Tag: pilot test

คำถามที่น่าตอบ

ทุกคนเรียนการบินได้ แต่ไม่ใช่ ทุกคน ที่จะเป็นนักบินได้ใช่มั้ยครับ ⭕️ทุกคนเรียนการบินได้ครับ แต่จะออกใบอนุญาตให้บินได้ที่ระดับไหน อันนี้แล้วแต่คุณสมบัติครับ เช่น ใบอนุญาตนักบินส่วนบุคคล ข้อกำหนดและเงื่อนไขจะน้อยที่สุด เพราะเป็นการบินส่วนตัวรับผิดชอบตัวเองในการบิน แต่ก็มีข้อจำกัดนะครับ เพราะต้องรับผิดชอบส่วนรวมด้วยเช่นกัน เช่น หากมีข้อขัดข้องหรือปัญหาเกิดขึ้นระหว่างทำการบินจะต้องแก้ไขได้ เนื่องจากการบินของเราอาจทำให้เกิดปัญหากับเครื่องบินอื่น ๆ ที่บินอยู่ในบริเวณเดียวกันได้ จึงต้องผ่านการทดสอบด้านกฏการบินด้วย ถ้าเป็นใบอนุญาตพาณิชย์ตรี (Commercial Pilot License) ก็จะต้องผ่านการทดสอบหลายอย่างมากขึ้น และสามารถบินขนส่งผู้โดยสารได้ พิธีและวิธีการบินก็จะต้องเรียนรู้กฏการบินเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีศักย์การบินอื่น ๆ เข้ามาประกอบเพิ่มขึ้นด้วย เช่น Multi-engine, night landing, Instrument rating ฯลฯ (อ่านใน A Pilot เล่มแรกครับ) รวมไปถึงต้องผ่านการตรวจร่างกายจากแพทย์เวชศาสตร์การบินด้วย ส่วนใบอนุญาตนักบินพาณิชย์เอก (Airline Transport Pilot License) นั้น จะเป็นขั้นสูงสุดที่ต้องมี CPL อยู่ก่อนแล้วและทำการบินสะสมชั่วโมงบินและประสบการณ์จำนวนปีตามที่กำหนดก่อนจึงจะสามารถยื่นสอบขอใบอนุญาตชนิดนี้ได้ สรุปคำตอบ คือ ใช่ครับ เรียนบินได้ แต่อาจจะไม่ได้เป็นนักบินพาณิชย์ก็ได้ครับ เพราะต้องผ่านการสอบเข้าสายการบิน ระบบการฝึก นักเรียนการบินเหมือนระบบทหาร ใช่มั้ยครับ ❌ขอตอบว่า ไม่ใช่เลยครับ การเรียนเป็นนักบินพาณิชย์ไม่ใช่การบินแบบเครื่องบินทหาร แตกต่างกันค่อนข้างมากทีเดียวครับ ดังนั้นการฝึกนักเรียนการบิน จึงแตกต่างกัน บางสายการบินสอบขอทุน student pilot ผ่านแล้ว ต้อง ขอกู้จะธนาคารเอง ใช่ มั้ยครับ  🎯ใช่ครับ แต่สายการบินจะอำนวยความสะดวกให้โดย […]

การสะกดคำศัพท์กลับหลัง

การทดสอบนี้ เหมาะกับทุกเพศทุกวัย และเหมาะมากที่จะใช้เป็นคำถามในระหว่างที่ “เดินตามจุด” (อยู่บทถัดไปครับ) สิ่งที่จะใช้เป็นคำถามคือ คำศัพท์ หรือ บางทีอาจเป็นเบอร์โทรศัพท์หรือตัวเลขอะไรก็ได้ที่ปกติในชีวิตประจำวันเราจำได้เป็นปกติ เช่น นามสกุล เบอร์โทรศัพท์มือถือ เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน ชื่อมหาวิทยาลัย ชื่อบริษัท ชื่อโรงเรียน ฯลฯ วิธีการทดสอบนี้คือ กรรมการจะดูจากข้อมูลประวัติของตัวผู้สมัคร และเลือกชวนคุย ถามโน่นนี่ไปเรื่อย ๆ เน้นหาจังหวะที่จะดูว่า คำไหนเหมาะ ๆ แล้วจะให้เราพูดคำนั้นกลับหลัง เช่น คุณสะกดชื่อมหาวิทยาลัยเป็นภาษาอังกฤษได้ไหม “C-H-U-L-A-L-O-N-G-K-O-R-N” แบบนี้ พอเราสะกดให้ฟังเรียบร้อยแล้วก็จะชวนคุยเปลี่ยนเรื่องไปเรื่องอื่นสักครู่แล้วจึงจะย้อนกลับมาถามเราใหม่ว่า ให้สะกดกลับหลังภาษาอังกฤษคำว่า “จุฬาลงกรณ์” Please spell backward “CHULALONGKORN” การทดสอบนี้ถ้าผมเป็นกรรมการจะถามตอนที่ให้ทำกิจกรรมอื่นร่วมอยู่ด้วย เช่น การเดินตามจุด ที่อยู่ในบทถัดไป หรือ การหมุนมือทวนกัน เพื่อให้เป็นการทำ multi-tasking และเป็นการทดสอบการแยกประสาทให้การทำงานหลาย ๆ อย่างไปพร้อม ๆ กัน  เทคนิคหนึ่งคือ การเขียนภาพตัวอักษรทั้งหมดในใจ แล้วจึงนึกถึงภาพนั้นย้อนกลับมาทีละตัวอักษร การมองเป็นภาพจะช่วยให้สามารถพูดกลับหลังมาได้ทีละตัวอักษร ลองทำดูครับ เปลี่ยนเป็นตัวเลขเบอร์โทรศัพท์ก็ได้ครับ ยาก-ง่าย พอ ๆ กันแล้วแต่ความมถนัด  เสร็จแล้วไปต่อที่ “เดินตามจุดกัน” ในบทถัดไปครับ

คิดเลขง่ายๆ แต่ไม่ง่าย

เวลาสอบสัมภาษณ์อาจจะถูกทดสอบด้วยการคิดเลขในใจ บางทีกรรมการอาจจะถามคำถาม เช่น  คำถาม 17×18 เท่ากับเท่าไหร่ ให้ลองคิดหรือหาวิธีที่จะคิดเลขในใจดูครับ เช่น ใช้ 17 คูณ 20 แล้วลบออกด้วย 34 คำถาม 25×25  อันนี้แทบจะต้องตอบได้ทันทีว่า เท่ากับ 625  คำถาม 20×19  เลข 2 กับ 19 ได้ 38 แล้วเติม 0 เข้าไป เป็น 380  บางคนอาจใช้การคูณ 20 กับ 20 เป็น 400 แล้วลบออก 19 ซึ่งทำให้มันยากคิดหลายตลบ เพราะโจทย์ที่ลงท้ายด้วย 0 ไม่ควรเสียเวลาคิดนาน บางทีโดนถามจนมึน เลยมัวไปหาวิธีคิดแปลก ๆ ที่แปลกเกินความจำเป็น คำถาม 35×74 แบบนี้จะคูณยังไงดีครับ ลองหาวิธีคิดในใจได้ไหม แล้วถ้าเจอยาก ๆ แบบเลขสามหลักล่ะ คำถาม 128×32  จริง ๆ แล้วถ้าเรามีหลักในการคิดจะสามารถหาคำตอบได้ไม่ยากนะครับสามารถทำได้แน่นอน ของแบบนี้เป็นเรื่องที่สามารถฝึกฝนได้ หรือคนที่เคยทำเลขมาเยอะ ๆ ก็จะได้เปรียบ คูณเป็นแล้ว ลองหารดูบ้างก็ดีนะครับ คำถาม 74 หารด้วย 3 ได้ผลลัพธ์เท่าไหร่ คำถาม 655 หารด้วย 20 […]

ข้อสอบนักบิน

การทดสอบหลาย ๆ อย่างที่มักจะใช้เป็นตัวทดสอบความสามารถของผู้ที่จะสอบคัดเลือก

Pilot interview

บทนี้จะเป็นส่วนที่เพิ่มเติมจากหนังสือ A Pilot เล่มแรกและเล่มสองครับ จะมีเนื้อหาเบสิค ๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับการสอบสัมภาษณ์ มีตัวอย่างและเทคนิคพื้นฐานบางเรื่องเพื่อแนะนำให้ผู้อ่านได้มองเห็นภาพชัดเจนขึ้นว่า การทดสอบบางอย่างนั้น มีที่มาที่ไปอย่างไร  บทความจากหนังสือ A Pilot Part III เนื้อหาในหนังสือบทนี้ ไม่ใช่การติวเพื่อสอบนักบินนะครับ การติวเพื่อที่จะสอบนักบินเป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งไม่อยู่ในแนวทางและไม่ใช่วัตถุประสงค์ในการเขียนหนังสือเล่มนี้และ A Pilot Book ทั้งสองเล่มที่ผ่านมาครับ ปัจจุบันมีคนเปิดติวเพื่อสอบเป็นนักบินกันมากอยู่ครับ เรื่องนี้แล้วแต่ความชอบเลยครับ ส่วนตัวไม่ได้สนับสนุนหรือจะต่อต้านครับ สำหรับผม เชื่อว่าการได้รู้และเข้าใจที่มาที่ไปและมองเห็นวัตถุประสงค์ในการสอบแต่ละประเภท จะเป็นคำแนะนำที่ดีที่สุดสำหรับการเข้าใจจุดอ่อน จุดแข็งของตนเอง และมันจะติดตัวเราไปตลอดอีกทั้งสามารถที่จะต่อยอดไปใช้กับการทำงานอื่น ๆ ได้อีกด้วย การทดสอบระหว่างสัมภาษณ์ ในการสัมภาษณ์นักบินนั้น ผู้สัมภาษณ์อาจทำการทดสอบปฏิกิริยาต่าง ๆ ของผู้ถูกสัมภาษณ์ เพื่อค้นหาว่า ผู้ถูกสัมภาษณ์นั้น มีจุดอ่อนหรือจุดแข็งตามคะแนนที่กรรมการเห็นอยู่ในมือหรือไม่ แน่นอนครับ ก่อนจะเรียกเข้ามาสัมภาษณ์ กรรมการสอบจะคุยกันสั้น ๆ จากผลคะแนนของการสอบข้อเขียนในรอบที่ผ่านมา และดูประวัติส่วนบุคคล ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน (ถ้ามี) คะแนนเรียนในแต่ละเทอม หรือ คะแนนสอบวัดระดับต่าง ๆ ที่มี เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเริ่มสัมภาษณ์ การแต่งกายการวางตัว การควบคุมอารมณ์ การควบคุมความตื่นเต้น ฯลฯ เรื่องเทคนิคต่าง ๆ เหล่านี้ผมเขียนไว้แล้วในสองเล่มแรก ลองอ่านซ้ำดูนะครับ การสอบสัมภาษณ์จะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการพูดคุย แต่อาจจะถูกสอดแทรกด้วยการทดสอบบางอย่างด้วย โดยการทดสอบระหว่างสัมภาษณ์นั้น อาจจะเป็นการทดสอบง่าย ๆ สั้น ๆ เพื่อสนับสนุนหรือทำให้กรรมการเกิดความมั่นใจว่า ผู้ถูกสัมภาษณ์นั้นได้คะแนนจากการสอบข้อเขียนด้านนี้มาด้วยความสามารถ ไม่ได้ฟลุ๊คตอบถูก […]

0
0