Author: Capt.Sopon P.

เดินสู่เป้าหมายด้วยวิสัยทัศน์และพันธกิจ

“วิสัยทัศน์และพันธกิจ” เป็นกระบวนการสำคัญในการบริหารองค์กร “วิสัยทัศน์” เป็นการมองรูปธรรมการพัฒนาขององค์กร เปรียบเสมือนเป็นการกำหนดทิศทางการพัฒนาองค์กรสู่อนาคต นอกจากนี้วิสัยทัศน์ยังช่วยสร้างแรงบันดาลใจและแรงผลักดันให้กับพนักงานในองค์กรให้มีความมุ่งมั่นและความรับผิดชอบในการทำงานตามเป้าประสงค์ขององค์กรไปพร้อมกันด้วย โดยอาศัยกรอบการผลักดันที่เรียกว่า “พันธกิจ” ซึ่งเป็นการกำหนดแนวทางกิจกรรมหรือแผนการต่างๆที่องค์กรใช้ในการขับเคลื่อนการทำงาน พันธกิจช่วยกำหนดเป้าหมายและออกแบบวิธีการหรือกลยุทธในการที่จะทำงานตามวิสัยทัศน์นั้น องค์กรจะมีความชัดเจนในการดำเนินงานและสามารถตัดสินใจในการทำงานตามมาตรฐานที่ถูกกำหนดไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิสัยทัศน์และพันธกิจจะทำให้มีแผนที่ยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนช่วยสร้างความเข้าใจและความมุ่งมั่นของสมาชิกในองค์กรในการวางแผนและการดำเนินการในทิศทางที่ถูกต้องและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจที่กำหนดไว้ ดังนั้นจะเห็นว่าการกำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจมีความสำคัญในการบรรลุเป้าหมายขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ             โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “เดินสู่เป้าหมายด้วยวิสัยทัศน์และพันธกิจ” คือการให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความเข้าใจ “วิสัยทัศน์และพันธกิจ” อย่างลึกซึ้ง ผ่านประสบการณ์จริงในการทำงาน การอบรมเชิงปฏิบัติการนี้จะช่วยให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ต่อความสำคัญของ วิสัยทัศน์ พันธกิจ แผนงาน แผนกิจกรรม หรือแผนที่ยุทธศาสตร์ขององค์กรทำให้การทำงานมีความสำเร็จได้โดยง่าย นอกจากนี้ยังส่งเสริมการทำงานเป็นทีมและความร่วมมือในการปฏิบัติตามเป้าหมายร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ การอบรมเชิงปฏิบัติการนี้จะช่วยสร้างความเข้าใจที่ลึกซึ้งต่อวิสัยทัศน์ พันธกิจและยุทธศาสตร์ขององค์กร นอกจากนี้การอบรมยังช่วยพัฒนาทักษะและความรู้ของพนักงานในการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภัยคุกคาม ผ่านการลงมือทำการวิเคราะห์ SWOT analysis และ TOWS analysis อันจะเป็นก้าวสำคัญในการทำความเข้าใจงานและปฏิบัติตามเป้าหมายที่กำหนด สามารถรับรู้ เข้าใจ และปรับตัวในฐานะผู้นำและผู้ตามในการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการนี้ยังช่วยผู้เข้าอบรมเข้าใจยุทธศาสตร์ขององค์กรของตน ทำให้ทำงานตอบโจทย์ขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์ เนื้อหาของหลักสูตร วิทยากร             ศศิน เฉลิมลาภ      อดีตประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร/ผู้ทรงคุณวุฒิ/อาจารย์พิเศษ คณะวิทยาศาสตร์             อ.ดร. ชานนท์ ทองไท อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย             โสภณ พิฆเนศวร    รองกรรมการผู้อำนวยการ ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลที่คาดว่าจะได้รับ ผู้เข้าร่วมอบรมและกลุ่มเป้าหมาย             ผู้บริหารงาน หัวหน้างาน ผู้สนใจทั่วไป จำนวนจำกัดไม่เกิน 50 คน การสมัครและค่าใช้จ่ายในการสมัคร […]

การจัดการคาร์บอนอย่างยั่งยืนสำหรับภาคธุรกิจ

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การจัดการคาร์บอนอย่างยั่งยืนสําหรับภาคธุรกิจ” เป็นโครงการที่มีความสําคัญและ มีความจําเป็น เนื่องจากโครงการนี้มุ่งเน้นที่จะสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ Climate Change และผลกระทบด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งการรับรู้เรื่องนี้เป็นพื้นฐานที่สําคัญในการสร้างความตระหนักและความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้โครงการ ยังช่วยให้ภาคธุรกิจเตรียมพร้อมและวางแผนรับมือกับมาตรการทางสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึง ช่วยให้รับรู้ถึงความสําคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นสิ่งจําเป็นในการสร้างความยั่งยืน เพิ่มขีดความสามารถหรือสร้างโอกาสในการ แข่งขันทางธุรกิจ และเสริมประสิทธิภาพทางธุรกิจโดยการเตรียมพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและการ เปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในอนาคต อีกทั้งเสริมความรับผิดชอบของภาคธุรกิจต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม เพื่อสร้างความ ยั่งยืนในการอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อม ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท เนกซัส เซอร์เฟส อินโนเวชั่น จํากัด ขอเรียนเชิญผู้ที่สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมงานอบรมเรื่อง “การจัดการคาร์บอนอย่างยั่งยืนสำหรับภาคธุรกิจ”ในวันศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน 256608:30 น. – 17:00 น.ห้องประชุม 201, ชั้น 2, อาคารวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สิ่งที่ท่านจะได้รับ:📜 ใบรับรองการอบรม🌍 ความเข้าใจและความสำคัญของ Climate Change📊 ความสามารถในการวางแผนการจัดการ CO2 ในองค์กร🌐 ช่องทางการให้บริการ/ให้คำปรึกษา/การสนับสนุนและการเชื่อมโยง สมัครเข้าอบรม: 1,680 บาท/คน (รวมอาหารกลางวันและของว่างระหว่างอบรม) ห้ามพลาด!โอกาสในการพัฒนาองค์กรของคุณให้ยั่งยืน สมัครตอนนี้เพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนสำหรับทุกคนและโลกของเรา! 🌿🌎🌟คลิ๊กลิงก์เพื่อสมัคร https://forms.gle/67BK5gDBB7Zy9Sw48 กิจกรรมของมนุษย์ทําให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น เป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ สภาพภูมิอากาศที่รุนแรงและส่งผลให้อุณหภูมิพื้นผิวโลกสูงขึ้นที่เรียกว่า ภาวะโลกร้อน โดยในภาคธุรกิจถือเป็นปัจจัยสําคัญ ในการก่อปัญหาภาวะโลกร้อน จึงต้องตระหนักและร่วมกันแก้ไขเพื่อเป็นความหวังในการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ดังนั้น ภาคธุรกิจ จึงจําเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจและกลยุทธ์ในการวางแผน การติดตามข่าวสารด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เพื่อดําเนินธุรกิจ โดยไม่เพิ่มปัญหาและสร้างประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาก๊าซเรือนกระจก […]

The Queen B747: Paris

#1 The Queen จากประสบการณ์ของผม “จะไปปารีส” #เหตุการณ์ครั้งหนึ่ง#TheQueen#b747 ตอนที่เกิดเหตุการณ์นี้ ผมยังเป็นนักบินที่สองที่มีอาวุโสทางการบินพอสมควรแล้ว และนักบินที่หนึ่งคือกัปตันท่านหนึ่งซึ่งท่านเสียชีวิตไปนานแล้ว ขออนุญาตนำมาเล่าสู่กันอ่านเป็นซีรีส์เรื่องราวแรกของ “The Queen จากประสบการณ์ของผม” วันนั้นเป็นไฟลท์ปารีสกลางวัน โบอิ้ง 747-400 มีกำหนดเดินทางจากกรุงเทพฯ (ดอนเมือง) ไปกรุงปารีส สนามบิน Paris-Charles de Gaulle (CDG) ปารีสมีหลายสนามบินแต่หลักๆจะใช้ ปารีส-ชาร์ล เดอ โกล วันนั้นจำได้แม่นๆว่า อากาศดีมาก ท้องฟ้าแจ้มใส่สุดๆ แต่ก็ร้อนสุดๆเช่น น้ำหนักวิ่งขึ้นค่อนข้างมาก หมายถึงเครื่องบินต้องแบกน้ำหนักตัวและผู้โดยสารที่เต็มลำ และเที่ยวบินนี้ต้องใช้น้ำมันเยอะกว่าปกติเพราะเป็นไฟลท์กลางวัน สำหรับระหว่างทางก็เกี่ยวกับลมฟ้าอากาศ ความกดอากาศ ฯลฯ ระยะทางภาคพื้นนั้นเท่ากันกับตอนกลางคืนแหละ แต่ระยะทางบินผ่านอากาศสูงกว่าเที่ยวบินกลางคืน (ESAD= Equivalent Still Air Distance) สรุปคือบินนานกว่า ใช้น้ำมันมากกว่าเที่ยวบินกลางคืน เที่ยวบินนี้เกือบๆจะถึง MTOW (Maximum Takeoff Weight) เพราะอุณหภูมิสูงทำให้สมรรถนะของเครื่องยนต์ในการวิ่งขึ้นต่ำลง การใช้ระยะทางวิ่งบนรันเวย์ก็จะเกือบๆสุดสนาม โดยที่มี V1 ห่างจาก Vr หลายสิบ knots V1 คือ decision speed หรือจะเรียกว่า critical speed ก็ได้ อธิบายง่ายๆคือ ความเร็วที่ V1 ต้องตัดสินใจว่าจะหยุดหรือจะไป ถ้าเลย V1 คือห้ามหยุด […]

ลำตัวเครื่องบินเหมือนหลอดกระดาษ

เครื่องบินลงกระแทกอย่างแรง ทำให้ลำตัวเครื่องบินเกิดความเสียหาย การกระแทกพื้นจากการลงสนามที่ผิดพลาดอาจเกิดได้หลายสาเหตุปัจจัย อาทิ การที่สภาพอากาสไม่ดีทำให้การลงสนามมีความยากเพิ่มขึ้นและนักบินไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ทันจนเกิดการสัมผัสพื้นที่แรงกว่าปกตอ หรือจากการที่นักบินบังคับเครื่องบินผิดพลาดประมาณว่า ประสบการณ์น้อย ฝีมือยังไม่ดี บินไม่เก่งว่างั้นก็ได้ ภาพด้านล่างนี้จากเครื่องบิน 767 ของสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เป็นเครื่องบินรุ่นเก่า และใช้งานมานานกว่า 30 ปี จะว่าไปการที่เครื่องบินเก่าไม่ใช่ปัญหาเพราะระบบการบำรุงรักษานั้นค่อนข้างเข้มงวดอยู่แล้วเรื่องการกำกับมาตรฐานความปลอดภัย แต่กรณีที่ลงกระแทกแรงๆ จนเกินกว่าที่โครงสร้างเครื่องบินถูกออกแบบและกำหนดเป็นมาตรฐานไว้ เช่น มากว่า 4G 5G หรือเท่าไหร่ก็แล้วแต่ เครื่องบินเก่าย่อมทนแรงหรือลิมิตต่ำกว่าเครื่องบินลำใหม่ๆแน่นอน กรณีการกระแทกรุนแรง ในบางครั้งก็ถึงขนาดว่าล้อของเครื่องบินกระแทกทะลุเข้ามาภายในลำตัว หรือทำให้เกิดน้ำมันรั่ว ปีกแตก หรืออย่างภาพนี้คือ ลำตัวยู่ยี่ เพราะการกระแทกโดยที่ส่วนของลำตัวถูกสะบัด เหมือนเราสะบัดหลอด ถ้าเราสะบัดหลอดไปกระแทกหรือสัมผัสสิ่งของหลอดก็จะเกิดการพับ ถ้าเป็นหลอดพลาสติกเราอาจไม่เห็นรอยพับเพราะความยืดหยุ่นของพลาสติกทำให้มันกลับคืนสู่สภาพเดิม ลำตัวเครื่องบินเหมือนหลอดกระดาษ เพราะความยืดหยุ่นจะต่ำกว่าพลาสติก หากหักพับแล้วไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิมได้ ภาพจาก https://onemileatatime.com/ AIRCRAFT MADE A HARD LANDING AND POST FLIGHT INSPECTION REVEALED DAMAGE TO THE FUSELAGE สายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ วันที่ 29 กรกฎาคม 2566 ลงกระแทกพื้นรุนแรง hard landing จนกระทั่งเกิดความเสียหายของลำตัวอ่านข่าวจากavheraldonemileatatime

รูปแบบของปีกเครื่องบินและ wingtips

ปีกของเครื่องบินแบ่งออกเป็นหลายประเภทแบบคร่าวๆได้ ดังนี้: ปีกแบบตรง (Straight Wing): เป็นปลายปีกที่มีรูปร่างเรียบและตรง ส่วนมากใช้ในเครื่องบินที่มีความเร็วในการบินที่ไม่สูงมาก เช่น เครื่องบินอู่ฮัย อีโรเพลน ที่ใช้ในการบินในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ปีกแบบไบโพลาร์ (Swept Wing): ปลายปีกมีรูปร่างเหลี่ยมมุมกับเส้นตรงที่คาดว่าจะลากเหมือนกับเส้นตรงของตัวเครื่องบิน เครื่องบินแบบนี้มีประสิทธิภาพที่ดีในเรื่องของความเร็ว ใช้ในเครื่องบินเช่น เครื่องบินโบอิ้ง 747 และ แอร์บัส A320 ปีกแบบหาง (Delta Wing): ปลายปีกมีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยม มักใช้ในเครื่องบินที่มีความเร็วสูงและสามารถทำการบินแบบเหลื่อมล้ำ (supersonic) ได้ เช่น เครื่องบินคองคอด (Concorde) ปีกแบบปีกบินด้วยพลังงาน (Winglet): ปลายปีกมีส่วนขยายออกมาด้านบนหรือด้านล่างเป็นรูปร่างเหมือนการงองอย่างเส้นตรงหรือเป็นโค้งเล็กน้อย ปลายปีกแบบนี้ช่วยลดการสร้างเสียงดัง เช่น เครื่องบินโบอิ้ง 737-800 การเลือกใช้ปลายปีกขึ้นอยู่กับการออกแบบและการใช้งานของเครื่องบิน ปลายปีกแต่ละแบบมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันและมีประโยชน์แตกต่าง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความต้องการของการบินในแต่ละกรณี และการพัฒนาเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมการบิน ส่วนคำว่า Wingtips หมายถึงส่วนปลายปีกของเครื่องบินที่มีลักษณะของปลายปีกที่บานออกไปตามแนวนอน เรียกได้ว่าเป็นส่วนที่อยู่ท้ายสุดของปีก ปลายปีกเป็นส่วนที่มีความสำคัญในการกำหนดคุณสมบัติบินของเครื่องบิน เพราะมีผลต่อเสถียรภาพและประสิทธิภาพของการบิน Wingtips มีหลายรูปแบบและสไตล์ต่าง ๆ ซึ่งอาจมีผลต่อประสิทธิภาพบินและการลดการเสียเวลาในอากาศ. รูปแบบที่พบบ่อยได้แก่: Winglet: Winglet เป็นส่วนที่บิดงอขึ้นบนปลายปีก เพื่อเพิ่มพื้นที่สองข้างของปลายปีกและลดการสร้างเสียงดัง ทำให้เครื่องบินบินได้ดีขึ้นและลดการใช้เชื้อเพลิง Sharklet: Sharklet เป็นรูปแบบของ winglet ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับการันต์ของปลาฉลาม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบินและประหยัดเชื้อเพลิง Blended Winglet: Blended Winglet เป็นรูปแบบที่ผสมระหว่างปลายปีกและตัวเครื่องบิน มีลักษณะที่พองออกมาจากปลายปีกเพื่อลดแรงต้านอากาศและประสิทธิภาพการบินที่ดีขึ้น Wingtips มีประโยชน์ในการลดการสร้างแรงต้านอากาศและเสียเวลาในการบิน ซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการบิน […]

0
0