Loss of Separation

วันนี้เรามาทำความรู้จักกับคำว่า LOS หรือ Loss of Separation กัน

คำว่า Loss of Separation หมายถึง เครื่องบินสองลำนั้นอยู่ห่างกันต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ (Separation Standards) ไม่ว่าจะเป็นทางด้านความสูง (vertical separation) หรือ ด้านระยะห่างในแนวราบ (lateral and longitudinal separation) 

การเกิด Loss of separation นั้นถือเป็นอุบัติการณ์ที่มีความเสี่ยงสูง (High Severity of Safety Risks)

เพราะการเกิด LOS นั้นจะทำให้มีโอกาสที่จะเกิดการบาดเจ็บขึ้นได้

จะเกิดการบาดเจ็บขึ้นได้ยังไง

LOS นั้นเกิดได้หลายแบบ

ประเภทที่รุนแรงที่สุดคือ ชนกันกลางอากาศ (ตายสถานเดียว เรียกว่า โอกาสรอดน้อยถึงน้อยที่สุดจะเหมาะสมกว่า)

* a vertical or a horizontal plane, or both;

*Level Bust;

*Wake Vortex Turbulence;

* Airspace Infringement;

* Controlled Flight Into Terrain (CFIT).

* Ground Operations

(คนที่ยังไม่เคยอ่าน A Pilot เล่ม 1-4 อ่านจะไม่เข้าใจแต่ละเรื่อง หาอ่านนะครับ)

ที่นี้หากเกิดการ loss of separation ขึ้น นักบินก็ต้องทำการแก้ไข ซึ่งวิธีการแก้ไขก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และเหตุการณ์ครับ

แต่ทั้งหมดคือ นักบินต้องบังคับเครื่องบินไม่ให้เครื่องบินชนกันและได้รับผลกระทบน้อยที่สุด

การบังคับเครื่องบินในสถานการณ์คับขันนั้น หากเป็น TCAS RA (อ่านเรื่อง TCAS นะครับเขียนไว้แล้ว ถ้ายังไม่มีหนังสือสั่งซื้อที่นี่ครับ https://line.me/R/ti/p/%40a-pilot) ถ้านักบินทำการบังคับเครื่องบินให้เปลี่ยนทิศทางอย่างรุนแรง (ซึ่งมีความจำเป็นในบางครั้ง ไม่ใช่ทุกครั้ง เพราะถ้าบังคับไม่ทันเครื่องบินจะชนกันหรือบางคนบังคับด้วยความตกใจแบบนี้แย่หน่อย) ในขณะที่ลูกเรืออาจจะอยู่ในการให้บริการผู้โดยสาร อาจมีคนเดินไปเดินมา แบบนี้ก็จะทำให้เกิดการหกล้ม หรือตัวลอยหัวฟาดโน่นฟาดนี่จนเป็นอันตรายได้

หรือแม้กระทั่งการเข้า Wake turbulence ของเครื่องบินลำหน้าก็อาจทำให้เครื่องบินเสียการควบคุมกระเด้งกระดอนกันได้เช่นกัน

เรื่องการ loss of separation จึงเป็น occurrence ที่ต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการป้องกัน

ใครบ้างมีส่วนในการป้องกัน เรื่องนี้ มีส่วนร่วมด้วยกันทั้งสองฝ่ายครับ

ทั้งนักบิน (ของเครื่องบินทั้งสองลำ) และ Air Traffic Control 

การป้องกัน loss of separation นั้นมีการกำหนดมาตรฐานของ standards separation เอาไว้ ยกตัวอย่างง่าย ๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจเบื้องตันดังนี้ครับ

Vertical Separation อันนี้เป็นระยะห่างในด้านของความสูง ที่จะมีการกำหนดว่า เครื่องบินบินไปทางเดียวกันระยะห่างแนวราบใกล้กันนั้นจะต้องมีระยะสูงต่างกัน 1,000 ฟุต เมื่อบินความสูงต่ำกว่า 29,000 ฟุต หากบินความสูงตั้งแต่ 29,000 ฟุตขึ้นไปจะต้องมีระยะสูงต่างกัน 2,000 ฟุต เป็นอย่างน้อย ยกเว้น ในกรณีบริเวณที่เป็น RVSM airspace หรือ Reduced Vertical Separation Minima ซึ่งจะลดระยะห่างด้านความสูงนี้ลงเหลือ 1,000 ฟุตเช่นเดิม โดยมีข้อกำหนดอื่น ๆ เข้ามากำกับเพิ่มขึ้น (เรื่อง RVSM นี้เก็บไว้เล่าต่อภายหลังดีกว่าจะได้เขียนยาว ๆ ไปทีเดียว)

แล้วหากเครื่องบิน จะบินที่ระดับความสูงเดียวกันได้ จะต้องมีระยะห่างระหว่างกันตามที่กำหนดแล้วแต่ความสามารถในการควบคุมการจราจรทางอากาศของแต่ละน่านฟ้า ซึ่งมีข้อกำหนดมาจากเรื่องของ air traffic control equipment 

เรื่องของการป้องกันนั้นเป็นข้อกำหนดที่มีหลักการและฐานข้อมูลทางสถิติต่าง ๆ มารองรับแล้วจึงออกมาเป็นมาตรฐานในการปฏิบัติเพื่อที่จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งในแง่ commecial และ safety

ในทางกลับกัน หากมีการออกมาตรการป้องกันหรือการปฏิบัติที่เป็นเชิงป้องกันเข้ามาเพิ่ม หรือขยายเพิ่มเข้าไปมากจนเกินไปก็เท่ากับไม่ใช้ความสามารถตามข้อกำหนดที่มีอยู่และเทคโนโลยีที่ได้ลงทุนไปแล้ว ก็จะทำให้เกิดความสิ้นเปลืองทั้งเวลาและงบประมาณ รวมถึงน้ำมันเชื้อเพลิงที่เสียไปโดยเปล่าประโยชน์ 

Tags:

Comments are closed
0
0