Tag: pilot test

การสอบสัมภาษณ์​ Pilot’s interview

การเข้ารับการสอบสัมภาษณ์นักบิน บทความนี้เป็นข้อมูลประสบการณ์ที่ผมสอบทุนนักบินฝึกหัดของการบินไทยเมื่อประมาณปี 2535 ปัจจุบันวิธีการสอบหรือขั้นตอนการสมัครอาจจะมีความแตกต่างไปบ้าง แต่ทั้งนี้หลักการและวัตถุประสงค์ของการคัดเลือกก็ยังคงเป็นเหมือนเดิม หวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้กับผู้ที่จะสอบคัดเลือก ความจริงแล้วเราสามารถประยุกต์เพื่อใช้ในการสอบหรือสมัครงานอื่นๆได้ครับ กัปตันโสภณ พิฆเนศวร การสอบนักบิน มีขั้นตอนต่าง ๆ คร่าว ๆ ประมาณนี้ครับ ขั้นแรก คือ การสอบข้อเขียนซึ่งมักจะสอบวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ ภาษาอังกฤษ ขั้นที่สอง คือ การตรวจสุขภาพ โดยปกติจะให้ตรวจกับสถาบันเวชศาสตร์การบิน กรมแพทย์ทหารอากาศ อยู่ใกล้ ๆ กับรพ.ภูมิพล และบางสายการบินก็ให้ตรวจได้ที่รพ.กรุงเทพ ขั้นที่สาม คือ การสอบสัมภาษณ์ ซึ่งแล้วแต่ว่าแต่ละสายการบินจะจัดให้มีการสอบอย่างไร ของการบินไทยจะมีกัปตันของ บริษัทฯ จำนวน 2-3 ท่านเป็นผู้สัมภาษณ์ ขั้นตอนนี้ผมจะแนะนำอีกที ขั้นที่สี่ คือ การสอบ Aptitude แต่ละสายการบินก็คงมีวิธีการที่แตกต่างกันออกไป การบินไทยจะใช้นักจิตวิทยาชาวต่างชาติ ซึ่งเป็นผู้ชำนาญเกี่ยวกับการคัดเลือกนักบิน หากสอบผ่านทุกขั้นตอนก็จะได้ทุนนักบินฝึกหัดและถูกส่งไปเรียนด้านการบินกับโรงเรียนการบินที่แต่ละบริษัทมีข้อตกลงไว้ เมื่อจบจากโรงเรียนการบินแล้ว (ปกติใช้เวลาไม่เกิน 1 ปี) จึงจะเข้ามาบรรจุเป็นพนักงานของสายการบินนั้น การได้ทุนเรียนนั้น อย่างการบินไทย ส่งเรียนฟรี (มีอยู่ช่วงหนึ่งไม่ฟรี) แต่บางสายการบินก็อาจจะใช้วิธีเก็บเงินย้อนหลังโดยการหักเงินเดือน ซึ่งแต่ละสายการบินจะมีการทำสัญญา เพื่อกำหนดว่า หลังจากเป็นนักบินแล้วต้องทำงานให้ไม่น้อยกว่าจำนวนปีในสัญญา ซึ่งต้องหารายละเอียดในแต่ละบริษัทดูครับ เพราะเขียนไปแล้วถ้ามันเปลี่ยนแปลงจะกลายเป็นข้อมูลไม่ถูกต้อง ผมแนะนำว่า ถ้าสนใจจริง ๆ ให้ ลอง search ใน google ด้วยคำว่า “สมัครนักบิน สายการบิน…” อ่านข้อมูลของแต่ละสายการบินดูครับเพราะรายละเอียดในการสมัครจะแตกต่างกันเล็กน้อย การสมัครสอบ การบินไทย […]

อยากเป็นนักบินต้องทำอย่างไร

To become a pilot อยากเป็นนักบินต้องทำอย่างไร ปัจจุบันอาชีพนักบินเปิดกว้างมากขึ้น สำหรับผู้ที่จบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัย หรือคณะที่ไม่ได้มีหลักสูตรการบิน สามารถเป็นนักบินพาณิชย์ได้ โดยการสมัครเป็นนักบินฝึกหัดกับสายการบินต่าง ๆ ที่จะมีการประกาศรับสมัครนักบิน อยู่เรื่อย ๆ เราเรียกการรับสมัครนักบินในกลุ่มนี้ว่า “Student Pilot” กลุ่ม Student Pilot นั้น หากผ่านการคัดเลือก บริษัทก็จะส่งตัวไปเข้ารับการฝึกเพื่อเป็นนักบินกับโรงเรียนการบินต่างๆ ที่มีข้อตกลงไว้กับบริษัท การฝึกก็จะเป็นไปตามลำดับขั้นตอนเพื่อให้ได้รับใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรีหลังจากนั้นจึงจะบรรจุเข้าเป็นพนักงานของสายการบินและเข้ารับการฝึกตามมาตรฐานของแต่ละสายการบินต่อไป ส่วนข้อกำหนดในการรับเข้าทำงานนั้นก็จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละสายการบิน รวมทั้งข้อผูกมัดหลังจากฝึกบินเสร็จแล้วก็แตกต่างกันไป เช่น หากฝึกเสร็จแล้ว ต้องทำการบินกับบริษัทฯ ไม่น้อยกว่า กี่ปี หรือหากลาออกก่อนกำหนดเวลาที่ตั้งไว้ในสัญญาผูกพันจะต้องชดใช้ค่าเล่าเรียนที่บริษัทฯออกให้ก่อนเป็นเงินเท่าไหร่ เป็นต้น หรือบางสายการบินอาจใช้วิธีหักเงินเดือนเพื่อคืนค่าเล่าเรียนที่บริษัทออกให้  ปัจจุบันมีหลายมหาวิทยาลัยเปิดสอนหลักสูตรต่าง ๆ เกี่ยวกับนักบินพาณิชย์พร้อมกับปริญญาบัตรวิชาชีพไม่ว่าจะเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ หรือ คณะวิทยาศาสตร์ โดยนักศึกษาที่จบหลักสูตรนักบินพาณิชย์จะต้องผ่านการฝึกบินโดยโรงเรียนการบินที่ทำพันธสัญญาร่วมกับมหาวิทยาลัย ซึ่งโรงเรียนการบินเหล่านั้นก็ต้องได้รับรองจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยด้วย ดูรายชื่อโรงเรียนการบินที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานการการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยได้ที่นี่ https://www.caat.or.th/th/archives/24859 กลุ่มนักศึกษาที่จบหลักสูตรนักบินพาณิชย์ตรีเหล่านี้ สามารถสมัครเข้าคัดเลือกเพื่อเป็นนักบินกับสายการบินได้ เราเรียกนักบินกลุ่มนี้เรียกว่า “Qualified Pilot”  Qualified pilot หมายถึงคนที่มีประสบการณ์การบินมาแล้วระดับหนึ่ง มีใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี จากการเรียนกับมหาวิทยาลัยหรือจ่ายเงินเรียนกับโรงเรียนการบินเองค่อย ๆ เก็บสะสมชั่วโมงบินและการสอบวัดศักย์ต่าง ๆ ครบถ้วนจนได้ใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี หรือ CPL:Commercial Pilot License  ในแต่ละปีสายการบินต่าง ๆ จะประกาศรับนักบินที่ผ่านการสะสมชั่วโมงและผ่านการฝึกจนได้รับใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรีแล้วแบบนี้ประมาณปีละหนึ่งครั้ง (ระยะหลัง ๆ ประกาศรับมากกว่า หนึ่งครั้งต่อปี) มีศัพท์เฉพาะเพื่อความเข้าใจอีกประเภทเกี่ยวกับการสมัครนักบินประเภท qualified pilot คือ “type rating” […]

1 7 8 9
0
0