Category: เรียนบิน อยากเป็นนักบิน

นักบินอาชีพ

บินดี (ในมุมของนักบิน การบินดีคือบินได้ถูกต้องตามหลักการบิน ที่เราเรียกว่า Flight Procedures)  การบินได้นิ่มนวล ทั้งการลดระดับเพดานบินและการร่อนลงสู่สนาม โดยที่ผู้โดยสารไม่รู้สึกหูอื้อ หรือถูกกระชาก หรือกระแทก อันนี้คือส่วนที่ ผู้โดยสารสัมผัสได้  แต่บางครั้งนักบินจะไม่เลือกความนิ่มนวล หากความนิ่มนวลนั้นจะก่อให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มขึ้น อาทิเช่น หากสนามบินมีฝนตกและกระแสลมแรง จะทำให้ทัศนวิสัยต่ำ พื้นสนามบินเปียกก็จะลื่น การลงจอดจะใช้ระยะทางมากกว่าปกติ ดังนั้น นักบินจะเลือกลงกระแทกเล็กน้อยเพื่อให้ล้อของเครื่องบินสัมผัสผิวรันเวย์และเริ่มการเบรคเพื่อลดความเร็วให้ได้เร็วและให้ใช้ระยะทางบนรันเวย์น้อย ๆ  อีกคุณสมบัติหนึ่งของการเป็นนักบินที่ดี คือ ความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหา หรือการคาดคะเนความต่อเนื่องของปัญหา เพราะว่าปัญหาบางเรื่องทำตัวเหมือนฆาตกรต่อเนื่อง คือเกิดอันนี้ขึ้นจะกระทบกับเรื่องนั้นเรื่องนี้ต่อๆกัน  แต่โดยส่วนใหญ่แล้วเครื่องบินถูกออกแบบระบบต่างๆเพื่อพยายามกำจัดหรือจำกัดให้เป็นปัญหาเดี่ยวๆให้มากที่สุดโดยการมีระบบสำรองเข้ามาทำงานแทน แต่ก็ยังมีปัญหาอื่นๆอยู่บ้างที่ทำให้นักบินต้องนึกถึงปัญหา ที่อาจจะมีตามมาหลังจากเกิดปัญหาแรก โดยเฉพาะปัญหาที่เกี่ยวข้องกับผู้โดยสาร และสภาพอากาศที่มีผล กระทบต่อการปฏิบัติการบินหลังจากนั้น ซึ่งสิ่งสำคัญที่ต้องนำมาคิดเสมอและเป็นลำดับแรกทุกครั้งคือ ความปลอดภัย  ความรู้และความเข้าใจในระบบต่างๆของเครื่องบินและกฏระเบียบการบินจึงมีความสำคัญส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งคือ ประสบการณ์ในการแก้ปัญา โดยเฉพาะปัญหาที่ไม่ได้เกิดจากระบบของเครื่องบิน  นักบินแต่ละคนจึงอาจจะแก้ปัญหาเรื่องเดียวกันด้วยวิธีที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม ณ ขณะนั้น ประกอบเข้ากับประสบการณ์การบินที่ผ่านมา  ผมจึงอยากจะบอกว่า ไม่ว่านักบินจะแก้ปัญหาแล้วเกิดผลกระทบกับการเดินทางของเรามากน้อยอย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดที่นักบินทุกคนนึกถึงก่อนทุกครั้ง เมื่อนักบินกำลังเผชิญกับปัญหาเฉพาะหน้าที่ต้องแก้ไข  คือ  “ความปลอดภัยของผู้โดยสารทุกคน”  สำหรับผู้โดยสารคงมองกันไม่ออกหรอกครับว่า นักบินคนไหนเป็นนักบินที่ดีหรือไม่ดี มีแต่นักบินด้วยกันเองนั่นแหละที่จะรู้ว่า บินแบบนี้ ดีหรือยัง

การเป็นนักบินพาณิชย์

เขียนให้ร่วมสมัยเพราะเห็นว่าปัจจุบันมีนักบินใหม่ ๆ เริ่มเข้าสู่วงการการบินพาณิชย์ ก็เลยอยากเล่าและแอบสอนผ่านตัวหนังสือ เป็นเกร็ดเล็กน้อยเผื่อไว้สำหรับคนที่อยากเป็นนักบินหรือกำลังเป็นนักบินฝึกหัด ผมขอเล่าจากประสบการณ์ตัวเองที่มีอยู่ 23 ปี และหวังว่าคงมีประโยชน์สำหรับทุกคนครับ สมัยที่ผมจบโรงเรียนการบินใหม่ ๆ และเข้ามาเป็นนักบินของการบินไทย ผมเริ่มต้นด้วยการเป็น System Operator/Flight Engineer เรียกง่าย ๆ ว่า นักบินที่ 3 ของเครื่องบินแบบ Boeing 747-200/300 ซึ่งเป็นเครื่องบินที่ยังต้องใช้นักบิน 3 คนในการบิน นักบินที่ 3 จะเป็นผู้จัดการเรื่องระบบต่าง ๆ ของเครื่องบินในแต่ละช่วงของการบิน เช่น การปรับระบบน้ำมัน การปรับระบบความดันอากาศ ระบบไฟฟ้า ระบบไฮดรอลิก เป็นต้น ความที่เราเป็นนักบินใหม่ ประสบการณ์การบินเรียกว่า ไม่มีเลยสำหรับการบินพาณิชย์ แต่ความรู้ต้องมี เพราะมีการเรียนในห้องเรียนก่อนเริ่มต้นบินจริง ๆ ไล่ตั้งแต่กฏระเบียบต่าง ๆ และวิธีการปฏิบัติ การอ่านแผนที่นำทาง ระบบนำร่องต่าง ๆ  ทั้งหมดเป็นการปูพื้นฐานสำหรับใช้ในการบินจริง ซึ่งมีความสำคัญมากที่จะต้องเก็บเกี่ยวความรู้ต่าง ๆ ในการทำงานบนเครื่องบิน และในระหว่างการเริ่มขึ้นเครื่องบินจริงนั้นก็จะต้องมีการทบทวนและการทำความเข้าใจระบบการทำงานแต่ละส่วนของเครื่องบิน จดจำปุ่มต่าง ๆ ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก โดยต้องจำได้ด้วยพื้นฐานความเข้าใจอย่างเป็นระบบ ก่อนขึ้นบินจริงต้องมีเข้าฝึกในเครื่องฝึกบินจำลองเป็นสิบ ๆ ครั้ง เพื่อให้มั่นใจเรื่องการปรับระบบต่าง ๆ และการทำความเข้าใจในการบินขึ้นลงสนามบินด้วย  ส่วนตัวผมเห็นว่าการบินเครื่องบินเครื่องใหญ่ เครื่องเล็ก เหมือนกันหมดครับ เพราะใช้พื้นฐานของเครื่องวัดประกอบการบินแบบเดียวกัน เพียงแต่เครื่องบินพาณิชย์นั้นมีเครื่องวัดต่าง ๆ จำนวนมากขึ้นกว่าเครื่องบินใบพัดลำเล็ก ๆ ที่ใช้ฝึกในโรงเรียนการบิน หากว่าเราเข้าใจพื้นฐานการอ่านค่าเครื่องวัดประกอบการบินแล้ว […]

กว่าจะเป็นนักบินพาณิชย์

กว่าจะเป็นนักบินพาณิชย์ “ใคร ๆ ก็บินได้” จริงหรือ ย้อนกลับไปก่อนหน้าตอนที่แล้ว ในช่วงก่อนการเป็นนักบินฝึกหัด การสอบคัดเลือกเพื่อเป็นนักเรียนทุนฝึกหัด ข้อกำหนดในอดีตอาจจะแตกต่างจากปัจจุบันเล็กน้อย เช่น ข้อจำกัดด้านอายุ และความสามารถด้านภาษาอังกฤษ แต่หลักการโดยทั่วไปคือปริญญาตรี สาขาใดก็ได้ เพื่อนในรุ่นผมก็จบหลากหลายสาขา ตั้งแต่ สัตว์แพทย์ วิศวะ สถาปัตย์ นิเทศ  ฯลฯ  ส่วนขั้นตอนการสอบ (สมัยที่ผมสอบคือปี 1992) แบ่งเป็น 5 ขั้นตอน คือ  1. การสมัครและตรวจคุณสมบัติผู้สมัคร (เนื่องจากมีข้อบังคับว่า หากผู้สมัครผ่านขั้นตอนสุดท้ายจนครบทุกขั้นตอนแล้ว จะไม่อนุญาตให้สอบใหม่ คือ ชีวิตนี้สอบได้ครั้งเดียวว่างั้น แต่ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว เช่น อาจต้องรอ 3 ปี 5 ปี แล้วแต่ว่าผ่านมาถึงขั้นตอนไหน จึงจะให้สมัครสอบใหม่ได้ ข้อกำหนดปัจจุบัน ขอให้ลอง search ใน google ดูครับ เพราะแต่ละบริษัทจะกำหนดคุณสมบัติแตกต่างกันเล็กน้อย) 2. การสอบข้อเขียน คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ (ปัจจุบัน มีเพิ่ม ความถนัดบางอย่างเข้าไปด้วย) 3. การตรวจร่างกายที่สถาบันเวชศาสตร์การบิน กองทัพอากาศ 4. การสอบสัมภาษณ์กับกัปตันการบินไทย การสอบ Aptitude test กับนักจิตวิทยาฝรั่งของการบินไทยใช้ผู้เชี่ยวชาญจาก Scandinavian Institute of Aviation Psychology (SIAP) เราเรียกการสอบรอบนี้สั้นๆว่า  […]

Co-operative attitude

Co-operative attitude Co-operative: involving mutual assistance in working towards a common goal Attitude: a settled way of thinking or feeling about something ผมลองยกตัวอย่างคำถามที่ผู้สัมภาษณ์จะเปิดประเด็นที่เกี่ยวข้องกับด้าน co-operative attitude ดูครับ ตามนี้ “เวลาว่างคุณทำอะไร” “ไปเที่ยวกับเพื่อนบ้างไหม” “ทำอะไรเวลาไปกับเพื่อนกลุ่มใหญ่” “กิจกรรมประเภทไหนที่ชอบทำ” “คุณมีเพื่อนสนิทกี่คน” “สนิทขนาดไหน”  Did you take part in any social activities during study?  เรื่องของ co-operative attitude เป็นเรื่องของบุคลิกลักษณะและทัศนคติต่อสังคมหรือในสิ่งแวดล้อมที่ตนเองอยู่การทำกิจกรรมทั้งในระหว่างที่เรียนมัธยมและมหาวิทยาลัย น่าจะเป็นลักษณะนิสัยและความชอบส่วนบุคคล เป็นความอยากที่จะทำในกิจกรรมนั้น ๆ ร่วมกันกับเพื่อน กับรุ่นพี่ รุ่นน้อง การมีลักษณะนิสัยที่ชอบทำงานร่วมกันกับเพื่อน ๆ ได้พบปะพูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคนอื่น ที่เติบโตมาจากสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ กันทางครอบครัวซึ่งเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ของชีวิต การเรียนรู้ที่จะอยู่ในสังคมที่มีคนมาก ๆ ทำกิจกรรมด้วยกัน (หรืออาจจะทีละน้อย ๆ แต่ต้องควบคุมคนจำนวนมาก) กิจกรรมที่ทำระหว่างเรียนเป็นการเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีคุณค่าต่อการทำงาน ในแทบทุก ๆ อาชีพ จากคำถามข้างบนที่ว่า “คุณทำกิจกรรมอะไรบ้าง ตอนเรียนมัธยมหรือมหาวิทยาลัย” เป็นเพียงคำถามเปิดประเด็นเท่านั้นครับ สิ่งที่ผู้สัมภาษณ์ต้องการคือ คำตอบจากคำถามที่เขาจะถามหลังจากที่คุณตอบคำตอบข้างบนครับ (อ่านแล้วงงดี) เช่น ถ้าคุณตอบว่า “ตอนเรียนมัธยมเป็นประธานชมรมถ่ายภาพ […]

Self-Knowledge

Self-Knowledge Self-knowledge แปลตามพจนานุกรมว่า understanding of oneself or one’s own motives or character  ข้อนี้ยากสำหรับการอธิบาย คำว่า understanding of oneself หมายถึง การที่เราเข้าใจข้อจำกัดของตัวเอง และยอมรับในข้อจำกัดนั้น เช่น ไม่เก่งชีววิทยา เพราะไม่ชอบท่องจำ เก่งคณิตศาสาตร์ เพราะชอบตัวเลข ไม่ชอบเถียงใคร ใครอยากทำอะไรยังไงก็ได้ แต่ห้ามทำให้เราเดือดร้อน ไม่ชอบยุ่งเรื่องของคนอื่น เพราะ…. ชอบยุ่งเรื่องของคนอื่น เพราะ…ชอบทำกิจกรรม และการเข้าสังคม ชอบปาร์ตี้สังสรรค์ โดยรวม ๆ น่าจะเป็นการพยายามหาคำตอบเกี่ยวกับตัวผู้ถูกสัมภาษณ์ว่า รู้จักตัวเองดีแค่ไหน ตรวจสอบดูข้อบกพร่องของตัวเองดูบ้างหรือเปล่า มีความมั่นใจในตัวเองหรือไม่มั่นใจในตัวเอง หรือ Over Confidence หรือไม่ คุณคิดว่าคุณเป็นคนอย่างไร How well do you know yourself? Are you scare of anything? Tell me the event in the past that most good impression—->Why? เคยกลัวหรือเสียใจหรือประทับใจเรื่องใดมากที่สุดในชีวิต อะไรที่คุณคิดว่าเป็นจุดอ่อนของคุณ ไม่อยากมีอาชีพอะไรมากที่สุด (อาชีพที่เป็นลักษณะเฉพาะทาง) เช่น หมอ หมอฟัน เภสัช […]

0
0