Tag: Boeing

The Queen B747: Paris

#1 The Queen จากประสบการณ์ของผม “จะไปปารีส” #เหตุการณ์ครั้งหนึ่ง#TheQueen#b747 ตอนที่เกิดเหตุการณ์นี้ ผมยังเป็นนักบินที่สองที่มีอาวุโสทางการบินพอสมควรแล้ว และนักบินที่หนึ่งคือกัปตันท่านหนึ่งซึ่งท่านเสียชีวิตไปนานแล้ว ขออนุญาตนำมาเล่าสู่กันอ่านเป็นซีรีส์เรื่องราวแรกของ “The Queen จากประสบการณ์ของผม” วันนั้นเป็นไฟลท์ปารีสกลางวัน โบอิ้ง 747-400 มีกำหนดเดินทางจากกรุงเทพฯ (ดอนเมือง) ไปกรุงปารีส สนามบิน Paris-Charles de Gaulle (CDG) ปารีสมีหลายสนามบินแต่หลักๆจะใช้ ปารีส-ชาร์ล เดอ โกล วันนั้นจำได้แม่นๆว่า อากาศดีมาก ท้องฟ้าแจ้มใส่สุดๆ แต่ก็ร้อนสุดๆเช่น น้ำหนักวิ่งขึ้นค่อนข้างมาก หมายถึงเครื่องบินต้องแบกน้ำหนักตัวและผู้โดยสารที่เต็มลำ และเที่ยวบินนี้ต้องใช้น้ำมันเยอะกว่าปกติเพราะเป็นไฟลท์กลางวัน สำหรับระหว่างทางก็เกี่ยวกับลมฟ้าอากาศ ความกดอากาศ ฯลฯ ระยะทางภาคพื้นนั้นเท่ากันกับตอนกลางคืนแหละ แต่ระยะทางบินผ่านอากาศสูงกว่าเที่ยวบินกลางคืน (ESAD= Equivalent Still Air Distance) สรุปคือบินนานกว่า ใช้น้ำมันมากกว่าเที่ยวบินกลางคืน เที่ยวบินนี้เกือบๆจะถึง MTOW (Maximum Takeoff Weight) เพราะอุณหภูมิสูงทำให้สมรรถนะของเครื่องยนต์ในการวิ่งขึ้นต่ำลง การใช้ระยะทางวิ่งบนรันเวย์ก็จะเกือบๆสุดสนาม โดยที่มี V1 ห่างจาก Vr หลายสิบ knots V1 คือ decision speed หรือจะเรียกว่า critical speed ก็ได้ อธิบายง่ายๆคือ ความเร็วที่ V1 ต้องตัดสินใจว่าจะหยุดหรือจะไป ถ้าเลย V1 คือห้ามหยุด […]

เครื่องยนต์ใหม่ของเครื่องบิน บี-52

ตั้งแต่การทดสอบเริ่มต้น โรลส์-รอยซ์ได้ออกมาเปิดเผยภาพแรกของเครื่องยนต์แบบเทอร์โบแฟน F130 ในการติดตั้งทวินพ็อดเพื่อเข้าแทนเครื่องยนต์ TF33 ที่ล้าสมัยและใช้ในการบินของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา B-52H Stratofortress ในปัจจุบัน โรลส์-รอยซ์เผยภาพเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของการปรับปรุงเครื่องบินนี้ในเวลาหลายปี ซึ่งการพยายามให้ B-52 ได้เครื่องยนต์ใหม่เป็นเรื่องที่มีตำนานมากกว่าสิบปี แถมโรลส์-รอยซ์ออกมาประกาศว่า การทดสอบเครื่องยนต์ F130 ภายใต้โครงการ CERP (Commercial Engine Replacement Program) ของกองทัพอากาศสหรัฐ กำลังดำเนินการที่พื้นที่ทดสอบกลางแจ้งของบริษัทที่ศูนย์อวกาศเนสซาในรัฐมิสซิสซิปปี การทดสอบรอบนี้จะเน้นไปที่กระแสอากาศแรงข้ามทิศทางและการยืนยันว่าระบบควบคุมดิจิตอลของเครื่องยนต์สามารถทำงานตามที่ต้องการได้ การประเมินค่านี้ยังเป็นครั้งแรกที่เครื่องยนต์ F130 ได้รับการทดสอบในการติดตั้งทวินพ็อด ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของแผนการปรับปรุง B-52 ที่จะเห็นเครื่องบินเหล่านี้ที่มีเครื่องยนต์ปัจจุบัน 8 เครื่องที่ติดตั้งอยู่ในรูปแบบทวินพ็อดเดียวกันถูกเปลี่ยนด้วย F130 จำนวนเท่ากัน กล่าวอีกนัยหนึ่ง 4 ทวินพ็อดที่ประกอบด้วย 2 nacelles จะบรรจุ F130 8 เครื่องทั้งหมด บริษัทหลักของโครงการ B-52 คือ โบอิ้ง รับผิดชอบดูแลการผสมเครื่องยนต์และโปรแกรมการปรับปรุงทั้งหมดของเครื่องบิน โรลส์-รอยซ์กล่าวว่าผลลัพธ์จากการทดสอบเบื้องต้นเป็น “ดีมาก” และข้อมูลการทดสอบเพิ่มเติมที่รวบรวมได้จะถูกวิเคราะห์เพิ่มเติมตลอดหลายเดือนข้างหน้า สุดท้ายเครื่องยนต์จะถูกผลิตที่โรงงานขนาดใหญ่ของโรลส์-รอยซ์ในอินเดียนาโพลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา

วิศวกรโบอิ้ง ทำลายสถิติโลก เครื่องบินกระดาษ

ดิลลอน รูเบิล และแกแรตต์ เจนเซน ซึ่งเป็นวิศวกรที่บริษัท Boeing ได้ทำลายสถิติโลกในเดือนธันวาคมที่ พวกเขาได้ทำสถิติการบินไกลที่สุดโดยส่งแผ่นกระดาษไปได้ไกลถึง 88.318 เมตรหรือเกือบ 290 ฟุต รูเบิลและเจนเซนได้ทำฉากหน้านี้ด้วยความช่วยเหลือจาก นาธาเนียล เอริกสัน ทั้งสามคนถูกอ้างอิงในหน้าเว็บ Guiness World Records แต่รูเบิลเป็นคนที่ขว้างกระดาษไป จากข่าวประชาสัมพันธ์ของบริษัท Boeing: รูเบิลและเจนเซนศึกษาการพับกระดาษและแอโรไดนามิกเป็นเวลาหลายเดือน ลองสร้างโมเดลต่าง ๆ ในเวลา 400-500 ชั่วโมงเพื่อออกแบบเครื่องบินที่สามารถบินได้สูงและนานขึ้น “สำหรับ Guinness World Records พวกเขาเลือกใช้กระดาษขนาด A4 (ขนาด 210 x 297 มม.) และใช้น้ำหนักสูงสุด 100 กรัมต่อตารางเมตร” เจนเซนกล่าวว่า “กระดาษที่หนักมากๆจะมีความเคลื่อนไหวมากขึ้นเมื่อคุณขว้าง” ใช้เวลากว่า 20 นาทีในการพับกระดาษเพื่อสร้างออกแบบเครื่องบินที่ทำการบินได้ไกลที่สุด “การออกแบบนั้นต่างจากการพับกระดาษทั่วไป โดยพับตามเส้นกลาง แล้วพับมุมสองข้างลงมา มันเป็นออกแบบที่ไม่ซ้ำซ้อนเลย” รูเบิลกล่าว ในวันที่พยายามทำลายสถิติโลกนั้น, พวกเขาได้สร้างสถิติในการโยนกระดาษเครื่องบินในครั้งที่สาม ในวิดีโอของ Boeing ไม่มีมุมมองของเครื่องบินที่รูเบิลใช้ แต่มีวิดีโอที่แสดงการสร้างเครื่องบินของรูเบิลที่เป็นเดือนก่อนแล้วและดูเหมือนว่าจะเป็นเครื่องบินที่คล้ายกับที่ใช้ในการตั้งสถิติโลกนี้

จัมโบ้ล้อหลุดกลางอากาศ มีคลิป

11 Oct 2022 เครื่องบินโบอิ้ง 747-400 LCF Dreamlifter (LCF ย่อมาจาก Large Cargo Freighter) เป็นเครื่องบินรุ่นที่พัฒนาจากเครื่องบินจัมโบ้ B747-400 เดิมสร้างให้มีลำตัวขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อที่จะใช้ในการลำเลียงอุปกรณณ์โดยลำตัวของเครื่องบินโบอิ้ง 787 Drealiner และเครื่องบินรุ่นอื่นๆของโบอิ้งไปส่งที่โรงงานประกอบเครื่องบินหรือใช้ในภาระกิจขนถ่ายสินค้าขนาดใหญ่ๆ เหตุการณ์นี้เป็นการวิ่งขึ้นจากสนามบิน Taranto-Grottaglie Airport ในประเทศอิตาลี ขณะที่เครื่องบินกำลังทะยานขึ้นฟ้า (ดูคลิป) จะเห็นกลุ่มควันเล็กน้อยและเห็นล้อด้านซ้าย (เข้าใจว่าน่าจะสองล้อที่อยู่คู่กัน) หลุดออกและหล่นลงมากระแทกพื้นรันเวย์ อย่างไรก็ตามเครื่องบินไม่ได้กลับมาลงที่สนามบินแต่อย่างใดและเดินทางต่อไปลงสนามบิน Charleston, North Carolina ประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างปลอดภัย ความเห็นของ A Pilot Club หลังจากที่เครื่องบินขี้นไปแล้ว แน่นอนว่านักบินย่อมรู้ว่าเกิดความผิดปกติกับระบบฐานล้อ เพราะในห้องนักบินจะแจ้งเตือนว่ามีล้อ (หนึ่งหรือสอง) ล้อที่โชว์ในจอว่าไม่พบค่าความดันลมยาง (ระบบแสดงเฉพาะค่าความดันลมยาง) และอย่างเหตุการณ์นี้เชื่อว่าทางหอบังคับการบินน่าจะเห็นเหตุการณ์และแจ้งให้นักบินทราบ ทำไมเครื่องบินจึงไม่กลับมาลงสนาม ยังคงบินต่อไปตามกำหนด ปลอดภัยหรือไม่ หลังจากที่นักบินทราบความผิดปกติแล้ว อย่างแรกเลยนักบินจะต้องตรวจสอบผลกระทบจากความผิดปกติที่เกิดขึ้น อาทิเช่น มีระบบไฮดรอลิกเสียหายด้วยหรือไม่ ระบบฐานล้อนั้นเก็บเข้าที่ได้เป็นปกติไม่สร้างปัญหาอื่นๆ หากล้อที่หลุดมีการระเบิดของยาง การระเบิดนั้นสร้างความเสียหายให้กับลำตัวจนเกิดความเสียหายต่อระบบปรับความดันอากาศหรือไม่ ระบบน้ำมัน เพราะถังน้ำมันอยู่ใกล้ๆ ฯลฯ หากตรวจสอบทุกระบบแล้วว่าไม่มีอะไรผิดปกตินั้น การที่จะบินไปต่อสามารถทำได้ ปลอดภัยกว่าและเป็นประโยชน์ต่อเที่ยวบินอีกด้วย เพราะว่า ถ้าจะรีบกลับไปลงสนาม น้ำหนักเครื่องบินยังมากอยู่ โดยเฉพาะเมื่อล้อมีไม่ครบจำนวนด้วยแล้ว การบินต่อไปเพื่อให้น้ำหนักของเครื่องบินลดน้อยลงย่อมดีกว่ารีบกลับมาลงและสร้างปัญหาให้เกิดความเครียดต่อระบบล้อและโครงสร้างเครื่องบิน ประมาณว่าซ้ำเติมตัวเองอีกด้วย เครื่องบินยังมี airworthiness ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องรีบกลับไปลงสนามครับ

วิดีโอ โบอิ้ง 757 หักสองท่อนหลังลงจอดที่คอสตาริก้า

8 Apr 2022 เครื่องบินของสายการบินขนส่งสินค้า DHL เที่ยวบินที่ D07216 แบบโบอิ้ง 757 วิ่งขึ้นจากสนามบิน Juan Santamaria International Airport เมือง San Jose ประเทศ Costa Rica เพื่อไปประเทศกัวตามาลา หลังจากวิ่งขึ้นไปแล้วพบว่าเครื่องบินมีปัญหาเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิกจึงทำการติดต่อหอบังคับการบินเพื่อกับมาลงฉุกเฉินที่สนามบิน Juan Santamaria International Airport หลังจากเครื่องบินลงสนามแล้วได้เกิดการไถลออกไปนอกรันเวย์จนกระทั่งลำตัวของเครื่องบินเกิดหักออกเป็นสองท่อน ส่วนนักบินทั้งสองคนปลอดภัยไม่ได้รับบาดเจ็บ #runway #excursion #DHL #B757 #757 #accident #costarica #คอสตาริกา #สายการบินดีเอชแอล #โบอิ้ง #Boeing ความเห็นส่วนตัวเพื่อการศึกษาเกี่ยวกับการบินและเครื่องบิน ไม่มีเจตนาชี้นำหรือตัดสินสาเหตุของอุบัติเหตุใดๆทั้งสิ้น ดูวิดีโอจังหวะที่เครื่องบินไถลออกจากรันเวย์ https://youtube.com/shorts/V_Es-9c2v9Q?feature=share ถ้ามองจากภาพข่าวจะเห็นว่าไม่มีไฟไหม้หรือไฟลุกท่วม แต่ตามหลักปฏิบัติต้องรีบจัดการพ่นดับเพลิงเพื่อป้องกันการเกิดไฟไหม้เพราะความร้อนและน้ำมันที่อาจเกิดการรั่วไหลออกมาหากมีประกายไฟก็จะเกิดการระเบิดไฟไหม้ได้ การหักสองท่อนของเครื่องบินนั้นเกิดจากการไถลออกนอกทางวิ่ง (runway) และหลุดออกจากบริเวณที่เป็นพื้นราบทำให้เกิดความบิดเบี้ยวของการรับน้ำหนักตัว เครื่องบินขนส่งสินค้าบรรทุกเต็มลำเป็นเรื่องปกติที่น้ำหนักตัวจะค่อนข้างมาก ระบบไฮดรอลิกมีความสำคัญมากต่อการบินเรายังไม่ทราบข้อมูลเพิ่มเติมว่า ระบบไฮดรอลิกส่วนไหนของเครื่องบินที่เกิดปัญหาหากเป็นการ loss hydraulic system ย่อมสร้างผลกระทบต่อการบินแน่นอน และโดยเฉพาะระบบเบรคหากได้รับผลกระทบด้วย การจัดการควบคุมเครื่องบินของนักบินจะลำบากขึ้นพอสมควรไว้เรารอติดตามข่าวกันแล้วผมจะมาอัพเดตข้อมูลเข้าไปเรื่อยๆครับ

0
0