Tag: powerplant

The Queen B747: Paris

#1 The Queen จากประสบการณ์ของผม “จะไปปารีส” #เหตุการณ์ครั้งหนึ่ง#TheQueen#b747 ตอนที่เกิดเหตุการณ์นี้ ผมยังเป็นนักบินที่สองที่มีอาวุโสทางการบินพอสมควรแล้ว และนักบินที่หนึ่งคือกัปตันท่านหนึ่งซึ่งท่านเสียชีวิตไปนานแล้ว ขออนุญาตนำมาเล่าสู่กันอ่านเป็นซีรีส์เรื่องราวแรกของ “The Queen จากประสบการณ์ของผม” วันนั้นเป็นไฟลท์ปารีสกลางวัน โบอิ้ง 747-400 มีกำหนดเดินทางจากกรุงเทพฯ (ดอนเมือง) ไปกรุงปารีส สนามบิน Paris-Charles de Gaulle (CDG) ปารีสมีหลายสนามบินแต่หลักๆจะใช้ ปารีส-ชาร์ล เดอ โกล วันนั้นจำได้แม่นๆว่า อากาศดีมาก ท้องฟ้าแจ้มใส่สุดๆ แต่ก็ร้อนสุดๆเช่น น้ำหนักวิ่งขึ้นค่อนข้างมาก หมายถึงเครื่องบินต้องแบกน้ำหนักตัวและผู้โดยสารที่เต็มลำ และเที่ยวบินนี้ต้องใช้น้ำมันเยอะกว่าปกติเพราะเป็นไฟลท์กลางวัน สำหรับระหว่างทางก็เกี่ยวกับลมฟ้าอากาศ ความกดอากาศ ฯลฯ ระยะทางภาคพื้นนั้นเท่ากันกับตอนกลางคืนแหละ แต่ระยะทางบินผ่านอากาศสูงกว่าเที่ยวบินกลางคืน (ESAD= Equivalent Still Air Distance) สรุปคือบินนานกว่า ใช้น้ำมันมากกว่าเที่ยวบินกลางคืน เที่ยวบินนี้เกือบๆจะถึง MTOW (Maximum Takeoff Weight) เพราะอุณหภูมิสูงทำให้สมรรถนะของเครื่องยนต์ในการวิ่งขึ้นต่ำลง การใช้ระยะทางวิ่งบนรันเวย์ก็จะเกือบๆสุดสนาม โดยที่มี V1 ห่างจาก Vr หลายสิบ knots V1 คือ decision speed หรือจะเรียกว่า critical speed ก็ได้ อธิบายง่ายๆคือ ความเร็วที่ V1 ต้องตัดสินใจว่าจะหยุดหรือจะไป ถ้าเลย V1 คือห้ามหยุด […]

ลำตัวเครื่องบินเหมือนหลอดกระดาษ

เครื่องบินลงกระแทกอย่างแรง ทำให้ลำตัวเครื่องบินเกิดความเสียหาย การกระแทกพื้นจากการลงสนามที่ผิดพลาดอาจเกิดได้หลายสาเหตุปัจจัย อาทิ การที่สภาพอากาสไม่ดีทำให้การลงสนามมีความยากเพิ่มขึ้นและนักบินไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ทันจนเกิดการสัมผัสพื้นที่แรงกว่าปกตอ หรือจากการที่นักบินบังคับเครื่องบินผิดพลาดประมาณว่า ประสบการณ์น้อย ฝีมือยังไม่ดี บินไม่เก่งว่างั้นก็ได้ ภาพด้านล่างนี้จากเครื่องบิน 767 ของสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เป็นเครื่องบินรุ่นเก่า และใช้งานมานานกว่า 30 ปี จะว่าไปการที่เครื่องบินเก่าไม่ใช่ปัญหาเพราะระบบการบำรุงรักษานั้นค่อนข้างเข้มงวดอยู่แล้วเรื่องการกำกับมาตรฐานความปลอดภัย แต่กรณีที่ลงกระแทกแรงๆ จนเกินกว่าที่โครงสร้างเครื่องบินถูกออกแบบและกำหนดเป็นมาตรฐานไว้ เช่น มากว่า 4G 5G หรือเท่าไหร่ก็แล้วแต่ เครื่องบินเก่าย่อมทนแรงหรือลิมิตต่ำกว่าเครื่องบินลำใหม่ๆแน่นอน กรณีการกระแทกรุนแรง ในบางครั้งก็ถึงขนาดว่าล้อของเครื่องบินกระแทกทะลุเข้ามาภายในลำตัว หรือทำให้เกิดน้ำมันรั่ว ปีกแตก หรืออย่างภาพนี้คือ ลำตัวยู่ยี่ เพราะการกระแทกโดยที่ส่วนของลำตัวถูกสะบัด เหมือนเราสะบัดหลอด ถ้าเราสะบัดหลอดไปกระแทกหรือสัมผัสสิ่งของหลอดก็จะเกิดการพับ ถ้าเป็นหลอดพลาสติกเราอาจไม่เห็นรอยพับเพราะความยืดหยุ่นของพลาสติกทำให้มันกลับคืนสู่สภาพเดิม ลำตัวเครื่องบินเหมือนหลอดกระดาษ เพราะความยืดหยุ่นจะต่ำกว่าพลาสติก หากหักพับแล้วไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิมได้ ภาพจาก https://onemileatatime.com/ AIRCRAFT MADE A HARD LANDING AND POST FLIGHT INSPECTION REVEALED DAMAGE TO THE FUSELAGE สายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ วันที่ 29 กรกฎาคม 2566 ลงกระแทกพื้นรุนแรง hard landing จนกระทั่งเกิดความเสียหายของลำตัวอ่านข่าวจากavheraldonemileatatime

จัมโบ้ล้อหลุดกลางอากาศ มีคลิป

11 Oct 2022 เครื่องบินโบอิ้ง 747-400 LCF Dreamlifter (LCF ย่อมาจาก Large Cargo Freighter) เป็นเครื่องบินรุ่นที่พัฒนาจากเครื่องบินจัมโบ้ B747-400 เดิมสร้างให้มีลำตัวขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อที่จะใช้ในการลำเลียงอุปกรณณ์โดยลำตัวของเครื่องบินโบอิ้ง 787 Drealiner และเครื่องบินรุ่นอื่นๆของโบอิ้งไปส่งที่โรงงานประกอบเครื่องบินหรือใช้ในภาระกิจขนถ่ายสินค้าขนาดใหญ่ๆ เหตุการณ์นี้เป็นการวิ่งขึ้นจากสนามบิน Taranto-Grottaglie Airport ในประเทศอิตาลี ขณะที่เครื่องบินกำลังทะยานขึ้นฟ้า (ดูคลิป) จะเห็นกลุ่มควันเล็กน้อยและเห็นล้อด้านซ้าย (เข้าใจว่าน่าจะสองล้อที่อยู่คู่กัน) หลุดออกและหล่นลงมากระแทกพื้นรันเวย์ อย่างไรก็ตามเครื่องบินไม่ได้กลับมาลงที่สนามบินแต่อย่างใดและเดินทางต่อไปลงสนามบิน Charleston, North Carolina ประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างปลอดภัย ความเห็นของ A Pilot Club หลังจากที่เครื่องบินขี้นไปแล้ว แน่นอนว่านักบินย่อมรู้ว่าเกิดความผิดปกติกับระบบฐานล้อ เพราะในห้องนักบินจะแจ้งเตือนว่ามีล้อ (หนึ่งหรือสอง) ล้อที่โชว์ในจอว่าไม่พบค่าความดันลมยาง (ระบบแสดงเฉพาะค่าความดันลมยาง) และอย่างเหตุการณ์นี้เชื่อว่าทางหอบังคับการบินน่าจะเห็นเหตุการณ์และแจ้งให้นักบินทราบ ทำไมเครื่องบินจึงไม่กลับมาลงสนาม ยังคงบินต่อไปตามกำหนด ปลอดภัยหรือไม่ หลังจากที่นักบินทราบความผิดปกติแล้ว อย่างแรกเลยนักบินจะต้องตรวจสอบผลกระทบจากความผิดปกติที่เกิดขึ้น อาทิเช่น มีระบบไฮดรอลิกเสียหายด้วยหรือไม่ ระบบฐานล้อนั้นเก็บเข้าที่ได้เป็นปกติไม่สร้างปัญหาอื่นๆ หากล้อที่หลุดมีการระเบิดของยาง การระเบิดนั้นสร้างความเสียหายให้กับลำตัวจนเกิดความเสียหายต่อระบบปรับความดันอากาศหรือไม่ ระบบน้ำมัน เพราะถังน้ำมันอยู่ใกล้ๆ ฯลฯ หากตรวจสอบทุกระบบแล้วว่าไม่มีอะไรผิดปกตินั้น การที่จะบินไปต่อสามารถทำได้ ปลอดภัยกว่าและเป็นประโยชน์ต่อเที่ยวบินอีกด้วย เพราะว่า ถ้าจะรีบกลับไปลงสนาม น้ำหนักเครื่องบินยังมากอยู่ โดยเฉพาะเมื่อล้อมีไม่ครบจำนวนด้วยแล้ว การบินต่อไปเพื่อให้น้ำหนักของเครื่องบินลดน้อยลงย่อมดีกว่ารีบกลับมาลงและสร้างปัญหาให้เกิดความเครียดต่อระบบล้อและโครงสร้างเครื่องบิน ประมาณว่าซ้ำเติมตัวเองอีกด้วย เครื่องบินยังมี airworthiness ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องรีบกลับไปลงสนามครับ

แอร์ฟรานส์ B777 เสียการควบคุม

Air France AF011 ที่เราเคยพูดถึงไปเมื่อประมาณสองอาทิตย์ก่อนในเฟสบุ๊คเพจ https://fb.me/apilotbook เที่ยวบินของแอร์ฟรานส์ AF011 เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา ทำการบินด้วยเครื่องบินโบอิ้ง B777-300ERทะเบียนเครื่อง F-GSQJ เดินทางจากนิวยอร์ค มาปารีส ขณะกำลังลงสนามบินที่ ชาร์ลเดอโก กรุงปารีส  เรื่องมีอยู่ว่า นักบินรายงานกับหอบังคับการบินว่า เครื่องบินเสียการควบคุม จึงขอทำการบินขึ้นไปใหม่ (go around)และเครื่องบินหลุดเส้นทางออกไปทางซ้ายของ runway centerline เล็กน้อย  จากเสียงบันทึกโต้ตอบระหว่างนักบินและหอบังคับการบินที่เราได้ยินเสียง นักบินคนหนึ่งพูดดังๆว่า STOP STOP หรือ “หยุด หยุด” พร้อมกับเสียงสัญญาณเตือนเข้ามาในคลื่นวิทยุหลายๆครั้ง เพราะว่านักบินอาจไปโดนตัวสวิตซ์กดแล้วพูดวิทยุที่อยู่ที่คันบังคับ(push-to-talk) ในระหว่างที่พยายามออกแรงบังคับเครื่องบิน เหตุการณ์นี้ทำให้เกิดการสอบสวนหาสาเหตุ เพราะการที่นักบินรายงานว่าเครื่องบินเสียการควบคุมนั้น ถือเป็นเหตุการณ์ที่ร้ายแรง เพราะอาจทำให้กลายเป็นอุบัติเหตุได้ ข้อมูลจากรายงานฉบับเบื้องต้น (Preliminary report) ของทางการฝรั่งเศส มีสรุปใจความสำคัญว่าเกิดการที่นักบินบังคับเครื่องบินพร้อมกันสองคนจนทำให้คันบังคับไม่ขยับ  การที่คันบังคับไม่ขยับก็เพราะว่าทั้งคู่บังคับเครื่องบินสวนทางกัน และทั้งคู่ก็เลยคิดว่าเครื่องบินไม่ยอมตอบสนองการบังคับ และรายงานกับหอบังคับการบินออกไปว่าเครื่องบินเสียการควบคุม ความเห็นส่วนตัวผมมองว่า เรื่องแบบนี้ไม่ควรเกิดขึ้นในการบิน สำหรับการบิน airlines นั้นจะมีการแบ่งหน้าที่ชัดเจนว่าใครเป็น คนบิน (PF-Pilot Flying) และใครทำหน้าที่คนเฝ้าระวัง (PM-Pilot Monitoring) แสดงว่า cockpit procedure มีปัญหา ในรายงานยังระบุอีกว่า การลงสนามนั้นดูเหมือนเครื่องบินจะทำงานเป็นปกติและถือว่าเป็น stabilized approach (อยู่ในกรอบการบินที่ปลอดภัย) ไม่ได้มีช่วงใดที่ทำให้ต้องทำการบินขึ้นไปใหม่ (go around) ทางฝรั่งเศสเค้าก็คงจะทำสรุปรายงานฉบับเต็มออกมาและแน่นอนที่สุดหนึ่ง safety recommendation […]

China Eastern MU5735 Crash

China Eastern MU5735 21Mar2022 ใครคือผู้ที่ต้องทำการสอบสวนอุบัติเหตุ ดูคลิปผมต้องถูกบังคับให้รับความรู้การบินเข้าไปด้วย ก่อนอื่นมาดู Annex 13 กันก่อน เวลาเกิดอุบัติเหตุแบบนี้ ใครคือผู้มีอำนาจสอบสวนสาเหตุ Remote area กรณีที่ยากลำบากที่สุดสำหรับ SAR ก่อนอื่นขอทำความเข้าใจกันก่อนว่า วิเคราะห์เพื่อให้เกิดความรู้เกี่ยวกับการบิน ความถูกต้องของเหตุการณ์นี้ต้องรอข้อมูลจาก black boxes เท่านั้นครับ KMG-CAN B737-800 อายุเพียง 6 ปี ADS-B Automatic Dependent Surveillance Broadcast อะไรที่จะทำให้เครื่องบินดิ่งลงมาอย่างรวดเร็ว สาเหตุ 1. แบบเดียวกับเครื่องบิน B737Max หรือเปล่า มีระบบ MCAS ไหม B737-800 ไม่มีระบบ MCAS 2. นักบินสลบ เครื่องบินจะต้องบินต่อไปเรื่อยจนน้ำมันหมด เพราะมี autopilot 3. เครื่องยนต์ดับไหม ท่าท่างของเครื่องบินจะไม่ใช่แบบนี้ 4. ปัญหาเครื่องบินขัดข้อง จากอะไร??? ชนเข้ากับอะไรบางอย่างจนเครื่องบังคับไม่ได้ หัวปักลงมาส่วนหางต้องมีปัญหา Stabilizer trim runaway, หางขาด 5. สภาพอากาศเลวร้าย (ตัดไป) 6. นักบินตั้งใจทำประเด็นนี้ไม่ควรนึกถึงในเวลานี้ น่าจะเป็นประเด็นสุดท้ายที่ต้องรอข้อมูลยืนยันจากกล่องดำเท่านั้น หางขาด เกิดระเบิด? มีการกระแทกพื้น จะตอนบินขึ้นมาหรือเกิดขึ้นมาก่อนไฟลท์นี้ Dutch roll ทำให้หางหลุดทุกอย่างต้องรอกล่องดำเท่านั้นจึงจะทราบความจริง โน้ท […]

0
0