Tag: aviation news

เครื่องบินลงสนามหงายท้องทั้งลำ 36 คน

18 กรกฏาคม 2565 สายการบิน Jubba เครื่องบิน ฟอกเกอร์ เอฟ50 เกิดพลิกหงายท้องระหว่างร่อนลงสนาม เหตุเกิดที่สนามบินเมืองโมกาดิชู ประเทศโซมาเลีย ระหว่างร่อนลงจอดทางรันเวย์ 05 ในสภาพอากาศที่มีทัศนวิสัยที่ดีมากแต่มีกระแสลมส่งท้ายค่อนข้างแรง (เกินขีดจำกัด?) ทำให้ล้อและปีกด้านซ้ายของเครื่องบินหักหลุดออกจากลำตัวและเกิดไฟลุกไหม้ เครื่องบินไถลต่อไปและพลิกหงายท้องอยู่ข้างรันเวย์ โชคดีเป็นที่สุด ที่ผู้โดยสารและลูกเรือทั้งหมด 36 คนสามารถอพยพออกจากเครื่องบินได้อย่างปลอดภัย ดูวิดีโอจากช่องกัปตันโสภณ ฟังคำอธิบายเกี่ยวกับเครื่องบิน Fokker F50 Wake Turbulence Catagory คืออะไร Aircraft Approach Speed แบ่งอย่างไร กดติดตามช่องยูทูป ข้อมูลจาก AvHeraldAccident: Jubba F50 in Mogadishu on Jul 18th 2022, flipped over on landing after left wing separated A Jubba Airways Fokker 50, registration 5Y-JXN performing a flight from Baidoa to Mogadishu (Somalia) with 36 people on board, flipped over on […]

เกือบชนกัน จัมโบ้ขอลงฉุกเฉิน

20 เมษายน 2022 สหรัฐอเมริกา สายการบิน Atlas Air เดินทางจากไมอามีเพื่อไปประเทศโคลัมเบีย ต้องขอหยุดการไต่ระดับเนื่องจากมีปัญหาเกี่ยวกับระบบการเก็บฐานล้อ Landing Gear Disagree และขอกลับไปลงฉุกเฉินที่สนามบินไมอามี ระหว่างกลับไปลงสนามก็เกิดเหตุการณ์เครื่องบินบินเข้ามาใกล้กันเกินไปจนกระทั่งระบบป้องกันการชนกันของเครื่องบินแจ้งเตือนขึ้น TCAS RA ย่อมาจาก Traffic Collision Avoidance System, Resolution Advisory ฟังกัปตันโสภณอธิบายเหตุการณ์และคำศัพท์การบิน TCAS, HazMat และอื่นๆผ่านวิดีโอการพูดคุยระหว่างนักบินและหอบังคับการบิน https://youtu.be/Y7bEkd_QqwA เครื่องบินโบอิ้ง 747-400 ของสายการบิน Atlas Air ประสบปัญหาเกี่ยวกับระบบการปิดประตูที่ฐานล้อของเครื่องบินทำให้เครื่องบินแจ้งเตือนในห้องนักบินว่า Landing Gear Disagree หมายความว่าระบบฐานล้อผิดปกติ ไม่อยู่ในตำแนห่งที่ควรเป็นตาม phase of flight #747 #atlas #captsopon #apilotclub ลิ้งของวิดีโอการพูดคุยของนักบิน การลงฉุกเฉินของสายการบินอเมริกันแอร์ไลน์ เหตุเกิดจากระบบบังคับเครื่องบินที่เรียกว่า Trim มันคืออะไร https://www.apilotclub.com/aa-secondary-flight-control/

นักบินหลับทั้งคู่ ระหว่างบินนิวยอร์คไปโรม

เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา เที่ยวบิน AZ609 ของสายการบินไอทีเอแอร์เวย์ เดินทางจากเมืองนิวยอร์คประเทศสหรัฐอเมริกาไปกรุงโรมประเทศอิตาลี ด้วยเครื่องบินแอร์บัส A330-200 ทะเบียน EI-EJP เที่ยวบินเดินทางปกติจะกระทั่งผ่านเข้าน่านฟ้าของประเทศฝรั่งเศส หอบังคับการบินน่านฟ้ามาแซล Marseille พยายามติดต่อกับเที่ยวบินดังกล่าวแต่ไม่ได้รับการตอบสนอง การติดต่อผ่านทางวิทยุไม่ประสบผลสำเร็จ หอบังคับการบินก็ทำการส่ง ACARS (ข้อความคล้าย SMS ของโทรศัพท์มือถือ) เพื่อทดลองดูว่านักบินตอบสนองหรือไม่ เพราะหากวิทยุสื่อสารเสียไปการพูดคุยสามารถตอบสนองผ่านระบบข้อความ ACARS ได้ แต่ก็ไม่ได้รับการตอบสนองอีก ACARS ย่อมาจาก Aircraft Addressing and Reporting System คร่าวๆคือการพูดคุยกับเครื่องบินและนักบินผ่านการส่งเป็นข้อความตัวอักษร เมื่อการติดต่อผ่านระบบต่างๆไม่เป็นผล ทางการฝรั่งเศสจึงต้องส่งเครื่องบินรบขึ้นไปประกบ (aircraft intercepted) เที่ยวบินดังกล่าวในทันที การส่งเครื่องบินรบขึ้นไปประกบหรือเรียกว่า interception นั้นเป็นมาตรการป้องกันน่านฟ้าของประเทศ ในกรณีที่เครื่องบินที่ไม่ตอบสนองต่อการติดต่อของหอบังคับการบินอย่างเป็นปกตินั้นเที่ยวบินอาจกลายเป็นภัยคุกคามต่อประเทศได้ถ้าหากมีการก่อการร้าย เช่น การจี้เครื่องบินเพื่อก่อเหตุอย่างเหตุการณ์ 911 เป็นต้น หรืออาจเกิดเหตุร้ายอื่นๆ อย่างที่เคยเป็นในอดีต เช่น การที่เครื่องบินสูญเสียระบบความดันอากาศจนกระทั่งทั้งนักบิน ลูกเรือและผู้โดยสารหมดสติทั้งลำ และเครื่องบินบินไปเรื่อยจนกระทั่งน้ำมันหมด หลังจากทางการฝรั่งเศสส่งเครื่องบินรบขึ้นไม่นานนัก นักบินก็ติดต่อกลับมาทางหอบังคับการบินและสามารถเดินทางต่อไปกรุงโรมและลงสนามอย่างปลอดภัย สายการบิน ITA Airways เป็นสายการบินใหม่ของอิตาลีเกิดขึ้นหลังการยุบสายการบินอาลิตาเลียเริ่มบินเมื่อปี 2563 ต่อมาสายการบิน ITA ได้ทำการสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทันที ข้อมูลคร่าวๆดังนี้เที่ยวบินนี้มีนักบินสองคน เนื่องจากเป็นเที่ยวบินที่บินไกล จึงมีการแบ่งพักนักบินโดยให้สามารถพัก (ก็หลับนั่นแหละ) ที่เก้าอี้นักบินได้ ในช่วงที่เกิดเหตุโคไพลอตหรือนักบินผู้ช่วยเป็นช่วงเวลาพัก และกัปตันคือผู้ที่อยู่บังคับเครื่องบินเพียงคนเดียว การสอบสวนเกิดขึ้นโดยกัปตันแจงว่า ระบบวิทยุน่าจะเกิดขัดข้องเพราะเขาไม่ได้ยินเสียงติดต่อของหอบังคับการบินแต่อย่างใด สายการบิน […]

นักบินจงใจบังคับเครื่องบินลงพื้น

หลังจากอุบัติเหตุเที่ยวบิน MU5735 ของสายการบินไชน่าอีสเทิร์น ดิ่งชนพื้นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2565 ต่อมาได้ทำการค้นหากล่องดำจนพบทั้งสองกล่องและได้ส่งไปทำการถอดข้อมูลที่สหรัฐอเมริกา ล่าสุดสำนักข่าวต่างๆของสหรัฐเริ่มออกข่าวอ้างแหล่งข่าว official ว่า นักบินจงใจที่จะทำให้เครื่องบินพุ่งชนเขาส่วนทาง CAAC หรือสำนักงานการบินพลเรืองของประเทศจีนยังไม่ได้ออกแถลงการณ์เพิ่มเติมใดๆเกี่ยวกับอุบัติเหตุครั้งนี้ The flight data recorders recovered from the crash site were sent to the United States for analysis and show that someone – possibly a pilot or someone who had forced their way into the cockpit – input orders to send the aircraft into a nosedive. https://abcnews.go.com/International/chinese-plane-crash-killed-132-caused-intentional-act/story?id=84782873 ดูคลิปการจำลองการบินในเครื่องฝึกบินจำลอง

แอร์ฟรานส์ B777 เสียการควบคุม

Air France AF011 ที่เราเคยพูดถึงไปเมื่อประมาณสองอาทิตย์ก่อนในเฟสบุ๊คเพจ https://fb.me/apilotbook เที่ยวบินของแอร์ฟรานส์ AF011 เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา ทำการบินด้วยเครื่องบินโบอิ้ง B777-300ERทะเบียนเครื่อง F-GSQJ เดินทางจากนิวยอร์ค มาปารีส ขณะกำลังลงสนามบินที่ ชาร์ลเดอโก กรุงปารีส  เรื่องมีอยู่ว่า นักบินรายงานกับหอบังคับการบินว่า เครื่องบินเสียการควบคุม จึงขอทำการบินขึ้นไปใหม่ (go around)และเครื่องบินหลุดเส้นทางออกไปทางซ้ายของ runway centerline เล็กน้อย  จากเสียงบันทึกโต้ตอบระหว่างนักบินและหอบังคับการบินที่เราได้ยินเสียง นักบินคนหนึ่งพูดดังๆว่า STOP STOP หรือ “หยุด หยุด” พร้อมกับเสียงสัญญาณเตือนเข้ามาในคลื่นวิทยุหลายๆครั้ง เพราะว่านักบินอาจไปโดนตัวสวิตซ์กดแล้วพูดวิทยุที่อยู่ที่คันบังคับ(push-to-talk) ในระหว่างที่พยายามออกแรงบังคับเครื่องบิน เหตุการณ์นี้ทำให้เกิดการสอบสวนหาสาเหตุ เพราะการที่นักบินรายงานว่าเครื่องบินเสียการควบคุมนั้น ถือเป็นเหตุการณ์ที่ร้ายแรง เพราะอาจทำให้กลายเป็นอุบัติเหตุได้ ข้อมูลจากรายงานฉบับเบื้องต้น (Preliminary report) ของทางการฝรั่งเศส มีสรุปใจความสำคัญว่าเกิดการที่นักบินบังคับเครื่องบินพร้อมกันสองคนจนทำให้คันบังคับไม่ขยับ  การที่คันบังคับไม่ขยับก็เพราะว่าทั้งคู่บังคับเครื่องบินสวนทางกัน และทั้งคู่ก็เลยคิดว่าเครื่องบินไม่ยอมตอบสนองการบังคับ และรายงานกับหอบังคับการบินออกไปว่าเครื่องบินเสียการควบคุม ความเห็นส่วนตัวผมมองว่า เรื่องแบบนี้ไม่ควรเกิดขึ้นในการบิน สำหรับการบิน airlines นั้นจะมีการแบ่งหน้าที่ชัดเจนว่าใครเป็น คนบิน (PF-Pilot Flying) และใครทำหน้าที่คนเฝ้าระวัง (PM-Pilot Monitoring) แสดงว่า cockpit procedure มีปัญหา ในรายงานยังระบุอีกว่า การลงสนามนั้นดูเหมือนเครื่องบินจะทำงานเป็นปกติและถือว่าเป็น stabilized approach (อยู่ในกรอบการบินที่ปลอดภัย) ไม่ได้มีช่วงใดที่ทำให้ต้องทำการบินขึ้นไปใหม่ (go around) ทางฝรั่งเศสเค้าก็คงจะทำสรุปรายงานฉบับเต็มออกมาและแน่นอนที่สุดหนึ่ง safety recommendation […]

0
0