ทำไมผู้โดยสารจึงบาดเจ็บ

ลองนึกภาพตามนะครับ

ลองใส่เหรียญบาทในขวดแก้วใส ๆ จับวางนอนด้วยสองมือ เสร็จแล้วลองเขย่าครับ

เหรียญบาทก็จะกระทบขวดแก้วเด้งไปมา

ผู้โดยสารที่ไม่ได้รัดเข็มขัด มันก็คล้าย ๆ กับเหรียญบาทนั่นแหละครับ

ทีนี้ลองใหม่ ถ้าเราติดกาวที่เหรียญบาทไว้ภายในขวด เขย่ายังไง เหรียญก็ไม่กระแทกขวดใช่ไหมครับ

ขึ้นเครื่องบินเวลานั่งอยู่กับที่ ให้รัดเข็มขัดนิรภัยเสมอ

โดยเฉพาะเวลานอนก็ต้องรัดเข็มขัดไว้ครับ ปลอดภัยกว่า

กรณีของ Air Canada นั้นมีผู้บาดเจ็บถึง 37 คน และมีถึง 9 คนที่บาดเจ็บสาหัส

https://apnews.com/49db2788d04d4e11bcbb1a63dbae4199

แต่ไม่ใช่ Air Canada ที่เคยเจอเหตุการณ์แบบนี้เป็นสายการบินแรก มีสายการบินอื่น ๆ ที่เคยประสบเหตุทำนองนี้มาแล้วหลายราย

สายการบินแห่งชาติของเราเองก็เคยเจอหนัก ๆ เมื่อสมัยที่เครื่องบิน MD-11 ยังบินอยู่ ตอนนั้นกำลังลดระดับลงสนามบินไคตั้ก (สนามบินเก่า) ที่ฮ่องกง

บาดเจ็บไปหลายสิบคนเหมือนกัน แต่ไม่ได้เป็นข่าวคึกโครมเหมือนสมัยนี้ เพราะ20 ปีที่แล้ว facebook, instagram, twitter ยังไม่เกิดและเทคโนโลยีการข่าวยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าปัจจุบัน

เรามาดูสถิติที่เคยเกิดเหตุทำนองนี้กัน

-4 May 2016, an Airbus A330-200 in the cruise in day VMC at FL390 เกิดบริเวณประเทศอินโดนีเซีย บาดเจ็บ 24 คน 7 คนที่บาดเจ็บสาหัส

-18 October 2014, an Airbus A380 เกิดบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย อันนี้โชคดีที่มีการหลบเมฆและได้เปิดสัญญาณรัดเข็มขัดเอาไว้ก่อน แต่ช่วงเกิดเหตุเป็นช่วงที่อากาศใส ๆ ปกติ

-30 December 2015, a Boeing 777-300 เกิดแถว ๆ Alaska บริเวณที่บินผ่านเป็นช่วงที่มี JetStream (มีโอกาสเกิด turbulence ในบริเวณขอบของ JetStream) มีคนบาดเจ็บและเที่ยวบินต้องเปลี่ยนเส้นทางบินลงฉุกเฉิน

-7 January 2017, Bombardier Challenger 600 (CL60) บริเวณตะวันออกกลางกำลังบินอยู่ที่ระดับความสูง 34000 ฟุต และบินผ่านเข้าไปใน wake turbulence ของเครื่องบิน A380 ที่บินสวนทางมาที่ระดับความสูง 35,000 ฟุต ทำให้เครื่อง CL60 เสียการควบคุมของเครื่องบิน หมุนควงสว่านและเสียความสูง แต่นักบินก็สามารถควบคุมเครื่องบินได้อีกครั้งและทำการลงสนามฉุกเฉิน เคสนี้โครงสร้างของเครื่องบินเสียหายเกินกว่าที่จะทำการซ่อมบำรุง สภาพภายในเครื่องบินเป็นตามในรูปประกอบ-ของโพสต์นี้

ส่วนตัวผมเองเคยเจอแรง แต่ไม่แรงมากจนเป็นข่าว

ตอนนั้นบิน Boeing 747-400 ความสูง 39,000 ฟุต บินจากซิดนีย์เข้ากรุงเทพฯ ช่วงผ่านบริเวณประเทศติมอร์ในปัจจุบัน หลบเมฆ CB ก้อนใหญ่ออกมาห่างประมาณ 40 กว่าไมล์ บริเวณที่เกิดอากาศใส ๆ ครับ ตู้มเดียวครับ ความสูงกระเด้งขึ้นไปประมาณ 2,000 ฟุต ก็ค่อย ๆ แก้สถานการณ์ปรับระดับความสูงลงมา 

การเกิดแบบนี้ ผู้โดยสารจะไม่ลอยออกจากเก้าอี้ไปกระแทกเพดานครับ แต่จะถูกกดลงไปบนเก้าอี้แทน วันนั้นจึงไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ น่าจะหลับกันสนิท 🙂

มาทบทวนเรื่อง Turbulence กันครับ (อ่านเรื่องระดับความรุนแรงของ turbulence)

เครื่องบินลอยอยู่บนอากาศได้ด้วยกระแสลมที่ผ่านปีก

การที่จะบินได้ราบเรียบนุ่มนวล 

มีองค์ประกอบหลายอย่าง 

นอกเหนือจากประสบการณ์และความปราณีตของนักบินในการบังคับเครื่องบินแล้ว

ปัจจัยหลัก คือ สภาพแวดล้อมในขณะนั้น ณ ที่บริเวณที่เครื่องบิน ๆ ผ่าน

เช่น การเปลี่ยนแปลงของความกดอากาศ การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ และการเปลี่ยนแปลงของทิศทางและความเร็วลม เป็นต้น

ถ้าระดับการเปลี่ยนแปลงของ ความกดอากาศ อุณหภูมิ ทิศทางและความเร็วลม มีอัตราการเปลี่ยนไม่มากนัก (Gradually Change) 

เครื่องบินสามารถปรับทิศทางการบังคับเพื่อรองรับสถานะการณ์เหล่านั้นได้ไม่ยาก การสั่นสะเทือนจึงไม่รุนแรง

ทางการบินมีการแบ่งระดับการสั่นสะเทือน

เนื่องจากการบินผ่านสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงนี้ว่า Turbulence

ถ้าแปลเป็นไทย ก็ประมาณว่า “ความวุ่นวาย อลหม่าน โกลาหล หรือปั่นป่วน”

Turbulence เกิดได้หลายที่ หลายเวลา และหลายสาเหตุ อย่างเช่น ในก้อนเมฆชนิดต่าง ๆ จะมีความรุนแรงแตกต่างกันเมื่อเครื่องบินบินผ่าน

หรือบางทีอาจเป็น Clear Air Turbulence อากาศใส ๆ ดูเหมือนไม่มีอะไรแต่มีการสั่นสะเทือนเนื่องจากเป็น Ridge or Trough of Pressure Gradient เป็นร่องหรือเป็นสันที่เป็นช่วงที่เกิดการเปลี่ยนของความกดอากาศอย่างมาก (นึกภาพ หุบเหวหรือสันเขา ที่จะถูกแสดงในแผนที่เส้นระดับความสูงแบบแน่นๆ)

นักบินทุกคนจะต้องเรียนรู้เรื่องการอ่านแผ่นที่ และเรียนรู้เรื่องสภาพดินฟ้าอากาศ (Meteorology) โดยเฉพาะเรื่องของเมฆ

เมฆมี อยู่ 10 ชนิด มีเมฆบางชนิด ที่ต้องหลีกเลี่ยง เช่น CB (Cumulonimbus) หรือเมฆฝนฟ้าคะนองที่เราเห็นเป็นแท่ง ๆ สูง ๆ

เมฆ CB อันตรายมาก เนื่องจากความไม่ Stable ของสภาพอากาศ ทั้งในแง่ของ ความกดอากาศ อุณหภูมิ ทิศทางและความเร็วลม ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรเหล่านี้อย่างมากด้วยเวลาที่รวดเร็ว แต่เมฆ CB นี่ก็ไม่ธรรมดา ด้วยความที่มันก่อตัวขึ้นสูงได้ถึงหลายหมื่นฟุต บางทีมันจึงซ่อนตัวอยู่ในเมฆชนิดอื่น ๆ จนมองด้วยสายตาไม่เห็น เราเรียกกรณีนี้ว่า Embeded CB นักบินต้องใช้เรดาห์ตรวจอากาศ (Weather Radar) ในการตรวจหาระหว่างทำการบิน

ย้อนกลับมาดูผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเราเวลาบินผ่าน Unstable Air

การสั่นสะเทือนหรือ Turbulence แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ

Light Turbulence 

ผู้โดยสารจะรู้สึกเขย่าเล็กน้อย ไม่ได้ทำให้รู้สึกอึดอัดมากนัก แค่รู้สึกว่าไม่ราบเรียบ การให้บริการผู้โดยสารยังสามารถทำได้ (ถ้ามั่นใจว่าไม่แรงไปกว่านี้)

Moderate Turbulence

เริ่มมีความรู้สึกไม่สบายในการนั่ง อาจมีการเหวี่ยงแล้วรู้สึกว่าสายรัดเข็มขัดต้องดึงตัวเราติดกับเก้าอี้ไว้ แก้วน้ำเลื่อนเปลี่ยนที่

Severe Turbulence

ผู้โดยสารน่าจะรู้สึกอึดอัดเนื่องจากมีการเหวี่ยงมาก อาจมีตัวลอย ถ้าไม่ได้รัดเข็มขัดนิรภัย (หลายคนคงจับเก้าอื้แน่น) น้ำกระฉอกแล้วหกออกจากแก้ว สิ่งของที่ไม่ได้รัดหรือยึดไว้ให้แน่นจะเคลื่อนย้าย 

Extreme Turbulence

อันนี้แรงสุด ๆ นักบินจะไม่สามารถบังคับเครื่องบินได้ เหมือนโดนจับเขย่า สิ่งของในห้องโดยสารก็คงไม่ต้องพูดถึง 

และถ้าเครื่องบินต้องอยู่ในสภาพของ extreme turbulence นานเกินไป 

อาจเกิดการเสียหายของโครงสร้างเครื่องบิน (Structural Damage) เรียกง่าย ๆ ว่า เครื่องบินแตกหรือหัก 

(ขึ้นอยู่กับสถาพความสมบูรณ์ของเครื่องบินและประสิทธิภาพในการซ่อมบำรุงของสายการบินด้วย)

Turbulence อาจหลีกเลี่ยงได้ ด้วยความรู้ ความสามารถ การสังเกตุ ความเข้าใจในข้อมูล และมาตรฐานในการทำการบิน ซึ่งหมายรวมถึง ประสิทธิภาพของนักบินในการทำการบินด้วย

และ Turbulence  บางครั้ง อาจยากเกินกว่าที่จะคาดเดาว่า จะเกิดหรือไม่ และจะเกิดเมื่อไหร่ มีความรุนแรงแค่ไหน Turbulence ประเภทที่คาดเดาไม่ได้นั้น เกิดขึ้นไม่มากนัก แต่อาจจะมีความรุนแรงสูงมากกว่าปกติหลายเท่า

ส่วนใหญ่ จะเป็น Turbulence ที่เรารู้และสามารถ detect ได้เราจึงสามารถหลบมันได้อย่างปลอดภัยหรือมีผลกระทบน้อยที่สุด

แต่ turbulence ที่หลบยาก เพราะมองไม่เห็นและมีโอกาสเกิดการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรงก็คือ clear air turbulence ซึ่งสภาพอากาศที่นักบินมองเห็นคือ ใส ๆ ปกติ ไม่ได้มีตัวบ่งชี้ใด ๆ ว่าจะมีโอกาสเกิดการสั่นสะเทือน ผลที่ตามมาก็คือไม่ได้มีการเตรียมตัวรับมือ การสั่นสะเทือนจะมาอย่างฉับพลัน

และการสั่นสะเทือนอีกแบบหนึ่งก็คือ การบินเข้าไปใน wake turbulence หรือ wake vortices ของเครื่องบินลำหน้า โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในระดับความสูงมากๆ อากาศบาง ความรุนแรงของ turbulence ก็จะแรงตามไปด้วยถ้าความอลวนของอากาศยังมีอยู่มาก การสั่นสะเทือนก็ยิ่งรุนแรง แบบเครื่อง CL60 ที่บินเข้า wake turbulence ของ A380

CL60 encountered A380 wake turbulence
ภาพจาก Aviation Week

อ่านข่าวเต็มจาก Dailymail https://www.dailymail.co.uk/news/article-4337974/Jet-caught-wake-superjumbo-nearly-crashes.html

แอดไลน์นี้ครับ LINE Official @a-pilot

https://line.me/R/ti/p/%40a-pilot

หนังสือนักบินมีทั้งหมด 5 เล่ม

สั่งซื้อหนังสือผ่าน shopee https://shopee.co.th/apilotbook

ติดตาม A Pilot Club ได้ทาง
ยูทูปช่อง Captain Sopon https://www.youtube.com/c/SoponPhikanesuan
เฟสบุ๊ค https://wwwfacebook.com/apilotbook
เว็บไซต์ http://www.apilotclub.com/
เป็นเพื่อนกับเราทางไลน์ออฟฟิศเชียล https://lin.ee/BQyGDbK
ซื้อหนังสือ A Pilot Book ได้ที่ https://shopee.co.th/apilotbook