Author: Capt.Sopon P.

เห็นชัดๆ ชนและไฟลุกทันทีที่แตะพื้น

ในวันที่ 5 มกราคม 2024 กำลังดำเนินการเพื่อล้างทางวิ่ง ได้รับข้อมูลบันทึกข้อมูลเที่ยวบินของ A359 แต่ยังไม่ได้ค้นพบ CVR ในวันที่ 5 มกราคม 2024 กระทรวงคมนาคมรายงานว่าตัวควบคุมของทาวเวอร์ที่รับผิดชอบได้รายงานในการสัมภาษณ์ว่าหลังจากที่ให้คำแนะนำการเลี้ยวไปที่ DH8C เขาตั้งใจมองไปที่เครื่องบินอื่น ๆ และไม่สังเกตให้เห็นว่า DH8C ได้เลี้ยวไปที่ทางวิ่ง ทางระบบตรวจสอบทางวิ่งได้ทำงานอย่างถูกต้อง DH8C หยุดอยู่ในทางวิ่งเป็นเวลาประมาณ 40 วินาที นั่นเป็นไปได้ว่าควบคุมได้พลาดการแสดงแจ้งเตือน ไม่มีกฎระบุว่าต้องมองหน้าจอตลอดเวลา หน้าจอจะเปลี่ยนเป็นสีแดงและทางวิ่งจะกระพือเหลือง (ทำงานบนทุกทางวิ่งตั้งแต่ปี 2011) ทางวิ่ง 34R คาดว่าจะเปิดให้บริการในวันที่ 8 มกราคม 2024 ตามรายงานจากสื่อญี่ปุ่นโดยนักข่าวที่อยู่บนเครื่อง A359 เป็นผู้โดยสารการอพยพส่วนใหญ่ได้เสร็จสมบูรณ์ประมาณ 7 นาทีหลังจากการชน กัปตันต่อมาเดินไปในเครื่องบินและพบว่ามีผู้โดยสารหลายคนที่ยังไม่ได้อพยพและให้เขาออกจากเครื่องบิน กัปตันเป็นคนสุดท้ายที่ออกจากเครื่องบิน 18 นาทีหลังจากที่หยุดไป ความเป็นมืออาชีพของกัปตัน แม้วินาทีชีวิต เค้ายังคงปฏิบัติหน้าที่จนวินาทีสุดท้ายคือการพาผู้โดยสารออกจากเครื่องบินและออกจากเครื่องบินเป็นคนสุดท้ายตามหลักปฏิบัติของนักบินพาณิชย์ยามที่จะต้องทำการอพยพ

แอร์บัส เอ350 ชนกับ Dash-8 ที่ฮาเนดะ

ระหว่างที่ JAL Japan Airlines Airbus A350-900, ทะเบียน JA13XJ กำลังดำเนินการเที่ยวบิน JL-516 จากซัปโปโรไปยังโตเกียวฮาเนดะ (ญี่ปุ่น) โดยมีผู้โดยสาร 367 คนและลูกบิน 12 คน ลงจอดที่ท่าอากาศยาน 34R ที่ฮาเนดะ เวลา 17:47 น. (08:47 น. Z) ในสภาพแวดล้อมที่มีแสงไฟในยามค่ำคืน แต่ทะลุกับเครื่องบิน Dash 8-300 ของกรมนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ทะเบียน JA722A (โค้ดของความมั่นคง MA722) บนทางวิ่งไม่นานหลังจากที่ลงจอดและไฟไหม้ขึ้น นักบิน A350 ลงจอดนอนนอกขอบขวาของทางวิ่งประมาณ 1680 เมตร/5510 ฟุต และได้รับการอพยพ ผู้โดยสารทุกคนสามารถอพยพไปได้ ในขณะเดียวกันเครื่องบินอีกลำที่บรรทุก 6 คนก็ไฟไหม้ขึ้น ซึ่งมีผู้โดยสาร 5 คนเสียชีวิต ทั้งสองเครื่องบินได้ถูกลบหลุดดับไฟประมาณ 8 ชั่วโมงหลังจากการชนนั้น สายการบินรายงานว่า A350 ของพวกเขามีผู้โดยสาร 367 คน (รวม 8 เด็ก) และลูกบิน 12 คน ทั้งหมดถูกอพยพจากเครื่องบิน ในการประกาศข่าวครั้งที่สอง สายการบินรายงานว่าไม่มีความผิดปกติกับเครื่องบินก่อนการออกเดินทาง ลูกบินได้รับอนุญาตทำการลงจอดและได้ยินการตอบรับการลงจอดกลับ หลังจากการชนและหยุดนิ่งทางอุบัติเหตุทั้งสามนี้ได้ใช้พื้นน้ำหนักฉุกเฉินสามทางในการอพยพผู้โดยสารจากเครื่องบิน รายละเอียดของอุบัติเหตุนี้กำลังอยู่ในกระบวนการสืบสวนโดย JTSB คณะมีดีไปต์ของญี่ปุ่นรายงานว่า Dash 8-300 ทะเบียน […]

โบอิ้ง 777 ลงกระแทกพื้นที่สนามบินลอนดอน

27 ธันวาคม ข่าวจากในเว็บไซต์ Flipboard @Independent นำวิดีโอจากยูทูปที่ถ่ายโดย BigJet TV มานำเสนอ ผมดูแล้วมันน่าตื่นเต้น และน่าจะเป็นประโยชน์ในการบิน เลยเอามาแชร์ให้ดูกันพร้อมบรรยายให้ฟังครับ เครื่องบินของสายการบินอเมริกันแอร์ไลน์ Boeing 777 ขณะลงสนามเครื่องบินเอียงไปทางซ้ายอย่างฉับพลันและนักบินแก้ไขให้ปีกบินระดับแต่เกิดการกระแทกลงพื้นและกระดอนขึ้นอีก 2-3 ครั้ง ที่น่าสนใจคือ ล้อหัวของเครื่องบินกระแทกพื้นก่อนในจังหวะที่มีการกระดอนขึ้นมา ตรงนี้เป็นปัญหาหรือไม่ ทางสายการบินก็คงทำการตรวจเช็คสภาพของเครื่องบินอีกทีครับ เครื่องบินรุ่นนี้มีระบบตรวจวัดความรุนแรงของการกระแทกครับ ถ้าเกิดลิมิตมันก็จะเตือนให้นักบินทราบทันที และก็ต้องให้ช่างมาทำการซ่อมบำรุงก่อนบินกลับ (ดูแล้วก็อาจจะไม่ได้รุนแรงมากนักครับ น่าจะบินกลับอเมริกาได้)

เป็นนักบินไทยที่มองโกเลีย

คุณ Arpakorn เล่าประสบการณ์บินที่ไปบินที่มองโกเลีย เป็นประโยชน์ครับ เรียนบินจากอเมริกาแล้วไปเป็นนักบินของมองโกเลี่ยนแอร์ไลน์ Wet lease ไปบินที่ Armenia บินไปในยุโรป รวมถึงรัสเซียที่เป็นพื้นที่สงคราม เล่าและคุยกันหลายๆเรื่อง ลองฟังดูครับ #เป็นนักบินต่างประเทศ #บินเยอรมันฟังยาก #ผมว่าฝรั่งเศสยากกว่า

ถอดบทเรียนกาแฟร้อน เที่ยวบินการบินไทย

สวัสดีครับ วันนี้มีเรื่องน่าสนใจ จากโพสต์ที่คุณสรยุทธ โพสต์ในเพจ กรรมกรข่าว เกี่ยวกับผู้โดยสารท่าน หนึ่ง เดินทางจากกรุงเทพฯไปเชียงใหม่บนเครื่องบินของบริษัทการบินไทย ในระหว่างที่ แอร์โฮสเตสให้บริการเครื่องดื่มกาแฟ เขาก็มีการ ตั้งข้อสังเกตนิดหน่อยว่า ปกติจะเสิร์ฟ โดยใช้ถาด เล็กๆ วางแก้วกาแฟมาให้ผู้โดยสารรับไป แต่ในวันนี้เป็นการ ยกแก้วกาแฟมาให้กับมือผู้โดยสาร เมื่อ แอร์โฮสเตสหยิบแก้วกาแฟส่งให้ผู้โดยสารที่นั่งข้างๆ แล้วเกิดทำแก้วกาแฟหล่นใส่ตัวของผู้โดยสารที่นั่งอยู่ระหว่างกลางจนทำให้ผู้โดยสารนั้น ได้รับบาดเจ็บจากน้ำร้อนลวกแล้วก็ไม่ได้รับการดูแลปฐมพยาบาลให้ทันการณ์ ถ้าหากข้อมูลที่ผู้โดยสารเขียนโพสต์ไว้ไม่ตกรายละเอียดประเด็นด้านไหนไปเลยนะครับ ถ้าข้อเท็จจริงเป็นตามนี้ เรามาร่วมค่อยๆ ถอดบทเรียนกันครับ ประเด็นที่น่าสนใจอย่างแรกเลยคือว่า วิธีการเสิร์ฟของร้อนนั้นมีการปรับเปลี่ยนโดยบริษัทหรือโดยหัวหน้าพนักงานต้อนรับในเที่ยวบินนั้น หรือ โดยแอร์โฮสเตสคนนั้นปฏิบัติแบบนั้นเอง โดยความเข้าใจของผมแต่เดิมนั้นคือแอร์โฮสเตสจะใส่กาแฟในถาดเล็กๆแล้วยื่นให้เราเป็นผู้หยิบไปเสมอ เพราะการส่งของร้อนด้วยมือเปล่าไม่สามารถประเมินได้ว่าผู้รับจะรับแล้วปล่อยมือเพราะว่าร้อน และอีกอย่างคือไม่มีที่จับด้วย แก้วกาแฟมีหูจับแค่ข้างเดียว หากบริษัทเป็นผู้เปลี่ยนแนวทางการให้บริการโดยกำหนดว่าไม่ต้องใช้ถาดรองแก้วเพื่อเสิร์ฟของร้อนให้กับผู้โดยสาร ผมถือว่าผิดพลาดมาก เป็นความผิดพลาดที่ไม่น่าให้อภัยด้วย เพราะเป็นการมองข้ามพื้นฐานการป้องกันอุบัติเหตุและความปลอดภัยของผู้โดยสาร (ผมเชื่อว่าสมมติฐานข้อนี้ตกไป) หากหัวหน้าพนักงานต้อนรับ เป็นคนทำการเปลี่ยนแปลงแนวทางในการให้บริการบนเที่ยวบินนั้นเอง ประมาณว่ารีบบริการให้เสร็จเร็วๆ จะด้วยว่าเที่ยวบินล่าช้าหรือด้วยเหตุใดๆก็ตาม ถือว่าไม่เหมาะ ถือเป็นความหละหลวมและละเลย ไม่ใช่แค่เฉพาะหัวหน้าทีมนะครับ ทุกคนทั้งทีมที่ให้การบริการโดยไม่ทักท้วงว่าวิธีการยื่นด้วยมือเปล่าๆ อาจจะเร็วแต่เกิดเหตุได้ง่ายกว่า “เข้ากับดักของความเร่งรีบ” ผิดพลาดส่วนตัว หากเป็นการให้บริการที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานโดยพนักงานต้อนรับคนนั้นไม่ทำตามแนวปฏิบัติที่บริษัทกำหนดไว้ แบบนี้จะถือว่าเป็นความผิดพลาดเกิดจากบุคคลจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบวิธีการที่วางไว้ด้วยสาเหตุอะไรก็ตามแต่ ต้องไปว่ากันในการสอบสวน จะรีบ ก็เข้ากับดับของความเร่งรีบ อีกอย่างคือ “ไม่มีถาด” ข้อนี้อาจเกิดขึ้นได้จริงๆนะครับ ถ้าการเช็คของไม่ถี่ถ้วนระหว่างที่เตรียมเที่ยวบิน แล้วถาดไม่ได้ถูกโหลดขึ้นเครื่องมาด้วย แบบนี้ต้องไล่ต้อนกันยาวๆ ผิดพลาดหลายตอนเลย สมมติว่า ถาดไม่มีมาด้วย จะทำอย่างไร “ติ๊กต๊อกๆๆๆๆ” ถ้าไม่เสริฟของร้อนก็โดนบ่น พอโดนบ่นบริษัทก็สอบว่าทำไมไม่เสริฟ พอรู้ว่าไม่มีถาดโหลดขึ้นมา ก็ผิดอีก ผิดทั้งขึ้นทั้งล่อง เอาไงดี การปฐมพยาบาล และ การจัดการกับความคาดหวัง […]

0
0