Day: November 9, 2021

Up in the Air Cabin

Up In the (Air) cabinเรื่องน่ารู้ภายในห้องโดยสาร สำหรับนักเดินทางที่เดินทางโดยเครื่องบินบ่อย ๆ คงไม่ต้องอ่านเรื่องต่อไปนี้เพราะเดี๋ยวจะหาว่าผมสอนจระเข้ว่ายน้ำ สำหรับคนที่เดินทางไม่บ่อย มีหลาย ๆ อย่างที่อยากแนะนำให้รับทราบไว้ เผื่อจะได้ไม่งุนงง ผู้โดยสาร ภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า Passenger(ตัวย่อทางเทคนิคในแวดวงการบิน คือ PAX ซึ่งหมายถึงผู้โดยสารหลาย ๆ คน หรือเวลาเราพูดโดยไม่เจาะจงจำนวนหรือเป็นการกล่าวถึงเป็นบุคคลที่สาม ถ้าเป็นการเฉพาะเจาะจงถึงผู้โดยสารเพียงคนเดียวจะใช้คำว่า PAP) Air Crew โดยรวม หมายถึง ลูกเรือบนเครื่องบินทั้งหมด รวมนักบิน (Flightdeck Crew/Cockpit Crew) และ พนักงานต้อนรับ (Cabin Crew) Air Steward (มักเรียกสั้น ๆ ว่า “สจ๊วต”) หมายถึง พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเพศชายAir Hostess หมายถึง พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเพศหญิง (ในภาษาอังกฤษใช้อีกคำหนึ่งด้วยคือ Stewardess) บนเครื่องบินของสายการบินชั้นนำส่วนใหญ่จะมีจำนวน Cabin Crew มากกว่าที่กำหนดไว้ขั้นต่ำเพื่อให้บริการผู้โดยสารให้มีความสะดวกสบายในการเดินทางและประโยชน์สูงสุดคือเรื่องการให้ความช่วยเหลือ pax กรณีมีเหตุการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ เกิดขึ้น การทำงานของลูกเรือ (ปกติจะใช้คำว่า “ลูกเรือ” หมายถึง Cabin Crew) จะแบ่งเป็นโซน ซ้าย-ขวา และเป็นช่วง ๆ โดยมีตำแหน่งประตูเป็นชื่อประจำตำแหน่งเช่น 1L ,1R หมายถึง ประตูที่ 1 […]

ใครเป็นคนตัดสินใจ

ใครคือคนตัดสินใจว่าจะทำการบินหรือไม่ทำการบินในสภาพอากาศ ถ้าเป็นการวางแผนการบิน หมายถึงว่า เครื่องบินยังไม่ได้ทำการบินเป็นช่วงของการ planning อย่างนี้มีเวลาในการพิจารณาข้อมูลต่าง ๆสภาพอากาศคือข้อจำกัดในคำถามนี้ กรณีที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศระหว่างเส้นทาง จะใช้วิธีวางแผนการบินโดยใช้เส้นทางบินอ้อมแต่ถ้าเป็นที่สนามบินที่เราจะไป จะมีฝ่ายสนับสนุนการบิน (Flight Support) เป็นผู้พิจารณาเรื่องของสภาพอากาศว่ามีความเลวร้ายแค่ไหนที่ทำให้ต้องยกเลิกหรือเลี่อนเที่ยวบินหรือไม่สภาพอากาศรูปแบบหนึ่ง อาจจะเป็นข้อจำกัดของเครื่องบินแบบหนึ่งแต่อาจจะไม่มีผลต่อเครื่องบินอีกแบบหนึ่งเนื่องจากความสามารถของการทำการบินของเครื่องบินแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าเครื่องบินลำนั้น ๆ ติดตั้งอุปกรณ์ที่ทันสมัยเพียงพอต่อการบินในสภาพอากาศนั้น ๆ หรือไม่ เช่น ความเร็วของกระแสลมขวาง เครื่องบินแต่ละแบบมีข้อกำหนด (cross-wind limitation) ต่างกันหรือ ทัศนวิสัยเหนือรันเวย์ (Runway Visibility) ก็ขึ้นอยู่กับแบบของเครื่องบินและมาตรฐานของอุปกรณ์การบินที่แต่ละสายการบินอาจจะติดตั้งอุปกรณ์เครื่องช่วยนำร่องที่แตกต่างกันด้วย แต่โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว สายการบินชั้นนำที่เป็นสายการบินข้ามทวีป (International Airlines) ทั้งหลายจะติดตั้งอุปกรณ์ที่มี technology สูงสุดเท่าที่บริษัทผู้ผลิตจะผลิตออกมาในช่วงที่ทำการผลิตเครื่องบินรุ่นนั้น ๆ เพราะว่าโอกาสที่จะต้องใช้อุปกรณ์ในการนำร่องเหล่านั้นมีมากขึ้นเพราะต้องบินไปหลาย ๆ ที่ และต้องบินในสภาพอากาศที่หลากหลายและมีความรุนแรงอยู่บ่อย ๆ เป็นต้น ดังนั้น ฝ่ายสนับสนุนการบินจะประมวลข้อมูลเพื่อตัดสินใจว่า เที่ยวบินสมควรบินไปยังจุดหมายหรือไม่ ตามข้อมูลการพยากรณ์อากาศที่มีอยู่ และกัปตันก็สามารถให้คำแนะนำเพิ่มเติมได้เมื่อถูกร้องขอให้ช่วยตัดสินใจแต่หากเครื่องบินทำการรบินขึ้นไปบนฟ้าแล้ว เกิดมีการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศเลวร้ายลว หรือมีสถานะการณ์ไม่สงบใด ๆ ทางฝ่ายสนับสนุนก็จะแจ้งข้อมูลขึ้นไปให้กับนักบิน เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจได้ตลอดเวลาไม่ว่าเครื่องบินจะบินอยู่ส่วนใดในโลกครับ

ขึ้นเครื่องบิน อย่าเมา

เห็นข่าวเรื่องผู้โดยสารเมาแล้วทะเลาะวิวาทกันบนเครื่องบินไหมครับ มีหลายประเด็นที่น่ากล่าวถึงเพื่อเป็นประโยชน์ให้เพื่อนๆรับทราบข้อมูลกรณีต้องเดินทางโดยเครื่องบิน และอยากดื่ม แอลกอฮอลล์ ขอให้คิดสักนิด ก่อนดื่มขอให้ดื่มแต่พอดี อย่าคิดว่าเป็นของฟรีแล้วดื่มไม่ยั้ง ขอให้หยุดดื่มทันที เมื่อพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินปฏิเสธที่จะให้บริการเครื่องดื่มมึนเมาแก่ท่าน อ่านต่อนะครับ มีประโยชน์ บริษัท หรือ สายการบินชั้นนำทั่ว ๆ ไป แทบทุกสายการบินจะไม่อนุญาตให้นำเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ที่ซื้อหามาเองมาดื่มบนเครื่องบินระหว่างเที่ยวบินอ่านแล้วอาจจะแปลกใจว่า “ทำไม ฉันซื้อมาเองทำไมจะดื่มไม่ได้ “ คำถามนี้เกิดขึ้นบ่อย ๆ ครับทั้ง ๆ ที่สายการบินน่าจะชอบที่ไม่ต้องเปลืองเหล้า เบียร์ หรือไวน์ของบริษัท น่าจะช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายของบริษัทฯ นะ (จะเห็นว่าตรงนี้เริ่มแตกต่างจากสายการบินโลว์คอสทั้งหลาย ที่เราอยากกินอะไร ต้องเตรียม ต้องหาไปเอง ถ้าไม่อยากเสียเงินซื้อบนเครื่องบิน) ความจริงมีอยู่ว่า สายการบินชั้นนำ หรือที่เรียกกันว่า Premium ไม่ได้คิดถึงเรื่องการประหยัดในเรื่องนี้ครับ แต่นึกถึงการให้บริการที่ดีตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก แต่นึกถึงความปลอดภัยโดยรวมของเที่ยวบินมากกว่าทุก ๆ สิ่งครับ (Yours Safety is Our Priority) การห้ามผู้โดยสารนำของมึนเมาที่ซื้อหามาเองมาดื่มบนเครื่องบินนั้นเป็นกฏกติกาของบริษัทหรือสารการบินชั้นนำที่มีมาตรฐานสากล แบบเดียวกับการบินไทย ที่ต้องการความปลอดภัย ความสะดวกสบายและความเป็นส่วนตัวของผู้โดยสารบนเที่ยวบินครับ “เราขอสงวนสิทธิที่จะให้บริการเครื่องดื่มแอลกอฮอลแก่ผู้โดยสารที่อยู่ในอาการมึนเมา และผู้โดยสารที่อายุน้อยกว่า 18ปี และ ไม่อนุญาตให้นำเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์มาดื่มเอง และให้ดื่มได้เฉพาะที่บริษัทฯ มีเตรียมไว้บริการบนเครื่องเท่านั้น” สำนวนประมาณนี้ครับ เวลาที่แอร์โฮสเตสประกาศบนเที่ยวบิน เพราะว่า ทางพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน จะมีหน้าที่คอยเฝ้าดูแลผู้โดยสารทุก ๆ คน และระงับการให้บริการแก่ผู้โดยสารที่มีอาการมึนเมา หรือ ผู้โดยสารที่ไม่อยู่ในสภาพที่สมควรดื่มแอลกอฮอลล์ เช่น อายุต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ ๑๘ ปี หรือผู้โดยสารที่ถูกเนรเทศออกนอกประเทศ หรือผู้โดยสารที่จำเป็นต้องมีผู้ควบคุมความประพฤติเดินทางด้วยในทุก […]

Not Everyone Can Fly

“ใคร บ้างที่บินได้” สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) เป็นผู้กำกับดูแลและออกกฏระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ของการบินทั้งด้านการพาณิชย์และการเดินอากาศของบุคคลทั่วไป ประเทศต่าง ๆ ทุกประเทศล้วนมีหน่วยงานที่ถูกระบุให้เป็นผู้กำกับดูแลด้านกิจการการบินฝ่ายพลเรือน (Civil Aviation Authority หรือ เรียกย่อ ๆ ว่า CAA)CAA ของแต่ละประเทศคือผู้ควบคุมดูแลกิจกรรมด้านการบินทุกประเภทที่ไม่ใช่ทางทหาร (และอาจรวมถึงการขนส่งทางทหารบางประเภทด้วย)CAA ยังมีหน้าที่ตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยของสนามบินและสายการบินต่าง ๆ ในประเทศตนเอง และสายการบินของประเทศอื่นที่บินมาลงในประเทศของตนเองโดยหมายรวมถึง บุคคลากรที่เกี่ยวข้องกับการบินทุกประเภทที่ต้องได้รับการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานการปฏิบัติงานโดย บพ. กล่าวถึงนักบินทุก ๆ ประเภท ที่ขับขี่เครื่องบินที่เป็นอากาศยานหนักกว่าอากาศ (Heavier-Than-Air carrier)นักบินต้องมีใบอนุญาตกำกับ ซึ่งระบุชนิดของอากาศยานที่สามารถขับขี่ได้เป็นการเฉพาะ และความสามารถของตัวนักบินว่าได้รับการฝึกบินด้านใดมาบ้าง ผมขอพูดถึงเฉพาะในส่วนของใบอนุญาตขับขี่เครื่องบินปีกตรึง (Fixed Wing)(เขียนแล้วแปลก ๆ แต่เป็นภาษาที่ใช้เรียกทั่ว ๆ ไปเพื่อแบ่งแยกประเภท)ในส่วนของเฮลิคอปเตอร์ เรียกว่า เครื่องบินปีกหมุน (Rotary Wing) ซึ่งผมไม่มีความชำนาญก็ขอไม่กล่าวถึงครับ การให้ใบอนุญาตใบขับขี่เครื่องบิน fixed wing นั้น มีระดับของความเชี่ยวชาญคร่าว ๆ ดังนี้ การบินส่วนตัว (Private Pilot License: PPL) คือ สามารถบินเครื่องบินลำเล็ก ๆ เครื่องยนต์เดียวได้ถือเป็น basic ขั้นเริ่มต้นของการบินพลเรือนผู้ขับขี่สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการบินของตนเองได้โดยการสะสมชั่วโมงบิน และการฝึกบินกับครูการบินตามสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เช่นการบินกลางคืน ต้องฝึก Night Takeoff-Landingการฝึกบินด้วยเครื่องวัดภายในห้องนักบินอย่างเดียว (โดยไม่มองออกนอกเครื่องบินเลย) เราเรียกว่า Instruments Rating: IRPPL […]

Cabin Baggage

—————————–มีคำถามที่อยากสอบถามค่ะ คือ สงสัยเรื่อง การที่ผู้โดยสารขนกระเป่าแบบ Hand Carry ขึ้นเครื่องทำไมเขาถึงมีกฏว่า ห้ามใหญ่เกินกว่า 20 นิ้ว และ หนักไม่เกิน 7 กก คะ ? อย่าง ไม่เกิน 20 นิ้ว นี่ คิดว่าคงจะเป็นที่ช่องใส่สัมภาระมีเนื้อที่จำกัด แต่น้ำหนัก 7 กก. นี่ เพราะเหตุใดคะ ? และ … ถ้า ผดส. เขา “แอบ” เอากระเป๋า (อาจจะขนาดไม่เกิน 20 นิ้ว) แต่เกิน 7 กก. ขึ้นไป มันจะมีผลอะไรกับระบบการบินไหมคะ ? ขอบคุณมากค่ะ ————————————— กระเป๋าแบบ hand carry หรือ carry-on baggage ที่เราเอาขึ้นเครื่องบินติดตัวไปได้สำหรับการบินไทยมีการกำหนดให้ได้หนึ่งชิ้นขนาดไม่เกิน 56x36x23 cm หรือDimension (วัดสามด้านของกระเป๋ารวมกัน กว้าง+สูง+หนา) ไม่เกิน 115cmถ้าเป็นนิ้วก็ประมาณ 22x16x10 inches/45 inches และน้ำหนักไม่เกิน 7 kg./15 lbs. การที่ต้องกำหนด size ของกระเป๋านั้นก็เพื่อให้กระเป๋านั้นสามารถเข้าช่องที่เก็บสัมภาระที่อยู่เหนือหัวเราได้โดยไม่เบียดเบียนเนื้อที่เก็บสัมภาระของผู้โดยสารคนอื่น (แบ่ง ๆ กันครับ)ช่องเก็บหนึ่งช่องจะได้ใส่ได้หลาย ๆ ใบโดยเฉพาะเมื่อมีผู้โดยสารจำนวนมากหรือเต็มลำ […]

0
0