อะไรบ้างที่ผู้สัมภาษณ์ต้องการ

อะไรบ้างที่ผู้สัมภาษณ์ต้องการ

ในตอนที่แล้วผมข้ามขั้นตอนไปนิดหนึ่ง ความจริงควรเกริ่นปูทางเล็กน้อยเกี่ยวกับการสอบสัมภาษณ์นักบิน การสอบนักบิน (ของการบินไทย) จะพิเศษตรงที่ขั้นตอนสุดท้าย เป็นการวัดความเหมาะสมของตัวผู้สมัครว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเป็นนักบินได้ดี เป็นกัปตันได้ทุกคน ซึ่งขั้นตอนนี้นั้นจะทำการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีความเฉพาะทางด้านจิตวิทยาการบิน การบินไทยจะใช้ผู้เชี่ยวชาญจาก สแกนดิเนเวียซึ่งได้รับการยอมรับจากทั่วโลกและอยู่ในแวดวงการประเมินนี้เป็นเวลานาน เราเรียกขั้นสุดท้ายกันติดปากว่า สอบกับ professor

เนื่องจากผู้สมัครมีจำนวนมากในแต่ละปี การที่จะให้ทุกคนผ่านไปสอบกับ professor เลย หลังจากตรวจสุขภาพผ่านนั้นเสียค่าใช้จ่ายต่อหัวผู้สมัคร ซึ่งเป็นเงินมหาศาล ดังนั้นจึงจำเป็นที่ต้องมีกระบวนการ “คัดออก” เน้นว่า “คัดออก” ครับ ผู้สมัครที่เห็นว่า มีโอกาสที่จะผ่านเกณฑ์ได้น้อยมากจะถูกคัดออกไป ตรงนี้เองที่เป็นที่มาของขั้นตอนของการสอบสัมภาษณ์โดย กัปตันของการบินไทย เพราะกัปตันการบินไทยไม่ใช่นักจิตวิทยา หรือผู้ที่มีความชำนาญในการคัดเลือกหรือพิจารณาคุณสมบัติของคน

หนังสือ A Pilot Book ทั้ง 5 เล่ม ราคา 1999 บาท ค่าส่ง 70 บาท
สั่งทาง Shopee
มีบริการเก็บเงินปลายทาง
ราคาหนังสือแต่ละเล่ม (รวมค่าส่งแล้ว)
A Pilot เล่มแรก ปกดำ ราคา 479 ฿
A Pilot Part II ราคา 349 ฿
A Pilot Part III ราคา 379 ฿
Aviation A-Z ราคา 429 ฿
20000 Hours 549 ฿

แต่ก็ไม่ใช่ไม่มีความสามารถที่จะคัดเลือก ดังนั้นเขาจึงให้กัปตันการบินไทยมาช่วยคัดออก แต่ก็อีกนั่นแหละ การที่คนที่ถูกคัดออก เขาอาจจะมีความสามารถก็ได้ แต่กัปตันอาจจะมองไม่ออกเองว่า เขาเหมาะสมที่จะเป็นนักบินหรือวันนั้นผู้ถูกสัมภาษณ์อาจจะฟอร์มตกทะเลาะกับแฟนมา

ใครที่ตกรอบนี้เขาจึงอนุญาตให้มาสอบใหม่ได้ การถูกคัดออกรอบนี้ไม่ได้หมายความว่าเป็นไม่ได้ เพียงแต่วันนั้นคุณดูไม่เข้าตากรรมการ

  นั่นคือที่มาของการจัดอบรมให้กับกัปตันผู้ที่จะเป็นผู้สัมภาษณ์ผู้สมัครครับ สิ่งที่ professor สอนผมไว้ใน short note ที่เพิ่งเจอ ผมคิดว่าไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไรที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังบ้าง บอกกันเพื่อเป็นวิทยาทานให้รับรู้กันบ้างว่าในขั้นตอนสัมภาษณ์กับกัปตันไทยนั้น “คุณต้องแสดงตัวตนออกมาให้เขาเห็นบ้างว่า คุณมีดีพอ”เพราะกัปตันเขาไม่ใช่นักจิตวิทยา เขาไม่สามารถจะขุดคุ้ยคุณได้ว่าคุณมีความสามารถมากน้อยแค่ไหน ผมอยากให้ระลึกไว้ว่า การแสดงตัวตนออกมา ไม่ใช่ให้เสแสร้ง หรือหลอกกันว่า ตัวเราเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แต่จริง ๆ แล้วไม่ได้เป็นหรือทำไม่ได้จริง เพราะในรอบสุดท้ายตัวคุณที่แท้จริง จะเผยออกมาอยู่ดีตอนสอบกับ professor ขอยกตัวอย่างสักเล็กน้อยครับ

สมมุติถูกถามว่า เล่นดนตรีอะไรเป็นบ้าง 

ถ้าเราบอกว่ากีตาร์ (ทั้ง ๆ ที่เล่นไม่เป็น)

คุณอาจจะแปลกใจ ถ้ากีตาร์โผล่ออกมาจากหลังโต๊ะผู้สัมภาษณ์แล้วให้คุณลองเล่นบางคนอาจจะคิดว่า งั้นตอบว่าตีกลอง รับรองกลองชุดจะไม่ออกมาจากใต้โต๊ะแน่ ๆ แต่คุณกำลังทำร้ายตัวเองอย่างแรง ถ้าตอบว่าตีกลองเป็น แต่คุณไม่สามารถแยกประสาทสัมผัสของมือซ้าย มือขวา เท้าซ้าย เท้าขวา ได้ดีเท่ากับคนตีกลองเป็น

เพราะด่านต่อไปคือการทดสอบความสามารถของคุณและมีผลกระทบในการประเมินความสามารถในการทำแบบทดสอบต่าง ๆ ต่อไปทั้งนั้นครับ ผมจึงอยากบอกว่า ให้สื่อสารเฉพาะเรื่องที่เป็นตัวเราจริง ๆ เพราะมันคือสิ่งที่เป็นตัวเราและเขาจะประเมินจากสิ่งที่เราเป็น

การโกหก หรือการหลอกลวงว่าทำได้ หรือทำไม่ได้ เป็นการทำร้ายตัวเองอย่างมหันต์ที่สุด

การที่เราเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมสำหรับอาชีพนี้ อยากให้เป็นโดยธรรมชาติมากกว่า เพราะถ้าเราไม่เหมาะกับอาชีพนี้ เวลาทำงานจะเหนื่อยมาก เหนื่อยทั้งกาย เหนื่อยทั้งใจ แล้วก็จะหดหู่สิ้นหวัง เวลาที่เห็นคนอื่นประสบความสุข บินได้ บินง่ายจัง แต่ทำไมเราบินไม่ได้ง่ายแบบเขานะ อย่างนี้ เป็นต้น

  การตัดสินว่าเหมาะหรือไม่เหมาะที่จะมีอาชีพเป็นนักบินเป็นหน้าที่ของ professor ไม่ใช่กัปตันการบินไทย เพราะฉะนั้นการสอบนักบินไม่มีการฝาก เพราะนักบินคือชีวิตของผู้โดยสารและทรัพย์สินของบริษัท

คนที่สอบไม่ได้ ไม่ใช่ว่าไม่เก่ง แต่ professor เขามองว่า คุณอาจจะไม่เหมาะกับอาชีพนี้ 

“คุณอาจจะเหมาะกับอาชีพอื่นมากกว่าและสามารถทำอาชีพนั้นได้ดีกว่าการเป็นนักบินหลายเท่าก็ได้นะครับ”

Comments are closed
0
0