าหนังสือ A […]

1 16 17 18
0
0