TG เฉี่ยว EVA ที่ฮาเนดะ เป็นอุบัติเหตุหรือไม่

เครื่องบินการบินไทยเฉี่ยวกับเครื่องบินของอีว่าแอร์ที่จอดรอวิ่งขึ้นที่สนามบินโตเกียวฮาเนดะ

เหตุการณ์นี้ไม่เป็นทั้ง accident และ incident (เฉยๆ) ครับ

ก่อนอื่นเรามาตีความคำว่า accident หรือ อุบัติเหตุ กับคำว่า incident หรือ อุบัติการณ์ กันก่อนครับ

ตามภาคผนวกที่ 13 ขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO Annex 13)

Accident (Aircraft) 

An occurrence associated with the operation of an aircraft that takes place between the time any person boards the aircraft with the intention of flight until such time as all such persons have disembarked in which a person is fatally or seriously injured, the aircraft sustains substantial damage, or the aircraft is missing or is completely inaccessible. 

Accident หรือ อุบัติเหตุนั้น เป็นเหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บอย่างรุนแรง (serious injured) เครื่องบินเกิดความเสียหาย สูญหายหรือค้นหาไม่พบ โดยการเกิดเหตุของเครื่องบินลำนั้นจะต้องอยู่ในระหว่างการเดินทางที่มีผู้โดยสารอยู่บนเครื่องบิน (คร่าวๆประมาณนี้)

Incident (Aircraft) 

An occurrence other than an aircraft accident, associated with the operation of an aircraft, which affects or could affect the safety of operations. 

Incident หรือ ภาษาไทยเรียกว่า อุบัติการณ์ คือ เหตุการณ์ที่ (ไม่ใช่อุบัติเหตุ) ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติการของเครื่องบินซึ่งมีผลกระทบ (หรืออาจมีผลกระทบ) กับความปลอดภัยในการปฏิบัติการบิน

จะเห็นว่าหากกรณีเครื่องบินแอร์บัส A330 ของการบินไทย เคลื่อนตัวไปเฉี่ยวกับเครื่องบินแอร์บัส A330 ของสายการบิน EVA นั้น อาจจัดว่าไม่เป็นอุบัติเหตุ เนื่องจากยังไม่เข้าข่ายที่มีผู้เสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บรุนแรง หรือ serious injured (ค่อยมาตีความคำว่า seriuos injured กันอีกที) ตามข่าวไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 

ทีนี้ก็จะต้องมาตีความกันต่อที่คำว่า substantial damage นั้นหมายถึงอย่างไร การที่ปลายปีกของเครื่องบินการบินไทย (Winglet) หายไปครึ่งหนึ่งนั้น ถือเป็น substantial damage ไหม คำตอบในใจก่อนค้นข้อมูลมาเขียนคือ ไม่ใช่แน่นอนครับ เพราะส่วนของ winglet ไม่สำคัญขนาดนั้น แล้วส่วนของ stabilizer ของเครื่องบิน EVA ล่ะ อันนี้จะเข้าข่ายไหม เรามาลองหาคำตอบกัน

คำว่า substantial damage หมายความว่าอย่างไร

ถ้าพิจารณาที่ภาคผนวกที่ 13 เอกสารแนบท้าย E
ATTACHMENT E. GUIDANCE FOR THE DETERMINATION OF AIRCRAFT DAMAGE 

ข้อที่ 5 

-Occurrences of missing flaps, slats and other lift augmenting devices, winglets, etc., that are permitted for dispatch under the configuration deviation list (CDL) are not considered accidents.
ในส่วนของเครื่องบินการบินไทยที่ winglet หายไปน่าจะไม่ถือเป็น substantial damage และ
ตัว vertical stabilizer ของเครื่องบิน EVA แม้ว่าจะไม่มีรูป ไม่เห็นสภาพ  ผมมองว่าขึ้นอยู่กับการตีความของ investigator ที่รับหน้าที่มาสอบสวน ว่า ตัว stabilizer ของเครื่องบิน EVA Air นั้นจะเข้าข่ายเป็น substantial damage หรือไม่ แต่ก็เชื่อว่าไม่น่าจะเป็นการเสียหายหนักหรือมีอะไรรุนแรงเข้าขั้นเป็น substantial damage (ตรงนี้เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ)

เพราะฉะนั้นแล้ว เคสนี้จึงน่าจะตัดออกจากการเป็น อุบัติเหตุทางการบิน aircraft accident

แต่ที่ผมเขียนว่า ไม่เป็น incident เช่นกัน เพราะจริงๆแล้วยังมีอีกระดับหนึ่งของการพิจารณาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น คือ คำว่า Serious Incident

Serious Incident–An incident involving circumstances indicating that there was a high probability of an accident and associated with the operation of an aircraft which, in the case of a manned aircraft, takes place between the time any person boards the aircraft with the intention of flight until such time as all such persons have disembarked, or in the case of an unmanned aircraft, takes place between the time the aircraft is ready to move with the purpose of flight until such time as it comes to rest at the end of the flight and the primary propulsion system is shut down. 

Serious Incident คือ อุบัติการณ์ร้ายแรง (ที่เกือบจะเป็นอุบัติเหตุ)

ตามภาคผนวกที่ 13 จะให้พิจารณาเกณฑ์จากกรอบประเมินใน attachment C 

ซึ่งเคสเฉี่ยวชนนั้นเขียนระบุเอาไว้ชัดเจนเลยว่า ให้นับเป็น serious incident

ATTACHMENT C. LIST OF EXAMPLES OF SERIOUS INCIDENTS 

“Collisions not classified as accidents.”

การเฉี่ยวหรือชนกันในทุกกรณีที่ไม่เป็นอุบัติเหตุ ให้นับเป็น serious incident

การพิจารณาสอบสวนจะเข้าข่ายที่มีขั้นตอนการพิจารณาเกือบเหมือนกับการเกิดอุบัติเหตุ

การพิทักษ์เครื่องบินเอาไว้เก็บหลักฐาน การสืบและสอบผู้ปฏิบัติงาน ฯลฯ จะมีการปฏิบัติไม่น้อยไปกว่าการสอบสวนอุบัติเหตุ

ICAO Annex 13 Attachment C
Comments are closed
0
0