Category: ความรู้การบิน Aviation Knowledge

หูอื้อ

หูอื้อ มีคำถามจากเพื่อนสมัยเรียนมัธยมเขียนถามมาในเฟสบุ๊คว่า “ขึ้นเครื่องจากดอนเมืองไปอุดรรู้สึกหูอื้อช่วงเครื่องขึ้นสักพักก็หาย แต่พอไปได้สักครึ่งทางก็หูอื้อ บางช่วงรู้สึกปวดแก้วหู เราไม่พกหมากฝรั่งเลยใช้วิธีเคี้ยวปาก จนกระทั่งเครื่องลงก็ไม่หาย  กลับถึงบ้านแล้ว 5-6 ชม.ค่อยดีขึ้น  ปกติขึ้นเครื่องก็ไม่เคยเป็นขนาดนี้นะ จะเป็นเฉพาะเครื่องบินต่างระดับเท่านั้น แต่ครั้งนี้รู้สึกมากขนาดปวดหู ถามน้องที่ไปด้วยก็บอกว่าไม่มีอาการ อยากทราบว่าอาการที่เกิดขึ้นเป็นที่ตัวเราเองรึเปล่าคะ” ขอตอบแบบใช้ความรู้ของนักบินนะครับ อาการหูอื้อมักเกิดขึ้นช่วงเครื่องบินลดระดับ มากกว่าช่วงเครื่องบินไต่ระดับความสูงขึ้น ช่วงบินขึ้น อากาศภายในห้องโดยสารจะเบาบางลง ความดันอากาศภายในหูจะค่อย ๆ ปรับได้ไม่ยาก ช่วงที่เครื่องบินลดระดับ จะมีการอัดอากาศเข้าในห้องโดยสารเพื่อเพิ่มความกดอากาศให้สัมพันธ์กับความดันอากาศที่อยู่ที่พื้นเมื่อเครื่องบินแตะพื้น หูชั้นในจะต้องปรับความดันเพื่อให้อากาศเข้าไปด้วย ไม่อย่างนั้นจะมีความต่างของความดันเพิ่มขึ้นจะเกิดความรู้สึกหูอื้อ และอาจถึงขั้นปวดหู หากไม่ปรับความดันของหูชั้นในเลยอาจทำให้หูชั้นในได้รับบาดเจ็บฉีกขาดได้ โดยปกติร่างกายจะพยายามปรับตัวอยู่แล้ว และจะส่งสัญญาณเตือนให้เรารู้ด้วยอาการหูอื้อดังนั้น ผมแนะนำว่า การกลืนน้ำลาย หรือการเคี้ยวหมากฝรั่ง ช่วยได้ ถ้าใครกระดิกหูได้ก็ลองทำดูครับ ช่วยเปิดอากาศให้ถ่ายเทเข้าสู่หูชั้นในได้เช่นกัน  หากเริ่มหูอื้อ จนรู้สึกว่า มีแรงกดเข้าที่หู อาจจะต้องใช้วิธีการที่เรียกว่า Valsalva Valsalva คือ การที่เราหายใจเข้าลึก ๆ แล้วใช้มือบีบจมูกและเม้มปากไว้ หลังจากนั้นให้ทำเหมือนพยายามเป่าลมออกมา เราจะได้ยินเสียง Air Pop ที่หูของเรา อาจจะต้องทำหลาย ๆ ครั้ง หากยังมีอาการหูอื้ออยู่ ขึ้นเครื่องบินบางครั้ง เป็นบางครั้งไม่เป็น หรือไม่เกิดอาการหูอื้อ อาจจะอยู่ที่ร่างกายของเราด้วยครับ เช่น คนเป็นหวัด หรือมีอาการอักเสบของแก้วหู ที่มีอาการบวมของหูชั้นในอยู่ จะทำให้ความสามารถในการปรับความดันของหูลดลง อาจจะทำให้เกิดอาการหูอื้อ หรือหูดับไปได้หลายชั่วโมง คนที่เป็นอาการหนัก ๆ อาจจะเป็นวัน ๆ แล้วอยู่ดี ๆ ก็จะได้ยินเสียง “Air Pop” […]

Seat Belt

กรุณารัดเข็มขัดนิรภัยด้วยครับ หากกัปตันไม่ให้สัญญาณว่าปลดเข็มขัดนิรภัยได้ ผู้โดยสารไม่ควรปลดออกในทุกกรณี หากเป็นการออกเดินทางเพื่อไปจุดหมาย มักไม่ค่อยพบปัญหานี้เท่าไหร่ เพราะส่วนใหญ่จะนั่งรอเครื่องวิ่งขึ้น แต่เมื่อ landing ที่ปลายทางแล้ว ผู้โดยสารมักชอบลุกจากที่นั่งเพื่อรีบหยิบของเตรียมตัวลงจากเครื่องบิน  อันนี้ไม่ปลอดภัย แม้ว่าเราจะรู้สึกว่าเครื่องหยุดอยู่กับที่ แต่ความจริงแล้วเครื่องบินอาจจะกำลังเคลื่อนที่อยู่อย่างช้า ๆ หรือบางครั้งอาจจะหยุดเพื่อรอทาง   ส่วนตัวผม หากเกิดกรณีที่จำเป็นต้องหยุดเครื่องโดยรู้ล่วงหน้า ผมจะประกาศบอกผู้โดยสารเสมอว่า ให้นั่งอยู่กับที่ก่อนจนกว่าสัญญาณรัดเข็มขัดจะดับลง เพราะเครื่องบินยังไม่ถึงหลุมจอด อาจจะด้วยหลายสาเหตุ เช่น มีเครื่องบินลำอื่นจอดอยู่ยังไม่ถอยออกจากหลุมจอดที่เราจะเข้า หรือทางที่เราจะใช้เคลื่อนตัวเข้าไปจอด มีเครื่องบินอีกลำเคลื่อนสวนออกมา เป็นต้น โดยปกติ หอบังคับการบิน จะพยายามจัดการจราจรภาคพื้นเพื่อให้เครื่องบินทุกลำสามารถเคลื่อนที่ไปได้โดยไม่ต้องสะดุด หรือจอดรอ แต่ในบางครั้งก็จำเป็นครับ อาจจะเพราะเครื่องบินมาก หรือมีการปิดซ่อมทาง taxiway ทำให้การจัดการจราจรภาคพื้นคับคั่ง และก็อาจจะมีบ้างที่ต้องเบรคกระทันหัน เช่น รถขนของวิ่งตัดหน้าเครื่องบิน (คนขับไม่ได้มอง อันนี้คนขับรถจะโดนลงโทษความผิด ยิ่งกว่าฝ่าไฟแดงแล้วโดนกล้องวงจรปิดถ่ายรูปไว้) หรือ มีการเข้าใจผิดในการใช้ทาง หรือ ฯลฯการเบรคกระทันหัน แม้ว่าจะเป็นช่วงที่มีความเร็วต่ำ ๆ ของเครื่องบิน ก็สามารถทำให้เกิดอันตรายต่อผู้โดยสารได้เช่นกันเพราะว่าการที่เครื่องบินเคลื่อนที่ช้า ๆ (ตามความรู้สึกของเรา) แต่จริง ๆ แล้ว เครื่องบินเคลื่อนที่ด้วยความเร็วพอสมควรทีเดียวครับ การ taxi เพื่อเข้าจอด หรือ เพื่อไปวิ่งขึ้นก็ตาม นักบินจะใช้ความเร็ว 10-30 knots ซึ่งเทียบเท่ากับประมาณ 20-60 km/hr การเบรคกระทันหันที่ความเร็วนี้ จึงอาจทำอันตรายให้กับผู้ที่ลุกขึ้นยืน หรือกำลังอยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสมได้ คนที่ยืน อาจจะล้มไปกระแทกกับคนที่นั่งอยู่ทำให้บาดเจ็บ และถ้าเกิดคนที่ลุกยืนทำการเปิดช่องเก็บสัมภาระเหนือศรีษะอยู่ด้วย ยิ่งเป็นอันตรายมาก เพราะของในที่ใส่ของอาจจะหล่นลงมาใส่คนที่นั่งอยู่จนได้รับบาดเจ็บ […]

ขึ้นเครื่องบินอย่าเมาเหล้า

ขึ้นเครื่องบินอย่าเมาเหล้า เห็นข่าวเรื่องผู้โดยสารเมาแล้วทะเลาะวิวาทกันบนเครื่องบินไหมครับ มีหลายประเด็นที่น่ากล่าวถึงเพื่อเป็นประโยชน์ให้เพื่อนๆรับทราบข้อมูลกรณีต้องเดินทางโดยเครื่องบิน และอยากดื่ม แอลกอฮอล์ ขอให้คิดสักนิด ก่อนดื่ม ขอให้ดื่มแต่พอดี  อย่าคิดว่าเป็นของฟรีแล้วดื่มไม่ยั้ง ขอให้หยุดดื่มทันที เมื่อพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินปฏิเสธที่จะให้บริการเครื่องดื่มมึนเมาแก่ท่าน บริษัท หรือ สายการบินชั้นนำทั่ว ๆ ไป แทบทุกสายการบินจะไม่อนุญาตให้นำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ซื้อหามาเองมาดื่มบนเครื่องบินระหว่างเที่ยวบิน อ่านแล้วอาจจะแปลกใจว่า “ ทำไม ฉันซื้อมาเองทำไมจะดื่มไม่ได้ “  คำถามนี้เกิดขึ้นบ่อย ๆ ครับ ทั้ง ๆ ที่สายการบินน่าจะชอบที่ไม่ต้องเปลืองเหล้า เบียร์ หรือไวน์ของบริษัท น่าจะช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายของบริษัทฯ นะ ความจริงมีอยู่ว่า สายการบินชั้นนำ หรือที่เรียกกันว่า Premium ไม่ได้คิดถึงเรื่องการประหยัดในเรื่องนี้ครับ แต่นึกถึงการให้บริการที่ดีตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก แต่นึกถึงความปลอดภัยโดยรวมของเที่ยวบินมากกว่าทุก ๆ สิ่งครับ การห้ามผู้โดยสารนำของมึนเมาที่ซื้อหามาเองมาดื่มบนเครื่องบินนั้น เป็นกฏกติกาของบริษัทหรือสารการบินชั้นนำที่มีมาตรฐานสากล แบบเดียวกับการบินไทย ที่ต้องการความปลอดภัย ความสะดวกสบายและความเป็นส่วนตัวของผู้โดยสารบนเที่ยวบินครับ  “เราขอสงวนสิทธิที่จะให้บริการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แก่ผู้โดยสารที่อยู่ในอาการมึนเมา และผู้โดยสารที่อายุน้อยกว่า 18ปี และ ไม่อนุญาตให้นำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาดื่มเอง และให้ดื่มได้เฉพาะที่บริษัทฯ มีเตรียมไว้บริการบนเครื่องเท่านั้น” สำนวนประมาณนี้ครับ เวลาที่แอร์โฮสเตสประกาศบนเที่ยวบิน เพราะว่า ทางพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินจะมีหน้าที่คอยเฝ้าดูแลผู้โดยสารทุก ๆ คนและระงับการให้บริการแก่ผู้โดยสารที่มีอาการมึนเมา หรือ ผู้โดยสารที่ไม่อยู่ในสภาพที่สมควรดื่มแอลกอฮอล์  เช่น อายุต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ ๑๘ ปี  หรือผู้โดยสารที่ถูกเนรเทศออกนอกประเทศ  หรือผู้โดยสารที่จำเป็นต้องมีผู้ควบคุมความประพฤติเดินทางด้วยในทุก ๆ กรณี (รวมทั้งผู้คุมก็ถูกห้ามด้วย) เป็นต้น สาเหตุก็เพราะว่าหากผู้โดยสารนำเครื่องดื่มของมึนเมามาทานเอง พนักงานต้อนรับจะไม่สามารถประเมินและควบคุมปริมาณการดื่มเพื่อให้อยู่ในปริมาณที่ไม่มากเกินไปจนเกินความมึนเมาได้ ไม่ใช่หวง ไม่ให้เพราะงก แต่ไม่ให้เพราะคุณเริ่มจะเมาแล้ว […]

In the cabin

In the cabin เรื่องน่ารู้ภายในห้องโดยสาร สำหรับนักเดินทางที่เดินทางโดยเครื่องบินบ่อย ๆ คงไม่ต้องอ่านเรื่องต่อไปนี้  สำหรับคนที่เดินทางไม่บ่อย มีหลาย ๆ อย่างที่อยากแนะนำให้รับทราบไว้ เผื่อจะได้ไม่งุนงง ผู้โดยสาร ภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า Passenger ตัวย่อทางเทคนิคในแวดวงการบิน คือ PAX ซึ่งหมายถึงผู้โดยสารหลาย ๆ คน หรือเวลาเราพูดโดยไม่เจาะจงจำนวนหรือเป็นการกล่าวถึงเป็นบุคคลที่สาม ถ้าเป็นการเฉพาะเจาะจงถึงผู้โดยสารเพียงคนเดียวจะใช้คำว่า PAP Air Crew โดยรวม หมายถึง ลูกเรือบนเครื่องบินทั้งหมด รวมนักบิน (Flight deck Crew/Cockpit Crew) และ พนักงานต้อนรับ (Cabin Crew) Air Steward (มักเรียกสั้น ๆ ว่า “สจ๊วต”) หมายถึง พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเพศชาย Air Hostess หมายถึง พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเพศหญิง (ในภาษาอังกฤษใช้อีกคำหนึ่งด้วยคือ Stewardess) บนเครื่องบินของสายการบินชั้นนำส่วนใหญ่จะมีจำนวน Cabin Crew มากกว่าที่กำหนดไว้ขั้นต่ำ เพื่อให้บริการผู้โดยสารให้มีความสะดวกสบายในการเดินทาง และประโยชน์สูงสุดคือเรื่องการให้ความช่วยเหลือ pax กรณีมีเหตุการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ เกิดขึ้น การทำงานของลูกเรือ (ปกติจะใช้คำว่า “ลูกเรือ” หมายถึง Cabin Crew) จะแบ่งเป็นโซน ซ้าย-ขวา และเป็นช่วง ๆ โดยมีตำแหน่งประตูเป็นชื่อประจำตำแหน่ง เช่น […]

สิ่งที่อยากให้ทุกคนอ่าน

สิ่งที่อยากให้ทุกคนอ่านเมื่อขึ้นเครื่องบิน ผมขอเขียนถึงสิ่งที่อยากให้ทุกคนรู้ ตามมุมมองของนักบินนะครับ สิ่งแรกที่นักบินนึกถึงก่อนเสมอเวลามีเหตุการณ์ไม่ปกติเกิดขึ้นคือ ความปลอดภัยของชีวิตคนทุกคนบนเที่ยวบิน “Safety is the first priority” ครับ ค่อย ๆ อ่านนะครับ เพื่อจะได้เห็นความสำคัญและมุมมองที่ต่างออกไปครับ ลูกเรือ (Crew) ตามกฏหมายระบุให้มีสัดส่วนจำนวนไม่น้อยกว่า 1 คน ต่อผู้โดยสาร 50 คน นั่นคือกฏเกณฑ์สากล คิดง่ายๆโดยเทียบกับจำนวนที่นั่งที่มีอยู่บนเครื่องหารด้วย 50 เหลือเศษให้ปัดขึ้น เช่น B747-400 ของการบินไทย มีที่นั่งทั้งหมด 375 ที่นั่ง ต้องมีลูกเรืออย่างน้อย 8 คนเป็นต้น สายการบินที่เน้นด้านความปลอดภัยและการบริการในระดับสูง (Premium Airline) จะมีการกำหนดจำนวนลูกเรือขั้นต่ำไว้เกินกว่าที่กฏหมายกำหนด เพื่อให้การบริการและการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้โดยสารในกรณีฉุกเฉินทำได้อย่างทั่วถึงรวดเร็วขึ้น อย่าง B747-400 ก็จะใช้ลูกเรือ 14-18 คนแล้วแต่เส้นทางและลักษณะการบริการ เป็นต้น และต้องมีที่ประจำตำแหน่งของลูกเรือแต่ละคน ซึ่งกระจายไปทั่วๆ ตลอดลำตัวของเครื่องบินทั้งชั้นบนและชั้นล่างของห้องโดยสาร โดยเฉพาะช่วงเวลาที่มีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุสูงอย่าง การวิ่งขึ้น (takeoff) และการร่อนลงสู่สนามบิน (landing) ลูกเรือทุกคนจะต้องอยู่ประจำตำแหน่งที่นั่งของตนเองเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด (เราเรียกว่า unprepared emergency) แม้ว่าสายการบินหลักๆ จะเพิ่มจำนวนลูกเรือให้มีมากกว่ามาตรฐานเพื่อรองรับการดูแลผู้โดยสารให้ทั่วถึงแล้วก็ตาม แต่ในสถานการณ์หรือ สภาพเหตุการณ์บางเหตุกาณ์ที่ผู้โดยสารทุกคนจำเป็นต้องช่วยเหลือและดูแลตนเองและบุคคลใกล้ชิดเป็นการฉุกเฉินก่อน จนกว่าลูกเรือจะสามารถเข้ามาช่วยเหลือได้ อย่างเช่น ระหว่างบินระดับ หากเครื่องบินสูญเสียระบบควบคุมความดันอากาศฉับพลัน (Rapid Decompression) (ระบบควบคุมความดันอากาศภายในห้องโดยสารเรียกว่า Pressurization control system) ผู้โดยสารทุกคนจะต้องช่วยตัวเองด้วยการใช้ระบบออกซิเจนฉุกเฉิน (emergeny […]

0
0