Flight Watch Volcanic Ash

เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา
สายการบิน KLM ของประเทศเนเธอร์แลนด์ เที่ยวบิน KL685 มีกำหนดเดินทางจากรุงอัมสเตอร์ดัม ไปเม็กซิโก
หลังจากเดินทางไปได้ประมาณ 5 ชั่วโมงเข้าเขตประเทศแคนาดาแล้ว เที่ยวบินก็เปลี่ยนเส้นทางหันหัวบินกลับไปที่กรุงอัมสเตอร์ดัมที่เดิม

(อยากผอม หน้าท้องแบนเรียบ กดลิ้งค์นี้ https://1th.me/flatbelly)

สปอนเซอร์

ผู้โดยสารบนเครื่องบินเลยได้นั่งเครื่องฟรีไปเกือบ 11 ชั่วโมง
เรื่องมีอยู่ว่า ที่ปลายทางคือ เม็กซิโกนั้นเกิดมี ภูเขาไฟประทุขึ้น พ่นเถ้าถ่านขึ้นฟ้าสูงกว่า 18,000 ฟุต
เพื่อความปลอดภัย เที่ยวบิน KL685 จึงตัดสินใจบินกลับที่เดิมดีกว่า

แน่นอนครับว่า ต้องมีดราม่าจากผู้โดยสาร ประมาณว่า

“อะไรกันเสียเวลาไปตั้ง 11 ชั่วโมงกลับมาอยู่ที่เดิม”
“ทำไมไม่ไปลงสนามบินใกล้ ๆ แล้วค่อยไปต่อก็ได้ อย่างน้อยก็ใกล้เข้าไปอีกนิด”

ลองมาไล่เรียงนึกถึงบนเที่ยวบินนี้กันดูครับว่า กัปตันและนักบินคิดอะไร
ไม่ได้บอกว่าเค้าจะต้องคิดแบบนี้นะครับ เอาเป็นว่า ผมเดาเอาว่า เค้าจะต้องคิดแบบนี้

เที่ยวบินนี้มีระบบ flight watch ที่ดี หมายความว่า หลังจากเที่ยวบินทะยานขึ้นฟ้าไปแล้วหลายชั่วโมง ทาง Operations Control Center (OCC) ได้รับข้อมูลการบินว่ามีเหตุการณ์ภูเขาไฟปะทุบริเวณ…. (จะปะทุก่อนวิ่งขึ้นหรือเปล่าก็ไม่รู้นะครับ เพราะบางทีการออก NOTAM ของแต่ละประเทศอาจจะล่าช้า ก็จะทำให้ OCC ได้ข่าวช้า)

เมื่อ OCC ได้รับข่าวแล้ว ก็จะต้องรีบพิจารณาว่ามีเที่ยวบินใดบ้างที่ได้รับผลกระทบ แบ่งเป็น
-เที่ยวบินที่ยังไม่ได้ออกเดินทาง เที่ยวบินไหนได้รับผลกระทบและจำเป็นต้องเปลี่ยนเส้นทางหรือยกเลิกการบินไปเลย
-เที่ยวบินที่อยู่บนฟ้า ออกเดินทาง เที่ยวบินไหนที่ได้รับผลกระทบบ้าง และที่สำคัญคือ จะติดต่อส่งข่าวกันได้อย่างไร ตรงนี้สำคัญกว่าและต้องทำงานแข่งกับเวลาในการที่จะสื่อสารไปที่เครื่องบินลำนั้น ๆ โดยตรง

ระบบ flight watch เข้ามาตรงนี้แหละครับ การที่จะติดตามผลกระทบต่อการบินของเที่ยวบินแต่ละเที่ยวบินบนอากาศ ขอให้เราลองนึกภาพสายการบินใหญ่ ๆ ที่มีเครื่องบินเป็นพัน ๆ ลำนะครับ การสื่อสารข้อมูลให้กับเครื่องบินที่อยู่บนฟ้า แน่นอนว่า การใช้วิทยุสื่อสาร เป็นการติดต่อที่รวดเร็วที่สุด แต่มีข้อจำกัดคือ ระยะทางหรือพิสัยในการติดต่อสื่อสารนั้นสั้นเกินไป เครื่องบินที่บินไป 2-3 ชั่วโมงแล้วไม่สามารถรับการสื่อสารผ่านทางวิทยุสื่อสารจาก OCC โดยตรงได้
งั้นก็ส่งต่อขอให้ Air Traffic Control หรือเรียกย่อๆ ว่า ATC ช่วยส่งข่าว
เอ…แล้วตอนนี้เครื่องบินอยู่ที่น่านฟ้าประเทศอะไรแล้วนะ อยู่กับ ATC คลื่นไหนล่ะ แล้วจะสื่อสารว่าอะไร
จริง ๆ แล้ว ATC ถ้าเค้าพอมีเวลาเมื่อทราบข่าว และรู้ว่าเที่ยวบินไหนจะบินไปที่ที่มีปัญหา เค้าจะแจ้งให้ทราบ เพื่อให้เที่ยวบินนั้น ๆ ได้ข้อมูลในการตัดสินใจ แต่ไม่ใช่ทุก ๆ ATC จะทำแบบนั้นเสมอไป และหากมีเที่ยวบินที่เกี่ยวข้องอยู่หลายลำ การสื่อสารด้วยวิธีนี้อาจไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ

เริ่มมองเห็นภาพหรือยังครับ
เรื่องการสื่อสารนี้เขียนกันได้ยาว ๆ เอาเป็นว่าเพื่อไม่ให้เยิ่นเย้อเกินไปนัก

เทคโนโลยีนั้นวางระบบการสื่อสารตำแหน่งของเครื่องบินไว้เป็นเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพมากและจะค่อย ๆ พัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นไปอีกเรื่อย ๆ อย่างเช่น ระบบ ADS-B ที่จะมีการบังคับให้เครื่องบินทุกลำติดตั้ง อย่างอเมริกากำหนด mandate ไว้แล้วว่าวันที่ 1 มกราคม 2563 นี้ต้องติดตั้งทุกลำ เอาล่ะเรื่อง ADS-B อาจจะไม่เกี่ยวกับตรงนี้เท่าไหร่ครับ
บนเครื่องบินจะมีระบบที่สามารถสื่อสารกับภาคพื้นได้หลายระบบ ทั้งระบบวิทยุสื่อสารคลื่น VHF และ HF และการใช้ Sattelite Com (โทรศัพท์ผ่านดาวเทียม) แต่ระบบสื่อสารที่ถือว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับการให้ข้อมูลที่มีรายละเอียดและต้องการความถูกต้องไม่ให้คลาดเคลื่อน รวมถึงส่งได้ระยะไกล จะอยู่สุดขอบโลกแค่ไหนก็สามารถสื่อสารได้คือ การส่งข้อความ

การส่งข้อความนี่เหมือนกับการส่ง SMS นั่นแหละครับ ทางการบินจะเรียกว่า ACARS ย่อมาจาก Aircraft Communications, Addressing and Reporting System และ ADS-CPDLC (Automatic Dependent Surveillance-Controller Pilot Datalink Communication) สองตัวนี้ทำงานต่างกันครับ วัตถุประสงค์ในการใช้งานไม่เหมือนกัน

แต่หลัก ๆ คือ การสื่อสารด้วยระบบส่งข้อความไปที่เครื่องบินแต่ละลำที่ระบุไว้ได้โดยที่บนเครื่องบินก็สามารถโต้ตอบหรือ acknowledge ได้ด้วยว่า ฉันได้รับข้อความแล้ว และจะดำเนินการอย่างไรต่อไป แบบนี้เป็นต้น

กลับมาที่ KL685 นักบินได้รับข้อมูลข่าวสาร ถึงตำแหน่งที่เกิด volcanic eruption ความสูงของการพ่นเถ้าถ่าน ผลกระทบที่อาจจะเกิด
เสร็จแล้วก็ประเมินว่า กลับดีกว่า ไปต่อมันลุ้นเกินไป เรื่องผลกระทบของการบินเข้าไปในเถ้าถ่านของภูเขาไฟที่ปะทุ (Volcanic ash) เดี๋ยวต้องเล่ายาวกันอีก แนบตาราง risk assessment เรื่อง volcanic ash ให้ดูเลยดีกว่า ผมทำไว้หลายปีล่ะ คัดมาจาก ICAO Doc.

ผลกระทบจาก Volcanic Ash หากไม่เกิดผลทันที เช่น เครื่องยนต์ดับ ผู้โดยสารสูดควันพิษในระหว่างบินเข้าไปใน ash cloud จนหมดสติ หายใจไม่ออก ก็อาจจะทำให้เกิดความผิดปกติที่ปอดและระบบทางเดินหายใจในภายหลัง อย่าลืมว่า volcanic ash นั้น ส่วนที่มีขนาดเล็กมาก ๆ นั้นจะลอยไปได้ไกลและสูงมาก ๆ เมื่อโดนน้ำแล้วจะเป็นกรดอย่างรุนแรง สูดเข้าปอดไปโดนความชื้นในร่างกาย

สำหรับเครื่องยนต์และชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องบินนั้น หาก volcanic ash มันไปเกาะอยู่ ก็จะทำให้สึกกร่อนและพังได้ง่ายในเวลาต่อมา สรุปว่ากลับดีกว่า ไปต่อได้ไม่คุ้มเลย มีเสียแค่อย่างเดียวคือ เวลา

#APilotClubเห็นด้วย
สนับสนุนเวบหน่อยนะครับ ช่วยแชร์ ช่วยไลค์ ช่วยซื้อ ช่วยขายด้วยก็ได้ เพื่อให้เราอยู่กับคุณได้นาน ๆ นะครับ

twitter เกี่ยวกับ KL685

เปลี่ยนความคิดให้รวยข้ามคืน https://1th.me/milionaire

สปอนเซอร์

เขียนให้ความรู้จากเรื่องที่เกิดขึ้นจริง ๆ แบบนี้ชอบไหมครับ
#KL685 @KLM
กลับหน้าแรก

สั่งซื้อหนังสือ A Pilot Book ได้ที่

https://shopee.co.th/apilotbook

https://www.lazada.co.th/products/a-pilot-book-part-i-i561352293-s1029494398.html?spm=a2o4m.searchlist.list.1.6e5ce2d30ih5hT&search=1

เสื้อ Pilot T-Shirt สนใจสั่งซื้อได้ทางไลน์ครับ
✅ LINE https://line.me/R/ti/p/%40a-pilot

สอบนักบิน
เสื้อยืดคอวี Pilot

บอกลาพุงพลุ้ยง่าย ๆ คลิ้กเลย ได้ผลร้อยเปอร์เซนต์

สปอนเซอร์
Comments are closed
0
0