Tag: B737

รวมข้อมูลการจำลองภาพเครื่องบิน MU5735

รวมคลิปแบบไม่ตัดออก การทดลองจำลองสถานการณ์หลายๆแบบเพื่อศึกษาท่าทางของเครื่องบินหากเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติ จะค่อยๆทะยอยใส่คำบรรยายลงไปนะครับ ไม่ตัดคลิป นำมาให้ดูเพื่อเป็นกรณีศึกษา ไม่เน้น cockpit procedure นะครับ #b737 #simulator #MU5735 #chinaeastern #เครื่องบินตก สาเหตุการตกของเครื่องบินต้องเป็นข้อมูลจากกล่องดำ #blackbox เท่านั้น วิดีโอนี้ไม่มีเจตนาชี้นำสาเหตุของเครื่องบินตกแต่อย่างใด Please accept my deepest condolences for the loss of MU5735. ดูวิดีโอนี้ประกอบกันครับ https://youtu.be/m2mpjz75bggในห้องนักบินเห็นภาพอย่างไรรวมคลิปทั้งหมดแบบไม่ตัดต่อhttps://youtu.be/VHdGf28hj1Eการจำลองสถานการณ์ที่เครื่องบินมีมุมก้ม 90 องศา aircraft dive down with 90 degrees pitch attitudehttps://youtu.be/gzvd3wWhJ18การจำลองสถานการณ์ที่เครื่องบินมีมุมก้ม 50 องศา aircraft dive down with 50 degrees pitch attitudehttps://youtu.be/GFAm_c0i5mAเครื่องยนต์ดับทั้งสองเครื่อง When both engines flame outhttps://youtu.be/eynPlykX2REลองอีกทีกับมุม 90 องศาhttps://youtu.be/HCDaKtjxcFoภาพจากเก้าอี้นักบินhttps://youtu.be/WbbmM1e0VHEรวมคลิปhttps://youtu.be/VHdGf28hj1Ehttps://youtu.be/m2mpjz75bggติดตามยูทูปช่อง Captain Soponhttps://www.youtube.com/c/SoponPhikanesuanเว็บไซต์ http://www.apilotclub.com/ China Eastern MU5735 21Mar2022 ขอขอบคุณ DAA สถาบันการบิน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เอื้อเฟื้อสถานที่และอุปกรณ์เครื่องฝึกบินจำลอง B737 ครับ FB: DAA สถาบันการบิน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ […]

China Eastern MU5735

ความเร็วที่พุ่งชนพื้นเกือบ 700 กิโลเมตรต่อชั่วโมง playback จาก flight radar 24 เครื่องบินโบอิ้ง 737 สายการบินไชน่าอีสเทิร์น เที่ยวบินที่ MU5735 วันที่ 21 มีนาคม 2565 ส่วนที่น่าสนใจคือ ทำไมเครื่องบินจึงสูญเสียความสูงรวดเร็วขนาดนั้น ความสูงหายไป สองหมื่นกว่าฟุต ในเวลาเพียงสองนาที ถ้าดูจากความเร็วสุดท้าย 376 knots เท่ากับพุ่งชนพื้นด้วยความเร็วถึง 696 กิโลเมตรต่อชั่วโมง https://www.flightradar24.com/data/flights/mu5735#2b367bc1

ความผิดพลาดจากการซ่อมเครื่องบิน

วันนี้พามาดูความผิดพลาดของการซ่อมบำรุงเครื่องบินครับ เคสนี้สิบกว่าปีที่แล้ว เป็นตัวอย่างที่ดีเพื่อให้คนในวงการการบินได้เรียนรู้ข้อผิดพลาดจากเรื่องเล็กๆเพียงนิดเดียวครับ แต่ก่อเหตุอย่างใหญ่โน เรื่องมีอยู่ว่า เครื่องบินลำนี้ได้เข้าซ่อมบำรุงก่อนหน้าที่จะเกิดไฟไหม้อย่างที่เห็นในวีดีโอ ดูวีดีโอแรกก่อนครับ วีดีโอที่สอง อันเดียวกันครับ เค้าอัพโหลดใหม่เมื่อไม่นานมานี้ (แค่ 4 ปีที่แล้ว) โชคดีมากที่ นักบินและลูกเรือสามารถพาผู้โดยสารทั้งหมดออกจากเครื่องบินได้ทัน โดยที่ไม่มีใครเสียชีวิต ดูวีดีโอให้จบนะครับ จะเห็นช่วงที่นักบินกระโดดออกจากห้องนักบินแล้วเครื่องบินระเบิด “ตูม” ให้ดูวีดีโอถัดไปนี้ครับ จะอธิบายได้ว่า ทำไมการที่ไม่ได้ใส่แหวนรองน๊อตเพียงตัวเดียวจึงทำให้เครื่องบินเกิดไฟไหม้ทั้งลำ น้ำมันรั่ว แต่ไฟยังไม่ลุกเพราะว่าเครื่องบินยังเคลื่อนที่ น้ำมันจึงยังไม่หยดลงบนพื้นที่ที่มีความร้อนสูง ถ้าอ่านรายงานเพิ่มเติมจะทราบว่า ช่างคนที่ทำการประกอบนั้นทำอุปกรณ์ร่วงลงพื้น และเข้าใจว่าตัวเองเก็บชิ้นส่วนจากที่พื้นหมดแล้วก็ประกอบเข้าไปโดยใช้ความชำนาญ แต่ไม่เอะใจเลยว่า มีแหวนรองหนึ่งตัวที่หล่นอยู่ด้านใน (ไม่ร่วงลงพื้น) ปัญหาไม่เกิดขึ้นในทันที แต่เกิดขึ้นภายหลัง อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ด้วยเหตุนี้ สำหรับการบิน การปฏิบัติตามขั้นตอนและคู่มือปฏิบัติงานจึงมีความสำคัญมาก

อุบัติเหตุ เครื่องบินหักสามท่อน

เครื่องบินโบอิ้ง 737-800 ของสายการบิน Pegasus ประสบอุบัติเหตุไถลออกนอกทางวิ่ง กระแทกกำแพงทำให้เครื่องบินหักสองท่อนและเกิดไฟลุกท่วม วันนี้ 05 Feb 2020 เวลาประมาณ 22:20 เวลาไทย เที่ยวบิน PC-2193 ของสายการบิน pegasus ประสบอุบัติเหตุที่สนามบิน Istanbul Sabiha Gokcen มีผู้โดยสาร 177 คน ตามข่าวแจ้งว่าเครื่องบินกระแทกแรงต้องร่อนลงจอดและไถลออกนอกทางจนกระทั่งกระแทกกับกำแพง ตามข่าวคาดว่าผู้โดยสารออกจากเครื่องบินได้ และยังไม่พบผู้เสียชีวิต ดูคลิปการเข้าช่วยเหลือในที่เกิดเหตุ จาก independent คลิปจาก BBC News ภาพตอนลงเที่ยวบินนี้สนาม ข้อมูลสภาพอากาศบ่งบอกว่า ในขณะที่เที่ยวบิน PC-2193 ลงสนามนั้น มีฝนตก กระแสลมแรงและมีลมกรรโชกแรงมาก Metars (Airport: Istanbul, Sabiha Gökçen International Airport): LTFJ 051537Z 29018KT 9999 -SHRA FEW025CB BKN036 BKN070 10/08 Q0992 RETSRA NOSIG=LTFJ 051520Z 29022G37KT 240V330 7000 -TSRA FEW017CB BKN025 BKN070 11/09 Q0992 RESHRA NOSIG=LTFJ 051450Z VRB08G18KT 9999 -SHRA […]

737 Max MCAS (ตอน Stabilizer)

ก่อนที่จะทำความเข้าใจคำว่า MCAS เรามาดูคำว่า Stabilizer กันก่อน Stabilizer เวลาที่เราพูดถึงคำนี้โดด ๆ มักจะหมายถึงตัว Horizontal Stabilizer ซึ่งคือบริเวณส่วนหางของเครื่องบินที่มีลักษณะเหมือนปีกแต่มีขนาดเล็กกว่า วางตัวในแนวนอนสำหรับส่วนที่เหมือนปีกครึ่งเดียวและวางในแนวตั้งนั้นเรียกว่า “Vertical Stabilizer” ในบทความนี้ผมจะพูดถึง horizontal stabilizer โดยเรียกสั้น ๆ ว่า “stabilizer” นะครับ Stabilizer นั้น ตัวมันมีหน้าที่ทำให้เกิดสมดุลย์ทางอากาศพลศาสตร์ของเครื่องบินในระหว่างเครื่องบินบินอยู่บนอากาศ การขยับของ stabilizer จะเป็นการปรับกระแสอากาศหรือแรงที่เกิดขึ้นต่อเครื่องบิน จะเรียกว่าทำให้เกิดการปรับมุมก้มเงยของเครื่องบิน ให้หัวเชิดหรือให้ก้มลงต่ำก็ได้ เป็นตัวควบคุม pitching moment โดยที่จุดหมุนของเครื่องบินคือบริเวณลำตัวส่วนที่ยึดติดกับปีกคือบริเวณที่น้ำหนักของเครื่องบินตกอยู่ตรงนั้น เราเรียกมันว่า Center of Gravity จะเห็นว่าในรูปด้านล่างนี้ บริเวณที่เป็น stabilizer นั้นเค้าเขียนว่า tail lift คือมันเป็น lift ที่กดลงด้านล่าง (เพื่องัดให้หัวเครื่องบินเชิดขึ้นมา) Stabilizer นั้นสามารขยับปรับมุมขึ้นลงได้หลายองศา ถ้าดูจากรูป figure 11จะเห็นว่า มีการเขียนว่า APL NOSE DOWN และ APL NOSE UP หมายถึงAirplane Nose Down/UP คือการปรับองศาของ stabilizer ไปทางนั้นจะทำให้หัวของเครื่องบิน ก้มต่ำลงหรือเชิดหัวขึ้นแล้วแต่ทิศทางที่ปรับ ส่วนวิธีการปรับมุมของ stabilizer นั้นมี 3 วิธีคือ-ปรับโดยอัตโนมัติ เมื่อเครื่องบินอยู่ในโหมดการบินอัตโนมัติ […]

0
0