Tag: pilot selection

Self-Knowledge

Self-Knowledge Self-knowledge แปลตามพจนานุกรมว่า understanding of oneself or one’s own motives or character  ข้อนี้ยากสำหรับการอธิบาย คำว่า understanding of oneself หมายถึง การที่เราเข้าใจข้อจำกัดของตัวเอง และยอมรับในข้อจำกัดนั้น เช่น ไม่เก่งชีววิทยา เพราะไม่ชอบท่องจำ เก่งคณิตศาสาตร์ เพราะชอบตัวเลข ไม่ชอบเถียงใคร ใครอยากทำอะไรยังไงก็ได้ แต่ห้ามทำให้เราเดือดร้อน ไม่ชอบยุ่งเรื่องของคนอื่น เพราะ…. ชอบยุ่งเรื่องของคนอื่น เพราะ…ชอบทำกิจกรรม และการเข้าสังคม ชอบปาร์ตี้สังสรรค์ โดยรวม ๆ น่าจะเป็นการพยายามหาคำตอบเกี่ยวกับตัวผู้ถูกสัมภาษณ์ว่า รู้จักตัวเองดีแค่ไหน ตรวจสอบดูข้อบกพร่องของตัวเองดูบ้างหรือเปล่า มีความมั่นใจในตัวเองหรือไม่มั่นใจในตัวเอง หรือ Over Confidence หรือไม่ คุณคิดว่าคุณเป็นคนอย่างไร How well do you know yourself? Are you scare of anything? Tell me the event in the past that most good impression—->Why? เคยกลัวหรือเสียใจหรือประทับใจเรื่องใดมากที่สุดในชีวิต อะไรที่คุณคิดว่าเป็นจุดอ่อนของคุณ ไม่อยากมีอาชีพอะไรมากที่สุด (อาชีพที่เป็นลักษณะเฉพาะทาง) เช่น หมอ หมอฟัน เภสัช […]

Judgement

Judgement Judgement:  the ability to make considered decisions or come to sensible conclusions แปลเป็นไทยคือ การตัดสินใจ การคาดคะเน การประเมิน หรือ การพิจารณา  คำว่า judgement  สำคัญอย่างไรสำหรับนักบิน ความเห็นผม judgement นั้นเป็นคำที่กว้างมาก มันควรแบ่งขอบเขตของความหมายที่เฉพาะเจาะจงลงไปอีกหน่อย เช่น การตัดสินใจในสภาวะแวดล้อมที่แตกต่างกัน หรือการตัดสินใจที่มีตัวแปร ต่างกัน เช่น มีเวลาเป็นตัวกำหนด หรือ ไม่ใช่เรื่องของเวลา แต่เป็นเรื่องความเสียหาย หรือความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นตามมาเป็นตัวกำหนด ดังนั้น จริง ๆ แล้ว มันมีเรื่องของ priority และ seriousness เข้ามาเป็นตัวกำหนดความสำคัญในการที่จะต้องตัดสินใจด้วย เหมือนเป็นลำดับความสำคัญของการเลือกที่จะตัดสินใจมากกว่าครับ ในแง่ของคุณสมบัติของนักบิน หรือการ make decision เกี่ยวกับการทำงานระหว่างบินนั้น คำว่า การตัดสินใจ ต้องมีการคิดและไตร่ตรองก่อนที่จะตัดสินใจทำอะไรลงไปเสมอ “Really think of things before act” ถ้าเป็นการสอบสัมภาษณ์ ก็ต้องเป็น “Really think of things before act or speak” กลับมาที่การสอบสัมภาษณ์เพื่อเป็นนักบินในระหว่างสอบสัมภาษณ์นั้น ไม่ใช่ว่าต้องคิดทุกเรื่องนะครับ บางเรื่องไม่ใช่สิ่งที่ต้องใช้ความคิดอะไรก็ไม่ควรต้องเสียเวลาคิด อย่างเช่น  ถ้าถูกถามว่า บ้านอยู่ที่ไหน ถ้าต้องนั่งคิดอยู่นาน คนที่สัมภาษณ์เราอยู่เค้าจะคิดว่าอะไร […]

Attitude/Appearance

Attitude/Appearance ก่อนอื่นผมขอบอกก่อนว่า ผมไม่ใช่นักจิตวิทยา เพราะฉะนั้น เรื่องที่ผมเขียนผมเอาสิ่งที่ผมเคยรับรู้ และประสบการณ์ที่ผมสัมผัสมาถ่ายทอดให้ฟัง ไม่ได้อ้างอิงจากตำราที่ไหน ตอนที่ professor สอนผม เค้าพ่วงคำว่า Appearance มาด้วย Attitude: a settled way of thinking or  feeling about something Appearance:  the way that someone or something looks Attitude เป็นสิ่งที่อยู่ภายใน เป็นเรื่องของความคิดเห็น และกรอบในการคิดเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เรื่องเดียวกันคนสองคนอาจมี attitude กับสิ่งเหล่านั้นเหมือนกัน คล้ายกัน หรือ แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อมที่แต่ละคนเป็นอยู่ และข้อมูลหรือความรู้ที่ได้รับมาอย่างเช่น คุณคิดว่า กทม.น่าอยู่แค่ไหน คำตอบ ย่อมขึ้นกับประสบการณ์ที่เขามีหรือได้รับในระหว่างที่สัมผัสกรุงเทพฯ อยู่กรุงเทพฯ หรือเพิ่งเคยเข้ากรุงเทพฯ สิ่งที่เขาจะตอบก็คือสิ่งที่เขาคิดและมีทัศนคติอย่างไรจากประสบการณ์ที่ผ่านมา แต่ Appearance เป็นสิ่งที่เราเห็นและเราสัมผัสได้จากภายนอก เป็นกายภาพ เราอาจรับรู้ appearance ได้ด้วยลักษณะที่เป็นการแสดงออก การเดิน การพูด การคิด หรือแม้แต่การนั่งอยู่เฉย ๆ ล้วนเป็นลักษณะของเขาที่แสดงออกมาทางกายภาพ สองคำนี้จึงต่างกัน อันหนึ่งเป็น inner เป็นความคิด ความรู้สึกที่จับต้องไม่ได้ (ถ้าไม่แสดงออกมาให้เห็น) แต่อีกคำหนึ่งเป็นลักษณะภายนอกที่มองเห็นและจับต้องหรือรับรู้ได้  ทำไม professor จึงจัดเอาคำว่า Attitude กับ Appearance เอาไว้ด้วยกันในหมวดการให้คะแนนในการสัมภาษณ์ เพราะว่าจริง ๆ แล้วทั้งสองคำมันเชื่อมโยงกันอยู่ Attitude ของผู้ถูกสัมภาษณ์สื่อสารออกมาจากการแสดงออก การพูด […]

Motivation

Motivation อย่างที่เคยเขียนไปในตอนที่แล้ว ครับว่า การสอบสัมภาษณ์กับกัปตันไทยนั้น เป็นการ “คัดออก” ดังนั้น Professor จะสอนให้ดูว่า ผู้ถูกสัมภาษณ์ประเภทไหนที่น่าจะถูกตัดออก ในการสัมภาษณ์จะมีหัวข้อที่กรรมการต้องให้คะแนนเอาไว้ 4 หัวข้อ คือ Motivation Attitude/Appearance Judgement Self-Knowledge ผมพยายามเรียบเรียงและประมวลการเขียนดูแล้วพบว่า เขียนอธิบายยากพอสมควรแต่จะพยายามลองอธิบายดูครับ Motivation แปลตามพจนานุกรมว่า  a reason or reasons for acting or behaving in a particular way: desire or willingness to do something; enthusiasm Motivation หรือ Energy, Drive, Curiosity to win ให้แปลแบบไทย ๆ สไตล์ผม มันหมายถึงแรงกระตุ้นหรือแรงจูงใจเพื่อให้กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้ประสบผลสำเร็จ หรือการมีความอยากที่จะเอาชนะ ดังนั้น ผู้ถูกสัมภาษณ์ประเภทที่ เรื่อย ๆ เฉี่อย ๆ ขาดความกระตือรือร้น ไม่กระฉับกระเฉงย่อมเสียเปรียบ และมีโอกาสถูกคัดออกได้ง่าย โดยเฉพาะ ถ้าคะแนนด้านอื่น ๆ drop ไปด้วย ยกตัวอย่างคำถาม ทำไมถึงอยากเป็นนักบิน คุณรู้จักเครื่องบินรุ่นไหนบ้าง เครื่องบิน บินได้อย่างไรรู้ไหม คุณเตรียมตัวอย่างไรบ้างเพื่อมาสอบนักบิน งานอดิเรกของคุณคืออะไร อะไรที่คุณสนใจเป็นพิเศษ […]

อะไรบ้างที่ผู้สัมภาษณ์ต้องการ

อะไรบ้างที่ผู้สัมภาษณ์ต้องการ ในตอนที่แล้วผมข้ามขั้นตอนไปนิดหนึ่ง ความจริงควรเกริ่นปูทางเล็กน้อยเกี่ยวกับการสอบสัมภาษณ์นักบิน การสอบนักบิน (ของการบินไทย) จะพิเศษตรงที่ขั้นตอนสุดท้าย เป็นการวัดความเหมาะสมของตัวผู้สมัครว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเป็นนักบินได้ดี เป็นกัปตันได้ทุกคน ซึ่งขั้นตอนนี้นั้นจะทำการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีความเฉพาะทางด้านจิตวิทยาการบิน การบินไทยจะใช้ผู้เชี่ยวชาญจาก สแกนดิเนเวียซึ่งได้รับการยอมรับจากทั่วโลกและอยู่ในแวดวงการประเมินนี้เป็นเวลานาน เราเรียกขั้นสุดท้ายกันติดปากว่า สอบกับ professor เนื่องจากผู้สมัครมีจำนวนมากในแต่ละปี การที่จะให้ทุกคนผ่านไปสอบกับ professor เลย หลังจากตรวจสุขภาพผ่านนั้นเสียค่าใช้จ่ายต่อหัวผู้สมัคร ซึ่งเป็นเงินมหาศาล ดังนั้นจึงจำเป็นที่ต้องมีกระบวนการ “คัดออก” เน้นว่า “คัดออก” ครับ ผู้สมัครที่เห็นว่า มีโอกาสที่จะผ่านเกณฑ์ได้น้อยมากจะถูกคัดออกไป ตรงนี้เองที่เป็นที่มาของขั้นตอนของการสอบสัมภาษณ์โดย กัปตันของการบินไทย เพราะกัปตันการบินไทยไม่ใช่นักจิตวิทยา หรือผู้ที่มีความชำนาญในการคัดเลือกหรือพิจารณาคุณสมบัติของคน แต่ก็ไม่ใช่ไม่มีความสามารถที่จะคัดเลือก ดังนั้นเขาจึงให้กัปตันการบินไทยมาช่วยคัดออก แต่ก็อีกนั่นแหละ การที่คนที่ถูกคัดออก เขาอาจจะมีความสามารถก็ได้ แต่กัปตันอาจจะมองไม่ออกเองว่า เขาเหมาะสมที่จะเป็นนักบินหรือวันนั้นผู้ถูกสัมภาษณ์อาจจะฟอร์มตกทะเลาะกับแฟนมา ใครที่ตกรอบนี้เขาจึงอนุญาตให้มาสอบใหม่ได้ การถูกคัดออกรอบนี้ไม่ได้หมายความว่าเป็นไม่ได้ เพียงแต่วันนั้นคุณดูไม่เข้าตากรรมการ   นั่นคือที่มาของการจัดอบรมให้กับกัปตันผู้ที่จะเป็นผู้สัมภาษณ์ผู้สมัครครับ สิ่งที่ professor สอนผมไว้ใน short note ที่เพิ่งเจอ ผมคิดว่าไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไรที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังบ้าง บอกกันเพื่อเป็นวิทยาทานให้รับรู้กันบ้างว่าในขั้นตอนสัมภาษณ์กับกัปตันไทยนั้น “คุณต้องแสดงตัวตนออกมาให้เขาเห็นบ้างว่า คุณมีดีพอ”เพราะกัปตันเขาไม่ใช่นักจิตวิทยา เขาไม่สามารถจะขุดคุ้ยคุณได้ว่าคุณมีความสามารถมากน้อยแค่ไหน ผมอยากให้ระลึกไว้ว่า การแสดงตัวตนออกมา ไม่ใช่ให้เสแสร้ง หรือหลอกกันว่า ตัวเราเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แต่จริง ๆ แล้วไม่ได้เป็นหรือทำไม่ได้จริง เพราะในรอบสุดท้ายตัวคุณที่แท้จริง จะเผยออกมาอยู่ดีตอนสอบกับ professor ขอยกตัวอย่างสักเล็กน้อยครับ สมมุติถูกถามว่า เล่นดนตรีอะไรเป็นบ้าง  ถ้าเราบอกว่ากีตาร์ (ทั้ง ๆ ที่เล่นไม่เป็น) คุณอาจจะแปลกใจ ถ้ากีตาร์โผล่ออกมาจากหลังโต๊ะผู้สัมภาษณ์แล้วให้คุณลองเล่นบางคนอาจจะคิดว่า งั้นตอบว่าตีกลอง […]

0
0