Day: October 21, 2019

Taxi and Taxiway

Taxi and Taxiway คำว่า Taxi หมายถึงเครื่องบินเคลื่อนที่ด้วยกำลังของเครื่องยนต์ไปตามทางระหว่าง หลุมจอด (parking bay) เพื่อไปที่ runway หรือระหว่างออกจาก runway ไปที่หลุมจอด เส้นทางที่ใช้ในการ taxi ภาษาไทยเรียกว่า ทางขับ ภาษาอังกฤษเรียกว่า taxiway  ส่วน runway ภาษาไทย เรียกว่า ทางวิ่ง การที่เครื่องบินจะ taxi ไปทางไหน จะต้องได้รับคำอนุญาตจากหอบังคับการบินก่อนเสมอ ซึ่งหอบังคับการบินก็จะแบ่งส่วนในการควบคุมออกไปเป็นส่วนหรือ zone ย่อยๆอีก เช่น การควบคุมตอนเครื่องบินอยู่ที่พื้นในบริเวณหลุมจอด จะเรียกว่า apron control หรือ ground control อาจมีบริเวณคาบเกี่ยวกัน อย่างสุวรรณภูมิ เรียกเป็น ground ไม่ได้แยกเป็น apron หลังจากออกจากบริเวณหลุมจอด ก็จะเป็น taxiway  ต่างๆ ที่ใช้ ground control เป็นคนให้เส้นทางเพื่อไปสู่รันเวย์ที่จะวิ่งขึ้น taxiway ต่างๆจะมีชื่อประจำตัว เหมือนเป็นชื่อถนน แต่เป็นชื่อสั้นๆที่เป็น code ให้เข้าใจง่าย หลังจากเคลื่อนที่เข้ามาจะใกล้จะถึงรันเวย์ ก็จะเป็นหน้าที่ของ tower control ที่จะเป็นคนควบคุมคำสั่งในการบริหารการจราจรระหว่างก่อนเครื่องบินเข้าในรันเวย์จนกระทั่งเครื่องบินลอยสู่อากาศที่ความสูงความสูงหนึ่ง แล้วแต่การกำหนดของการควบคุมจราจรทางอากาศ (Airspace classification) แล้วจะส่งต่อให้กับ departure control อีกต่อหนึ่ง สนามบินเล็ก ๆ อาจจะใช้ […]

ใกล้กว่านี้มีอีกไหม (parking)

ใกล้กว่านี้มีอีกไหม (parking) คำตอบคือ มีเยอะเลย B747-400 parking at Bay B45 Frankfurt Airport, Germany เครื่องบินเมื่อจะเลี้ยวเข้าหลุมจอด (Parking Bay) จะมีระบบบอกตำแหน่ง (Docking System) ว่า เหลือระยะอีกกี่เมตรจะถึงจุดจอด เพื่อให้นักบินสามารถลดความเร็วให้เครื่องบินหยุดที่จุดจอดอย่างแม่นยำ การจอดเครื่องบินนั้น นอกจากจะต้องระมัดระวังไม่ให้เลยจุดจอดแล้วต้องดูด้วยว่า หัวหางตรงกัน และระหว่างที่เคลื่อนที่เข้าสู่ที่จอด ต้องดูว่ามีสิ่งกีดขวางหรือไม่ ปลายปีกทั้งซ้ายและขวา ต้องพ้นสิ่งกีดขวาง สะพานเทียบเครื่องบิน (Passenger Bridge) ต้องอยู่ในตำแหน่งที่จอด เครื่องบินสามารถเข้าสู่ตำแหน่งจอดได้โดยไม่ชนสะพานเทียบ เมื่อเข้าใกล้จุดจอดประมาณ 20 เมตร ระบบ docking จะบอกระยะที่เหลือก่อนถึงจุดจอดเป็นเมตรและบอกเป็นทศนิยมหนึ่งตำแหน่งเมื่อเหลือระยะน้อยกว่า 2-5 เมตร (แล้วแต่ระบบ) ระหว่างทางจะบอกด้วยว่า เครื่องตกซ้าย-ขวา ของ centerline หรือไม่ เครื่องบินลำใหญ่ ลำตัวยาว ตำแหน่งจอดก็จะลึกเข้าไปใกล้ตัวอาคารมากกว่าพวกลำตัวสั้น ๆ เพื่อให้ปลายส่วนหาง พ้นจากพื้นที่ทางขับ (Maneuvering area)  เครื่องบินลำอื่นจะได้สามารถเคลื่อนผ่านไปได้โดยไม่เฉี่ยวชนกัน ยิ่งลำตัวยาวมาก ก็ต้องเข้าใกล้มากอย่าง B747-400 ในภาพมีความยาวลำตัวประมาณ 80 เมตร กว่าจะถึงจุดจอดแทบจะชิดกับผนังอาคารผู้โดยสาร แรก ๆ ตอนเป็นนักบินใหม่ๆ มายุโรป ก็ Frankfurt นี่แหละครับที่แรกในยุโรป เห็นกัปตัน taxi เข้าจอดแบบนี้ เห็นครั้งแรกรู้สึกตื่นเต้นมาก สมัยก่อนระบบจะต่างจากปัจจุบัน […]

การเปลี่ยนแบบเครื่องบินของนักบิน

การเปลี่ยนแบบเครื่องบินของนักบิน นักบินแต่ละคนจะสามารถบินเครื่องบินได้แบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น ยกเว้นเครื่องบินรุ่นใหม่ๆ ที่อยู่ในตระกูลหรือลักษณะการทำงานที่สอดคล้องใกล้เคียงกันนักบินจะได้รับอนุญาตให้บินได้มากกว่า 1 แบบ เช่น นักบินที่บินเครื่องบิน Boeing 747-400 จะไม่สามารถบินเครื่องบิน Airbus A380 ได้ในคราวเดียวกัน  หมายถึง เที่ยวบินนี้บิน B747 พอเที่ยวบินหน้าไปบิน A380 อย่างนี้ทำไม่ได้ แต่นักบินอาจบิน B747 สลับกับ B777 ได้ หากได้รับการฝึกเพิ่มในการทำงานในเครื่องทั้งสองแบบและต้องได้รับการรับรองจากกรมการบินพลเรือนแล้วเท่านั้น จึงจะทำการบินในลักษณะนี้ได้ ปัจจุบัน (รวมถึงอนาคต) เครื่องบินของแต่ละบริษัททั้ง Boeing และ Airbus จะพยายามทำ streamline layout ตำแหน่งปุ่มและ switches ในการทำงานของระบบต่าง ๆ ให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมือนกันให้มากที่สุด เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการใช้งานด้วยนักบินชุดเดียวสามารถบินเครื่องบินได้หลายแบบ เป็น common หรือ similar types ซึ่งเป็นการลดข้อจำกัดเรื่องของจำนวนนักบินและประหยัดค่าใช้จ่ายในการฝึกของนักบินนักบินกลุ่มเดียว สามารถบินเครื่องได้หลายรุ่นหลายแบบ ย่อมใช้งานได้สะดวกมากกว่า ทางบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินก็ต้องผ่านการรับรองว่าเครื่อง 2 หรือ 3 แบบนั้น สามารถใช้นักบินชุดเดียวกันได้ เรื่องนี้ทางผู้ผลิตต้องผ่านขั้นตอนการพิจารณาจากองค์กรการบินของแต่ละประเทศ อย่างเช่น Boeing B747-400 , B777, B787 เป็นรุ่นที่นักบินสามารถบินควบคู่กันได้   หรือ ฝั่ง Airbus ก็จะเป็น A380, A340, A330, A320 เป็นต้น ทั้งนี้นักบินก็ต้องได้รับการฝึกเพิ่มด้วย เมื่อผ่านการฝึกแล้วก็จะต้องประทับตรารับรองในใบอนุญาตบังคับอากาศยานของนักบิน (Pilot […]

“ใคร ๆ ก็บินได้ จริงๆ”

“ใคร ๆ ก็บินได้ จริงๆ” มองในแง่ของมุมมองที่เป็นนักบินแบบตรงไปตรงมาครับ ไม่ใช่เพื่อเชิดชูหรือยกย่องนักบินด้วยกัน เพราะว่าตัวเองเป็นนักบิน มาลองคิดตามผมเล่นๆ กันครับ ในระยะ 20-30 ปีมานี้มนุษย์สามารถพัฒนาวิทยาการด้านการบินก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะด้านของอุปกรณ์อำนวยการบินซึ่งช่วยเพิ่มเติมประสิทธิภาพในการบินนั้นถูกติดตั้งเพิ่มเข้าไปมากมายหลายชนิด อุปกรณ์ต่าง ๆ ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อสนับสนุนให้การปฏิบัติการบินมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเน้นที่ความประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงและแน่นอนที่สุดคือเพื่อเพิ่มมาตรฐานความปลอดภัยในการเดินทาง รวมทั้งแก้ไขข้อผิดพลาดต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ตัวอย่างระบบต่างๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้น อาทิเช่น – เทคโนโลยีด้านดาวเทียมที่ใช้เพื่อระบุตำแหน่ง (GPS หรือ Global Positioning System) – ระบบเพิ่มความแม่นยำในการลงสู่พื้นที่ติดตั้งอยู่ที่สนามบิน (ILS,MLS,RNAV,GBAS,LAAS,WAAS,etc.) – ระบบต่าง ๆ บนเครื่องบินที่สร้างขึ้นเพื่อตอบสนองการพัฒนาในการเพิ่มสมรรถนะด้านความเที่ยงตรงและแม่นยำในการเดินอากาศ หรือเพิ่มความสามารถในการติดต่อสื่อสารระหว่างภาคพื้นกับเครื่องบินบนอากาศ (Future Air Navigation, Datalink, CPDLC, ADS-B, HUD, EVS, ) – ระบบการควบคุมและการบังคับเครื่องบินอัตโนมัติและเครื่องช่วยการเดินอากาศที่พัฒนาให้ตอบสนองกับผู้ใช้งานในการตีความหมายและการควบคุมการบังคับที่ง่ายและว่องไวมากขึ้น (Enhanced Autoflight system, Flight Management system, Flight Mode Annunciation, Flight Information Displays etc.)  – การพัฒนาวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ บนเครื่องบินให้มีความทนทานเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง การประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง (Aircraft Performance, Power-plant and Airframe technology) เป็นต้น หมายเหตุ: […]

กว่าจะเป็นนักบินพาณิชย์

กว่าจะเป็นนักบินพาณิชย์ “ใคร ๆ ก็บินได้” จริงหรือ ย้อนกลับไปก่อนหน้าตอนที่แล้ว ในช่วงก่อนการเป็นนักบินฝึกหัด การสอบคัดเลือกเพื่อเป็นนักเรียนทุนฝึกหัด ข้อกำหนดในอดีตอาจจะแตกต่างจากปัจจุบันเล็กน้อย เช่น ข้อจำกัดด้านอายุ และความสามารถด้านภาษาอังกฤษ แต่หลักการโดยทั่วไปคือปริญญาตรี สาขาใดก็ได้ เพื่อนในรุ่นผมก็จบหลากหลายสาขา ตั้งแต่ สัตว์แพทย์ วิศวะ สถาปัตย์ นิเทศ  ฯลฯ  ส่วนขั้นตอนการสอบ (สมัยที่ผมสอบคือปี 1992) แบ่งเป็น 5 ขั้นตอน คือ  1. การสมัครและตรวจคุณสมบัติผู้สมัคร (เนื่องจากมีข้อบังคับว่า หากผู้สมัครผ่านขั้นตอนสุดท้ายจนครบทุกขั้นตอนแล้ว จะไม่อนุญาตให้สอบใหม่ คือ ชีวิตนี้สอบได้ครั้งเดียวว่างั้น แต่ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว เช่น อาจต้องรอ 3 ปี 5 ปี แล้วแต่ว่าผ่านมาถึงขั้นตอนไหน จึงจะให้สมัครสอบใหม่ได้ ข้อกำหนดปัจจุบัน ขอให้ลอง search ใน google ดูครับ เพราะแต่ละบริษัทจะกำหนดคุณสมบัติแตกต่างกันเล็กน้อย) 2. การสอบข้อเขียน คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ (ปัจจุบัน มีเพิ่ม ความถนัดบางอย่างเข้าไปด้วย) 3. การตรวจร่างกายที่สถาบันเวชศาสตร์การบิน กองทัพอากาศ 4. การสอบสัมภาษณ์กับกัปตันการบินไทย การสอบ Aptitude test กับนักจิตวิทยาฝรั่งของการบินไทยใช้ผู้เชี่ยวชาญจาก Scandinavian Institute of Aviation Psychology (SIAP) เราเรียกการสอบรอบนี้สั้นๆว่า  […]

0
0