Category: ความรู้การบิน Aviation Knowledge

TG311 31July1992

การบินไทย เที่ยวบินที่ 311 เป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศของไทยที่ประสบอุบัติเหตุชนภูเขาขณะกำลังลดระดับ เตรียมร่อนลงจอดที่ท่าอากาศยานนานาชาติตรีภูวันกรุงกาฐมาณฑุประเทศเนปาล เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคมพ.ศ. 2535 ผู้โดยสารจำนวน 99 คน และลูกเรือ 14 คน เสียชีวิตทั้งหมดThai Airways International Flight 311 was a flight from Bangkok, Thailand‘s Don Mueang International Airport to Kathmandu, Nepal‘s Tribhuvan International Airport. On Friday, 31 July 1992, an A310-304 on the route, registration HS-TID, crashed on approach to Kathmandu. At 07:00:26 UTC (12:45:26 NST; 14:00:26 ICT), the aircraft crashed into the side of a mountain 37 kilometres north of Kathmandu at an altitude of 11,500 feet (3,505 m) and a ground speed of 300 knots (560 km/h; 350 mph), killing all 99 passengers and 14 crew […]

เครื่องบินราคาเท่าไหร่

ข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการเพื่อให้เห็นภาพเปรียบระหว่างรุ่นต่อรุ่น ใช้อ้างอิงราคาซื้อขายไม่ได้ ราคาเครื่องบินขึ้นอยู่กับ options ในการซื้อขายและการต่อรองราคาของแต่ละบริษัท

เมื่อเครื่องบินส้วมตัน

ในอดีตห้องน้ำบนเครื่องบิน ถ้าพอจะยังจำกันได้มันเป็นน้ำสีน้ำเงิน ประมาณสีน้ำเงินน้ำทะเล ถ้าเที่ยวบินไหนที่บินนานและผู้โดยสารเข้าห้องน้ำบ่อย น้ำสีน้ำเงินใสๆจะกลายเป็นน้ำเงินเข้ม ยิ่งนานไปก็จะยิ่งเข้ม ความเข้มข้นของกลิ่นก็จะมากขึ้นด้วย ระบบห้องน้ำแบบนี้นั้นน่าจะเลิกใช้ไปหมดแล้วครับ มีเรื่องเล่าสมัยผมเข้ามาเป็นนักบินใหม่ ๆ ก้อนน้ำแข็งสีน้ำเงินหล่นจากฟ้า ชาวบ้านเก็บได้ ทำให้เกิดเป็นเรื่องตื่นตาตื่นใจกันไม่รู้ถูกหวยกันด้วยหรือเปล่า ความจริงเรื่องนี้เคยเกิดกับหลายพื้นที่ครับอย่างที่ญี่ปุ่นก็มีชาวบ้านร้องเรียนเรื่องนี้เพราะก้อนน้ำแข็งสีน้ำเงินนี้สืบได้ว่ามันหล่นมาจากเครื่องบิน สนามบิน Tokyo Narita จึงได้ออก procedure บังคับให้เครื่องบินทุกลำจะต้องทำการกางฐานล้อก่อนเข้าชายฝั่ง เพื่อลดผลกระทบของโอกาสที่ก้อนน้ำแข็ง deep blue sea นั้นจะหล่นใส่บ้านของชาวบ้านรอบ ๆ สนามบิน ปัจจุบันเราเลิกระบบใช้น้ำวนไปแล้ว เครื่องบินสมัยใหม่ใช้ระบบ vacuum ในการดูด ระบบนี้มีประสิทธิภาพมากกว่า ใช้น้ำน้อยกว่า และที่สำคัญ กำจัดกลิ่นได้ดีกว่า แต่มันมีจุดอ่อนคือ ส้วมตัน ง่ายกว่าระบบเก่า อาการส้วมตันคือ ระบบดูดอากาศนั้นทำงานได้ไม่ดี จะด้วยตัวอุปกรณ์ของระบบเสีย หรือเกิดจากการอุดตันเพราะสิ่งแปลกปลอม (ทำให้ระบบเสีย) เรามาพูดถึงสิ่งแปลกปลอมครับ พวกผ้าเช็ดมือ ผ้าอนามัย หรือสิ่งของอื่นๆ ทิ้งในโถส้วมบนเครื่องบินไม่ได้เด็ดขาดครับ ท่อตันแน่นอน และเป็นเรื่องใหญ่มากเวลาที่ช่างจะต้องทำการแก้ไข แต่สิ่งที่คนส่วนใหญ่มักนึกไม่ถึงคือ ทิชชู่คำว่า ทิชชู่สำหรับฝรั่งหมายถึง กระดาษชำระ แต่บ้านเราเรียกทิชชู่ด้วยความหมายหลายอย่างทั้ง กระดาษชำระ กระดาษเช็ดปาก เรียกทิชชู่เหมือนกันหมดเลย “ทิชชู่ประเภทเดียวที่ทิ้งในโถส้วมได้และปลอดภัยคือ ทิชชู่ที่เป็นกระดาษชำระม้วน ๆ เพราะทิชชู่ประเภทนี้ออกแบบมาเพื่อให้เปื่อยยุ่ยเมื่อโดนน้ำ” มันจึงเป็นทิชชู่ประเภทเดียวที่ ระบบจัดเก็บของเสียบนเครื่องบินรักษ์ ทิชชู่ซับน้ำมันแผ่นใหญ่ๆสำหรับใช้ในครัว ทิชชู่เปียก หรือแม้กระทั่งทิชชู่แผ่นเหนียวๆหนาๆ จะทำให้ท่อทางอุดตันได้ง่ายมากหรือหากทิ้งทิชชู่ลงไปเป็นกระจุกทีละมาก ๆ ก็ทำปัญหาได้เช่นกัน อย่าลืมว่า เครื่องบินบินอยู่บนฟ้า อุณหภูมิต่ำมาก (แม้ว่ามันจะมีระบบให้ความร้อนกับท่อ) หากการ flush […]

Schiphol pushback truck

ดูครั้งแรกไม่แน่ใจว่าเค้าทำอะไรกัน แต่ก็เดา ๆ ว่าน่าจะเป็นการให้กำลังใจเพื่อน ลองค้นข้อมูลดูต่อจึงได้รู้ว่า เป็นการทำหน้าที่ครั้งสุดท้ายก่อนที่จะเกษียณของพนักงานขับรถดันคันที่กำลังดันเครื่องบินแอร์บัส 330 ของสายการบินเดลต้าอยู่ และเพื่อน ๆ จึงมาร่วมส่งและให้กำลังใจในการทำหน้าที่ครั้งสุดท้าย เป็นโมเม้นที่มีความสุข Happy Retirement จริง ๆ (23Dec19) รถดัน ชื่อเรียกของมันจริง ๆ คือ tow-tug truck หรือ pushback truck

ยิ่งสูง ยิ่งหนาว จริงไหม

จากโพสต์เรื่อง Contrails ที่ผมเขียนถึงอุณหภูมิภายนอกเครื่องบินที่มีโอกาสติดลบได้มากถึง -65 องศาเซลเซียสโดยเฉพาะหน้าหนาว เรามาลองดู มาตรฐานของอุณหภูมิที่ใช้เป็น reference กันก่อน ICAO บัญญัติค่ามาตรฐานของชั้นบรรยากาศเอาไว้ เรียกว่าเป็น International Standards Atmosphere หรือเรียกย่อ ๆ ว่า ISA ดังนี้ ที่ระดับน้ำทะเล Mean Sea Level หรือ MSL กำหนดค่ามาตรฐานความกดอากาศคือ 1013.2 mb (millibars) หรือ 2992 “Hg (inches of mercury) และอุณหภูมิคือ 15 องศาเซลเซียส (59 °F) เราตัดเรื่องฟาเรนไฮต์ ไปดีกว่าบ้านเราไม่ค่อยได้ใช้ เคยได้ยินคำว่า “Standards Temperature Lapse Rate” ไหมครับ “A standard temperature lapse rate is when the temperature decreases at the rate of approximately 3.5 °F or 2 °C per thousand feet up to 36,000 […]

0
0