Tag: safety

เกริ่นเรื่อง SMS

ตามหลักการบริหารความปลอดภัยในการบินหรือ Safety Management System for Airlines ประโยคนี้คือหัวใจสำคัญในการพยายามค้นหาคำตอบว่าสาเหตุที่แท้จริงของสิ่งที่เกิดขึ้นคืออะไร “Every accident, no matter how minor, is a failure of the organization.” SMS. การบริหารระบบบริหารความปลอดภัย (SMS) ให้ดี คือ การทำให้ทุกชีวิตมีความปลอดภัยตลอดเวลาในการทำงานและหลังการทำงานก็สามารถพักผ่อนได้โดยไม่ต้องพะวงว่าจะมีเรื่องร้ายใดๆเกิดขึ้น เพราะเมื่อพัฒนา SMS ไว้ใน mature state และ ระบบการบริหารความปลอดภัยนั้นจะมีฟันเฟืองหรือกระบวนการในการดูแล กำกับ ควบคุม และวินัยในการปฏิบัติการเอาไว้แล้ว เมื่อเราคำนึงไตร่ตรองให้ครบทุกส่วนเพียงทำ root cause analysis จากปัญหาที่เกิดขึ้นก็จะพบคำตอบว่า ปัญหาอยู่ตรงไหน คร่าวๆแบบนี้ก่อนล่ะกันครับเรื่องนี้เขียนหนังสือได้เป็นเล่มๆ แค่อย่ามองข้ามความปลอดภัยล่ะกัน

พื้นสนามบินสุวรรณภูมิอ่อนตัว

เรื่องพื้นสนามบินสุวรรณภูมิตามที่เป็นข่าวอยู่ตอนนี้มันไม่ใช่ประเด็นใหม่ Safety Bulletin ที่ IFALPA ออกมา (หลายรอบ) ฉบับ 8 พ.ค. 2018 หมดอายุเดือนพ.ย. เค้าก็เลยต้องออกฉบับใหม่มาเตือนต่อ ปัญหาที่น่าคิดคือ เค้าต้องออกเตือนบ่อย มันทำให้ดูไม่ดี IFALPA เค้าเตือนมาตั้งแต่ปี 2014 แล้วที่ ผมเอาตัวอย่างมาให้ดูหรือฉบับล่าสุด กับฉบับก่อนหน้านี้ จะเห็นว่าในเนื้อหามันคือเรื่องเดิมๆ และแนวทางแก้ไขปัญหาก็อันเดิมแถมเหน็บด้วยว่า ปัญหามีมาตั้งแต่ปี 2008 ก็ประมาณเกือบ 12 ปีแล้วปี 2008 สนามบินสุวรรณภูมิเปิดใช้งานมาได้ประมาณเกือบ ๆ สองปีถ้าจำไม่ผิดคือเปิดเดือนกันยายน ปี 2006IFALPA เค้าเขียนไว้ว่า bulletin มีอายุถึงปี 2021 โน่น ผมขอให้ความเห็นในฐานะนักบินคนหนึ่งว่า “ปัญหามีอยู่จริงอย่างที่ IFALPA เค้าว่าไว้ ถ้าถามว่าอันตรายมากไหม คำตอบคือ มาก แต่คนทั่ว ๆ ไปอาจจะมองภาพไม่ออก มองไม่เห็นภาพว่าจะอันตรายยังไง” เพราะคิดว่าเครื่องบินอยู่บนพื้นดิน ไม่ได้ทำให้เครื่องบินตก ไม่น่าเป็นปัญหา”ลองอ่านให้จบแล้วดูวีดีโอครับ ความไม่สมบูณณ์ ไม่เป็นไปตามมาตรฐานของ taxiway ถือเป็นตัวอันตราย ภาษา safety เรียกว่า HazardHazard ที่สามารถสร้าง risk ได้มากๆ ทั้งในแง่ของ propability และ severity ถือเป็น Hazard ที่ต้องกำจัด หรือหามาตรการในการกำกับให้อยู่ในขอบเขตที่ยอมรับได้ contain riskสนามบินนานาชาติระดับโลก […]

GA Safety Statistics

มาดูตัวเลขอุบัติเหตุของ General Aviation ที่ประเทศสหรัฐอเมริกากัน  รอบ 10 ปีของการเกิดอุบัติเหตุที่มีผู้เสียชีวิต จากปี 2010 ถึงปี2019 เฉพาะของ General Aviation นะครับ ไม่เกี่ยวกับ commercial airlinesสถิติการเกิดอุบัติเหตุเมื่อมีการเก็บข้อมูลแล้วก็จะนำมาเปรียบเทียบและหาแนวทางกำหนดหรือตั้งกรอบเพื่อส่งเสริมให้ตัวเลขอัตราการเกิดอุบัติเหตุนั้นลดลง จะเป็น campaign อย่างไรก็ว่ากันไป ขึ้นอยู่กับว่าสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุเหล่านั้นคืออะไรบ้าง และเพื่อเป็นการทำให้เกิดความมั่นใจต่อการบินอย่างปลอดภัยมากขึ้น การตั้งกรอบให้มีจำนวนการเกิดเหตุลดลงคือ รากฐานของการทำ safety assurance อย่างในรูปจะเห็นเส้นสีเทา คือ เป้าหมายหรือ safety target ของอัตราการเกิดอุบัติเหตุต่อ 100,000 ชั่วโมง เส้นเป้าหมายนี้จะขีดตรง ๆ แต่ทะแยงให้ต่ำลงเรื่อย ๆ เพื่อเป็นการตั้งเป้าหมายอย่างสมเหตุผล “ไม่ใช่ตั้งเป้าแบบที่ทำไม่ได้ หรือตั้งเป้าแบบไม่ต้องทำอะไรก็ได้” นับตั้งแต่ปี 2014 นั้นมาตรฐานความปลอดภัยของ GA ถือว่ามีแนวโน้มที่ดีมากเพราะอัตราการเกิดอุบัติเหตุ (และมีคนตาย) นั้นต่ำกว่าเป้ามาตลอดจนถึงปัจจุบัน ให้สังเกตที่ปี 2016-2017 แม้ว่าอัตราการเกิดอุบัติเหตุนั้นจะต่ำลงไปมาก ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดีแต่เส้น target ก็ไม่ได้บีบขยับหักลงมาในปีถัดไป ปี 2019 นั้นเป็นปีแรกที่ตั้งเป้าอัตราการเกิดอุบัติเหตุไว้ต่ำกว่า 1 ครั้งต่อ 100,000 ชั่วโมงบิน และตัวเลขที่ประมาณการณ์ถึงเดือนตุลาคมคือ 0.94 ครั้งต่อ 100,000 ชั่วโมงบิน ตัวเลข GA ที่สหรัฐอเมริกา ตุลาคม 2018 ถึง ตุลาคม 2019มีอุบัติเหตุที่ทำให้มัผู้เสียชีวิต (Fatal […]

Safety and Security

Security กับ Safety นั้นมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันแทบจะตลอดเวลา หากแปลตรงตัวตามหลักภาษา คำว่า Security แปลว่า การรักษาความปลอดภัย ขยายความได้อีกว่า เป็นการป้องกันมิให้เกิดเหตุหรือทำให้ความปลอดภัยถูกลดทอนลง หรือเป็นมาตรการที่ต้องการเพิ่มการกำกับดูแลและเฝ้าระวังมิให้เกิดข้อบกพร่องและจุดอ่อนที่มีความเสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สินในระหว่างการเดินทาง ถึงแม้ว่าเที่ยวบินในประเทศส่วนใหญ่จะเป็นเที่ยวบินสั้นๆใช้เวลาเดินทางไม่นานนัก  แต่มาตรการเกี่ยวกับความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยของผู้โดยสารไม่ได้ลดหรือหดสั้นลงไปด้วย  ที่ผ่านมามีบ้างที่ผู้โดยสารอาจไม่เข้าใจเจตนาของพนักงานในการปฏิบัติตามมาตรการรักษาความปลอดภัยต่างๆ  วันนี้ผมจึงขออธิบายหลายๆเหตุการณ์ให้เข้าใจตรงกันครับว่ามีความเป็นมาอย่างไรและมีผลกระทบกับท่านอย่างไร การควบคุมและจัดการด้านความปลอดภัยนั้นเป็นการปฏิบัติงานร่วมกันของหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ของการท่าอากาศยานหรือพนักงานของสายการบิน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องอาศัยความเข้าใจและร่วมมือในการปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ต่างๆจากผู้โดยสารด้วยเช่นกันครับ เริ่มตั้งแต่การเช็คอินของผู้โดยสารที่มีกระเป๋าสัมภาระที่จะต้องบรรทุกใต้ท้องเครื่องบิน กระเป๋าหรือสัมภาระที่ต้องบรรทุกใต้ท้องเครื่องบินนั้น จะถูกลำเลียงเข้าเครื่อง x-ray ของการท่าอากาศยาน เพื่อทำการ scan วัตถุต้องห้ามว่ามีบรรจุไว้หรือไม่ เช่น วัตถุระเบิด วัตถุไวไฟ บรรจุภัณฑ์อัดแก๊สชนิดต่าง ๆและรวมถึงวัตถุอีกหลาย ๆ ประเภทที่เราอาจคิดว่าสามารถโหลดขึ้นเครื่องบินได้ แต่ความจริงแล้วกลับเป็นวัตถุที่สามารถทำให้เกิดอันตรายต่อการเดินทางได้อย่างร้ายแรง ตัวอย่างเช่น Power Bank ที่ไม่อนุญาตให้บรรทุกใต้ท้องเครื่องบิน แต่อนุญาตให้พกติดตัวได้ในขนาดไม่เกินที่กำหนดไว้ เพราะว่า หาก power bank มีการชำรุดเสียหายมันสามารถทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้ โดยที่ระบบดับเพลิงที่ติดตั้งภายในห้องเก็บสัมภาระใต้ท้องเครื่องไม่สามารถควบคุมเพลิงไหม้ที่เกิดจาก power bank ที่มีส่วนประกอบของลิเทียมไอออนได้ ท่านผู้โดยสารควรศึกษารายละเอียดเรื่องนี้ก่อนเดินทาง มิเช่นนั้นจะทำให้ท่านต้องเสียเวลาเพิ่มขึ้น เพราะหลังจากโหลดกระเป๋าที่เคาน์เตอร์เช็คอินแล้ว หากเจ้าหน้าที่การท่าอากาศยานตรวจพบวัตถุต้องสงสัยในระหว่างการ x-ray เจ้าหน้าที่จะขอให้ทางสายการบินติดตามตัวท่านมาเปิดกระเป๋าเพื่อตรวจสอบ และนำสิ่งของต้องห้ามเหล่านั้นออกจากกระเป๋า ผู้โดยสารควรให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเองและผู้โดยสารคนอื่น ๆ ด้วย  ดังนั้นการเดินทางโดยมีสัมภาระโหลดใน้ท้องเครื่องบินจึงควรเผื่อเวลาในการมาเช็คอินก่อนเวลาเดินทางตามที่กำหนดด้วยครับ (ภายในประเทศ ไม่น้อยกว่า 45 นาที ต่างประเทศมากกว่า 1 ชม.) สายการบินจะสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้บริการผู้โดยสารอย่างสม่ำเสมอ อย่างเช่นการเช็คอิน ผู้โดยสารที่เดินทางบางสายการบินก็สามารถเช็คอินด้วยตัวเองได้ ผ่านทางคอมพิวเตอร์ มือถือสมาร์ทโฟนและ Apple Watch […]

Safety Management System

ผมถือโอกาสนำข้อความที่ผมเขียนลงในนิตยสาร JIBjib ซึ่งเป็นนิตยสารที่ให้บริการแก่ผู้โดยสารบนเครื่องบินของนกแอร์มาลงให้อ่านกันครับ ถือเป็นโอกาสที่ดีที่ของผมในฐานะกัปตันสายการบินนกแอร์ จะได้มาบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ให้กับผู้โดยสารทุกท่านในฉบับเดือนมิถุนายนนี้ ผมขอเริ่มจากหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านความปลอดภัยกันเสียก่อนครับ      “นกแอร์” ได้เริ่มดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาการปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่โครงสร้างการบริหารงานของบริษัท และการพัฒนาด้านบุคคลากรในการปฏิบัติหน้าที่บริหารและจัดการต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก หนึ่งในนั้นคือการพัฒนาระบบบริหารจัดการด้านความปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเป้าหมายของเราคือการยกระดับมาตรฐานให้เทียบเท่ากับสายการบินพันธมิตรในทวีปยุโรป   โดยหลักใหญ่ ๆ นั้นเราได้วางแผนให้มีการเร่งและปรับปรุงคุณภาพในหลาย ๆ ภาคส่วน ทั้งด้านการบริการผู้โดยสาร การสร้างความเชื่อมั่น การตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อสังคมไทย โดยมีจุดแข็งอยู่ที่จุดบริการการบินครอบคลุมมากที่สุดในประเทศไทย ด้วยราคาที่เหมาะสมและคุ้มค่า และมีการให้บริการที่เป็นมิตร ร่าเริง สดใส ใส่ใจในการให้บริการจากพนักงานนกแอร์ทุกคน ผมเชื่อว่าผู้โดยสารที่เคยใช้บริการนกแอร์สามารถสัมผัสถึงความรู้สึกนี้ได้อย่างแน่นอนครับ ถ้าพูดถึงความปลอดภัย กลุ่มผู้โดยสารที่เป็น Corporate sales นั้น เป็นอีกกลุ่มที่ต้องการความเชื่อมั่นให้กับพนักงานของเขา โดยก่อนการทำข้อตกลงร่วมกันนั้น บริษัทนั้นจะทำการตรวจสอบมาตรฐานของนกแอร์ก่อน อย่างเช่น เมื่อไม่นานมานี้ทางฝ่ายควบคุมคุณภาพของบริษัทระดับโลกแห่งหนึ่ง ส่งผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานมาตรวจสอบและพูดคุยกับผม  ผู้เชี่ยวชาญท่านนั้นเป็นผู้ชำนาญการมีประสบการณ์ด้านการตรวจสอบมาหลายสิบปี จบปริญญาเอกสาขาด้านความปลอดภัยและมีปริญญาด้านการจัดการธุรกิจการบิน เขาเดินสายตรวจสอบสายการบินต่าง ๆ ทั่วโลกที่บริษัทของเขาทำธุรกิจอยู่ เพื่อประเมินระบบการทำงานของสายการบินว่ามีขั้นตอนและวิธีการทำงานที่มีการกำกับดูแลมาตรฐานอย่างถูกต้องครบถ้วนและมีมาตรฐานหรือไม่ ก่อนที่ทางบริษัทแม่จะอนุญาตให้พนักงานซึ่งมีอยู่หลายแสนคนทั่วโลกเดินทางกับสายการบินที่ผ่านการตรวจสอบแล้วว่ามีมาตรฐานดีและมีความปลอดภัยสูง ไม่มีความเสี่ยงในระหว่างการเดินทาง        วันนั้นผมได้พูดคุยตอบข้อซักถาม ให้ดูแผนงานและขั้นตอนการกำกับดูแลด้านความปลอดภัยของนกแอร์ทุกขั้นตอน ผลการตรวจสอบเป็นที่พอใจ นกแอร์สอบผ่านฉลุยครับ พนักงานของบริษัทเขาสามารถใช้บริการได้อย่างสบายใจ   อีกหนึ่งกลยุทธ์ในการเร่งประสิทธิภาพของนกแอร์ คือ การเพิ่มบุคคลากรคุณภาพเข้ามาช่วยขับเคลื่อนบริษัท ทั้งในแง่ของการวางแนวทางปฏิบัติและการวิเคราะห์มูลเหตุของปัญหา รวมถึงวางแผนและกำหนดวิธีการป้องกัน แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ดังนั้นเพื่อให้ผู้โดยสารได้รับสิ่งที่ดีที่สุด นกแอร์จึงเพิ่มศักยภาพของบุคลากรให้ทันกับแผนที่กำหนดเอาไว้ โดยการนำครูการบิน และเทคโนโลยีการเรียนการสอนเกี่ยวกับการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในเครื่องบิน […]

0
0